คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิเชียร เศวตรุนทร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 566 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เช่าซื้อ & ความรับผิดของผู้จ้างขับรถที่ไม่มีใบขับขี่
ภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของโจทก์เป็นผู้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์มาโดยโจทก์เป็นผู้ไปติดต่อตกลงกับผู้ขายและเป็นผู้ค้ำประกัน โจทก์ขายนาของโจทก์มาชำระราคารถ และเป็นผู้จัดการนำรถไปเดินรับส่งคนโดยสารหารายได้เลี้ยงครอบครัว ตลอดทั้งเป็นผู้ควบคุมเก็บรักษารถ ภริยาโจทก์รับว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อรถ แต่ลงชื่อภริยาไว้เพราะภริยาโจทก์เกรงว่าโจทก์จะไปมีภริยาใหม่ และการที่จำเลยขับรถไปพลิกคว่ำโดยประมาททำให้รถเสียหาย ย่อมเป็นการทำให้เสียหายแก่การเดินรถหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว ทั้งโจทก์และภริยาอาจต้องรับผิดกับผู้ให้เช่าซื้ออีกด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
โจทก์ได้จ้างจำเลยมาขับรถยนต์ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าจำเลยอายุเพียง 18-19 ปี และไม่มีใบขับขี่ ซึ่งโดยปกติย่อมจะถืออยู่ว่าเป็นผู้มีความระมัดระวังและความสามารถในการขับรถน้อยอยู่แล้วจึงนับว่าเป็นความประมาทของโจทก์อันมีส่วนเป็นเหตุทำให้เกิดความเสียหายขึ้น ถือได้ว่าโจทก์เสี่ยงยอมรับผลเช่นนั้นอยู่แล้ว จึงควรมีส่วนรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีอาญาที่มีผู้กระทำผิดทั้งทหารและพลเรือน ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณา
จำเลยเป็นทหารประจำการ โจทก์บรรยายฟ้องว่าได้ร่วมกระทำผิดกับพวกอีกคนหนึ่งที่เป็นพลเรือนและทางพิจารณาก็ได้ความว่า จำเลยสมคบกับพวกอีกคนหนึ่งที่ยังจับตัวไม่ได้ร่วมกันกระทำผิด ประกอบกับเจ้าพนักงานตำรวจผู้สืบสวนจับกุมยืนยันว่า คนร้ายอีกคนหนึ่งนั้นเป็นพลเรือนคดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลพลเรือนที่จะทำการพิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีอาญาที่มีจำเลยทั้งทหารและพลเรือนอยู่ในอำนาจศาลพลเรือน
จำเลยเป็นทหารประจำการ โจทก์บรรยายฟ้องว่าได้ร่วมกระทำผิด กับพวกอีกคนหนึ่งที่เป็นพลเรือน และทางพิจารณาก็ได้ความว่าจำเลยสมคบกับพวกอีกคนหนึ่งที่ยังจับตัวไม่ได้ร่วมกันกระทำผิด ประกอบกับ เจ้าพนักงานตำรวจผู้สืบสวนจับกุมยืนยันว่า คนร้ายอีกคนหนึ่งนั้นเป็น พลเรือน คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลพลเรือนที่จะทำการพิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินร่วมจากการอยู่กินฉันสามีภริยา แม้ภริยาเดิมยังมิได้หย่าขาด
ผู้ตายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อน ต่อมาภริยาได้แยกร้างไปอยู่ต่างหากโดยมิได้หย่าขาดจากกัน โจทก์ผู้ตายจึงมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์กับผู้ตายได้ช่วยกันทำมาหากินโดยภริยาเก่ามิได้มาร่วมปะปนด้วย โจทก์ได้นำทรัพย์ของโจทก์มาให้ผู้ตายหาดอกผล และได้ทำการค้าขาย ช่วยผู้ตายเก็บค่าเช่า ดังนี้ ถือได้ว่าผู้ตายและโจทก์ทำนามาได้ร่วมกัน จึงเป็นเจ้าของร่วมและมี่ส่วนเท่ากัน เมื่อผู้ตาย ตายภรรยาเก่าจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์ส่วนที่เป็นของภรรยาใหม่แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 561/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วมทรัพย์สินจากการอยู่กินฉันสามีภริยา แม้ภริยาเดิมยังไม่หย่าขาด
ผู้ตายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก่อน ต่อมาภริยาได้แยกร้างไปอยู่ต่างหากโดยมิได้หย่าขาดจากกัน โจทก์ผู้ตายจึงมาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์กับผู้ตายได้ช่วยกันทำมาหากินโดยภริยาเก่ามิได้มาร่วมปะปนด้วย โจทก์ได้นำทรัพย์ของโจทก์มาให้ผู้ตายหาดอกผล และได้ทำการค้าขาย ช่วยผู้ตายเก็บค่าเช่าดังนี้ ถือได้ว่าผู้ตายและโจทก์ทำมาหาได้ร่วมกัน จึงเป็นเจ้าของร่วมและมีส่วนเท่ากัน เมื่อผู้ตายตายภรรยาเก่าจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์ส่วนที่เป็นของภรรยาใหม่แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการยึดทรัพย์ผู้ประกันตัวคดีอาญา และการขอเฉลี่ยทรัพย์
