คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 391

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 125 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3580/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายหรือไม่ พิจารณาจากเจตนาและพฤติการณ์
จำเลยเข้ามาจับข้อมือของโจทก์ยกขึ้นพร้อมกับพูดว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเก็บค่าเช่าเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเข้ามา จำเลยก็ปล่อยมือของโจทก์ โดยใช้เวลาจับมือของโจทก์ไว้ไม่ถึงหนึ่งนาที เจตนาอันแท้จริงของจำเลยในการจับข้อมือของโจทก์ยกขึ้นก็เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่าโจทก์ได้รับเงินค่าเช่าบ้านไว้โดยไม่มีสิทธิจะรับเท่านั้น หาได้มีเจตนาที่จะทำร้ายโจทก์ให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจแต่อย่างใด จึงไม่มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7665/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากทำร้ายร่างกายเป็นทำร้ายร่างกายเล็กน้อย ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษตามความผิดที่พิจารณาได้
ผู้เสียหายมีบาดแผลถลอกและฟกช้ำที่คอด้านขวาขนาด 1 x 2 เซนติเมตร และมีบาดแผลถลอกฟกช้ำที่โหนกแก้มซ้ายขนาด 1 x 1 เซนติเมตร แพทย์มีความเห็นว่าเกิดจากถูกของแข็งไม่มีคมกระแทกโดยแรง ใช้เวลารักษาประมาณ 7 วัน จะหายเป็นปกติ ถือได้ว่าเป็นบาดแผลเล็กน้อยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายตาม ป.อ. มาตรา 295 แต่ความผิดดังกล่าวย่อมรวมถึงการใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามมาตรา 391 ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง ซึ่งแต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา 391 ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยในการกระทำตามที่พิจารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2770/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายและการกระทำโดยบันดาลโทสะ ศาลพิจารณาพยานหลักฐานและเหตุผลในการทำร้ายร่างกายเพื่อตัดสินโทษ
จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยใช้มือตบหน้าเพียง 2 ครั้งส่วนการที่กระดูกต้นแขนซ้ายของผู้เสียหายหักอาจเกิดจากผู้เสียหายวิ่งล้มลง มิได้เกิดจากจำเลยใช้ไม้ตีผู้เสียหายดังที่โจทก์อ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บจากการกระทำของจำเลยดังกล่าวมากน้อยเพียงใด จึงฟังได้เพียงว่า การกระทำของจำเลยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 391 และการที่ผู้เสียหายตะโกนด่าถึงมารดาจำเลยว่ามารดาจำเลยเป็นโสเภณีและถึงแก่กรรมด้วยโรคเอดส์ เป็นการกล่าวหาว่ามารดาจำเลยสำส่อนทางเพศ ถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุไม่เป็นธรรม การที่จำเลยตบหน้าผู้เสียหาย 2ครั้ง ในขณะนั้นจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ ซึ่งศาลฎีกาลงโทษจำเลยตามที่พิจารณาได้ความนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคท้ายประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์และการริบของกลาง: การประเมินความร้ายแรงของบาดแผลและการใช้ยานพาหนะ
ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บเพียงเป็นบาดแผลฟกช้ำบริเวณหน้าผากด้านขวาและคอด้านข้างแถบขวาชัดเจน ใช้เวลารักษาประมาณ 3 วันหาย จึงยังถือไม่ได้ว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย
พฤติการณ์ของจำเลยกับพวกที่เพียงขับรถจักรยานยนต์ไปจอดรอจำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหายบริเวณริมถนนฝั่งตรงข้ามกับที่เกิดเหตุ เป็นเพียงการใช้รถจักรยานยนต์ไปและกลับจากการกระทำความผิด เพื่อให้พ้นจากการจับกุมโดยสะดวกและรวดเร็วเท่านั้น เมื่อรถจักรยานยนต์ไม่ใช่ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) แล้ว จึงไม่อาจริบกุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางได้เช่นกัน ปัญหาดังกล่าวทั้งหมดเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2895/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ศาลฎีกาแก้โทษจำคุกเป็นปรับและรอการลงโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 295 จำเลยให้การรับสารภาพ และตามรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้องระบุว่าสภาพทั่วไปผู้เสียหายรู้สึกตัวดี มีอาการปวดศีรษะ ลักษณะการบาดเจ็บ ฟกซ้ำบริเวณคางใต้ตาซ้าย ริมผีปากล่าง ชายโครงซ้ายและน่อง ใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ5 วัน การบาดเจ็บเช่นนี้ถือว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายแล้ว การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 295
ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยและเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายและในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาในปัญหาที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเนื่องจากปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรี ก็ตาม แต่ศาลฎีกาเห็นว่า ตามพฤติการณ์ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เมื่อคำนึงถึงอายุ ประวัติความประพฤติของจำเลยตลอดจนสภาพความผิดประกอบกันแล้ว กรณีมีเหตุอันควรปรานีเพื่อให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดี และประกอบสัมมาชีพหาเลี้ยงตนเองได้ต่อไปศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็น ไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง แต่ให้ลงโทษปรับจำเลย อีกสถานหนึ่ง โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้และคุมความประพฤติจำเลยไว้นับตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟัง ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ.มาตรา 29,30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2895/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ศาลฎีกาแก้โทษจำคุกเป็นปรับและรอการลงโทษ โดยคำนึงถึงพฤติการณ์และประวัติผู้ต้องหา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 จำเลยให้การรับสารภาพ และตามรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ท้ายฟ้องระบุว่า สภาพทั่วไปผู้เสียหายรู้สึกตัวดี มีอาการปวดศีรษะ ลักษณะการบาดเจ็บ ฟกช้ำบริเวณคางใต้ตาซ้าย ริมฝีปากล่าง ชายโครงซ้ายและน่อง ใช้ระยะเวลาในการรักษาประมาณ 5 วัน การบาดเจ็บเช่นนี้ถือว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายแล้วการกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295
ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยและเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทน จำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายและในปัญหาข้อเท็จจริงแม้ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาในปัญหาที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเนื่องจากปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี ก็ตามแต่ศาลฎีกาเห็นว่า ตามพฤติการณ์ไม่ใช่เรื่องร้ายแรง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เมื่อคำนึงถึงอายุ ประวัติความประพฤติของจำเลยตลอดจนสภาพความผิดประกอบกันแล้วกรณีมีเหตุอันควรปรานีเพื่อให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีและประกอบสัมมาชีพหาเลี้ยงตนเองได้ต่อไป ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นไม่เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขัง แต่ให้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้และคุมความประพฤติจำเลยไว้นับตั้งแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟัง ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา, การปรับบทลงโทษผิดพลาด, และข่มขู่เจ้าพนักงาน
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองตามฟ้อง กระทงแรก มาตรา 7, 72 วรรคสาม ศาลล่างปรับบทลงโทษฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ ซึ่งมีระวางโทษ จำคุก 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท เพียงบทเดียว โดยมิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยฐาน มีเครื่องกระสุนปืนตามมาตรา 7, 72 วรรคสอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ และโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในส่วนนี้ ความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืน จึงเป็นอันยุติไปตาม คำพิพากษาศาลล่าง สำหรับข้อหามีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นและข้อหาพาอาวุธปืนตามฟ้องกระทงที่สอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท กับเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท อีกบทหนึ่งด้วยนั้น โจทก์มิได้ฟ้องภายใน 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิด จึงเป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) และมาตรา 95 (5)
จำเลยกระทำความผิดโดยใช้อาวุธปืนจ้องเล็งขู่เข็ญเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งจะเข้าจับกุมจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคแรก และวรรคสาม ซึ่งคำนวณแล้วมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 15,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้ศาลล่างจะปรับบทลงโทษว่าเป็นความผิดตามมาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคแรก ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้คดีโจทก์ในความผิดนี้ต้องขาดอายุความฟ้องร้องตามมาตรา 95 (3) ไม่ เพราะเป็นกรณีที่ศาลล่างปรับบทลงโทษผิดพลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์เวลากลางคืน, ทำร้ายร่างกาย, เจตนา, ความร่วมมือ, อำนาจศาล
