พบผลลัพธ์ทั้งหมด 566 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยิงผู้เสียชีวิตโดยสำคัญผิดเกินสมควรแก่เหตุ และความผิดเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
จำเลยมีปากเสียงกับพวกผู้ตายก่อนเกิดเหตุเมื่อผู้ตายเดินมาหาพวก ซึ่งพากันออกมายืนหน้าร้านพร้อมกับจำเลย ผู้ตายก้มลงเก็บของตกห่างจำเลยประมาณ 2 วา จำเลยซึ่งมีอาการเมาสุราอยู่ด้วย สำคัญผิดว่าผู้ตายจะทำร้ายตนจึงชักปืนยิงผู้ตายเช่นนี้เป็นการเข้าใจโดยไม่มีเหตุอันควรและแม้ความสำคัญผิดจะเกิดจากความประมาทก็เป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวที่เกินสมควรแก่เหตุ
ความผิดฐานลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายศพตาม มาตรา199 จะต้องกระทำด้วยความมุ่งหมายเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตาย จึงจะเข้าองค์ประกอบความผิด
ความผิดตามมาตรา 200 ฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำหรือละเว้นกระทำในตำแหน่งอันมิชอบ จะต้องมีความมุ่งหมายเพื่อช่วยบุคคลอื่น จึงจะเป็นความผิดตามมาตรานี้หากเพื่อช่วยเหลือตัวผู้กระทำผิดเอง และเกิดเสียหายแก่ผู้อื่น ย่อมเป็นความผิดตาม มาตรา 157
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยฆ่าผู้ตายโดยสำคัญผิดอันเกิดจากความประมาท โจทก์ฎีกาให้ลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาได้ เพราะเป็นปัญหาเรื่องกรรมเดียวเป็นผิดกฎหมายหลายบทเมื่อศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปีจึงไม่ต้องห้ามฎีกา
ความผิดฐานลอบฝัง ซ่อนเร้น ย้ายหรือทำลายศพตาม มาตรา199 จะต้องกระทำด้วยความมุ่งหมายเพื่อปิดบังการตายหรือเหตุแห่งการตาย จึงจะเข้าองค์ประกอบความผิด
ความผิดตามมาตรา 200 ฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำหรือละเว้นกระทำในตำแหน่งอันมิชอบ จะต้องมีความมุ่งหมายเพื่อช่วยบุคคลอื่น จึงจะเป็นความผิดตามมาตรานี้หากเพื่อช่วยเหลือตัวผู้กระทำผิดเอง และเกิดเสียหายแก่ผู้อื่น ย่อมเป็นความผิดตาม มาตรา 157
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยฆ่าผู้ตายโดยสำคัญผิดอันเกิดจากความประมาท โจทก์ฎีกาให้ลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาได้ เพราะเป็นปัญหาเรื่องกรรมเดียวเป็นผิดกฎหมายหลายบทเมื่อศาลล่างลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปีจึงไม่ต้องห้ามฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทำสัญญาเช่าซื้อระบุการดำเนินคดีเฉพาะศาลแพ่ง ไม่ตัดสิทธิการดำเนินคดีอาญา
ข้อความในสัญญาเช่าซื้อมีว่า "คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่า หากมีข้อพิพาทใด ๆ เกิดขึ้นเกี่ยวกับสัญญานี้ ให้ดำเนินคดีที่ศาลแพ่ง จังหวัดพระนคร" หมายความว่าคู่สัญญามีความมุ่งหมายเป็นข้อตกลงเฉพาะเรื่องที่ว่า หากข้อพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องการเช่าซื้อตามสัญญาเป็นเรื่องในทางแพ่งแล้ว ก็ให้เสนอข้อพิพาทนั้นต่อศาลแพ่งเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงว่าคู่สัญญาได้ยอมสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาต่อกัน จึงไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีในทางอาญากับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องห้ามในข้อเท็จจริง คดีเช่าทรัพย์สิน ศาลมีอำนาจไม่วินิจฉัยได้หากจำเลยไม่ขอรับรอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านเช่าซึ่งมีค่าเช่าเดือนละ 95 บาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่า คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเว้นแต่จะมีการรับรองหรืออนุญาตให้อุทธรณ์ได้
จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งไม่อาจทำให้จำเลยชนะคดีได้ ย่อมไม่เป็นสารแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ผู้อุทธรณ์มีหน้าที่ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องตามกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ซึ่งต้องห้าม และศาลอุทธรณ์พิพากษายก ก็เป็นความบกพร่องของผู้อุทธรณ์เอง
จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งไม่อาจทำให้จำเลยชนะคดีได้ ย่อมไม่เป็นสารแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ผู้อุทธรณ์มีหน้าที่ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องตามกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ซึ่งต้องห้าม และศาลอุทธรณ์พิพากษายก ก็เป็นความบกพร่องของผู้อุทธรณ์เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องห้ามในข้อเท็จจริง กรณีค่าเช่าต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด แม้ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านเช่าซึ่งมีค่าเช่าเดือนละ 95 บาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่า คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเว้นแต่จะมีการรับรองหรืออนุญาตให้อุทธรณ์ได้
จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งไม่อาจทำให้จำเลยชนะคดีได้ ย่อมไม่เป็นสารแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ผู้อุทธรณ์มีหน้าที่ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องตามกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ซึ่งต้องห้าม และศาลอุทธรณ์พิพากษายกก็เป็นความบกพร่องของผู้อุทธรณ์เอง
จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งไม่อาจทำให้จำเลยชนะคดีได้ ย่อมไม่เป็นสารแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ผู้อุทธรณ์มีหน้าที่ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องตามกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ซึ่งต้องห้าม และศาลอุทธรณ์พิพากษายกก็เป็นความบกพร่องของผู้อุทธรณ์เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ต้องห้ามในข้อเท็จจริง คดีเช่า ค่าเช่าต่ำกว่าเกณฑ์ ศาลมีอำนาจไม่วินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านเช่าซึ่งมีค่าเช่าเดือนละ 95 บาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่า คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเว้นแต่จะมีการรับรองหรืออนุญาตให้อุทธรณ์ได้.
จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งไม่อาจทำให้จำเลยชนะคดีได้ ย่อมไม่เป็นสารแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.
ผู้อุทธรณ์มีหน้าที่ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องตามกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ซึ่งต้องห้าม และศาลอุทธรณ์พิพากษายก ก็เป็นความบกพร่องของผู้อุทธรณ์เอง.
จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ซึ่งไม่อาจทำให้จำเลยชนะคดีได้ ย่อมไม่เป็นสารแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.
ผู้อุทธรณ์มีหน้าที่ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องตามกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ซึ่งต้องห้าม และศาลอุทธรณ์พิพากษายก ก็เป็นความบกพร่องของผู้อุทธรณ์เอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลเจ้าหนี้หลังมีคำพิพากษา: การยึดที่ดินเพื่อบังคับชำระหนี้
หลังจากที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์.ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอื่นอีก. ดังนี้ การที่จำเลยซื้อที่พิพาทแล้วยกให้ผู้ร้อง. จึงเป็นการกระทำที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้โจทก์กระทำลงโดยรู้ว่าเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ. เป็นการฉ้อฉลโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237. โจทก์มีสิทธินำยึดที่พิพาทมาบังคับคดีชำระหนี้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลเจ้าหนี้โดยการโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์สินได้
หลังจากที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอื่นอีก ดังนี้ การที่จำเลยซื้อที่พิพาทแล้วยกให้ผู้ร้องจึงเป็นการกระทำที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้โจทก์กระทำลงโดยรู้ว่าเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์มีสิทธินำยึดที่พิพาทมาบังคับคดีชำระหนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้: การฉ้อฉลเจ้าหนี้และการบังคับคดี
