พบผลลัพธ์ทั้งหมด 357 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราโทษความผิดพ.ร.บ.ศุลกากรและพ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกฯ: ศาลเลือกใช้กฎหมายที่มีโทษหนักกว่าตามประมวลกฎหมายอาญา ม.90
การคำนวณค่าปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 นั้น ต้องถือเอาราคาของในท้องตลาดอันเป็นราคาที่แท้จริงและรวมค่าอากรเข้าด้วย เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
การลักลอบนำข้าวออกนอกประเทศเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 กับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี เท่ากัน แต่การกระทำฐานพยายามนั้นพระราชบัญญัติศุลกากรถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 27 เสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จลงโทษจำคุกได้ถึง 10 ปี แต่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกฯ ลงโทษได้เพียง 2 ใน 3 จำคุกได้อย่างสูง 6 ปี 8 เดือนจึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร อันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90(อ้างฎีกาที่ 1027/2504)
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ศาลต้องนำพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ.2489 มาใช้บังคับในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้จับ
จำเลยทั้ง 3 พยายามนำข้าวออกนอกประเทศ ข้าวสารเป็นของจำเลยที่ 2 จำนวน 6 กระสอบ เป็นของจำเลยที่ 3 จำนวน 6 กระสอบจำเลยที่ 2,3 ไม่ได้สมคบกันส่วนจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2,3ดังนี้ เมื่อค่าปรับทั้งหมด 8,002.56 บาท จึงปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4,001.28 บาท จำเลยที่ 2,3 คนละ 2,000.64บาท จำเลยที่ 2,3 รับสารภาพลดกึ่ง คงปรับคนละ1,000.32 บาท
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32 บัญญัติว่าเรือ...รถ...หากใช้ในการย้าย ถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี...ให้ริบเสียสิ้น นั้น หากเจ้าของมิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำผิดแล้ว ศาลไม่ริบ(อ้างฎีกาที่ 193/2491) ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ไต่สวนข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถยนต์ของกลางรู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำหรือไม่อัยการโจทก์ก็ค้านอยู่ว่ารู้เห็นเป็นใจ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินการไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
การลักลอบนำข้าวออกนอกประเทศเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 กับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี เท่ากัน แต่การกระทำฐานพยายามนั้นพระราชบัญญัติศุลกากรถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 27 เสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จลงโทษจำคุกได้ถึง 10 ปี แต่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกฯ ลงโทษได้เพียง 2 ใน 3 จำคุกได้อย่างสูง 6 ปี 8 เดือนจึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร อันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90(อ้างฎีกาที่ 1027/2504)
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ศาลต้องนำพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ.2489 มาใช้บังคับในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้จับ
จำเลยทั้ง 3 พยายามนำข้าวออกนอกประเทศ ข้าวสารเป็นของจำเลยที่ 2 จำนวน 6 กระสอบ เป็นของจำเลยที่ 3 จำนวน 6 กระสอบจำเลยที่ 2,3 ไม่ได้สมคบกันส่วนจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2,3ดังนี้ เมื่อค่าปรับทั้งหมด 8,002.56 บาท จึงปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4,001.28 บาท จำเลยที่ 2,3 คนละ 2,000.64บาท จำเลยที่ 2,3 รับสารภาพลดกึ่ง คงปรับคนละ1,000.32 บาท
