พบผลลัพธ์ทั้งหมด 332 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ตึกบนที่ดินของผู้อื่น: การซื้อขายตึกเป็นส่วนควบของที่ดิน ทำให้กรรมสิทธิ์โอนไปยังผู้ซื้อ
ผู้ร้องปลูกตึกพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลย และไม่ปรากฏว่าผู้ร้องปลูกตึกพิพาทเป็นการชั่วคราว ตึกพิพาทจึงเป็นส่วนควบของที่ดินของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 ต่อมาผู้ร้องได้ขายตึกพิพาทให้จำเลย จำเลยชำระค่าตึกบางส่วนแล้วก็ไม่ชำระอีก ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระ ดังนี้ ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าผู้ร้องได้ขายตึกพิพาทให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินเสร็จเด็ดขาดแล้ว ตึกพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยไม่จำเป็นต้องไปทำการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก.
(อ้างฎีกาที่ 561/2488, 1124/2502)
(อ้างฎีกาที่ 561/2488, 1124/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนชำระหนี้และการนำสืบพยานข้อตกลงนอกเอกสาร ศาลต้องเปิดโอกาสให้จำเลยสืบพยานได้
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันใหม่ว่า โจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เดือนละ 500 บาท นับแต่เดือนมกราคม 2507 เป็นต้นไป แต่ทั้งนี้จะไม่ค้างให้เกิน 6 เดือน ส่วนเงิน 5,000 บาทที่จำเลยจะต้องชำระให้ในเดือนพฤศจิกายน 2506 โจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนระยะเวลาไปไม่เกิน 6 เดือน ดังนี้ มิใช่แปลงหนี้ใหม่
เมื่อจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ได้ต่อไป ถ้าเป็นจริงย่อมมีผลผูกมัดโจทก์ ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ จำเลยย่อมนำพยานบุคคลเข้าสืบได้ (อ้างฎีกาที่ 782/2503)
จำเลยได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงในการต่อสู้คดีไว้ชัดแจ้งแล้ว การจะปรับเข้าบทกฎหมายใด ย่อมตกเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกมาใช้เอง (อ้างฎีกาที่ 183/2486).
เมื่อจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ได้ต่อไป ถ้าเป็นจริงย่อมมีผลผูกมัดโจทก์ ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ จำเลยย่อมนำพยานบุคคลเข้าสืบได้ (อ้างฎีกาที่ 782/2503)
จำเลยได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงในการต่อสู้คดีไว้ชัดแจ้งแล้ว การจะปรับเข้าบทกฎหมายใด ย่อมตกเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกมาใช้เอง (อ้างฎีกาที่ 183/2486).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนชำระหนี้และการเปลี่ยนแปลงข้อตกลง ศาลอนุญาตให้สืบพยานบุคคลได้หากข้อตกลงผ่อนผันมีผลผูกมัด
จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันใหม่ว่า โจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เดือนละ 500 บาท นับแต่เดือนมกราคม 2507 เป็นต้นไปแต่ทั้งนี้จะไม่ค้างให้เกิน 6 เดือน ส่วนเงิน 5,000 บาทที่จำเลยจะต้องชำระให้ในเดือนพฤศจิกายน 2506 โจทก์ตกลงให้จำเลยผ่อนระยะเวลาไปไม่เกิน 6 เดือน ดังนี้ มิใช่แปลงหนี้ใหม่
เมื่อจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ได้ต่อไป ถ้าเป็นจริงย่อมมีผลผูกมัดโจทก์ ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ จำเลยย่อมนำพยานบุคคลเข้าสืบได้ (อ้างฎีกาที่ 782/2503)
จำเลยได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงในการต่อสู้คดีไว้ชัดแจ้งแล้ว การจะปรับเข้าบทกฎหมายใด ย่อมตกเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกมาใช้เอง (อ้างฎีกาที่ 183/2486)
เมื่อจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ได้ต่อไป ถ้าเป็นจริงย่อมมีผลผูกมัดโจทก์ ไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ จำเลยย่อมนำพยานบุคคลเข้าสืบได้ (อ้างฎีกาที่ 782/2503)
จำเลยได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงในการต่อสู้คดีไว้ชัดแจ้งแล้ว การจะปรับเข้าบทกฎหมายใด ย่อมตกเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกมาใช้เอง (อ้างฎีกาที่ 183/2486)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการยินยอมให้ผู้อื่นบุกรุก และอายุความค่าเสียหาย
