คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุศย์ ขันธวิทย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 357 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายและการไม่มีเจตนาเอาทรัพย์ในความผิดฐานชิงทรัพย์
จำเลยยอมให้ผู้เสียหายร่วมประเวณีมีสิ่งตอบแทน แต่ผู้เสียหายผิดข้อตกลงจำเลยไม่พอใจ จึงได้ทำร้ายผู้เสียหายแล้วเอาปืนผู้เสียหายไปทิ้งที่ปรักน้ำกลางทุ่งนาเพราะกลัวผู้เสียหายจะยิงเอาการเอาปืนไปทิ้งน้ำโดยไม่นำเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่น แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาประสงค์จะเอาทรัพย์ การเอาปืนของผู้เสียหายไปทิ้งจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ ส่วนไฟฉายนั้นผู้เสียหายก็ให้จำเลยไปส่องทาง จำเลยเอาไปไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายและการเอาทรัพย์ไปทิ้งโดยไม่มีเจตนาชิงทรัพย์ ศาลลดโทษจากเดิม
จำเลยยอมให้ผู้เสียหายร่วมประเวณีมีสิ่งตอบแทนแต่ผู้เสียหายผิดข้อตกลง จำเลยไม่พอใจ จึงได้ทำร้ายผู้เสียหายแล้วเอาปืนผู้เสียหายไปทิ้งที่ปรักน้ำกลางทุ่งนาเพราะกลัวผู้เสียหายจะยิงเอา การเอาปืนไปทิ้งน้ำโดยไม่นำเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่น แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาประสงค์จะเอาทรัพย์ การเอาปืนของผู้เสียหายไปทิ้ง จึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ ส่วนไฟฉายนั้นผู้เสียหายก็ให้จำเลยไปส่องทาง จำเลยเอาไป ไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์เช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับให้จำเลยออกจากที่ดินหลังใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ โดยแบ่งแยกช่วงเวลาการกระทำผิดเป็นก่อนและหลังใช้กฎหมาย
คำขอที่ขอให้บังคับจำเลยออกจากป่าที่จำเลยแผ้วถางครอบครองก่อนใช้พระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 4 นั้น เป็นคำขอให้ทางแพ่ง โจทก์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำขอที่เป็นทางแพ่งศาลจึงไม่บังคับให้คำขอที่ขอให้บังคับจำเลยออกจากป่าที่จำเลยแผ้วถางครอบครองภายหลังใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นคำขอในทางอาญา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยแผ้วถางในที่ตอนใด จึงไม่มีทางจะบังคับให้ได้
ปัญหาที่ว่าความผิดของจำเลยเป็นความผิดต่อเนื่องกันนั้นเป็นปัญหาที่โจทก์มิได้ยกขึ้นมาว่าในชั้นอุทธรณ์จะมายกขึ้นว่าในชั้นฎีกา เป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นคำนวณลดโทษไม่ถูกต้อง แม้จำเลยมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำขอทางแพ่งและอาญาในคดีบุกรุกป่า และการลดโทษที่ศาลฎีกาแก้ไขได้แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์
คำขอที่ขอให้บังคับจำเลยออกจากป่าที่จำเลยแผ้วถางครอบครองก่อนใช้พระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 4 นั้น เป็นคำขอในทางแพ่ง โจทก์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามคำขอที่เป็นทางแพ่ง ศาลจึงไม่บังคับให้คำขอที่ขอให้บังคับจำเลยออกจากป่าที่จำเลยแผ้วถางครอบครองภายหลังใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นคำขอในทางอาญา เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยแผ้วถางในที่ตอนใด จึงไม่มีทางจะบังคับให้ได้
ปัญหาที่ว่าความผิดของจำเลยเป็นความผิดต่อเนื่องกันนั้น เป็นปัญหาที่โจทก์มิได้ยกขึ้นว่ามาในชั้นอุทธรณ์จะมายกขึ้นว่าในชั้นฎีกา เป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นคำนวณลดโทษไม่ถูกต้อง แม้จำเลยมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ให้ถูกต้องได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโฉนดที่ดินก่อนการส่งมอบไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร หากอยู่ในอำนาจแก้ไขของเจ้าหน้าที่
โจทก์ขอออกโฉนดที่ดิน เจ้าพนักงานได้ทำเสร็จเรียบร้อย และประกาศแจกโฉนดให้ราษฎรแล้วโจทก์มาขอรับ เซ็นชื่อรับและเสียค่าธรรมเนียมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้มอบโฉนดให้โจทก์ไป ต่อมามีผู้มาขออายัดการออกโฉนด จำเลยจึงไม่แจกโฉนดและลบวันเดือนปีและลายเซ็นชื่อซึ่งจำเลยได้เซ็นในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินเสียเพราะเกรงว่าจะเป็นโฉนดที่สมบูรณ์การที่จำเลยลบวันเดือนปีและลายเซ็นชื่อของตนเองเช่นนี้ไม่เป็นการปลอมเอกสาร เพราะว่าเมื่อยังไม่ได้ส่งมอบโฉนดให้โจทก์ถือไม่ได้ว่าที่ดินรายนี้ได้ออกโฉนดแล้ว และโฉนดรายนี้ยังเป็นเอกสารที่อยู่ในความยึดถือหรือในความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ และถือได้ว่ายังอยู่ในระหว่างดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เมื่อมีเหตุเปลี่ยนแปลงจำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการออกโฉนด ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโฉนดที่ยังมิได้ส่งมอบโดยเจ้าพนักงานไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร
