คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุทิน เกษคุปต์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 332 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ต้องแสดงเหตุขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินอย่างชัดเจน
คำร้องขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่นั้น ต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งเหตุที่คู่ความได้ขาดนัด และข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลนั้นด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ฉะนั้น คำร้องขอที่แสดงเพียงเหตุที่จำเลยมาศาลตามกำหนดนัดมิได้แต่อย่างเดียว ศาลย่อมยกคำร้องขอนั้นเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลวิกลจริต: ขอบเขตความหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 29 และการพิจารณาความเป็นผู้อนุบาล
คำว่า บุคคลวิกลจริต ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 นั้น มิได้หมายเฉพาะถึงบุคคลผู้มีจิตผิดปกติหรือตามที่เข้าใจกันทั่วๆ ไปว่าเป็นบ้า เท่านั้นไม่ แต่หมายรวมถึงบุคคลที่มีกิริยาอาการผิดปกติเพราะสติวิปลาศ คือ ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรู้สึกผิดชอบด้วยเพราะบุคคลดังกล่าวนี้ไม่สามารถประกอบกิจการงานของตน หรือประกอบกิจส่วนตัวของตนได้ทีเดียว
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมอง ต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลามีอาการพูดไม่ได้ หูไม่ได้ยินตาทั้งสองข้างมองไม่เห็น มีอาการอย่างคนไม่มีสติสัมปชัญญะใดๆ ไร้ความสามารถที่จะดำเนินกิจการทุกสิ่งทุกอย่าง ถือว่าเป็นบุคคลวิกลจริตตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลวิกลจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 29: ขอบเขตและลักษณะอาการ
คำว่า บุคคลวิกลจริต ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 นั้น มิได้หมายเฉพาะถึงบุคคลผู้มีจิตผิดปกติหรือตามที่เข้าใจกันทั่ว ๆ ไปว่าเป็นบ้าเท่านั้นไม่ แต่หมายรวมถึงบุคคลที่มีกิริยาอาการผิดปกติเพราะสติวิปลาส คือ ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรู้สึกผิดชอบด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวนี้ไม่สามารประกอบกิจการงานของตนหรือประกอบกิจส่วนตัวของตนได้ทีเดียว
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมอง ต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา มีอาการพูดไม่ได้ หูไม่ได้ยิน ตาทั้งสองข้างมองไม่เห็น มีอาการอย่างคนไม่มีสติสัมปชัญญะใด ๆ ไร้ความสามารถที่จะดำเนินกิจการทุกสิ่งทุกอย่าง ถือว่าเป็นบุคคลวิกลจริตตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 แล้ว.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409-410/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเจ้าพนักงานออกเอกสารเท็จและปฏิบัติหน้าที่มิชอบเพื่อเอื้อประโยชน์ผู้อื่น
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำแหน่งครูใหญ่ มีหน้าที่ออกใบสุทธิให้แก่นักเรียนที่ออกไปจากโรงเรียนตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ แม้แบบพิมพ์ใบสุทธิจะอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ก็เพียงเพื่อออกเป็นใบสุทธิให้แก่นักเรียนซึ่งจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ออกตามระเบียบ ก็เป็นเรื่องผิดหน้าที่ในการใช้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำทุจริตต่อหน้าที่ในการรักษาตามความมุ่งหมายของมาตรา 151 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ตอนแรก กับมาตรา 162 ไม่มีบทบัญญัติว่าจะต้องเป็นการกระทำโดยทุจริต ฉะนั้น เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานออกใบสุทธิโดยจดเปลี่ยนแปลงข้อความไม่ตรงต่อความจริงและผิดระเบียบเพื่อให้พลทหารเอกพลทหารเบ็ญนำไปแสดงต่อผู้บังคับบัญชาในการขอบำเหน็จความชอบนั้นก็ได้ชื่อว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ราชการทหารในตัวครบองค์ความผิดตามมาตรา 157 ตอนแรก และมาตรา 162(3) เป็นความผิดตามบทกฎหมายสองมาตราดังกล่าว และให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนัก
สำหรับจำเลยที่ 2(เป็นครูน้อย โจทก์ฟ้องว่าร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิดดังกล่าว) ศาลลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงผู้สนับสนุน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น (จำคุกไม่เกิน 5 ปี) นั้นการที่ศาลจะรอการลงโทษจำเลยหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับดุลพินิจโจทก์ฎีกาโต้แย้งข้อนี้ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
(ปัญหาที่ 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่19-20/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409-410/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานออกเอกสารเท็จเพื่อเอื้อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ถือว่าทุจริต แต่เป็นความผิดปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำแหน่งครูใหญ่ มีหน้าที่ออกใบสุทธิให้แก่นักเรียนที่ออกไปจากโรงเรียนตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ แม้แบบพิมพ์ใบสุทธิจะอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ก็ตาม ก็เพียงเพื่อออกเป็นใบสุทธิให้แก่นักเรียนซึ่งจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ออกตามระเบียบ ถ้านำไปใช้ในทางที่ไม่ตรงต่อความจริง และผิดระเบียบ ก็เป็นเรื่องผิดหน้าที่ในการใช้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำทุจริตต่อหน้าที่ในการรักษาตามความมุ่งหมายของมาตรา 151 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 157 ตอนแรก กับมาตรา 162 ไม่มีบทบัญญัติว่าจะต้องเป็นการกระทำโดยทุจริต ฉะนั้น เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานออกใบสุทธิโดยจดเปลี่ยนแปลงข้อความไม่ตรงต่อความจริงและผิดระเบียบเพื่อให้พลทหารเอก พลทหารเบ็ญนำไปแสดงต่อผู้บังคับบัญชาในการขอบำเหน็จความชอบนั้น ก็ได้ชื่อว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายโดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ราชการทหารในตัว ครบองค์ความผิดตามมาตรา 157 ตอนแรก และมาตรา 162(3) เป็นความผิดตามบทกฎหมายสองมาตราดังกล่าว และให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนัก
สำหรับจำเลยที่ 2 (เป็นครูน้อย โจทก์ฟ้องว่าร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิดดังกล่าว) ศาลลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงผู้สนับสนุน
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น(จำคุกไม่เกิน 5 ปี ) นั้น การที่ศาลจะรอการลงโทษจำเลยหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับดุลพินิจ โจทก์ฎีกาโต้แย้งข้อนี้ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218.
(ปัญหาที่ 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19-20/2508).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขต ‘เคหสถาน’ ตามประมวลกฎหมายอาญา: เล้าไก่ใกล้เรือนถือเป็นเคหสถานด้วยหรือไม่
เล้าไก่ไม่ใช่ที่ซึ่งคนอยู่อาศัยก็จริงแต่อยู่ห่างจากเรือนผู้เสียหายประมาณ 1 เมตร แม้แยกออกไปต่างหากจากตัวเรือนแล้ว ก็ยังอยู่ในที่ดินอันเป็นบริเวณของโรงเรือนซึ่งมีรั้วอยู่ด้วย มิใช่อยู่ในที่ซึ่งเป็นบริเวณต่างหากจากโรงเรือนซึ่งใช้เป็นที่คนอยู่อาศัยจำเลยลักไก่ในเล้าซึ่งอยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัย จึงเป็นการลักทรัพย์ในเคหสถานที่จำเลยได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดมาตรา 335(8) ด้วย
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 393/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขต 'เคหสถาน' ตามประมวลกฎหมายอาญา: เล้าไก่ใกล้เรือนถือเป็นเคหสถานได้
เล้าไก่ไม่ใช่ที่ซึ่งคนอยู่อาศัยก็จริง แต่อยู่ห่างจากเรือนผู้เสียหายประมาณ 1 เมตร แม้แยกออกไปต่างหากจากตัวเรือนแล้ว ก็ยังอยู่ในที่ดินอันเป็นบริเวณของโรงเรือนซึ่งมีรั้วอยู่ด้วย มิใช่อยู่ในที่ซึ่งเป็นบริเวณต่างหากจากโรงเรือนซึ่งใช้เป็นที่คนอยู่อาศัย จำเลยลักไก่ในเล้าซึ่งอยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัย จึงเป็นการลักทรัพย์ในเคหสถานที่จำเลยได้เข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นความผิดมาตรา 335(8) ด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2509).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: สิทธิในการคัดค้านและขอบเขตการจัดการทรัพย์สินมรดก