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32 บัญญัติว่าเรือ...รถ...หากใช้ในการย้าย ถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี...ให้ริบเสียสิ้น นั้น หากเจ้าของมิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำผิดแล้ว ศาลไม่ริบ(อ้างฎีกาที่ 193/2491) ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ไต่สวนข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถยนต์ของกลางรู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำหรือไม่อัยการโจทก์ก็ค้านอยู่ว่ารู้เห็นเป็นใจ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินการไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดพิกัดศุลกากร: พิจารณาโทษหนักเบาตามกฎหมายเฉพาะ และการจ่ายเงินรางวัลแก่เจ้าหน้าที่
การคำนวณค่าปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ตามพระราชบัญญัติศุลกากร ฯ มาตรา 27 นั้น ต้องถือเอาราคาของในท้องตลาดอันเป็นราคาที่แท้จริง และรวมค่าอากรเข้าด้วย เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
การลักลอบนำข้าวออกนอกประเทศเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2490 มาตรา 3 กับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีเท่ากัน แต่การกระทำฐานพยายามนั้น พระราชบัญญัติศุลกากรถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 27 เสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จลงโทษจำคุกได้ถึง 10 ปี แต่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอก ฯ ลงโทษได้เพียง 2 ใน 3 จำคุกได้อย่างสูง 6 ปี 8 เดือน จึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร อันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 (อ้างฎีกาที่ 1027/2504)
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ศาลต้องนำพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาใช้บังคับในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้จับ
จำเลยทั้ง 3 พยายามนำข้าวออกนอกประเทศ ข้าวสารเป็นของจำเลยที่ 2 จำนวน 6 กระสอบ เป็นของจำเลยที่ 3 จำนวน 6 กระสอบ จำเลยที่ 2,3 ไม่ได้สมคบกัน ส่วนจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2,3 ดังนี้ เมื่อค่าปรับทั้งหมด 8002.56 บาท จึงปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4001.28 บาท จำเลยที่ 2,3 คนละ 2000.64 บาท จำเลยที่ 2,3 รับสารภาพลดกึ่ง คงปรับคนละ 1000.32 บาท
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 บัญญัติว่า เรือ...รถ...หากใช้ในการย้าย ถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี... ให้ริบเสียสิ้น นั้น หากเจ้าของมิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำผิดแล้ว ศาลไม่ริบ (อ้างฎีกาที่ 193/2491) ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ไต่สวน ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถยนต์ของกลางรู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำหรือไม่ อัยการโจทก์ก็ค้านอยู่ว่ารู้เห็นเป็นใจ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินการไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
การลักลอบนำข้าวออกนอกประเทศเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2490 มาตรา 3 กับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีเท่ากัน แต่การกระทำฐานพยายามนั้น พระราชบัญญัติศุลกากรถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 27 เสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จลงโทษจำคุกได้ถึง 10 ปี แต่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอก ฯ ลงโทษได้เพียง 2 ใน 3 จำคุกได้อย่างสูง 6 ปี 8 เดือน จึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร อันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 (อ้างฎีกาที่ 1027/2504)
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ศาลต้องนำพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาใช้บังคับในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้จับ
จำเลยทั้ง 3 พยายามนำข้าวออกนอกประเทศ ข้าวสารเป็นของจำเลยที่ 2 จำนวน 6 กระสอบ เป็นของจำเลยที่ 3 จำนวน 6 กระสอบ จำเลยที่ 2,3 ไม่ได้สมคบกัน ส่วนจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2,3 ดังนี้ เมื่อค่าปรับทั้งหมด 8002.56 บาท จึงปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4001.28 บาท จำเลยที่ 2,3 คนละ 2000.64 บาท จำเลยที่ 2,3 รับสารภาพลดกึ่ง คงปรับคนละ 1000.32 บาท
