พบผลลัพธ์ทั้งหมด 332 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องครอบครองปรปักษ์และการฟ้องละเมิด: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างเฉพาะส่วนค่าเสียหาย
ฟ้องโจทก์อ้างว่า นายสีกับพวกได้แย่งเอาสิทธิครอบครองของโจทก์ไปตั้งแต่ วันที่ 14 มีนาคม 2504 คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการรับรองในตัวว่านายสีเข้าแย่งการครอบครองที่ดินแปลงพิพาทมาเกิน 1 ปี โจทก์เพิ่งมาฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากพวกจำเลยซึ่งเข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของนายสีเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2507 อันเป็นเวลาภายหลังที่นายสีเข้าแย่งสิทธิครอบครองมาเกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
ที่บ้านที่สวนมือเปล่าซึ่งจะมีอายุความฟ้องร้องกันได้ถึง 9-10 ปี ตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 นั้น จะต้องเป็นที่บ้านที่สวนมือเปล่ามาก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะทรัพย์สินซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2475(อ้างฎีกาที่ 882/2503,1570/2500)
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมมาตั้งแต่แรก และปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหากแต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์จำเลยโดยเฉพาะไม่กระทบกระเทือนถึงประชาชนหรือบุคคลภายนอกแต่ประการใด (อ้างฎีกาที่ 914/2503) ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แล้วพิพากษายกฟ้องจึงยังไม่ชอบ
จำเลยมิได้ยกอายุความฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด ตามคำให้การจำเลยคงยกอายุความขึ้นต่อสู้เฉพาะฟ้องโจทก์ที่ฟ้องเอาคืนสิทธิครอบครองที่พิพาทเท่านั้นฉะนั้น ที่ศาลวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ในประเด็นข้อนี้เสียด้วย จึงยังไม่ชอบเช่นกัน
แม้ว่าศาลจะได้พิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาว่าจำเลยบุกรุกขอให้ขับไล่ออกจากที่พิพาทแล้วก็ตาม แต่เหตุที่ยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกรบกวนสิทธิ ไม่เกี่ยวกับข้อหาฐานละเมิดเรียกค่าเสียหาย ซึ่งถ้าหากจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์จริงตามฟ้อง โจทก์ได้รับความเสียหายมาก่อนแล้ว จำเลยก็อาจต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ เมื่อคู่ความยังโต้เถียงและศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อนี้ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างเฉพาะประเด็นเรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหายให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาในประเด็นที่ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์จริงหรือไม่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด แล้วพิพากษาใหม่ต่อไป
ที่บ้านที่สวนมือเปล่าซึ่งจะมีอายุความฟ้องร้องกันได้ถึง 9-10 ปี ตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 นั้น จะต้องเป็นที่บ้านที่สวนมือเปล่ามาก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยลักษณะทรัพย์สินซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2475(อ้างฎีกาที่ 882/2503,1570/2500)
จำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมมาตั้งแต่แรก และปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหากแต่เป็นเรื่องระหว่างโจทก์จำเลยโดยเฉพาะไม่กระทบกระเทือนถึงประชาชนหรือบุคคลภายนอกแต่ประการใด (อ้างฎีกาที่ 914/2503) ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม แล้วพิพากษายกฟ้องจึงยังไม่ชอบ
จำเลยมิได้ยกอายุความฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด ตามคำให้การจำเลยคงยกอายุความขึ้นต่อสู้เฉพาะฟ้องโจทก์ที่ฟ้องเอาคืนสิทธิครอบครองที่พิพาทเท่านั้นฉะนั้น ที่ศาลวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ในประเด็นข้อนี้เสียด้วย จึงยังไม่ชอบเช่นกัน
แม้ว่าศาลจะได้พิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องโจทก์ในข้อหาว่าจำเลยบุกรุกขอให้ขับไล่ออกจากที่พิพาทแล้วก็ตาม แต่เหตุที่ยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่ฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกรบกวนสิทธิ ไม่เกี่ยวกับข้อหาฐานละเมิดเรียกค่าเสียหาย ซึ่งถ้าหากจำเลยได้ทำละเมิดต่อโจทก์จริงตามฟ้อง โจทก์ได้รับความเสียหายมาก่อนแล้ว จำเลยก็อาจต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ เมื่อคู่ความยังโต้เถียงและศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อนี้ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างเฉพาะประเด็นเรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหายให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาในประเด็นที่ว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์จริงหรือไม่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด แล้วพิพากษาใหม่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาที่แท้จริงของสัญญา: สัญญาซื้อขายแฝงในสัญญาเงินกู้ การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์เพราะโจทก์ตกลงซื้อสวนมะพร้าวจำเลย จำเลยรับเงินไปจากโจทก์จำนวนหนึ่งซึ่งจะถือเป็นค่าสวนมะพร้าวต่อเมื่อจำเลยสามารถโอนสวนมะพร้าวให้โจทก์ได้ มิใช่โจทก์จำเลยเจตนากู้เงินกัน 60,000 บาท การทำสัญญากู้จึงเป็นการเอาหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวมาทำเป็นสัญญากู้เงิน มิใช่รับเงินเนื่องจากการกู้เงินกันโดยแท้จริง ในขณะทำสัญญากู้ยังไม่รู้ว่าจำเลยจะต้องคืนเงินหรือไม่ แล้วแต่หนี้ที่จะเกิดจากสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวอีกส่วนหนึ่ง เจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีในการทำสัญญากู้ที่ให้บังคับกันได้ก็คือให้ใช้เงินคืนแก่กันในลักษณะกู้เงินตามจำนวนที่จะต้องคืนโดยอาศัยหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวซึ่งหากจะต้องมีการคืนหรือหักเงินกันต่อไปข้างหน้า จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบว่าความจริงจำเลยรับเงินไปจากโจทก์เพียง 10,000 บาท มิใช่การนำสืบแปลหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร หากแต่เป็นการนำสืบหักล้างตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำนวนหนี้ตามที่กล่าวในฟ้องนั้นไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ใช่เจตนาที่แท้จริง จำเลยมีสิทธิจะนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคสุดท้าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาจริงของสัญญา การนำสืบหักล้างหนี้ และการพิสูจน์จำนวนเงินที่รับจริง
จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์เพราะโจทก์ตกลงซื้อสวนมะพร้าวจำเลย จำเลยรับเงินไปจากโจทก์จำนวนหนึ่งซึ่งจะถือเป็นค่าสวนมะพร้าวต่อเมื่อจำเลยสามารถโอนสวนมะพร้าวให้โจทก์ได้ มิใช่โจทก์จำเลยเจตนากู้เงินกัน 60,000 บาทการทำสัญญากู้จึงเห็นการเอาหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวมาทำเป็นสัญญากู้เงินมิใช่รับเงินเนื่องจากการกู้เงินกันโดยแท้จริงในขณะทำสัญญากู้ยังไม่รู้ว่าจำเลยจะต้องคืนเงินหรือไม่แล้วแต่หนี้ที่จะเกิดจากสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวอีกส่วนหนึ่งเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีในการทำสัญญากู้ที่ให้บังคับกันได้ก็คือให้ใช้เงินคืนแก่กันในลักษณะกู้เงินตามจำนวนที่จะต้องคืนโดยอาศัยหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวซึ่งหากจะต้องมีการคืนหรือหักเงินกันต่อไปข้างหน้าจำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบว่าความจริงจำเลยรับเงินไปจากโจทก์เพียง 10,000 บาท มิใช่การนำสืบแปลหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร หากแต่เป็นการนำสืบหักล้างตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำนวนหนี้ตามที่กล่าวในฟ้องนั้นไม่สมบูรณ์เพราะไม่ใช่เจตนาที่แท้จริงจำเลยมีสิทธิจะนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคสุดท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อโจทก์ในฟ้องคดีอาญา: ความสมบูรณ์ของฟ้องและอำนาจทนาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 เป็นที่เห็นได้ชัดว่าโจทก์ต้องลงลายมือชื่อในฟ้องด้วยตนเองทนายความของโจทก์จะเป็นผู้ลงชื่อแทนไม่ได้
(อ้างฎีกาที่ 618/2490,300/2507)
(อ้างฎีกาที่ 618/2490,300/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงลายมือชื่อในฟ้องคดีอาญา โจทก์ต้องลงชื่อเอง ทนายลงแทนไม่ได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 เป็นที่เห็นได้ชัดว่าโจทก์ต้องลงลายมือชื่อในฟ้องด้วยตนเอง ทนายความของโจทก์จะเป็นผู้ลงชื่อแทนไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 618/2490, 300/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769-770/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพาทที่ดินงอกริมตลิ่ง ทางสาธารณะ/เอกชน ศาลต้องสืบพยานประเด็นสำคัญก่อนพิพากษา
ระหว่างที่พิพาทซึ่งเป็นที่งอกริมตลิ่งกับที่ของโจทก์มีทางเดินคั่นกลางซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นทางเอกชนที่พิพาทเป็นที่งอกหน้าที่ดินของโจทก์จึงเป็นของโจทก์จำเลยสู้ว่าทางเดินระหว่างที่พิพาทเป็นทางสาธารณะที่พิพาทเป็นที่งอกจากทางสาธารณะ จำเลยได้ครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของมานานหลายปีแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนจากที่พิพาทประเด็นที่ว่าทางเดินระหว่างที่พิพาทกับที่โจทก์เป็นทางเอกชนหรือทางสาธารณะเป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยจากคำพยานโจทก์จำเลยศาลจึงชอบที่จะให้สืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นดังกล่าวให้สิ้นกระแสความก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769-770/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพาทเกี่ยวกับที่ดินงอกริมตลิ่งและทางสาธารณะ ศาลต้องสืบพยานประเด็นสำคัญก่อนตัดสิน
