พบผลลัพธ์ทั้งหมด 566 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องแล้วฟ้องใหม่เพื่อแก้ไขจำนวนดอกเบี้ยที่คำนวณผิด จำเลยไม่เสียเปรียบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยค้างชำระดอกเบี้ย 4 ปี 7 เดือน ถูกต้องแต่จำนวนดอกเบี้ย 4 ปี 7 เดือน น้อยกว่าความจริง จึงขอถอนฟ้องเพื่อฟ้องใหม่ตามจำนวนที่ถูกต้อง ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปลอมแปลงเอกสารและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องโทษหลบหนี
การบรรยายฟ้องเรื่องปลอมเอกสารที่ถือว่าไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 เป็นพัสดีเรือนจำ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมชั้น 2 จำเลยที่ 2 คุมนักโทษไปทำงานนอกเรือนจำแล้วนักโทษเกิดหลบหนีไป จำเลยที่ 2 รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ให้ปกปิดไว้ก่อนเพื่อติดตามตัว เมื่อติดตามไม่ได้ จำเลยทั้งสองมิได้จัดการอย่างไร คงปกปิดไว้มิได้รายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำตามระเบียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงถือว่าเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13
ครั้นเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันลงชื่อนักโทษที่หลบหนีนั้นในบัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาลดโทษ คณะกรรมการฯ หลงเชื่อว่านักโทษผู้นั้นยังมีตัวอยู่ในเรือนจำ จึงลงมติลดโทษให้ 1 ใน 5 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1)
เมื่อถึงเวลาครบกำหนดที่นักโทษผู้นั้นจะพ้นโทษตามหมายจำคุกของศาล จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำดังนี้ (1) สลักหลังหมายจำคุกของนักโทษผู้นั้น รับรองว่าได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว เสนอปล่อยตัวในวันที่ 1 เมษายน 2507 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนลงนาม (2) ร่วมกันปลอมเอกสารใบสุทธิของนักโทษผู้นั้น โดยจำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนเองแทนนักโทษและจำเลยที่ 1 ลงนามตรวจรับรอง (3) จำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนแทนนักโทษในช่องเมื่อพ้นโทษ ในทะเบียนรายตัวผู้ต้องคุมขังของนักโทษผู้นั้น (4) จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำหนังสือของผู้บัญชาการเรือนจำถึงนายอำเภอสามเงาว่านักโทษผู้นั้นพ้นโทษ จะกลับไปอยู่อำเภอสามเงาภูมิลำเนาเดิม แล้วเสนอหนังสือนั้นให้ผู้บัญชาการลงนามโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนตรวจรับรอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 264, 265 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุดกระทงเดียว โดยจำคุกคนละ 2 ปี
จำเลยที่ 1 เป็นพัสดีเรือนจำ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมชั้น 2 จำเลยที่ 2 คุมนักโทษไปทำงานนอกเรือนจำแล้วนักโทษเกิดหลบหนีไป จำเลยที่ 2 รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ให้ปกปิดไว้ก่อนเพื่อติดตามตัว เมื่อติดตามไม่ได้ จำเลยทั้งสองมิได้จัดการอย่างไร คงปกปิดไว้มิได้รายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำตามระเบียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงถือว่าเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13
ครั้นเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันลงชื่อนักโทษที่หลบหนีนั้นในบัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาลดโทษ คณะกรรมการฯ หลงเชื่อว่านักโทษผู้นั้นยังมีตัวอยู่ในเรือนจำ จึงลงมติลดโทษให้ 1 ใน 5 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1)
