พบผลลัพธ์ทั้งหมด 332 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอรับชำระหนี้โดยอาศัยเช็คเป็นมูลหนี้ แม้ไม่ใช่หลักฐานกู้ยืม ก็มีสิทธิรับชำระหนี้ได้
คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้อ้างว่าลูกหนี้เป็นหนี้อยู่ 20,000 บาท เป็นค่ายืมโดยจ่ายเช็คไว้ให้มีเช็คเป็นหลักฐานดังนี้แม้เช็คไม่เป็นหลักฐานที่จะใช้บังคับคดีในทางกู้ยืมเงิน แต่เช็คก็เป็นมูลหนี้ประการหนึ่ง ซึ่งคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวเป็นคำขอรับชำระหนี้โดยอาศัยเช็คเป็นมูลหนี้รวมอยู่ด้วย ไม่ใช่เป็นแต่เพียงคำขอชำระหนี้ โดยอาศัยการกู้ยืมเป็นมูลหนี้อย่างเดียว เจ้าหนี้จึงมีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910-920/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าหน้าที่สั่งรื้ออาคาร: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยหากไม่มีกฎหมายให้อำนาจเด็ดขาด และคำสั่งต้องมีเหตุผลตามกฎหมาย
ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้มีอำนาจสั่งแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่โจทก์เช่าอยู่อาศัยได้โดยเด็ดขาด เป็นที่สุดฉะนั้น ศาลจึงย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีพิพาทระหว่างผู้เช่าอาคารกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯลฯ มิได้ถือเอาสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจของอาคารพิพาทเป็นลักษณะสำคัญอันเป็นที่ตั้งแห่งการวินิจฉัยที่จะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารพิพาท
คำว่า "ไม่มั่นคงแข็งแรงไม่ปลอดภัย อันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน" คำว่า "อาจ" ไม่มี ความหมายตรงกันกับคำว่า "น่า" เพราะโอกาสที่จะเป็นอันตราย ฯลฯ ตามความหมายแห่งถ้อยคำทั้งสองดังกล่าวนั้นต่างกัน กล่าวคือ ตามพจนานุกรมคำว่า "น่า" แปลว่า"ควร ฯลฯ " ซึ่งมีความหมายแน่นอนกว่า "อาจ" ซึ่งแปลงเพียงว่า " เป็นได้ ฯลฯ" เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อคดีได้ความว่า อาคารพิพาทอยู่ใน สภาพมั่นคงพอที่อยู่อาศัยได้ตามปกติโดยปลอดภัย คำสั่งของจำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารพิพาทจึงมิได้ตั้งอยู่บนเหตุผล และไม่มีมูลฐานตามกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยที่ 891/2506 สั่งให้บริษัท น. รื้อถอนอาคารของบริษัท น. ที่โจทก์เช่าอยู่ มิได้บังคับโจทก์อย่างใด จึงไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวแก่คำสั่งนี้กับโจทก์ฉะนั้นโจทก์จะยกขึ้นอ้างเป็นมูลฟ้องหาได้ไม่ ส่วนคำสั่งของจำเลยที่ 3643/2506 ได้อ้างถึงคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ 762/1 และสั่งให้โจทก์ผู้ครอบครองอาคารเลิกใช้อาคาร กับให้จัดการขนย้าย ฯลฯ โจทก์จึงมีสิทธิยกขึ้นเป็นมูลฟ้องได้
คดีมีปัญหาโต้แย้งกันขึ้นว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ และคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของจำเลย ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯลฯ มิได้ถือเอาสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจของอาคารพิพาทเป็นลักษณะสำคัญอันเป็นที่ตั้งแห่งการวินิจฉัยที่จะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารพิพาท
