คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทิน เกษคุปต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 332 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค้ำประกัน - ความรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วม - การปลดหนี้เฉพาะบางส่วนไม่กระทบความรับผิดของผู้อื่น
ค้ำประกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่ามีกำหนดอายุความเท่าใดจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
การบรรยายฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์โดยมี
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้อัตราหนึ่ง ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้เข้าค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่1 อีกอัตราหนึ่งดังนี้หาทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดต่อโจทก์ไม่
จำเลยที่ 2 ที่ 3 มีความรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันการที่จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นบัญชีเดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดอยู่ตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ภายในจำนวนที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันไว้ แม้โจทก์ยอมรับการชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 จำนวนหนึ่งและปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 3 เสียนั้นก็หาใช่เป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จนถึงกับให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่เพราะหนี้รายนี้ยังมิได้ชำระโดยสิ้นเชิงการปลดหนี้ดังกล่าวคงเป็นประโยชน์เพียงเท่าส่วนที่ได้ปลดไปเท่านั้น
ปัญหาว่าบริษัทจำเลยไม่มีวัตถุประสงค์ค้ำประกันหนี้หากไปประกันหนี้จะต้องรับผิดหรือไม่มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค้ำประกัน, ความรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วม, การปลดหนี้เฉพาะส่วนไม่กระทบความรับผิดของผู้อื่น
ค้ำประกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่ามีกำหนดอายุความเท่าใด จึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
การบรรยายฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้อัตราหนึ่ง ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้เข้าค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 อีกอัตราหนึ่ง ดังนี้ หาทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดต่อโจทก์ไม่
จำเลยที่ 2 ที่ 3 มีความรับผิดต่อโจทก์ ในฐานะผู้ค้ำประกันการที่จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นบัญชีเดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดอยู่ตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ภายในจำนวนที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันไว้ แม้โจทก์ยอมรับการชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 จำนวนหนึ่งและปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 3 เสียนั้น ก็หาใช่เป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จนถึงกับให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่ เพราะหนี้รายนี้ยังมิได้ชำระโดยสิ้นเชิง การปลดหนี้ดังกล่าวคงเป็นประโยชน์เพียงเท่าส่วนที่ได้ปลดไปเท่านั้น
ปัญหาว่าบริษัทจำเลยไม่มีวัตถุประสงค์ค้ำประกันหนี้ หากไปประกันหนี้จะต้องรับผิดหรือไม่ มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค้ำประกัน, ความรับผิดของผู้ค้ำประกันร่วม, การปลดหนี้เฉพาะส่วนไม่กระทบความรับผิดของผู้ค้ำประกันอื่น
ค้ำประกัน ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่ามีกำหนดอายุความเท่าใด. จึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.
การบรรยายฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม.
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับธนาคารโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้อัตราหนึ่ง. ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้เข้าค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่1 อีกอัตราหนึ่ง. ดังนี้ หาทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดต่อโจทก์ไม่.
จำเลยที่ 2 ที่ 3 มีความรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันการที่จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นบัญชีเดียวกัน. จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดอยู่ตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ภายในจำนวนที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันไว้. แม้โจทก์ยอมรับการชำระหนี้จากจำเลยที่ 3 จำนวนหนึ่งและปลดหนี้ให้โดยการถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 3 เสียนั้น. ก็หาใช่เป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2จนถึงกับให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นความรับผิดไปด้วยไม่.เพราะหนี้รายนี้ยังมิได้ชำระโดยสิ้นเชิง. การปลดหนี้ดังกล่าวคงเป็นประโยชน์เพียงเท่าส่วนที่ได้ปลดไปเท่านั้น.
ปัญหาว่าบริษัทจำเลยไม่มีวัตถุประสงค์ค้ำประกันหนี้. หากไปประกันหนี้จะต้องรับผิดหรือไม่. มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการบังคับคดีเช่า: เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า ผู้เช่าต้องออกจากห้องเช่า
การที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่า แล้วโจทก์จำเลย ตกลงประนีประนอมกันให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไปได้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแม้จะไม่มีข้อความว่า เมื่อครบกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยยอมออกจากห้องเช่าที่ฟ้องขับไล่นั้นก็ตามแต่ก็ย่อมเห็นความประสงค์ของคู่กรณีว่า เป็นการยอมให้อยู่ต่อไปได้ชั่วระยะเวลาที่ระบุไว้เท่านั้น หมายความว่าเมื่อครบกำหนดนั้นแล้ว ผู้เช่าต้องออกจากห้องเช่าไป
คำสั่งศาลในการบังคับคดี หากปรากฏว่าไม่ถูกต้อง ย่อมแก้ไขใหม่ได้จึงไม่เป็นการต้องห้ามที่โจทก์จะมีคำร้องขึ้นใหม่ โดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1282/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเช่าบ้าน: สิทธิผู้เช่าหลังครบกำหนดสัญญา และการบังคับคดีซ้ำ
การที่โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่า แล้วโจทก์จำเลยตกลงประนีประนอมกันให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไปได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แม้จะไม่มีข้อความว่า เมื่อครบกำหนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยยอมออกจากห้องเช่าที่ฟ้องขับไล่นั้นก็ตามแต่ก็ย่อมเห็นความประสงค์ของคู่กรณีว่าเป็นการยอมให้อยู่ต่อไปได้ชั่วระยะเวลาที่ระบุไว้เท่านั้น หมายความว่าเมื่อครบกำหนดนั้นแล้ว ผู้เช่าต้องออกจากห้องเช่าไป