เมื่อถึงเวลาครบกำหนดที่นักโทษผู้นั้นจะพ้นโทษตามหมายจำคุกของศาล จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำดังนี้ (1) สลักหลังหมายจำคุกของนักโทษผู้นั้น รับรองว่าได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว เสนอปล่อยตัวในวันที่ 1 เมษายน 2507 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนลงนาม (2) ร่วมกันปลอมเอกสารใบสุทธิของนักโทษผู้นั้น โดยจำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนเองแทนนักโทษและจำเลยที่ 1 ลงนามตรวจรับรอง (3) จำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนแทนนักโทษในช่องเมื่อพ้นโทษ ในทะเบียนรายตัวผู้ต้องคุมขังของนักโทษผู้นั้น (4) จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำหนังสือของผู้บัญชาการเรือนจำถึงนายอำเภอสามเงาว่านักโทษผู้นั้นพ้นโทษ จะกลับไปอยู่อำเภอสามเงาภูมิลำเนาเดิม แล้วเสนอหนังสือนั้นให้ผู้บัญชาการลงนามโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนตรวจรับรอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 264, 265 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุดกระทงเดียว โดยจำคุกคนละ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นการรายงานการหลบหนีของนักโทษ และร่วมกันปลอมเอกสารเพื่อช่วยเหลือ
การบรรยายฟ้องเรื่องปลอมเอกสารที่ถือว่าไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 เป็นพัสดีเรือนจำ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมชั้น 2 จำเลยที่ 2 คุมนักโทษไปทำงานนอกเรือนจำแล้วนักโทษเกิดหลบหนีไป จำเลยที่ 2 รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ให้ปกปิดไว้ก่อนเพื่อติดตามตัวเมื่อติดตามไม่ได้ จำเลยทั้งสองมิได้จัดการอย่างไร คงปกปิดไว้มิได้รายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำตามระเบียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงถือว่าเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13
ครั้นเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันลงชื่อนักโทษที่หลบหนีนั้นในบัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาลดโทษ คณะกรรมการฯ หลงเชื่อว่านักโทษผู้นั้นยังมีตัวอยู่ในเรือนจำจึงลงมติลดโทษให้ 1 ใน 5 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1)
เมื่อถึงเวลาครบกำหนดที่นักโทษผู้นั้นจะพ้นโทษตามหมายจำคุกของศาล จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำ ดังนี้ (1) สลักหลังหมายจำคุกของนักโทษผู้นั้น รับรองว่าได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว เสนอปล่อยตัวในวันที่1 เมษายน 2507 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนลงนาม (2) ร่วมกันปลอมเอกสารใบสุทธิของนักโทษผู้นั้น โดยจำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนเองแทนนักโทษและจำเลยที่ 1 ลงนามตรวจรับรอง (3) จำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนแทนนักโทษในช่องเมื่อพ้นโทษ ในทะเบียนรายตัวผู้ต้องคุมขังของนักโทษผู้นั้น (4) จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำหนังสือของผู้บัญชาการเรือนจำถึงนายอำเภอสามเงาว่านักโทษผู้นั้นพ้นโทษจะกลับไปอยู่อำเภอสามเงาภูมิลำเนาเดิม แล้วเสนอหนังสือนั้นให้ผู้บัญชาการลงนามโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนตรวจรับรอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 264, 265 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุดกระทงเดียว โดยจำคุกคนละ 2 ปี
จำเลยที่ 1 เป็นพัสดีเรือนจำ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมชั้น 2 จำเลยที่ 2 คุมนักโทษไปทำงานนอกเรือนจำแล้วนักโทษเกิดหลบหนีไป จำเลยที่ 2 รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ให้ปกปิดไว้ก่อนเพื่อติดตามตัวเมื่อติดตามไม่ได้ จำเลยทั้งสองมิได้จัดการอย่างไร คงปกปิดไว้มิได้รายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำตามระเบียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงถือว่าเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13
ครั้นเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันลงชื่อนักโทษที่หลบหนีนั้นในบัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาลดโทษ คณะกรรมการฯ หลงเชื่อว่านักโทษผู้นั้นยังมีตัวอยู่ในเรือนจำจึงลงมติลดโทษให้ 1 ใน 5 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1)
