คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิเชียร เศวตรุนทร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 566 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกเงินภาษีโรงเรือน เทศบาลมีอำนาจร้องทุกข์ได้ แม้ผู้เสียหายโดยตรงคือนายภาษี
เทศบาลประเมินและเรียกเก็บภาษีโรงเรือน จำเลยรับเงินภาษีโรงเรือนมาแล้วไม่ลงบัญชี กลับยักยอกเอาไปเสีย เช่นนี้ เทศบาลย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจร้องทุกข์ได้
จำเลยเป็นพนักงานวิสามัญ มีหน้าที่ตรวจควบคุมการเก็บเงินตลาดสดและรับงานด้านภาษีโรงเรือน ขึ้นต่อแผนกคลังของเทศบาลเมือง จำเลยรับเงินเดือนจากเงินประเภทงบประมาณเงินเดือน ฉะนั้น การที่จำเลยเก็บหรือรับเงินจากผู้ที่นำเงินมาชำระเป็นค่าภาษีโรงเรือนให้แก่เทศบาลแล้วไม่ลงบัญชี กลับยักยอกเอาไปเป็นประโยชน์อย่างอื่นเสีย ดังนี้ ย่อมเป็นการกระทำในหน้าที่พนักงานผู้เก็บเงินตามหน้าที่ที่ได้รับแต่งตั้งและมอบหมาย เมื่อยักยอกเอาเงินที่ได้รับไว้ตามหน้าที่ของจำเลย จำเลยย่อมมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำการอันเป็นความผิดต่อหน้าที่ของตน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากสัญญาซื้อขายต่อเนื่อง: ผู้ขายต้องรับผิดเบี้ยปรับที่ผู้ซื้อเสียให้บุคคลที่สามเนื่องจากผู้ขายผิดสัญญา
หลังจากจำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์แล้ว แต่ยังไม่ถึงวันโอนตามที่กำหนดไว้ในสัญญานั้น โจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้บุคคลที่สามโดยกำหนดว่าโจทก์จะโอนที่พิพาทให้บุคคลที่สามในวันเดียวกันกับที่จำเลยจะต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ถ้าโจทก์ผิดสัญญาโจทก์ต้องเสียเบี้ยปรับ 40,000 บาท โจทก์ได้แจ้งเรื่องสัญญาและเบี้ยปรับให้จำเลยทราบแล้ว ต่อมาเมื่อถึงกำหนดวันโอน จำเลยไม่ยอมโอนที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ถูกบุคคลที่สามปรับ 40,000บาท จำเลยต้องชำระค่าเสียหาย 40,000 บาทนี้ให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในค่าเสียหายจากสัญญาซื้อขายที่ดิน กรณีจำเลยผิดสัญญา ทำให้โจทก์ต้องเสียเบี้ยปรับให้บุคคลที่สาม
หลังจากจำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์แล้ว แต่ยังไม่ถึงวันโอนตามที่กำหนดไว้ในสัญญานั้น โจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้บุคคลที่ 3 โดยกำหนดว่าโจทก์จะโอนที่พิพาทให้บุคคลที่ 3 ในวันเดียวกันกับที่จำเลยจะต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ ถ้าโจทก์ผิดสัญญาโจทก์ต้องเสียเบี้ยปรับ 40,000 บาท โจทก์ได้แจ้งเรื่องสัญญาและเบี้ยปรับให้จำเลยทราบแล้ว ต่อมาเมื่อถึงกำหนดวันโอน จำเลยไม่ยอมโอนที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ถูกบุคคลที่ 3 ปรับ 40,000 บาท จำเลยต้องชำระค่าเสียหาย 40,000 บาทนี้ให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในค่าเสียหายจากพฤติการณ์พิเศษที่จำเลยคาดหมายได้จากการแจ้งข้อมูลสัญญา
หลังจากจำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์แล้ว. แต่ยังไม่ถึงวันโอนตามที่กำหนดไว้ในสัญญานั้น. โจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้บุคคลที่สามโดยกำหนดว่าโจทก์จะโอนที่พิพาทให้บุคคลที่สามในวันเดียวกันกับที่จำเลยจะต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์. ถ้าโจทก์ผิดสัญญาโจทก์ต้องเสียเบี้ยปรับ 40,000 บาท. โจทก์ได้แจ้งเรื่องสัญญาและเบี้ยปรับให้จำเลยทราบแล้ว. ต่อมาเมื่อถึงกำหนดวันโอน จำเลยไม่ยอมโอนที่พิพาทให้โจทก์. โจทก์ถูกบุคคลที่สามปรับ 40,000บาท. จำเลยต้องชำระค่าเสียหาย 40,000 บาทนี้ให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากพฤติการณ์พิเศษ: จำเลยต้องรับผิดเมื่อคาดเห็นได้ว่าโจทก์จะเสียเบี้ยปรับจากสัญญาต่อบุคคลที่สาม
หลังจากจำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์แล้ว แต่ยังไม่ถึงวันโอนตามที่กำหนดไว้ในสัญญานั้น โจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้บุคคลที่ 3 โดยกำหนดว่าโจทก์จะโอนที่พิพาทให้บุคคลที่ 3 ในวันเดียวกันกับที่จำเลยจะต้องโอนที่พิพาทให้โจทก์ ถ้าโจทก์ผิดสัญญาโจทก์ต้องเสียเบี้ยปรับ 40,000 บาท โจทก์ได้แจ้งเรื่องสัญญาและเบี้ยปรับให้จำเลยทราบแล้ว ต่อมาเมื่อถึงกำหนดวันโอน จำเลยไม่ยอมโอนที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์ถูกบุคคลที่ 3 ปรับ 40,000 บาท จำเลยต้องชำระค่าเสียหาย 40,000 บาทนี้ให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถแซงและผลกระทบต่อการเกิดอุบัติเหตุ ศาลฎีกาตัดสินว่าความประมาทของจำเลยที่ 2 เป็นเหตุโดยตรง
จำเลยที่ 2 ขับรถแซงรถจำเลยที่ 3 ขึ้นมา ขณะรถจำเลยที่ 3 และที่ 1 ใกล้จะแล่นสวนกันและหลบไม่พ้น.รถของจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกเฉี่ยวเสียหลักขวางถนนและถูกรถจำเลยที่ 3 ซึ่งไม่สามารถหยุดได้ทัน.พุ่งเข้าชน.เป็นเหตุให้คนบนรถจำเลยที่ 1 ตกลงมาถึงตายและบาดเจ็บสาหัส. เช่นนี้ ถือว่าการตายและบาดเจ็บสาหัสเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1011/2503.