โจทก์บรรยายข้อเรียกร้องมาในฟ้อง ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากจำเลยที่ 2 ละเมิดอยู่ในบ้านพิพาทของโจทก์โดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิจะอ้างได้ตามกฎหมาย ในคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาโดยบรรยายข้อเท็จจริงเข้ามาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น โดยละเอียดพอที่จำเลยเข้าใจข้อหาของโจทก์ได้ดี ฟ้องของโจทก์หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยที่ 1 เลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 2 ครอบครองบ้านพิพาทต่อไปภายหลังเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ การที่โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หาเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตไม่
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ฐานจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 ละเมิดอยู่บ้านพิพาท โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้เพียง 1 ปี ส่วนค่าเสียหายที่เกินกว่า 1 ปีขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บจากจำเลยที่ 1 (อ้างฎีกาที่ 1273/2500)
จำเลยที่ 1 เลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 2 ครอบครองบ้านพิพาทต่อไปภายหลังเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ การที่โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หาเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตไม่
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ฐานจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 ละเมิดอยู่บ้านพิพาท โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้เพียง 1 ปี ส่วนค่าเสียหายที่เกินกว่า 1 ปีขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บจากจำเลยที่ 1 (อ้างฎีกาที่ 1273/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากละเมิดและการหมดอายุความค่าเสียหายจากการยินยอมให้ผู้อื่นบุกรุก
โจทก์บรรยายข้อเรียกร้องมาในฟ้อง ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากจำเลยที่ 2 ละเมิดอยู่ในบ้านพิพาทของโจทก์ โดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิจะอ้างได้ตามกฎหมายในคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา โดยบรรยายข้อเท็จจริงเข้ามาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นโดยละเอียดพอที่จำเลยเข้าใจข้อหาของโจทก์ได้ดี ฟ้องของโจทก์หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยที่ 1 เลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 2 ครอบครองบ้านพิพาทต่อไปภายหลังเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ การที่โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หาเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตไม่
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ฐานจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 ละเมิดอยู่บ้านพิพาทโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้เพียง 1 ปี ส่วนค่าเสียหายที่เกินกว่า 1 ปี ขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บจากจำเลยที่ 1(อ้างฎีกาที่ 1273/2501)
จำเลยที่ 1 เลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว การที่จำเลยที่ 2 ครอบครองบ้านพิพาทต่อไปภายหลังเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมด้วย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ การที่โจทก์เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หาเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตไม่
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ฐานจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 ละเมิดอยู่บ้านพิพาทโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้เพียง 1 ปี ส่วนค่าเสียหายที่เกินกว่า 1 ปี ขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกเก็บจากจำเลยที่ 1(อ้างฎีกาที่ 1273/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การแก้ไขคำพิพากษาเล็กน้อยโดยศาลอุทธรณ์ ทำให้จำเลยไม่สามารถฎีกาในข้อเท็จจริงได้
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงสิทธิครอบครองที่ดินทุนทรัพย์ 3,100 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองเพียงครึ่งหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินทั้งหมด ดังนี้ถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248(อ้างฎีกาที่ 497/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสิทธิครอบครองที่ดินในชั้นอุทธรณ์: ข้อจำกัดในการฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงสิทธิครอบครองที่ดินทุนทรัพย์ 3,100 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองเพียงครึ่งหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินทั้งหมด ดังนี้ ถือว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248.