เหตุเกิดเวลากลางคืนโดยจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ชกต่อยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย และจำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำพร้อมพระเครื่อง จำนวน 1 องค์ ของผู้เสียหายไปแต่การที่จำเลยทั้งสามสอบถามผู้เสียหายครั้งแรกที่ป้ายรถโดยสารประจำทางก็โดยมีเจตนาต้องการทราบว่าผู้เสียหายเป็นนักเรียนโรงเรียน ล. หรือไม่ หากว่าเป็นนักเรียนโรงเรียนดังกล่าว จำเลยทั้งสามจะได้แก้แค้นเมื่อผู้เสียหายบอกว่าไม่ใช่ จำเลยทั้งสามไม่เชื่อต่อมาเมื่อผู้เสียหายลงจากรถโดยสารประจำทางจึงถูกจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันทำร้ายร่างกายการที่จำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปขณะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่ทราบ และไม่มีเจตนาที่จะร่วมกันชิงทรัพย์หรือลักทรัพย์และจำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาแต่แรก คงมีเจตนาทำร้ายร่างกายเท่านั้น ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง จำเลยที่ 3มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 391 คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาคดีรวมกัน โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์ซึ่งรวมถึงการชิงทรัพย์และทำร้ายร่างกายด้วยเฉพาะจำเลยที่ 3 ผู้เดียวฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1และที่ 3 ในการกระทำความผิดดังกล่าวตามที่ทางพิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสุดท้ายประกอบด้วยมาตรา 215,225 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 แม้จะได้ร่วมชักถามผู้เสียหายแต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งไม่ปรากฏว่าได้หลบหนีไปกับจำเลยที่ 1 และที่ 3แสดงว่าไม่ได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 และที่ 3เมื่อเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยแม้มิได้ฎีกา ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และอำนาจศาลในการพิพากษาจำเลยที่ไม่ได้ฎีกา
เหตุเกิดเวลากลางคืนโดยจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ชกต่อยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย และจำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำพร้อมพระเครื่องจำนวน 1 องค์ ของผู้เสียหายไป แต่การที่จำเลยทั้งสามสอบถามผู้เสียหายครั้งแรกที่ป้ายรถโดยสารประจำทางก็โดยมีเจตนาต้องการทราบว่าผู้เสียหายเป็นนักเรียนโรงเรียน ล.หรือไม่ หากว่าเป็นนักเรียนโรงเรียนดังกล่าว จำเลยทั้งสามจะได้แก้แค้น เมื่อผู้เสียหายบอกว่าไม่ใช่ จำเลยทั้งสามไม่เชื่อ ต่อมาเมื่อผู้เสียหายลงจากรถโดยสารประจำทางจึงถูกจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันทำร้ายร่างกาย การที่จำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปขณะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ทราบ และไม่มีเจตนาที่จะร่วมกันชิงทรัพย์หรือลักทรัพย์และจำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาแต่แรก คงมีเจตนาทำร้ายร่างกายเท่านั้น ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนตาม ป.อ.มาตรา 339 วรรคสอง จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 391
คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาคดีรวมกัน โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์ซึ่งรวมถึงการชิงทรัพย์และทำร้ายร่างกายด้วย เฉพาะจำเลยที่ 3 ผู้เดียวฎีกาศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในการกระทำความผิดดังกล่าวตามที่ทางพิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสุดท้าย ประกอบด้วยมาตรา 215, 225 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1และที่ 3 แม้จะได้ร่วมซักถามผู้เสียหาย แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ทั้งไม่ปรากฏว่าได้หลบหนีไปกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 แสดงว่าไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 เมื่อเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยแม้มิได้ฎีกา ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7223/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในทางละเมิด จำเลยต้องมีส่วนร่วมในการกระทำละเมิด หรือรู้เห็นการกระทำละเมิดของผู้อื่น
ฟ้องโจทก์ตั้งรูปคดีมาว่า จำเลยกับพวกร่วมกันขับรถยนต์บรรทุกสินค้าหลบหนีภาษีศุลกากรแล้วชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย แต่โจทก์ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยร่วมกับ ด.ขับรถยนต์ชนรถยนต์ของโจทก์อันเป็นการทำละเมิดโจทก์ คงได้ความแต่เพียงว่า ด.เป็นผู้ขับรถยนต์กระบะเฉี่ยวชนรถยนต์ของโจทก์เสียหายโดยจำเลยเป็นเพียงบุคคลภายนอกที่นั่งมาในรถยนต์กระบะที่ ด.เป็นผู้ขับเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ของโจทก์ด้วย ทั้งไม่มีพฤติการณ์ใดส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้รู้เห็นในการทำละเมิดของ ด.หรือยุยงช่วยเหลือ ด.กระทำละเมิดโจทก์ แม้ ด.จะมีส่วนทำละเมิดขับรถชนรถยนต์ของโจทก์เสียหายเพียงเท่านี้ก็ยังไม่พอถือว่าจำเลยร่วมทำละเมิดอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่จำเลยคดีนี้ถูกฟ้องจนศาลพิพากษาลงโทษไปเด็ดขาดแล้วนั้น ปรากฏเพียงว่าคดีอาญานั้นจำเลยถูกฟ้องหาว่าร่วมกับ ด.ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่และทำร้ายผู้อื่นตาม ป.อ.มาตรา 138,391, 83 เท่านั้น ไม่ได้มีประเด็นโดยตรงเกี่ยวกับความเสียหายรถยนต์ของโจทก์ข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวจึงเป็นคนละประเด็นกับคดีนี้และไม่มีผลผูกพันจำเลยในคดีนี้ ดังนี้ คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์
of 13