เมื่อผู้ตายมีคดีพิพาทอยู่กับผู้คัดค้าน สิทธิต่างๆ ของผู้ตายจะต้องมีผู้จัดการต่อไป และย่อมจะต้องจัดการเฉพาะทรัพย์สินอันเป็นมรดกของผู้ตายเพียงเท่าที่ผู้ตายมีสิทธิอยู่ ไม่ใช่เข้าไปจัดการซ้อนผู้จัดการในคดีที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้าง การตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในคดีนี้จึงไม่เป็นการตั้งผู้จัดการมรดกซ้ำ
ในคดีที่ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก แม้ศาลจะสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามที่ผู้ร้องอ้างว่ามีอยู่ตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องก็ดีก็หาตัดสิทธิผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่จะพิสูจน์ว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ร้องไม่และประเด็นแห่งคดีมีอยู่เพียงว่าสมควรจะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องขอหรือไม่เท่านั้น
ผู้คัดค้านมิได้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิจะคัดค้านการจัดตั้งผู้จัดการมรดก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) มิได้หมายความว่า ถ้าใครคัดค้านจะเป็นคู่ความไปเสียทั้งหมดคงหมายเฉพาะผู้คัดค้านที่จะคัดค้านได้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: สิทธิการจัดการทรัพย์สินมรดกเฉพาะส่วน และการไม่มีส่วนได้เสียในการคัดค้าน
เมื่อผู้ตายมีคดีพิพาทอยู่กับผู้คัดค้าน สิทธิต่าง ๆ ของผู้ตายจะต้องมีผู้จัดการต่อไป และย่อมจะต้องจัดการเฉพาะทรัพย์สินอันเป็นมรดกของผู้ตายเพียงเท่าที่ผู้ตายมีสิทธิอยู่ ไม่ใช่เข้าไปจัดการซ้อนผู้จัดการในคดีที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้าง การตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกในคดีนี้จึงไม่เป็นการตั้งผู้จัดการมรดกซ้ำ
ในคดีที่ร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก แม้ศาลจะสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามที่ผู้ร้องอ้างว่ามีอยู่ตามบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องก็ดี ก็หาตัดสิทธิผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่จะพิสูจน์ว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ร้องไม่ และประเด็นแห่งคดีมีอยู่เพียงว่าสมควรจะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องขอหรือไม่เท่านั้น
ผู้คัดค้านมิได้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิจะคัดค้านการจัดตั้งผู้จัดการมรดก
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188 (4) มิได้หมายความว่า ถ้าใครคัดค้านจะเป็นคู่ความไปเสียทั้งหมด คงหมายเฉพาะผู้คัดค้านที่จะคัดค้านได้เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันตามคำท้ากันในศาล: การรังวัดที่ดินพิพาทเป็นข้อตัดสิน หากผลเป็นไปตามเงื่อนไข จำเลยต้องแพ้คดี
ประเด็นสำคัญที่คู่ความท้ากันมีอยู่เพียงประการเดียวคือ ให้ฟังความเห็นของเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ออกไปรังวัดที่พิพาทว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินที่ศาลได้ทำการขายทอดตลาดให้โจทก์หรือไม่ โดยคู่ความยืนยันรับรองว่าหากเขตที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินที่ศาลได้ทำการขายทอดตลาดให้โจทก์แล้ว จำเลยยอมแพ้คดี หากอยู่นอกเขตโจทก์ก็ยอมแพ้ ดังนี้ เป็นเรื่องที่คู่ความยอมรับข้อเท็จจริงกันในศาลประการหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขให้ถือเอาการรังวัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นข้อแพ้ชนะกัน ฉะนั้น เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไปทำการรังวัดและรายงานว่าที่พิพาทอยู่ในที่ของโจทก์ซึ่งประมูลซื้อได้จากการขายทอดตลาดอันเป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คู่ความตกลงท้ากันครบถ้วนแล้ว ศาลก็ต้องพิพากษาคดีไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้น จำเลยไม่มีสิทธิจะโต้แย้งว่าจำเลยเข้าใจผิดในเรื่องเส้นทางสายโทรเลขเก่าว่าอยู่ทิศใดของที่พิพาทตามที่อ้างในคำร้องขอถอนคำท้าเพราะไม่มีประเด็นนี้ในค้าท้า และข้อเท็จจริงแห่งคดีเป็นอันยุติไปตามคำท้ากันนั้นแล้ว จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า
of 34