(อ้างฎีกาที่ 497/2500)
(อ้างฎีกาที่ 497/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การที่ทั้งสองฝ่ายยังมิได้ดำเนินการตามสัญญาซื้อขายที่ดินจนถึงวันฟ้อง ถือเป็นเหตุให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์จำเลยยังมิได้ไปทำนิติกรรมโอนขายที่ดินต่อกันตามสัญญา ต่างปล่อยปละละเลยเรื่อยมาจนถึงวันฟ้องเพราะโจทก์กับจำเลยยังมิได้กำหนดวันไปทำนิติกรรมโอนขายที่ดินรายนี้แก่กัน จะถือว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญายังไม่ได้ เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดผิดนัดผิดสัญญา อำนาจฟ้องร้องจึงยังไม่เกิดขึ้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การที่คู่สัญญายังมิได้ทำนิติกรรมโอนขาย และต่างปล่อยปละละเลยจนถึงวันฟ้อง ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องร้อง
การที่โจทก์จำเลยยังมิได้ไปทำนิติกรรมโอนขายที่ดินต่อกันตามสัญญา ต่างปล่อยปละละเลยเรื่อยมาจนถึงวันฟ้องเพราะโจทก์กับจำเลยยังมิได้กำหนดวันไปทำนิติกรรมโอนขายที่ดินรายนี้แก่กันจะถือว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญายังไม่ได้เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดผิดนัดผิดสัญญา อำนาจฟ้องร้องจึงยังไม่เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย่งการครอบครองและเรียกค่าเสียหายจากละเมิด: การรับรองสิทธิคู่กรณีและขอบเขตการพิจารณาของศาล
ฟ้องโจทก์อ้างว่า นายสีกับพวกได้แย่งเอาสิทธิครอบครองของโจทก์ไปตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2504 คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการรับรองในตัวว่านายสีเข้าแย่งการครอบครองที่ดินแปลงพิพาทมาเกิน 1 ปี โจทก์เพิ่งมาฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากพวกจำเลยซึ่งเข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของนายสีเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2507 อันเป็นเวลาภายหลังที่นายสีเข้าแย่งสิทธิครอบครองมาเกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ที่บ้านที่สวนมือเปล่าซึ่งจะมีอายุความฟ้องร้องกันได้ถึง 9 - 10 ปี ตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 นั้น จะต้องเป็นที่บ้านที่สวนมือเปล่ามาก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะทรัพย์สินซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2475 (อ้างฎีกาที่ 882/2503, 1570/2500)
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมมาตั้งแต่แรก และปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หากแต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์จำเลยโดยเฉพาะ ไม่กระทบกระเทือนถึงประชาชนหรือบุคคลภายนอกแต่ประการใด (อ้างฎีกาที่ 914/2503) ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แล้วพิพากษายกฟ้อง จึงยังไม่ชอบ
จำเลยมิได้ยกอายุความฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด ตามคำให้การจำเลยคงยกอายุความขึ้นต่อสู้เฉพาะฟ้องโจทก์ที่ฟ้องเอาคืนสิทธิครอบครองที่พิพาทเท่านั้น ฉะนั้น ที่ศาลวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ในประเด็นข้อนี้เสียด้วย จึงยังไม่ชอบเช่นกัน
แม้ว่าศาลจะได้พิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาว่าจำเลยบุกรุกขอให้ขับไล่ออกจากที่พิพาทแล้วก็ตาม แต่เหตุที่ยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกรบกวนสิทธิ ไม่เกี่ยวกับข้อหาฐานละเมิดเรียกค่าเสียหาย ซึ่งถ้าหากจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์จริงตามฟ้อง โจทก์ได้รับความเสียหายมาก่อนแล้ว จำเลยก็อาจต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ เมื่อคู่ความยังโต้เถียงและศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อนี้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างเฉพาะประเด็นเรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหาย ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาในประเด็นที่ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์จริงหรือไม่ จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด แล้วพิพากษาใหม่ต่อไป.
ที่บ้านที่สวนมือเปล่าซึ่งจะมีอายุความฟ้องร้องกันได้ถึง 9 - 10 ปี ตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 นั้น จะต้องเป็นที่บ้านที่สวนมือเปล่ามาก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะทรัพย์สินซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2475 (อ้างฎีกาที่ 882/2503, 1570/2500)
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมมาตั้งแต่แรก และปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย หากแต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์จำเลยโดยเฉพาะ ไม่กระทบกระเทือนถึงประชาชนหรือบุคคลภายนอกแต่ประการใด (อ้างฎีกาที่ 914/2503) ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แล้วพิพากษายกฟ้อง จึงยังไม่ชอบ
จำเลยมิได้ยกอายุความฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด ตามคำให้การจำเลยคงยกอายุความขึ้นต่อสู้เฉพาะฟ้องโจทก์ที่ฟ้องเอาคืนสิทธิครอบครองที่พิพาทเท่านั้น ฉะนั้น ที่ศาลวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ในประเด็นข้อนี้เสียด้วย จึงยังไม่ชอบเช่นกัน
แม้ว่าศาลจะได้พิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาว่าจำเลยบุกรุกขอให้ขับไล่ออกจากที่พิพาทแล้วก็ตาม แต่เหตุที่ยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกรบกวนสิทธิ ไม่เกี่ยวกับข้อหาฐานละเมิดเรียกค่าเสียหาย ซึ่งถ้าหากจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์จริงตามฟ้อง โจทก์ได้รับความเสียหายมาก่อนแล้ว จำเลยก็อาจต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ เมื่อคู่ความยังโต้เถียงและศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อนี้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างเฉพาะประเด็นเรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหาย ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาในประเด็นที่ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์จริงหรือไม่ จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด แล้วพิพากษาใหม่ต่อไป.