โจทก์ขอออกโฉนดที่ดิน เจ้าพนักงานได้ทำเสร็จเรียบร้อย และประกาศแจกโฉนดให้ราษฎรแล้ว โจทก์มาขอรับ เซ็นชื่อรับ และเสียค่าธรรมเนียมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว แต่พนักงานเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้มอบโฉนดให้โจทก์ไป ต่อมามีผู้มาขออายัดการออกโฉนด จำเลยจึงไม่แจกโฉนด และลบวันเดือนปีและลายเซ็นชื่อซึ่งจำเลยได้เซ็นในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินเสีย เพราะเกรงว่าจะเป็นโฉนดที่สมบูรณ์ การที่จำเลยลบวันเดือนปีและลายเซ็นชื่อของตนเองเช่นนี้ ไม่เป็นการปลอมเอกสาร เพราะว่าเมื่อยังไม่ได้ส่งมอบโฉนดให้โจทก์ ถือไม่ได้ว่าที่ดินรายนี้ได้ออกโฉนดแล้ว และโฉนดรายนี้ยังเป็นเอกสารที่อยู่ในความยึดถือหรือในความรับผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ และถือได้ว่ายังอยู่ในระหว่างดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เมื่อมีเหตุเปลี่ยนแปลง จำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการออกโฉนด ย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขเสียได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์พ้นระยะเวลา 3 ปี สัญญาใหม่ไม่มีกำหนดเวลา ผู้ให้เช่ามีสิทธิขายได้
ทำสัญญาเช่าสวนมีกำหนดเวลาเช่า 10 ปี โดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าว่า ถ้าผู้ให้เช่า(จำเลย)โอนกรรมสิทธิ์ที่เช่าไปก่อนหมดกำหนดเวลาเช่า ผู้ให้เช่าจะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่า (โจทก์) เช่าสวนมาได้ 8 ปีเศษ ผู้ให้เช่าจึงโอนขายที่สวนแปลงนี้ไปนั้น เมื่อปรากฏว่า สิ้นกำหนดเวลาสามปีแล้ว โจทก์ยังคงเช่าอยู่ต่อไป จึงต้องถือว่าเป็นอันทำสัญญาเช่ากันใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 จริงอยู่ คู่กรณีอาจต้องผูกพันตามข้อสัญญาเดิมต่อไป แต่ก็จำต้องพิจารณาข้อสัญญานั้นเป็นเรื่อง ๆ ไป ข้อสัญญาใดมีสภาพที่จะผูกพันกันได้ ก็ย่อมผูกพันกัน แต่ถ้าข้อสัญญาใดโดยสภาพไม่อาจผูกพันกันต่อไปได้ ก็ย่อมไม่ผูกพัน เมื่อสัญญาเช่ารายนี้เปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลาไปเสียแล้ว จึงไม่มีกำหนดเวลาที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่กัน ฉะนั้น การที่จำเลย(ผู้ให้เช่า) โอนขายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้อื่นไปเมื่อการเช่าล่วงเลยกว่าสามปีไปแล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับของสัญญา จำเลยมีสิทธิโอนขายได้ โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกเอาค่าเสียหายแก่จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์หลัง 3 ปี: สิทธิโอน-ชดใช้ค่าเสียหาย
ทำสัญญาเช่าสวนมีกำหนดเวลาเช่า 10 ปีโดยไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าว่า ถ้าผู้ให้เช่า (จำเลย) โอนกรรมสิทธิ์ที่เช่าไปก่อนหมดกำหนดเวลาเช่า ผู้ให้เช่าจะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่า(โจทก์) เช่าสวนมาได้ 8 ปีเศษผู้ให้เช่าจึงโอนขายที่สวนแปลงนี้ไปนั้น เมื่อปรากฏว่า สิ้นกำหนดเวลาสามปีแล้ว โจทก์ยังคงเช่าอยู่ต่อไปจึงต้องถือว่าเป็นอันทำสัญญาเช่ากันใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 จริงอยู่คู่กรณีอาจต้องผูกพันตามข้อสัญญาเดิมต่อไปแต่ก็จำต้องพิจารณาข้อสัญญานั้นเป็นเรื่องๆ ไปข้อสัญญาใดมีสภาพที่จะผูกพันกันได้ ก็ย่อมผูกพันกัน แต่ถ้าข้อสัญญาใดโดยสภาพไม่อาจผูกพันกันต่อไปได้ ก็ย่อมไม่ผูกพัน เมื่อสัญญาเช่ารายนี้เปลี่ยนเป็นสัญญาเช่าที่ไม่มีกำหนดเวลาไปเสียแล้วจึงไม่มีกำหนดเวลาที่จะอาศัยเป็นหลักแห่งความรับผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่กันฉะนั้น การที่จำเลย (ผู้ให้เช่า) โอนขายกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ให้เช่าให้ผู้อื่นไปเมื่อการเช่าล่วงเลยกว่าสามปีไปแล้ว จึงไม่อยู่ในบังคับของสัญญา จำเลยมีสิทธิโอนขายได้ โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกเอาค่าเสียหายแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากไม่โต้แย้งสิทธิอุทธรณ์ระงับ เมื่อศาลพิพากษาแล้วไม่อาจอุทธรณ์ได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้คู่ความฝ่ายใดนำสืบก่อนหรือหลังนั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดไม่เห็นชอบ จะต้องโต้แย้งไว้จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ เมื่อศาลพิพากษาแล้ว หากไม่โต้แย้งไว้ ก็ไม่มีสิทธิจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องโต้แย้งทันที หากไม่โต้แย้งจะเสียสิทธิอุทธรณ์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้คู่ความฝ่ายใดนำสืบก่อนหรือหลังนั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดไม่เห็นชอบ จะต้องโต้แย้งไว้จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ เมื่อศาลพิพากษาแล้ว หากไม่โต้แย้งไว้ ก็ไม่มีสิทธิจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226.
of 36