คำสั่งศาลในการบังคับคดี หากปรากฏไม่ถูกต้อง ย่อมแก้ไขใหม่ได้จึงไม่เป็นการต้องห้ามทีโจทก์จะมีคำร้องขึ้นใหม่ โดยที่โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ทางน้ำ (ภารจำยอม) ต่อเนื่องกว่า 30 ปี จำเลยปิดกั้นไม่ได้
โจทก์ได้ใช้เหมืองพิพาทเป็นทางน้ำชักน้ำจากนาแปลงใต้ผ่านมาจำเลยเข้ามาแปลงเหนือ เพื่อประโยชน์แก่นาแปลงเหนือของโจทก์มาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว เช่นนี้จำเลยจะปิดกั้นเสียไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ทางน้ำ (ภารจำยอม) หากใช้ต่อเนื่องกว่า 30 ปี จำเลยจะปิดกั้นไม่ได้
โจทก์ได้ใช้เหมืองพิพาทเป็นทางน้ำชักน้ำจากนาแปลงใต้ผ่านนาจำเลยเข้านาแปลงเหนือ เพื่อประโยชน์แก่นาแปลงเหนือของโจทก์มาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว เช่นนี้จำเลยจะปิดกั้นเสียไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินในเขตหวงห้าม: สิทธิครอบครองภายหลังมีพระราชกฤษฎีกา และการมีส่วนร่วมของหน่วยงานราชการ
ที่ดินพิพาทอยู่ภายในเขตหวงห้ามตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาทฯ พ.ศ. 2479 ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจดูแลรักษาและหวงห้ามมิให้ผู้ใดเข้ามาจับจองครอบครองหักล้างเข้าจัดทำหรือปลูกสร้างด้วยประการใด ๆ ในที่ดินนี้ คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์บรรพบุรุษของโจทก์และโจทก์ได้ครอบครองต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ไม่ใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่ใช่ที่ดินอยู่ในความคุ้มครองหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาทฯ พ.ศ. 2479 ขอห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องที่ดินพิพาทต่อไปฟ้องและคำขอบังคับคดีของโจทก์จึงมีผลกระทบไปถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีย่อมจะใช้สิทธิเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคดีนี้เพื่อต่อสู้คดีโจทก์ หรือใช้สิทธิฟ้องโจทก์เกี่ยวกับที่ดินพิพาทได้ตามลำพัง ตามคำร้องของจำเลยที่1 ที่ขอให้ศาลเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาทฯ พ.ศ. 2479 ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกานี้โจทก์ควรจะฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นจำเลยด้วย จำเลยที่ 1 จึงขอให้ศาลเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามมาตรา 57(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้หมายเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรียอมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยดี มิได้คัดค้านประการใด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นพ้องกันให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคดีนี้จึงเป็นการชอบ ที่โจทก์อ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม โดยมิได้ฟังคำคัดค้านของโจทก์เป็นการไม่ชอบนั้น เห็นว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยเห็นสมควรโดยถือเอาคำร้องของจำเลยที่ 1 เป็นมูลฐานพิจารณาสั่งตามอำนาจของศาล จึงไม่จำเป็นฟังคำคัดค้านของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินในเขตหวงห้าม: การครอบครองภายหลังมีกฎหมายหวงห้ามไม่มีสิทธิฟ้อง
ที่ดินพิพาทอยู่ภายในเขตหวงห้ามตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาท ฯ พ.ศ. 2479 ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจดูแลรักษาและหวงห้ามมิให้ผู้ใดเข้ามาจับจองครอบครองหักล้างเข้าจัดทำหรือปลูกสร้างด้วยประการใด ๆ ในที่ดินนี้ คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาชัดแจ้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์บรรพบุรุษของโจทก์และโจทก์ได้ครอบครองต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ไม่ใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ไม่ใช่ที่ดินอยู่ในความคุ้มครองหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาท ฯ พ.ศ.2479 ขอห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องที่ดินพิพาทต่อไปฟ้องและคำขอบังคับคดีของโจทก์จึงมีผลกระทบไปถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีย่อมจะใช้สิทธิเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคดีนี้เพื่อต่อสู้คดีโจทก์ หรือใช้สิทธิฟ้องโจทก์เกี่ยวกับทีดินพิพาทได้ตามลำพัง ตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ศาลเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตหวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินบริเวณพระพุทธบาท ฯ พ.ศ.2479 ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจหวงห้ามที่ดินตามพระราชกฤษฎีกานี้โจทก์ควรจะฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเป็นจำเลยด้วย จำเลยที่ 1 จึงขอให้ศาลเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตามมาตรา 57 (3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้หมายเรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรียอมเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยดี มิได้คัดค้านประการใด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เห็นพ้องกันให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมคดีนี้จึงเป็นการชอบ ที่โจทก์อ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เรียกผู้ว่าราขการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยมิได้ฟังคำคัดค้านของโจทก์เป็นการไม่ชอบ นั้น เห็นว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เรียกผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยเห็นสมควรโดยถือเอาคำร้องของจำเลยที่ 1 เป็นมูลฐานพิจารณาสั่งตามอำนาจของศาล จึงไม่จำเป็นฟังคำคัดค้านของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1246/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเรียกทรัพย์สินโดยมิชอบ แม้ยังไม่ได้ทรัพย์สิน หรือมีการกลับกระทำการโดยชอบด้วยหน้าที่ ก็ถือเป็นความผิดสำเร็จ
ความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกทรัพย์สินโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือ ไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 นั้น เพียงแต่เรียกก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว แม้จะยังไม่ได้ทรัพย์ที่เรียกไปก็ตาม หรือแม้จะมีการกลับกระทำการโดยชอบด้วยหน้าที่ในภายหลังก็ตามก็ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแต่ขณะเรียกแล้วหาใช่พยายามไม่
of 34