เมื่อถึงเวลาครบกำหนดที่นักโทษผู้นั้นจะพ้นโทษตามหมายจำคุกของศาล จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำ ดังนี้ (1) สลักหลังหมายจำคุกของนักโทษผู้นั้น รับรองว่าได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว เสนอปล่อยตัวในวันที่1 เมษายน 2507 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนลงนาม (2) ร่วมกันปลอมเอกสารใบสุทธิของนักโทษผู้นั้น โดยจำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนเองแทนนักโทษและจำเลยที่ 1 ลงนามตรวจรับรอง (3) จำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนแทนนักโทษในช่องเมื่อพ้นโทษ ในทะเบียนรายตัวผู้ต้องคุมขังของนักโทษผู้นั้น (4) จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำหนังสือของผู้บัญชาการเรือนจำถึงนายอำเภอสามเงาว่านักโทษผู้นั้นพ้นโทษจะกลับไปอยู่อำเภอสามเงาภูมิลำเนาเดิม แล้วเสนอหนังสือนั้นให้ผู้บัญชาการลงนามโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนตรวจรับรอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 264, 265 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุดกระทงเดียว โดยจำคุกคนละ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายภรรยาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย: การพิจารณาเจตนาฆ่าและความรุนแรงในการกระทำ
จำเลยและผู้ตายอยู่กินเป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส จำเลยได้ใช้มือและเท้าทำร้ายผู้ตาย โดยทำร้ายบ้างหยุดบ้างสลับกันเป็นระยะๆรวมเวลาประมาณ 8 ชั่วโมงไม่ได้ความว่าจำเลยทำร้ายผู้ตายโดยลักษณะและความรุนแรงเพียงใด ลักษณะบาดแผลของผู้ตายที่แพทย์ว่าอาจทำให้ถึงตายได้ คือ หน้าบวม ศีรษะบวม และไตแตกไม่มีเหตุพอจะให้พิจารณาประกอบบาดแผลว่า จำเลยได้กระทำโดยลักษณะและความรุนแรงที่อาจจะเห็นผลได้ว่าน่าจะทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาโดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคสองไม่ผิดฐานฆ่าคนโดยเจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายภรรยาโดยไม่เจตนาถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาพิจารณาความรุนแรงและเจตนาของผู้กระทำ
จำเลยและผู้ตายอยู่กินเป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส จำเลยได้ใช้มือและเท้าทำร้ายผู้ตาย โดยทำร้ายบ้างหยุดบ้างสลับกันเป็นระยะ ๆ รวมเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง ไม่ได้ความว่าจำเลยทำร้ายผู้ตายโดยลักษณะและความรุนแรงเพียงใด ลักษณะบาดแผลของผู้ตายที่แพทย์ว่าอาจทำให้ถึงตายได้ คือ หน้าบวม ศรีษะบวม และไตแตก ไม่มีเหตุพอจะให้พิจารณาประกอบบาดแผลว่า จำเลยได้กระทำโดยลักษณะและความรุนแรงที่อาจจะเห็นผลได้ว่าน่าจะทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ จำเลยมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา โดยกระทำทารุณโหดร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรค 2 ไม่ผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความเสี่ยงจากการท้าทดลองอาคม ทำให้ไม่เกิดความรับผิดทางละเมิด
การที่โจทก์ท้าให้จำเลยฟันเพื่อทดลองคาถาอาคมซึ่งตนเชื่อถือและอวดอ้างว่าตนอยู่คงนั้น เป็นการที่โจทก์ได้ยอมหรือสมัครใจให้ จำเลยทำต่อร่างกาย เป็นการยอมรับผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง ตามกฎหมายจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงฟ้องจำเลย ให้รับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ไม่ได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2510)
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมในการถูกทำร้าย: โจทก์ท้าทายให้จำเลยทดลองคาถาอาคม ยอมรับความเสี่ยงเอง ไม่ถือเป็นการละเมิด