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 บัญญัติว่า เรือ...รถ...หากใช้ในการย้าย ถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี... ให้ริบเสียสิ้น นั้น หากเจ้าของมิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำผิดแล้ว ศาลไม่ริบ (อ้างฎีกาที่ 193/2491) ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ไต่สวน ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถยนต์ของกลางรู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำหรือไม่ อัยการโจทก์ก็ค้านอยู่ว่ารู้เห็นเป็นใจ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินการไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451-452/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบอำนาจตัวแทน – นิติกรรมนอกขอบ – ความเชื่อโดยสุจริต – ความผูกพันต่อบุคคลภายนอก
การที่เจ้าของที่ดินลงลายพิมพ์นิ้วมือในใบมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินโดยมิได้กรอกข้อความแล้วจำเลยที่ 1 ไปจัดการกรอกข้อความเติมไปด้วยว่าให้มีอำนาจทำนิติกรรมขายฝากได้ด้วยและนำที่ดินไปขายฝากให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น ถือว่าเป็นการทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวการตามปกติจึงไม่ผูกพันตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 เว้นแต่ทางปฏิบัติของตัวการทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการนั้นอยู่ในขอบอำนาจของตัวแทนหรือตัวการให้สัตยาบัน จึงจะผูกพันตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 822 และ 823
เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อฝากที่ดินมิได้หลงเชื่อใบมอบอำนาจหากเชื่อตัวบุคคลอื่นซึ่งแสดงตนเป็นโจทก์จึงได้รับซื้อฝากที่พิพาทนั้นถือว่าโจทก์มิได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลงเชื่อนิติกรรมขายฝากจึงไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อฝากที่ดินมิได้หลงเชื่อใบมอบอำนาจหากเชื่อตัวบุคคลอื่นซึ่งแสดงตนเป็นโจทก์จึงได้รับซื้อฝากที่พิพาทนั้นถือว่าโจทก์มิได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลงเชื่อนิติกรรมขายฝากจึงไม่ผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451-452/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจตัวแทนและการผูกพันตามสัญญา: การขายฝากเกินอำนาจมอบหมาย
การที่เจ้าของที่ดินลงลายพิมพ์นิ้วมือในใบมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปขอหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินโดยมิได้กรอกข้อความ แล้วจำเลยที่ 1 ไปจัดการกรอกข้อความเติมไปด้วยว่าให้มีอำนาจทำนิติกรรมขายฝากได้ด้วย และนำที่ดินไปขายฝากให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น ถือว่าเป็นการทำนอกเหนือขอบอำนาจของตัวการ ตามปกติจึงไม่ผูกพันตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 เว้นแต่ทางปฏิบัติของตัวการทำให้บุคคลภายนอกมีมูลเหตุอันสมควรจะเชื่อว่าการนั้นอยู่ในขอบอำนาจของตัวแทน หรือตัวการให้สัตยาบัน จึงจะผูกพันตัวการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822 และ 823
เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อฝากที่ดินมิได้หลงเชื่อใบมอบอำนาจ หากเชื่อตัวบุคคลอื่นซึ่งแสดงตนเป็นโจทก์ จึงได้รับซื้อฝากที่พิพาทนั้น ถือว่าโจทก์มิได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลงเชื่อ นิติกรรมขายฝากจึงไม่ผูกพันโจทก์.
เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อฝากที่ดินมิได้หลงเชื่อใบมอบอำนาจ หากเชื่อตัวบุคคลอื่นซึ่งแสดงตนเป็นโจทก์ จึงได้รับซื้อฝากที่พิพาทนั้น ถือว่าโจทก์มิได้ทำให้จำเลยที่ 2 หลงเชื่อ นิติกรรมขายฝากจึงไม่ผูกพันโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426-427/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน: ครอบครองไม่ได้แม้มีอายุความ
