คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิเชียร เศวตรุนทร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 566 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากภริยาตามกฎหมาย แม้ความสัมพันธ์เดิมเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
บุตรบุญธรรมย่อมเป็นบุตรบุญธรรมของผู้ที่จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมเท่านั้น ไม่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมด้วย แม้ผู้รับบุตรบุญธรรมถึงแก่ความตายการเป็นบุตรบุญธรรมก็ไม่ขาด
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหลังจากใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวแล้วแม้สามีภริยาซึ่งแต่งงานกันมาก่อนตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ไม่มีสิทธิจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
การที่บุตรบุญธรรมยื่นขอรับบำเหน็จตกทอดของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่ความตาย ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม คู่สมรสนั้นมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ได้ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะมิได้บัญญัติให้ฟ้องเพิกถอนการรับบุตรบุญธรรมไว้โดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 5,000 บาท และการโต้เถียงข้อเท็จจริง ศาลฎีกายกคำฎีกาและคืนค่าธรรมเนียม
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าพันบาทซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ย่อมพิพากษาให้ยกฎีกาเสีย
ในกรณีพิพากษายกฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลค่าตัดสินและค่าคำบังคับให้แก่ผู้ฎีกาได้
ฎีกาซึ่งโต้เถียงว่า ศาลควรฟังคำเบิกความของพยานปากนั้นปากนี้ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากคดีมีทุนทรัพย์น้อยกว่า 5,000 บาท และเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าพันบาทซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ย่อมพิพากษาให้ยกฎีกาเสีย
ในกรณีพิพากษายกฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลค่าตัดสินและค่าคำบังคับให้แก่ผู้ฎีกาได้
ฎีกาซึ่งโต้เถียงว่า ศาลควรฟังคำเบิกความของพยานปากนั้นปากนี้ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้าม - คดีทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าพันบาท ศาลฎีกายกคำฎีกาและคืนค่าธรรมเนียม
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าพันบาทซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น. ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง. แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง. ย่อมพิพากษาให้ยกฎีกาเสีย.
ในกรณีพิพากษายกฎีกา. ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลค่าตัดสินและค่าคำบังคับให้แก่ผู้ฎีกาได้.
ฎีกาซึ่งโต้เถียงว่า ศาลควรฟังคำเบิกความของพยานปากนั้นปากนี้. เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การพิสูจน์ความเท็จในการให้การ/เบิกความ และสิทธิในการนำสืบพยานหลักฐานของจำเลย
ถ้ามีการกล่าวอ้างว่า ข้อความใดที่เกิดจากการยื่นคำให้การก็ดี. เกิดจากการเบิกความก็ดี. ว่าเป็นความเท็จอันจะต้องรับโทษทางอาญาแล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของฝ่ายที่กล่าวอ้าง. จะต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้องว่าจำเลยให้การเท็จและเบิกความเท็จ. หาไม่แล้วจะลงโทษทางอาญาไม่ได้.
จำเลยย่อมนำสืบตามข้ออ้างของตน ซึ่งอาจเป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเอกสารใดๆ ได้ทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้มีข้อจำกัดห้ามมิให้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารในบางกรณีไว้ดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การพิสูจน์ความเท็จในการแจ้งความเท็จ/เบิกความเท็จ ฝ่ายกล่าวอ้างต้องพิสูจน์ตามฟ้อง
ถ้ามีการกล่าวอ้างว่า ข้อความใดที่เกิดจากการยื่นคำให้การก็ดี เกิดจากการเบิกความก็ดี ว่าเป็นความเท็จอันจะต้องรับโทษทางอาญาแล้ว ย่อมเป็นหน้าที่ของฝ่ายที่กล่าวอ้าง จะต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้องว่าจำเลยให้การเท็จและเบิกความเท็จ หาไม่แล้วจะลงโทษทางอาญาไม่ได้
จำเลยย่อมนำสืบตามข้ออ้างของตน ซึ่งอาจเป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเอกสารใดๆ ได้ทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้มีข้อจำกัดห้ามมิให้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารในบางกรณีไว้ดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำเพื่อการค้าประเวณี: การเตร็ดเตร่ในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้องการติดต่อ ไม่จำต้องพิสูจน์การค้าประเวณีจริง
ความผิด มาตรา 5(2) แห่งพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณีพ.ศ.2503 นั้น. ไม่จำต้องคำนึงว่าผู้กระทำได้เคยยอมรับการกระทำชำเราสำส่อนเพื่อสินจ้างมาก่อนแล้วหรือไม่. หากมีพฤติการณ์ในลักษณะหรืออาการที่เห็นได้ว่าเป็นการเรียกร้องหรือเป็นการติดต่อในการค้าประเวณี ตามที่บัญญัติไว้นี้แล้ว ย่อมเป็นความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำเพื่อการค้าประเวณี: การเตร็ดเตร่ในที่สาธารณะ แม้ไม่มีการค้าประเวณีจริง ก็ถือเป็นความผิดได้
ความผิด มาตรา 5(2) แห่งพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณีพ.ศ.2503 นั้น ไม่จำต้องคำนึงว่าผู้กระทำได้เคยยอมรับการกระทำชำเราสำส่อนเพื่อสินจ้างมาก่อนแล้วหรือไม่ หากมีพฤติการณ์ในลักษณะหรืออาการที่เห็นได้ว่าเป็นการเรียกร้องหรือเป็นการติดต่อในการค้าประเวณี ตามที่บัญญัติไว้นี้แล้ว ย่อมเป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิด พ.ร.บ.ปรามการค้าประเวณี ไม่ต้องพิสูจน์การค้าประเวณีจริง เพียงแสดงอาการเรียกร้อง
ความผิด มาตรา 5(2) แห่งพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณีพ.ศ.2503 นั้น ไม่จำต้องคำนึงว่าผู้กระทำได้เคยยอมรับการกระทำชำเราสำส่อนเพื่อสินจ้างมาก่อนแล้วหรือไม่ หากมีพฤติการณ์ในลักษณะหรืออาการที่เห็นได้ว่าเป็นการเรียกร้องหรือเป็นการติดต่อในการค้าประเวณี ตามที่บัญญัติไว้นี้แล้ว ย่อมเป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผูกพันตามการเข้าชื่อซื้อหุ้นก่อนการจดทะเบียนบริษัทและการเรียกเก็บเงินค่าหุ้น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1106 การที่ผู้ร้องเข้าชื่อซื้อหุ้นบริษัทผู้ล้มละลาย ย่อมต้องถูกผูกพันอยู่ในอันที่จะต้องชำระเงินค่าหุ้นให้แก่บริษัทโดยมีเงื่อนไขว่าถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้น. ฉะนั้น ระหว่างที่เงื่อนไขอันนี้ซึ่งเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนยังไม่สำเร็จผู้ร้องซึ่งได้เข้าชื่อซื้อหุ้นไว้แล้วจะต้องถูกผูกพันอยู่ตลอดไป.ผู้ร้องจะถอนการเข้าชื่อซื้อหุ้นหาได้ไม่. และการที่ผู้ร้องถอนหุ้นภายหลังที่บริษัทจำเลยจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว.แม้ก่อนประกาศการจดทะเบียนในหนังสือราชกิจจานุเบกษา. ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงไปอย่างใด.ฉะนั้น เมื่อบริษัทจำเลยตั้งขึ้นแล้ว ผู้ร้องย่อมมีความผูกพันที่จะใช้เงินค่าหุ้นที่ได้เข้าชื่อซื้อไว้.เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีสิทธิเรียกให้ผู้ร้องชำระเงินค่าหุ้นได้.
of 57