ระหว่างที่พิพาทซึ่งเป็นที่งอกริมตลิ่งกับที่ของโจทก์มีทางเดินคั่นกลางซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นทางเอกชน ที่พิพาทเป็นที่งอกหน้าที่ดินของโจทก์ จึงเป็นของโจทก์ จำเลยสู้ว่าทางเดินระหว่างที่พิพาทเป็นทางสาธารณะ ที่พิพาทเป็นที่งอกจากทางสาธารณะ จำเลยได้ครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของมานานหลายปีแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนจากที่พิพาท ประเด็นที่ว่าทางเดินระหว่างที่พิพาทกับที่โจทก์เป็นทางเอกชนหรือทางสาธารณะ เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยจากคำพยานโจทก์จำเลย ศาลจึงชอบที่จะให้สืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นดังกล่าวให้สิ้นกระแสความก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลเกี่ยวกับการไถ่ถอนการขายฝาก และการเกิดหนี้ตามคำพิพากษา
คดีที่ศาลพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากได้นั้น ศาลบังคับให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 15 วัน ย่อมเป็นการบังคับทั้งโจทก์และจำเลย แต่เมื่อพ้นระยะเวลา 15 วันตามคำบังคับจะถือว่าเป็นอันหมดสิทธิไถ่ถอนยังไม่ได้ เพราะคำพิพากษามิได้กล่าวไว้เช่นนั้น เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขอให้ดำเนินการบังคับคดีให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแล้วย่อมเกิดเป็นหนี้ตามคำพิพากษาขึ้น โจทก์จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษานั้น โดยโจทก์จำเลยต่างก็กลายสภาพเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา อันจะบังคับกันได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 หาใช่เป็นการขยายระยะเวลาไถ่ถอนไม่.
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแล้วย่อมเกิดเป็นหนี้ตามคำพิพากษาขึ้น โจทก์จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษานั้น โดยโจทก์จำเลยต่างก็กลายสภาพเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา อันจะบังคับกันได้ภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 หาใช่เป็นการขยายระยะเวลาไถ่ถอนไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาไถ่ถอนการขายฝาก: อายุความและการปฏิบัติตามคำบังคับ
คดีที่ศาลพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิไถ่ถอนการขายฝากได้นั้นศาลบังคับให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 15 วัน ย่อมเป็นการบังคับทั้งโจทก์และจำเลย แต่เมื่อพ้นระยะเวลา 15 วันตามคำบังคับจะถือว่าเป็นอันหมดสิทธิไถ่ถอนยังไม่ได้เพราะคำพิพากษามิได้กล่าวไว้เช่นนั้นเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขอให้ดำเนินการบังคับคดีให้โจทก์ปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแล้วย่อมเกิดเป็นหนี้ตามคำพิพากษาขึ้นโจทก์จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษานั้น โดยโจทก์จำเลยต่างก็กลายสภาพเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา อันจะบังคับกันได้ภายในกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 หาใช่เป็นการขยายระยะเวลาไถ่ถอนไม่
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาแล้วย่อมเกิดเป็นหนี้ตามคำพิพากษาขึ้นโจทก์จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษานั้น โดยโจทก์จำเลยต่างก็กลายสภาพเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ตามคำพิพากษา อันจะบังคับกันได้ภายในกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 หาใช่เป็นการขยายระยะเวลาไถ่ถอนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล แม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินไม่ถูกต้องตามนั้น
จำเลยซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล และชำระเงินต่อศาลครบถ้วนแล้ว ศาลได้แจ้งให้อำเภอจัดการทำนิติกรรมโอนที่พิพาทให้จำเลย โจทก์ไปคัดค้านและมาฟ้องคดีนี้ อ้างว่าที่ดินเป็นของโจทก์ โจทก์ไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการที่จำเลยซื้อ แต่มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลไม่สุจริตหรือเป็นไปไม่ชอบอย่างไร และมิได้ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดรายนี้ จำเลยสู้ว่าได้ซื้อที่พิพาทไว้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยชอบ คดีโจทก์จึงไม่มีประเด็นที่จะสืบว่าจำเลยซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดดังกล่าวโดยสุจริตหรือไม่ ข้อต่อสู้ของจำเลยต้องด้วยบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 สิทธิของจำเลยในฐานะผู้ซื้อที่พิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลจึงยังคงมีอยู่ แม้โจทก์จะสืบพยานในประเด็นตามที่โจทก์ฟ้อง และฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ ก็ไม่ทำให้โจทก์ชนะคดีได้ (อ้างฎีกาที่ 63-64/2506) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 ใช้บังคับถึงการขายทอดตลาดทรัพย์สินทั่วไป และรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ด้วย.