ที่พิพาทเป็นสนามบินใช้ในราชการกองทัพอากาศมีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง จึงเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์จะครอบครองเอาเป็นของตนโดยจะยกเอาอายุความการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426-427/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่อาจถูกครอบครองปรปักษ์ได้
ที่พิพาทเป็นสนามบินใช้ในราชการกองทัพอากาศ มีหนังสือสำคัญสำหรับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์จะครอบครองเอาเป็นของตนโดยจะยกเอาอายุความการครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองรูปแบบสินค้า: มาตรา 272(1) คุ้มครองเฉพาะเครื่องหมายการค้า ไม่ได้คุ้มครองรูปแบบหรือรูปร่างของสินค้า
โจทก์เป็นผู้ผลิตไฟฉายเรโอแวคส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จำเลยผลิตไฟฉายยี่ห้อไฟล๊อต โจทก์จึงฟ้องว่าจำเลยเอาลักษณะ รูปและรอยประดิษฐ์ของโจทก์ไปใช้กับไฟฉายของจำเลย ด้วยเจตนาจะให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นไฟฉายของโจทก์ เป็นการละเมิดต่อโจทก์
ศาลฎีกาเห็นว่า ที่จะเป็นละเมิดนั้น ต้องเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายต่อสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมาย มาตรา 272(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่โจทก์อ้างว่าบัญญัติคุ้มครองสิทธิของโจทก์ไว้นั้น เป็นบทบัญญัติเรื่องเครื่องหมายของสินค้าเท่านั้น เพราะชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าจะแปลว่าเป็นแบบของวัตถุที่ผลิตเป็นสินค้านั้นไม่ได้ ส่วนรอยประดิษฐ์ก็เป็นแต่ลวดลายของเครื่องหมายรูปนั้นก็คือภาพเขียนภาพถ่ายของบุคคลหรือสถานที่หรือสิ่งอื่นที่ใช้ให้ปรากฏที่สินค้าเพื่อให้เป็นที่สังเกตุว่าเป็นสินค้าของตนหาใช่รูปทรงลวดลายของสิ่งผลิตไม่มาตรา 272(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงไม่ใช่บทบัญญัติห้ามการผลิตวัตถุอันเป็นสินค้ามิให้ซ้ำกันหรือมีแบบมีรูปอย่างเดียวกันเมื่อไม่มีกฎหมายคุ้มครองประโยชน์ที่โจทก์ต้องการจึงไม่เป็นสิทธิที่มีตามกฎหมายการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
ศาลฎีกาเห็นว่า ที่จะเป็นละเมิดนั้น ต้องเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายต่อสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมาย มาตรา 272(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่โจทก์อ้างว่าบัญญัติคุ้มครองสิทธิของโจทก์ไว้นั้น เป็นบทบัญญัติเรื่องเครื่องหมายของสินค้าเท่านั้น เพราะชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าจะแปลว่าเป็นแบบของวัตถุที่ผลิตเป็นสินค้านั้นไม่ได้ ส่วนรอยประดิษฐ์ก็เป็นแต่ลวดลายของเครื่องหมายรูปนั้นก็คือภาพเขียนภาพถ่ายของบุคคลหรือสถานที่หรือสิ่งอื่นที่ใช้ให้ปรากฏที่สินค้าเพื่อให้เป็นที่สังเกตุว่าเป็นสินค้าของตนหาใช่รูปทรงลวดลายของสิ่งผลิตไม่มาตรา 272(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงไม่ใช่บทบัญญัติห้ามการผลิตวัตถุอันเป็นสินค้ามิให้ซ้ำกันหรือมีแบบมีรูปอย่างเดียวกันเมื่อไม่มีกฎหมายคุ้มครองประโยชน์ที่โจทก์ต้องการจึงไม่เป็นสิทธิที่มีตามกฎหมายการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองรูปแบบสินค้า: ศาลฎีกาตัดสินว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 272(1) คุ้มครองเฉพาะเครื่องหมายการค้า ไม่ได้คุ้มครองรูปแบบสินค้าโดยรวม
โจทก์เป็นผู้ผลิตไฟฉายเรโอแวคส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จำเลยผลิตไฟฉายยี่ห้อไพล๊อต โจทก์จึงฟ้องว่าจำเลยเอาลักษณะ รูปและรอยประดิษฐ์ของโจทก์ไปใช้กับไฟฉายของจำเลย ด้วยเจตนาจะให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นไฟฉายของโจทก์ เป็นการละเมิดต่อโจทก์
