คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุศย์ ขันธวิทย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 357 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038-1039/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางการเช่านา: สัญญาเช่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หากไม่มี สัญญาสัญญาจ้างทำนาใช้ไม่ได้
ทำสัญญาจ้างทำนาเป็นหนังสือโดยอำพรางนิติกรรมการเช่านาสัญญาเช่านาที่ถูกอำพรางนั้นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ มิฉะนั้นไม่มีผลบังคับและจะถือเอาหลักฐานสัญญาจ้างทำนาเป็นหลักฐานการเช่านามิได้ เมื่อการเช่านามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ และโจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากนาแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิอยู่ในนาที่เช่านั้นต่อไปได้ การอยู่ต่อมาของจำเลยจึงเป็นละเมิด (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพสามีภรรยาตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย และผลกระทบต่อสิทธิในสินสมรสและมรดก
ในปี 2474 หรือ 2475 โจทก์ได้หนีตามชายชู้ไป และได้ชายอื่นเป็นสามีอีกหลายคน ส่วนสามีก็ได้ภรรยาใหม่หลายคน โจทก์กับสามีไม่ได้เกี่ยวข้องกันฉันสามีภรรยานับแต่นั้นเป็นต้นมา จนสามีถึงแก่กรรมและมูลกรณีดังว่านี้เกิดก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 จึงต้องปรับบทตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น พฤติการณ์ของโจทก์กับสามีจึงถือได้ว่าได้สละละทิ้งหย่าขาดกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียไปก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 แล้ว โจทก์จึงไม่ได้เป็นทายาทของสามีและไม่มีสิทธิรับมรดก
บิดาของสามียกที่ดินให้สามีโดยไม่ได้โอนกันทางทะเบียนเป็นการยกให้ที่ยังไม่สมบูรณ์ ตามกฎหมายสามีจะได้กรรมสิทธิก็ต่อเมื่อได้ครอบครองมาเป็นเวลา 10 ปี ในระหว่างที่สามีครอบครองที่ดินนั้นมายังไม่ครบ 10 ปี โจทก์กับสามีได้หย่าขาดกันเสียก่อนหลายปีแล้ว ที่ดินนั้นจึงไม่เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพสามีภรรยาตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย และผลกระทบต่อสิทธิในสินสมรสและมรดก
ในปี 2474 หรือ 2475 โจทก์ได้หนีตามชายชู้ไป และได้ชายอื่นเป็นสามีอีกหลายคน ส่วนสามีก็ได้ภรรยาใหม่หลายคน โจทก์กับสามีไม่ได้เกี่ยวข้องกันฉันสามีภรรยานับแต่นั้นเป็นต้นมา จนสามีถึงแก่กรรมและมูลกรณีดังว่านี้เกิดก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 จึงต้องปรับบทตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น พฤติการณ์ของโจทก์กับสามีจึงถือได้ว่าได้สละละทิ้งหย่าขาดกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียไปก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 แล้ว โจทก์จึงไม่ได้เป็นทายาทของสามีและไม่มีสิทธิรับมรดก
บิดาของสามียกที่ดินให้สามีโดยไม่ได้โอนกันทางทะเบียน เป็นการยกให้ที่ยังไม่สมบูรณ์ ตามกฎหมายสามีจะได้กรรมสิทธิ์ก็ต่อเมื่อได้ครอบครองมาเป็นเวลา 10 ปี ในระหว่างที่สามีครอบครองที่ดินนั้นมายังไม่ครบ 10 ปี โจทก์กับสามีได้หย่าขาดกันเสียก่อนหลายปีแล้ว ที่ดินนั้นจึงไม่เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ทรัพย์ขายฝากก่อนกำหนด: การตีความมาตรา 494 และ 492 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 494,492 บัญญัติเป็นใจความว่า ท่านห้ามไม่ให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ที่ขายฝาก ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อพ้นกำหนด 10 ปี หรือเมื่อพ้นกำหนดที่กำหนดไว้ในสัญญา ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างไว้กับจำเลยมีกำหนด 2 ปี ตามนัยของกฎหมายดังกล่าวเป็นที่เห็นได้ว่ากฎหมายไม่ได้ห้ามโจทก์ใช้สิทธิไถ่ก่อน 2 ปี ดังนี้ ภายในกำหนด 2 ปี โจทก์จะใช้สิทธิไถ่เมื่อใดก็ได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมให้ไถ่ก็ต้องถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ขอไถ่ที่ดินคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ทรัพย์ขายฝากก่อนกำหนด: การตีความข้อห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 494, 492 บัญญัติเป็นใจความว่า ท่านห้ามไม่ให้ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ที่ขายฝาก ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อพ้นกำหนด 10 ปี หรือเมื่อพ้นกำหนดที่กำหนดไว้ในสัญญา ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากที่ดินพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างไว้กับจำเลยมีกำหนด 2 ปี ตามนัยของกฎหมายดังกล่าว เป็นที่เห็นได้ว่ากฎหมายไม่ได้ห้ามโจทก์ใช้สิทธิไถ่ก่อน 2 ปี ดังนี้ ภายในกำหนด 2 ปี โจทก์จะใช้สิทธิไถ่เมื่อใดก็ได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมให้ไถ่ก็ต้องถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ขอไถ่ที่ดินคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินค่าสินค้าซ้ำซ้อนและการแก้ไขคำพิพากษาผิดพลาด
โจทก์ฎีกาว่า ที่ศาลอุทธรณ์หักเงินจากที่ศาลชั้นต้นบังคับให้จำเลยชำระให้โจทก์ เป็นการหักซ้ำ เพราะศาลชั้นต้นได้เคยหักเงินจำนวนนี้ไว้แล้ว ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า เงินที่ศาลชั้นต้นหักเป็นคนละจำนวนกับที่ศาลอุทธรณ์หัก จึงไม่เป็นการหักซ้ำ แต่ศาลฎีกายังมีอำนาจวินิจฉัยต่อไปได้ว่า ศาลอุทธรณ์ไม่ควรหักเงินจำนวนนั้นเพราะพยานโจทก์มีน้ำหนักฟังได้ว่าจำเลยติดหนี้เงินจำนวนนั้น
คำพิพากษาของศาลชั้นต้นพิมพ์จำนวนเงิน 5,312 บาทผิดเป็น 5,213 บาท ศาลฎีกาแก้ให้ถูกต้องได้เองโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินค่าปลาซ้ำซ้อนและการแก้ไขคำพิพากษาผิดพลาด
โจทก์ฎีกาว่า ที่ศาลอุทธรณ์หักเงินจากที่ศาลชั้นต้นบังคับให้จำเลยชำระให้โจทก์ เป็นการหักซ้ำ เพราะศาลชั้นต้นได้เคยหักเงินจำนวนนี้ไว้แล้ว ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า เงินที่ศาลชั้นต้นหักเป็นคนละจำนวนกับที่ศาลอุทธรณ์หัก จึงไม่เป็นการหักซ้ำ แต่ศาลฎีกายังมีอำนาจวินิจฉัยต่อไปได้ว่า ศาลอุทธรณ์ไม่ควรหักเงินจำนวนนั้น เพราะพยานโจทก์มีน้ำหนักฟังได้ว่าจำเลยติดหนี้เงินจำนวนนั้น
คำพิพากษาของศาลชั้นต้นพิมพ์จำนวนเงิน 5,312 บาทผิดเป็น 5,213 บาท ศาลฎีกาแก้ให้ถูกต้องได้เองโดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่า: ต้องมีการส่งมอบและครอบครองที่ดินก่อนจึงจะมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินกับสำนักงานทรัพย์สินฯ 1 แปลง เป็นที่ดินซึ่งมีบ้านเรือนปลูกอยู่แล้ว นับตั้งแต่โจทก์ทำสัญญาเช่า ไม่ปรากฏว่าสำนักงานทรัพย์สิน ฯ ได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์ และโจทก์ยังไม่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์หรือได้ครอบครองที่เช่านั้นในฐานะเป็นผู้เช่าแต่อย่างใด ดังนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้เจ้าของบ้านนั้นรื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่เช่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1013/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนต้องมีสิทธิครอบครอง: ผู้เช่าที่ยังไม่ได้รับมอบที่ดิน ไม่มีอำนาจฟ้องให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินกับสำนักงานทรัพย์สินฯ 1 แปลงเป็นที่ดินซึ่งมีบ้านเรือนปลูกอยู่แล้ว นับตั้งแต่โจทก์ทำสัญญาเช่า ไม่ปรากฏว่าสำนักงานทรัพย์สินฯ ได้ส่งมอบที่ดินให้โจทก์ และโจทก์ยังไม่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์หรือได้ครอบครองที่เช่านั้นในฐานะเป็นผู้เช่าแต่อย่างใด ดังนี้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้เจ้าของบ้านนั้นรื้อถอนบ้านเรือนออกไปจากที่เช่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914-915/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์สินหลังหย่า และสิทธิในการยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้
โจทก์จำเลยหย่าขาดจากสามีภริยากัน แต่มิได้แบ่งทรัพย์สินกัน เมื่อหย่ากันแล้วโจทก์กับสามียังคงอยู่ด้วยกันและมีบุตรอีก 2 คน โจกท์ได้เอาเงินที่มิได้แบ่งเมื่อตอนหย่าและเป็นเงินที่โจทก์กับสามีทำมาหาได้ด้วยกันมาซื้อที่ดินและปลูกเรือนพิพาทอยู่ด้วยกันกับสามี เป็นการแสดงว่าโจทก์กับสามีแสดงเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและเรือนพิพาท เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของสามีมีสิทธินำเจ้าพนักงานยึดทรัพย์พิพาทส่วนของสามีได้ โจทก์มีสิทธิเพียงแต่ร้องขอกันส่วนของโจทก์เท่านั้น ไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท
of 36