การที่โจทก์ท้าให้จำเลยฟันเพื่อทดลองคาถาอาคมซึ่งตนเชื่อถือและอวดอ้างว่าตนอยู่คงนั้น เป็นการที่โจทก์ได้ยอมหรือสมัครใจให้จำเลยทำต่อร่างกาย เป็นการยอมรับผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง ตามกฎหมายจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้รับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ไม่ได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2510)
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: คดีภารจำยอมที่ศาลเดิมยกฟ้องเนื่องจากฟ้องไม่ชัดเจน ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องเพราะฟ้องไม่บรรยายฟ้อง ข้อเท็จจริงยืนยันมาว่าทางพิพาทตามฟ้องนั้นเป็นทางสาธารณะทางภารจำยอมหรือทางจำเป็นไม่ได้มีการวินิจฉัยในประเด็นข้อที่พิพาทกันด้วยเรื่องทางเดินภารจำยอมรายพิพาทหรือไม่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยอีกอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมฉะนั้น คดีหลังจึงไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 666/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่ เมื่อคดีก่อนศาลยกฟ้องเนื่องจากขาดการบรรยายฟ้อง แต่คดีหลังพิพากษาเป็นทางภารจำยอม
คดีก่อนศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องเพราะฟ้องไม่บรรยายฟ้องข้อเท็จจริงยืนยันมาว่าทางพิพาทตามฟ้องนั้นเป็นทางสาธารณะ ทางภารจำยอมหรือทางจำเป็นไม่ได้มีการวินิจฉัยในประเด็นข้อที่พิพาทกันด้วยเรื่องทางเดินภารจำยอมรายพิพาทหรือไม่ โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยอีกอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอม ฉะนั้น คดีหลังจึงไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657-660/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธการรับอุทธรณ์เนื่องจากค่าขึ้นศาลไม่ครบถ้วน และคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ถือเป็นที่สุด
ในการตรวจอุทธรณ์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นอาจตรวจทั้งในข้อที่คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224,230 รวมตลอดทั้งตรวจอุทธรณ์เพื่อปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์นั้นในเหตุอื่นตามมาตรา 230 วรรค 2 และ มาตรา 232 ด้วย
ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ของโจทก์ตามมาตรา 232 และมีคำสั่งให้คืนฟ้องอุทธรณ์ให้โจทก์เสียค่าฤชาธรรมเนียมให้ครบถ้วนคำสั่งศาลชั้นต้นนี้เป็นคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์โดยเหตุผลดังที่ปรากฏในคำสั่งนั้น โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์นี้ โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นตามมาตรา 234 ศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้องของโจทก์แล้วมีคำสั่งว่า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ครบนั้นชอบแล้วให้ยกคำร้อง คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังนี้เป็นคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปศาลอุทธรณ์นั่นเอง ซึ่งมาตรา 236 บัญญัติว่า คำสั่งศาลอุทธรณ์นี้ให้เป็นที่สุด โจทก์จึงฎีกาคำสั่งนี้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1223/2498,1404/2498)
ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ของโจทก์ตามมาตรา 232 และมีคำสั่งให้คืนฟ้องอุทธรณ์ให้โจทก์เสียค่าฤชาธรรมเนียมให้ครบถ้วนคำสั่งศาลชั้นต้นนี้เป็นคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์โดยเหตุผลดังที่ปรากฏในคำสั่งนั้น โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์นี้ โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นตามมาตรา 234 ศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้องของโจทก์แล้วมีคำสั่งว่า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ครบนั้นชอบแล้วให้ยกคำร้อง คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังนี้เป็นคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปศาลอุทธรณ์นั่นเอง ซึ่งมาตรา 236 บัญญัติว่า คำสั่งศาลอุทธรณ์นี้ให้เป็นที่สุด โจทก์จึงฎีกาคำสั่งนี้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1223/2498,1404/2498)