คำว่า "ไม่มั่นคงแข็งแรงไม่ปลอดภัย อันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน" คำว่า "อาจ" ไม่มี ความหมายตรงกันกับคำว่า "น่า" เพราะโอกาสที่จะเป็นอันตราย ฯลฯ ตามความหมายแห่งถ้อยคำทั้งสองดังกล่าวนั้นต่างกัน กล่าวคือ ตามพจนานุกรมคำว่า "น่า" แปลว่า"ควร ฯลฯ " ซึ่งมีความหมายแน่นอนกว่า "อาจ" ซึ่งแปลงเพียงว่า " เป็นได้ ฯลฯ" เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อคดีได้ความว่า อาคารพิพาทอยู่ใน สภาพมั่นคงพอที่อยู่อาศัยได้ตามปกติโดยปลอดภัย คำสั่งของจำเลย ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารพิพาทจึงมิได้ตั้งอยู่บนเหตุผล และไม่มีมูลฐานตามกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยที่ 891/2506 สั่งให้บริษัท น. รื้อถอนอาคารของบริษัท น. ที่โจทก์เช่าอยู่ มิได้บังคับโจทก์อย่างใด จึงไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวแก่คำสั่งนี้กับโจทก์ฉะนั้นโจทก์จะยกขึ้นอ้างเป็นมูลฟ้องหาได้ไม่ ส่วนคำสั่งของจำเลยที่ 3643/2506 ได้อ้างถึงคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ 762/1 และสั่งให้โจทก์ผู้ครอบครองอาคารเลิกใช้อาคาร กับให้จัดการขนย้าย ฯลฯ โจทก์จึงมีสิทธิยกขึ้นเป็นมูลฟ้องได้
คดีมีปัญหาโต้แย้งกันขึ้นว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ และคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของจำเลย ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910-920/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าหน้าที่สั่งรื้ออาคาร, เหตุผลทางกฎหมาย, สิทธิผู้เช่า, คำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้มีอำนาจสั่งแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่โจทก์เช่าอยู่อาศัยได้โดยเด็ดขาด เป็นที่สุดฉะนั้น ศาลจึงย่อมมีอำนาจวินิจฉัยข้อพิพาทในคดีพิพาทระหว่างผู้เช่าอาคารกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้
ตามพระราชบัญญัติควมคุมการก่อสร้างอาคาร ฯลฯ มิได้ถือเอาสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจของอาคารพิพาทเป็นลักษณะสำคัญ อันเป็นที่ตั้งแห่งการวินิจฉัยที่จะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารพิพาท
คำว่า " ไม่มั่นคงแข็งแรงไม่ปลอดภัย อันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน" คำว่า "อาจ" ไม่มีความหมายตรงกันกับคำว่า "น่า" เพราะโอกาสที่จะเป็นอันตราย ฯลฯ ตามความหมายแห่งถ้อยคำทั้งสองดังกล่าวนั้นต่างกัน กล่าวคือ ตามพจนานุกรมคำว่า "น่า" แปล-ว่า "ควร ฯลฯ" ซึ่งมีความหมายแน่นอนกว่า "อาจ" ซึ่งแปลงเพียงว่า"เป็นได้ ฯลฯ" เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อคดีได้ความว่า อาคารพิพาทอยู่ในสภาพมั่นคงพอที่อยู่อาศัยได้ตามปกติโดยปลอดภัย คำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารพิพาทจึงมิได้ตั้งอยู่บนเหตุผลและไม่มีมูลฐานตามกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยที่ 891/2506 สั่งให้บริษัท น. รื้อถอนอาคารของบริษัท น. ที่โจทก์เช่าอยู่ มิได้บังคับโจทก์อย่างใด จึงไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวแก่คำสั่งนี้กับโจทก์ ฉะนั้นโจทก์จะยกขึ้นอ้างเป็นมูลฟ้องหาได้ไม่ ส่วนคำสั่งของจำเลยที่ 3643/2506 ได้อ้างถึงคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ 762/1 และสั่งให้โจทก์ผู้ครอบครองอาคารเลิกใช้อาคาร กับให้จัดการขนย้าย ฯลฯ โจทก์จึงมีสิทธิยกขึ้นเป็นมูลฟ้องได้
