คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทิน เกษคุปต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 332 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องแจ้งให้เจ้าของเดิมทราบ หากไม่แจ้งฟ้องคืนได้ภายใน 1 ปี
ที่ดินของโจทก์ไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่จำเลยอาศัยโจทก์ทำนา เมื่อจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครอง ต้องบอกกล่าวหรือแสดงโดยชัดแจ้งให้โจทก์ทราบว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือครอบครองแทนต่อไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 การที่จำเลยเพิ่งแสดงออกให้โจทก์เห็นว่าจำเลยครอบครองเป็นปรปักษ์ต่อโจทก์เริ่มตั้งแต่จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีแพ่งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2503 ว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลย โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2504 คดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยฎีกาอ้างขึ้นมาลอยๆ ว่าโจทก์เป็นคนต่างด้าว กฎหมายห้ามมิให้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งตามสำนวนไม่ปรากฏ ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสืบพยานเพิ่มเติม: การเรียกสำนวนคดีอื่นมาประกอบการพิจารณา
คดีอาญา เมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้วการที่ศาลชั้นต้นเรียกสำนวนคดีอื่นมาประกอบการพิจารณา ก็เป็นการสืบพยานเพิ่มเติมนั่นเอง ย่อมมีอำนาจโดยพลการเรียกมาประกอบการพิจารณาโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาสำนวนคดีอื่นประกอบการพิจารณาคดีอาญา
คดีอาญา เมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้ว การที่ศาลชั้นต้นเรียกสำนวนคดีอื่นมาประกอบการพิจารณา ก็เป็นการสืบพยานเพิ่มเติมนั่นเอง ย่อมมีอำนาจโดยพลการเรียกมาประกอบการพิจารณาโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดอ้างตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมตัวบุคคลอันธพาลและการปฏิบัติตามระเบียบการสอบสวนของเจ้าพนักงาน
คำสั่งของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้น ถือเป็นกฎหมายให้อำนาจจำเลย(พนักงานสอบสวน) จะควบคุมโจทก์ไว้ทำการสอบสวนได้ 30 วัน การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย(ให้พิจารณาร่วมกับนายอำเภอ) เสียก่อนควบคุมนั้นเป็นเรื่องภายในเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการเท่านั้น หาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใดไม่ความประพฤติของโจทก์ที่จำเลยนำสืบก็เป็นพฤติการณ์ที่มีอยู่ก่อนโจทก์ถูกจับในข้อหาฐานพยายามฆ่าคนแล้ว ไม่ใช่จำเลยมาสร้างหลักฐานขึ้นภายหลังการกระทำของจำเลยที่ควบคุมโจทก์ในฐานเป็นบุคคลอันธพาลจึงไม่เป็นผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจควบคุมตัวบุคคลอันธพาลและการปฏิบัติตามระเบียบราชการของพนักงานสอบสวน
คำสั่งของคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 นั้น ถือเป็นกฎหมายให้อำนาจจำเลย(พนักงานสอบสวน)จะควบคุมโจทก์ไว้ทำการสอบสวนได้ 30 วัน การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย (ให้พิจารณามาร่วมกับนายอำเภอ) เสียก่อนควบคุมนั้นเป็นเรื่องภายในเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการเท่านั้น หาเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแต่อย่างใดไม่ ความประพฤติของโจทก์ที่จำเลยนำสืบก็เป็นพฤติการณ์ที่มีอยู่ก่อนโจทก์ถูกจับในข้อหาฐานพยายามฆ่าคนแล้วไม่ใช่จำเลยมาสร้างหลักฐานขึ้นภายหลัง การกระทำของจำเลยที่ควบคุมโจทก์ในฐานเป็นบุคคลอันธพาล จึงไม่เป็นผิดตามมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาเรื่องอำนาจปกครองบุตรต่อคำพิพากษาให้ส่งตัวบุตร แม้ศาลฎีกาสั่งให้ส่งตัวบุตร แต่หากศาลอุทธรณ์พิพากษาให้อำนาจปกครองแก่ฝ่ายอื่น ฝ่ายนั้นไม่ต้องส่งตัวบุตร
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ส่งบุตรแก่โจทก์ คดีถึงที่สุด โดยศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยส่งตัวบุตรให้โจทก์ แต่จำเลยขอให้งดการบังคับคดีไว้ อ้างว่าได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางขอให้พิพากษาให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลย ต่อมาคดีหลังถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษาให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลย ดังนี้ ประเด็นพิพาทตามคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นเรื่องว่าจะให้จำเลยส่งบุตรแก่โจทก์ตามคำขอหรือไม่ ส่วนประเด็นพิพาทตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นเรื่องว่าอำนาจปกครองควรจะอยู่แก่จำเลยผู้เป็นมารดาหรือไม่ผลแห่งคำพิพากษาทั้งสองจึงเป็นคนละเรื่องกัน หาขัดแย้งกันไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลยแล้ว อำนาจปกครองที่มีอยู่แก่โจทก์แต่แรกก็ย่อมหมดไปในตัว จำเลยไม่ต้องส่งบุตรให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลแห่งคำพิพากษาอำนาจปกครองบุตร: ศาลฎีกาไม่ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