หลังจากที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์.ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอื่นอีก ดังนี้ การที่จำเลยซื้อที่พิพาทแล้วยกให้ผู้ร้อง จึงเป็นการกระทำที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้โจทก์กระทำลงโดยรู้ว่าเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์มีสิทธินำยึดที่พิพาทมาบังคับคดีชำระหนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานยักยอกเงินภาษีโรงเรือน เทศบาลมีอำนาจร้องทุกข์ได้ แม้ผู้เสียหายโดยตรงคือนายภาษี
เทศบาลประเมินและเรียกเก็บภาษีโรงเรือน จำเลยรับเงินภาษีโรงเรือนมาแล้วไม่ลงบัญชี กลับยักยอกเอาไปเสีย เช่นนี้ เทศบาลย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ได้
จำเลยเป็นพนักงานวิสามัญ มีหน้าที่ตรวจควบคุมการเก็บเงินตลาดสดและรับงานด้านภาษีโรงเรือน ขึ้นต่อแผนกคลังของเทศบาลเมือง จำเลยรับเงินเดือนจากเงินประเภทงบประมาณเงินเดือน ฉะนั้น การที่จำเลยเก็บหรือรับเงินจากผู้ที่นำเงินมาชำระเป็นค่าภาษีโรงเรือนให้แก่เทศบาลแล้วไม่ลงบัญชี กลับยักยอกเอาไปเป็นประโยชน์อย่างอื่นเสีย ดังนี้ ย่อมเป็นการกระทำในหน้าที่พนักงานผู้เก็บเงินตามหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งและมอบหมาย เมื่อยักยอกเอาเงินที่ได้รับไว้ตามหน้าที่ของจำเลย จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำการอันเป็นความผิดต่อหน้าที่ของตน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
จำเลยเป็นพนักงานวิสามัญ มีหน้าที่ตรวจควบคุมการเก็บเงินตลาดสดและรับงานด้านภาษีโรงเรือน ขึ้นต่อแผนกคลังของเทศบาลเมือง จำเลยรับเงินเดือนจากเงินประเภทงบประมาณเงินเดือน ฉะนั้น การที่จำเลยเก็บหรือรับเงินจากผู้ที่นำเงินมาชำระเป็นค่าภาษีโรงเรือนให้แก่เทศบาลแล้วไม่ลงบัญชี กลับยักยอกเอาไปเป็นประโยชน์อย่างอื่นเสีย ดังนี้ ย่อมเป็นการกระทำในหน้าที่พนักงานผู้เก็บเงินตามหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งและมอบหมาย เมื่อยักยอกเอาเงินที่ได้รับไว้ตามหน้าที่ของจำเลย จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำการอันเป็นความผิดต่อหน้าที่ของตน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ในคดีเบียดบังเงินภาษีของเทศบาล: เจ้าพนักงานรับเงินภาษีมีความผิดต่อหน้าที่
เทศบาลประเมินและเรียกเก็บภาษีโรงเรือนจำเลยรับเงินภาษีโรงเรือนมาแล้วไม่ลงบัญชี กลับยักยอกเอาไปเสียเช่นนี้เทศบาลย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ได้
จำเลยเป็นพนักงานวิสามัญ มีหน้าที่ตรวจควบคุมการเก็บเงินตลาดสดและรับงานด้านภาษีโรงเรือน ขึ้นต่อแผนกคลังของเทศบาลเมืองจำเลยรับเงินเดือนจากเงินประเภทงบประมาณเงินเดือน ฉะนั้น การที่จำเลยเก็บหรือรับเงินจากผู้ที่นำเงินมาชำระเป็นค่าภาษีโรงเรือนให้แก่เทศบาลแล้วไม่ลงบัญชี กลับยักยอกเอาไปเป็นประโยชน์อย่างอื่นเสียดังนี้ ย่อมเป็นการกระทำในหน้าที่พนักงานผู้เก็บเงินตามหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งและมอบหมายเมื่อยักยอกเอาเงินที่ได้รับไว้ตามหน้าที่ของจำเลยจำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำการอันเป็นความผิดต่อหน้าที่ของตน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
จำเลยเป็นพนักงานวิสามัญ มีหน้าที่ตรวจควบคุมการเก็บเงินตลาดสดและรับงานด้านภาษีโรงเรือน ขึ้นต่อแผนกคลังของเทศบาลเมืองจำเลยรับเงินเดือนจากเงินประเภทงบประมาณเงินเดือน ฉะนั้น การที่จำเลยเก็บหรือรับเงินจากผู้ที่นำเงินมาชำระเป็นค่าภาษีโรงเรือนให้แก่เทศบาลแล้วไม่ลงบัญชี กลับยักยอกเอาไปเป็นประโยชน์อย่างอื่นเสียดังนี้ ย่อมเป็นการกระทำในหน้าที่พนักงานผู้เก็บเงินตามหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งและมอบหมายเมื่อยักยอกเอาเงินที่ได้รับไว้ตามหน้าที่ของจำเลยจำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำการอันเป็นความผิดต่อหน้าที่ของตน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147