ศาลฎีกาเห็นว่า ที่จะเป็นละเมิดนั้น ต้องเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายต่อสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายมาตรา 272 (1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่โจทก์อ้างว่าบัญญัติคุ้มครองสิทธิของโจทก์ไว้นั้น เป็นบทบัญญัติเรื่องเครื่องหมายของสินค้าเท่านั้น เพราะชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าจะแปลว่าเป็นแบบของวัตถุที่ผลิตเป็นสินค้านั้นไม่ได้ ส่วนรอยประดิษฐ์ก็เป็นแต่ลวดลายของเครื่องหมาย รูปนั้นก็คือภาพเขียน ภาพถ่ายของบุคคลหรือสถานที่หรือสิ่งอื่นที่ใช้ให้ปรากฏที่สินค้าเพื่อให้เป็นที่สังเกตุว่าเป็นสินค้าของตนหาใช่รูปทรงลวดลายของสิ่งผลิตไม่ มาตรา 272(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงไม่ใช่บทบัญญัติห้ามการผลิตวัตถุอันเป็นสินค้ามิให้ซ้ำกันหรือมีแบบมีรูปอย่างเดียวกัน เมื่อไม่มีกฎหมายคุ้มครองประโยชน์ที่โจทก์ต้องการจึงไม่เป็นสิทธิที่มีตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
ศาลฎีกาเห็นว่า ที่จะเป็นละเมิดนั้น ต้องเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายต่อสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายมาตรา 272 (1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ที่โจทก์อ้างว่าบัญญัติคุ้มครองสิทธิของโจทก์ไว้นั้น เป็นบทบัญญัติเรื่องเครื่องหมายของสินค้าเท่านั้น เพราะชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าจะแปลว่าเป็นแบบของวัตถุที่ผลิตเป็นสินค้านั้นไม่ได้ ส่วนรอยประดิษฐ์ก็เป็นแต่ลวดลายของเครื่องหมาย รูปนั้นก็คือภาพเขียน ภาพถ่ายของบุคคลหรือสถานที่หรือสิ่งอื่นที่ใช้ให้ปรากฏที่สินค้าเพื่อให้เป็นที่สังเกตุว่าเป็นสินค้าของตนหาใช่รูปทรงลวดลายของสิ่งผลิตไม่ มาตรา 272(1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงไม่ใช่บทบัญญัติห้ามการผลิตวัตถุอันเป็นสินค้ามิให้ซ้ำกันหรือมีแบบมีรูปอย่างเดียวกัน เมื่อไม่มีกฎหมายคุ้มครองประโยชน์ที่โจทก์ต้องการจึงไม่เป็นสิทธิที่มีตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองแทนเจ้าของจากการทำสัญญาขายฝากโมฆะ และการแสดงเจตนาครอบครองเพื่อตน
จำเลยทำสัญญาขายฝากนาพิพาทไว้กับโจทก์ โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และมีเงื่อนไขว่า ถ้าจำเลยไม่นำเงินมาไถ่ ก็ให้โจทก์ทำนาเรื่อยไป การขายฝากจึงเป็นโมฆะตามมาตรา 456 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น ที่โจทก์เข้าครอบครองนาพิพาทจึงเป็นการครอบครองแทนจำเลย และการที่โจทก์ครอบครองจนกว่าจำเลยจะใช้เงินคืนเช่นนี้ ถึงจะนานสักกี่ปีก็ยังถือว่าครอบครองแทนจำเลยผู้เป็นเจ้าของนาพิพาทอยู่นั่นเองแม้โจทก์จะมีชื่อในแบบ ส.ค.1 และเสียภาษีเงินบำรุงท้องที่มาก็ตามก็ต้องถือว่าทำแทนจำเลยเช่นกัน
กรณีดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องจำเลยสละเจตนาการครอบครองดังนั้น หากโจทก์จะถือว่าครอบครองเพื่อตน ก็ต้องแสดงเจตนาต่อจำเลยว่าจะครอบครองเพื่อตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
กรณีดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องจำเลยสละเจตนาการครอบครองดังนั้น หากโจทก์จะถือว่าครอบครองเพื่อตน ก็ต้องแสดงเจตนาต่อจำเลยว่าจะครอบครองเพื่อตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองนาพิพาทหลังสัญญาขายฝากเป็นโมฆะ: การครอบครองแทนเจ้าของ vs. การครอบครองเพื่อตน
จำเลยทำสัญญาขายฝากนาพิพาทไว้กับโจทก์โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และมีเงื่อนไขว่า ถ้าจำเลยไม่นำเงินมาไถ่ ก็ให้โจทก์ทำนาเรื่อยไป การขายฝากจึงเป็นโมฆะตามมาตรา 456 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น ที่โจทก์เข้าครอบครองนาพิพาทจึงเป็นการครอบครองแทนจำเลย และการที่โจทก์ครอบครองจนกว่าจำเลยจะใช้เงินคืนเช่นนี้ ถึงจะนานสักกี่ปีก็ยังถือว่าครอบครองแทนจำเลยผู้เป็นเจ้าของนาพิพาทอยู่นั่นเอง แม้โจทก์จะมีชื่อในแบบ ส.ค.1 และเสียภาษีเงินบำรุงท้องที่มาก็ตาม ก็ต้องถือว่าทำแทนจำเลยเช่นกัน
กรณีดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องจำเลยสละเจตนาการครอบครอง ดังนั้น หากโจทก์จะถือว่าครอบครองเพื่อตน ก็ต้องแสดงเจตนาต่อจำเลยว่าจะครอบครองเพื่อตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381.
กรณีดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องจำเลยสละเจตนาการครอบครอง ดังนั้น หากโจทก์จะถือว่าครอบครองเพื่อตน ก็ต้องแสดงเจตนาต่อจำเลยว่าจะครอบครองเพื่อตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381.