พฤติการณ์อันเข้าลักษณะเป็นประมาท หากเข้าลักษณะเป็นการฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 ด้วย. ถือว่าเป็นกรรมอันเดียวกันทั้งหมด. เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท.ไม่เรียกว่าเป็นความผิดหลายกรรม.
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 9 บัญญัติให้รถเดินทางด้านซ้ายของทาง.หาได้บัญญัติถึงกับให้เดินชิดขอบซ้ายของทางอันจะถือเป็นการฝ่าฝืนไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถแซงและการกำหนดความรับผิดชอบของผู้ขับขี่เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางถนน
จำเลยที่ 2 ขับรถแซงรถจำเลยที่ 3 ขึ้นมา ขณะรถจำเลยที่ 3 และที่ 1 ใกล้จะแล่นสวนกันและหลบไม่พ้นรถของจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกเฉี่ยวเสียหลักขวางถนนและถูกรถจำเลยที่ 3 ซึ่งไม่สามารถหยุดได้ทันพุ่งเข้าชนเป็นเหตุให้คนบนรถจำเลยที่ 1 ตกลงมาถึงตายและบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ ถือว่าการตายและบาดเจ็บสาหัสเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1011/2503
พฤติการณ์อันเข้าลักษณะเป็นประมาท หากเข้าลักษณะเป็นการฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 ด้วย ถือว่าเป็นกรรมอันเดียวกันทั้งหมด เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทไม่เรียกว่าเป็นความผิดหลายกรรม
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2477 มาตรา 9 บัญญัติให้รถเดินทางด้านซ้ายของทางหาได้บัญญัติถึงกับให้เดินชิดขอบซ้ายของทางอันจะถือเป็นการฝ่าฝืนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถและการรับผิดชอบทางอาญา: การวิเคราะห์ความรับผิดของแต่ละฝ่าย
จำเลยที่ 2 ขับรถแซงรถจำเลยที่ 3 ขึ้นมา และรถจำเลยที่ 3 และที่ 1 ใกล้จะแล่นสวนกันและหลบไม่พ้นรถของจำเลยที่ 1 ซึ่งถูกเฉี่ยวเสียหลักขวางถนนและถูกรถจำเลยที่ 3 ซึ่งไม่สามารถหยุดได้ทันพุ่งเข้าชน เป็นเหตุให้คนบนรถจำเลยที่ 1 ตกลงมาถึงตายและบาดเจ็บสาหัส เช่นนี้ ถือว่าการตายและบาดเจ็บสาหัสเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวตามคำนัยพิพากษาฎีกาที่ 1011/2503
พฤติการณ์อันเข้าลักษณะเป็นประมาท หากเข้าลักษณะเป็นการฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 ด้วย ถือว่าเป็นกรรมอันเดียวกันทั้งหมด เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ไม่เรียกว่าเป็นความผิดหลายกรรม
พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 9 บัญญัติให้รถเดินทางด้านซ้ายของทางหาได้บัญญัติถึงกับให้เดินชิดขอบซ้ายของทางอันจะถือเป็นการฝ่าฝืนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: สิทธิครอบครองที่พิพาท
ฟ้องคดีแพ่งฐานละเมิด ซึ่งมีมูลคดีเป็นอันเดียวกับคดีอาญาฐานบุกรุก ศาลฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาว่า "ตามหลักฐานโจทก์ยังฟังไม่ได้ถนัดว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาท" ศาลในคดีแพ่งต้องถือตาม และต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ผลคำพิพากษาคดีอาญาในคดีแพ่ง: สิทธิครอบครองเป็นข้อพิพาทร่วมกัน
ฟ้องคดีแพ่งฐานละเมิด ซึ่งมีมูลคดีเป็นอันเดียวกับคดีอาญาฐานบุกรุก ศาลฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาว่า 'ตามหลักฐานโจทก์ยังฟังไม่ได้ถนัดว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาท' ศาลในคดีแพ่งต้องถือตาม และต้องพิพากษายกฟ้อง
of 57