เดิม โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ส่งบุตรแก่โจทก์คดีถึงที่สุด โดยศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยส่งตัวบุตรให้โจทก์ แต่จำเลยขอให้งดการบังคับคดีไว้ อ้างว่าได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางขอให้พิพากษาให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลย ต่อมาคดีหลังถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษาให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลย ดังนี้ ประเด็นพิพาทตามคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นเรื่องว่าจะให้จำเลยส่งบุตรแก่โจทก์ตามคำขอหรือไม่ ส่วนประเด็นพิพาทตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นเรื่องว่าอำนาจปกครองควรจะอยู่แก่จำเลยผู้เป็นมารดาหรือไม่ ผลแห่งคำพิพากษาทั้งสองจึงเป็นคนละเรื่องกัน หาขัดแย้งกันไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลยแล้ว อำนาจปกครองที่มีอยู่แก่โจทก์แต่แรกก็ย่อมหมดไปในตัว จำเลยไม่ต้องส่งบุตรให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1389/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายกเทศมนตรีต่อการยักยอกเงินของเทศบาล: ต้องมีเจตนาประมาทเลินเล่อเป็นเหตุโดยตรง
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบแสดงให้เห็นว่าการที่จำเลยที่ 2 ยักยอกเงินไปโดยมีจำเลยที่ 3 ร่วมด้วยนั้น ได้เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 อันเป็นผลโดยตรงให้เกิดมีการยักยอกเงินรายนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยอื่น
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติให้คณะเทศมนตรีควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า เป็นเรื่องกำหนดอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบโดยทั่วๆ ไปของคณะเทศมนตรีในทางบริหารกิจการของเทศบาลว่ามีอยู่เพียงใดเท่านั้น หาได้หมายความเลยไปถึงว่าหากเกิดการทุจริตในกิจการของเทศบาลขึ้นโดยคณะเทศมนตรีมิได้มีส่วนรู้เห็นทำละเมิดด้วยแล้วคณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดด้วยไม่
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการเงินที่ว่า หากมีการทุจริตเกี่ยวกับการรักษาเงินรายได้หรือเงินอื่นใดของเทศบาลทุกหน่วยงานให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลหรือผู้รักษาการแทนฯลฯ ร่วมกันรับผิดชอบชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลจนครบนั้น ระเบียบดังกล่าวเป็นเรื่องกำหนดหน้าที่ความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่การงานภายในวงงานอันจำกัดไม่ใช่กฎหมาย ผู้ออกระเบียบจะกำหนดวิธีปฏิบัติให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการของเทศบาลต้องปฏิบัติกิจการนั้นอย่างไรก็ย่อมทำได้ แต่การไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ว่านั้น หากจะมีความรับผิดทางกฎหมายอย่างไร ย่อมเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง การที่จะวางระเบียบหรือข้อบังคับไว้เด็ดขาดเลยไปถึงว่า หากเกิดการกระทำอย่างนั้นอย่างนี้ขึ้นแล้ว ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นการกำหนดก่อให้เกิดหนี้ละเมิด โดยผู้นั้นมิได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทุจริตด้วยนั้น หาทำได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสินบริคณห์ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเป็นหนังสือ หากไม่สมบูรณ์
การที่สามีจะยกที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ใครโดยเสน่หาได้นั้น จะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภริยา ถ้าภริยาไม่ได้ยินยอมเป็นหนังสือ การให้นั้นไม่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสินบริคณห์ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาเป็นหนังสือ หากไม่มีความยินยอม การโอนไม่สมบูรณ์
การที่สามีจะยกที่ดินซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ใครโดยเสน่หาได้นั้น จะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภริยา ถ้าภริยาไม่ได้ยินยอมเป็นหนังสือ การให้นั้นไม่สมบูรณ์
of 34