ไม่มีบทกฎหมายใดตัดสิทธิเจ้าตามคำพิพากษาในการยึดทรัพย์ของบุคคลที่ประกันจำเลยในคดีอาญา และหากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจศาลหรือการขอให้ถอนการยึดหรือแย่งยึดทรัพย์นั้น การดำเนินการยึดทรัพย์ของทั้งสองฝ่ายตกอยู่ภายในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ซึ่งห้ามมิให้ยึดซ้ำอีกโดยอำนาจในทางร้องขอเฉลี่ย ฉะนั้น ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกันฯ ก็ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา แผ่นดินย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นย่อมมีสิทธิร้องขอเฉลี่ยเงินที่ขาดทอดตลดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการยึดทรัพย์นายประกัน และการเฉลี่ยเงินจากการขายทอดตลาด
ไม่มีบทกฎหมายใดตัดสิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการยึดทรัพย์ของบุคคลที่ประกันจำเลยในคดีอาญา และหากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดทรัพย์เพื่อขายทอดตลาดก็ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจศาลหรืออัยการขอให้ถอนการยึดหรือแย่งยึดทรัพย์นั้นการดำเนินการยึดทรัพย์ของทั้งสองฝ่ายตกอยู่ภายในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 ซึ่งห้ามมิให้ยึดซ้ำอีกโดยให้อำนาจในทางร้องขอเฉลี่ย ฉะนั้น ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกัน ๆ ก็ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
แผ่นดินย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นย่อมมีสิทธิร้องขอเฉลี่ยเงินที่ขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิดศุลกากร: ศาลมีอำนาจริบตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ฟ้องไม่ระบุ
จำเลยรับปลิงทะเลของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามข้อจำกัด อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 แต่โดยที่มาตรา 27 ทวินี้มีกำหนดโทษเบากว่ามาตรา 27 และเพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 จึงเป็นที่เห็นได้ว่าความผิดตามมาตรา 27 ทวินี้ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 27 จึงได้บัญญัติมาตรา 27 ทวิขึ้น ส่วนการริบของกลางนั้น มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2482 ระบุถึงการริบทรัพย์อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เมื่อจำเลยไม่ผิดตามมาตรา 27 แล้ว จึงริบของกลางตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2482 ไม่ได้ แต่ศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้ เพราะมาตรา 27 ทิวไม่มีข้อความแสดงว่าจะมิได้ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 33 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ก็ตาม แต่ก็มีคำขอให้ริบของกลางมาแล้ว ดังนั้น ศาลสั่งให้ริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในความผิดศุลกากร: ศาลสั่งริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา แม้ฟ้องไม่ระบุ
จำเลยรับปลิงทะเลของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้ามข้อจำกัดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 แต่โดยที่มาตรา 27 ทวิ นี้มีกำหนดโทษเบากว่ามาตรา 27 และเพิ่งบัญญัติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2499 จึงเป็นที่เห็นได้ว่าความผิดตามมาตรา 27 ทวิ นี้ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 27 จึงได้บัญญัติมาตรา 27 ทวิ ขึ้นส่วนการริบของกลางนั้น มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2482 ระบุถึงการริบทรัพย์อันเนื่องด้วยความผิดตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เมื่อ จำเลยไม่ผิดตามมาตรา 27 แล้ว จึงริบของกลางตามมาตรา17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2482 ไม่ได้ แต่ศาลมีอำนาจสั่งริบของกลางตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ได้เพราะมาตรา 27 ทวิ ไม่มีข้อความแสดงว่าจะมิได้ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 33 แห่งประมวลกฎหมายอาญาแม้ฟ้องโจทก์จะมิได้อ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ก็ตาม แต่ก็มีคำขอให้ริบของกลาง มาแล้ว ดังนั้น ศาลสั่งให้ริบตามบทกฎหมายที่ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้ว่าฯ ออกประกาศบังคับทำรายงานค้าข้าว-การริบข้าวจากความผิดละเว้นรายงาน
คณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ. 2489 ออกประกาศฉบับที่ 69 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2499 แต่งตั้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบการค้าข้าวแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวได้ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสจึงออกประกาศฉบับที่ 2 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2507 ให้ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตประกอบการค้าข้าวทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จสิ้นในวันรุ่งขึ้นและเก็บไว้ ณ สถานที่ประกอบการค้าข้าว ดังนี้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่ารายงานการค้าข้าวประจำวันนั้นก็คือ การแจ้งปริมาณข้าวที่คงเหลือในวันหนึ่ง ๆ นั่นเอง ฉะนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสจึงมีอำนาจออกประกาศให้ทำรายงานการค้าข้าวได้ตามอำนาจในประกาศคณะกรรมการฉบับที่ 69 ข้อ 6 (5) และผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสย่อมจะมีอำนาจกำหนดระยะเวลาให้ผู้ค้าข้าวทำรายงานดังกล่าวให้เสร็จในวันรุ่งขึ้นได้ด้วยอำนาจที่ให้ไว้ในมาตรา 12 ประกอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าว พ.ศ. 2489
บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำรายงานการค้าข้าวประจำวันครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2508 โดยลงบัญชีข้าวสารเจ้าเหลือเมื่อสิ้นวัน จำนวน 8,800 กิโลกรัม ครั้นต่อมาเมื่อระหว่างตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 ตลอดมาถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2508 เวลากลางวัน จำเลยได้บังอาจละเว้นไม่ทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จสิ้นในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 ซึ่งเป็นวันรุ่งขึ้น และจำเลยได้ฝ่าฝืนมิได้ทำรายงานการค้าข้าวประจำวันให้เสร็จในวันรุ่งขึ้นตลอดมาจนถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2508 ฟ้องเช่นนี้ย่อมมีความหมายที่เข้าใจได้ชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่า จำเลยทำรายงานการค้าข้าวครั้งสุดท้ายเพียงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2508 เท่านั้น หลังจากนั้น คือ วันที่ 14 - 19 พฤศจิกายน 2508 ตลอดมา จำเลยมิได้ทำรายงานประจำวันเลย และจำเลยก็ให้การรับสารภาพชี้แจงเหตุผลว่าที่ไม่ได้ทำรายงานเพราะคนทำบัญชีเกิดเจ็บป่วย ตัวจำเลยเองโง่เขลารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนี้ ย่อมแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาของโจทก์ดีอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมอย่างใด ส่วนที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องด้วยว่าเจ้าพนักงานได้ตรวจพบการกระทำผิดของจำเลยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 นั้น ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องเสียไป เพราะเจ้าพนักงานอาจพบว่าจำเลยไม่ทำรายงานการค้าข้าวตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2508 นั้นได้ และตราบใดที่จำเลยยังคงไม่ทำรายงาน จำเลยก็ย่อมได้ชื่อว่ากระทำผิดทุกวันตลอดมา
คำว่า "ข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดให้ริบเสีย" ตามมาตรา 21 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการค้าข้าวฯ นั้น จะต้องเป็นข้าวซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดโดยตรง จำเลยเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าข้าวโดยชอบแล้ว จำเลยทำผิดเพียงละเว้นไม่ทำรายงานการค้าข้าวประจำวันเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าข้าวนั้นได้เกี่ยวเนื่องกับความผิดของจำเลยอย่างใดจึงไม่ริบข้าว
of 57