คดีมีปัญหาโต้แย้งกันขึ้นว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ และคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของจำเลย ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้
ตามพระราชบัญญัติควมคุมการก่อสร้างอาคาร ฯลฯ มิได้ถือเอาสภาพอันเป็นที่น่ารังเกียจของอาคารพิพาทเป็นลักษณะสำคัญ อันเป็นที่ตั้งแห่งการวินิจฉัยที่จะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารพิพาท
คำว่า " ไม่มั่นคงแข็งแรงไม่ปลอดภัย อันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน" คำว่า "อาจ" ไม่มีความหมายตรงกันกับคำว่า "น่า" เพราะโอกาสที่จะเป็นอันตราย ฯลฯ ตามความหมายแห่งถ้อยคำทั้งสองดังกล่าวนั้นต่างกัน กล่าวคือ ตามพจนานุกรมคำว่า "น่า" แปล-ว่า "ควร ฯลฯ" ซึ่งมีความหมายแน่นอนกว่า "อาจ" ซึ่งแปลงเพียงว่า"เป็นได้ ฯลฯ" เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อคดีได้ความว่า อาคารพิพาทอยู่ในสภาพมั่นคงพอที่อยู่อาศัยได้ตามปกติโดยปลอดภัย คำสั่งของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารพิพาทจึงมิได้ตั้งอยู่บนเหตุผลและไม่มีมูลฐานตามกฎหมาย
คำสั่งของจำเลยที่ 891/2506 สั่งให้บริษัท น. รื้อถอนอาคารของบริษัท น. ที่โจทก์เช่าอยู่ มิได้บังคับโจทก์อย่างใด จึงไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวแก่คำสั่งนี้กับโจทก์ ฉะนั้นโจทก์จะยกขึ้นอ้างเป็นมูลฟ้องหาได้ไม่ ส่วนคำสั่งของจำเลยที่ 3643/2506 ได้อ้างถึงคำสั่งของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่ 762/1 และสั่งให้โจทก์ผู้ครอบครองอาคารเลิกใช้อาคาร กับให้จัดการขนย้าย ฯลฯ โจทก์จึงมีสิทธิยกขึ้นเป็นมูลฟ้องได้
คดีมีปัญหาโต้แย้งกันขึ้นว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น มีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทหรือไม่ และคำสั่งของจำเลยเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ซึ่งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของจำเลย ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารระงับสิทธิ: การปลอมแปลงเอกสารสิทธิเพื่อสละสิทธิในการรับบำเหน็จทดแทน
เอกสารที่จำเลยปลอมและใช้มีข้อความว่า ส.ไม่ได้สมรสตามกฎหมายกับ ฉ. ส.ไม่ขอเกี่ยวข้องคัดค้านหรือขัดข้องประการใดในการที่ทางราชการจะจ่ายเงินบำเหน็จทดแทนของ ฉ. ให้แก่บุตรของ ฉ.นั้น ข้อความดังกล่าวเป็นการทำให้สิทธิของ ส.ที่จะรับบำเหน็จทดแทนในฐานะเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของ ฉ.ต้องระงับไป เอกสารนั้นจึงเป็นหลักฐานแห่งการระงับสิทธิของ ส.จึงเป็นเอกสารสิทธิ ไม่ใช่เอกสารธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารระงับสิทธิ: การปลอมเอกสารเพื่อสละสิทธิรับบำเหน็จทดแทน ถือเป็นเอกสารสิทธิ
เอกสารที่จำเลยปลอมและใช้มีข้อความว่า ส. ไม่ได้สมรสตามกฎหมายกับ ฉ. ส. ไม่ขอเกี่ยวข้องคัดค้านหรือขัดข้องประการใดในการที่ทางราชการจะจ่ายเงินบำเหน็จทดแทนของ ฉ. ให้แก่บุตรของ ฉ. นั้น ข้อความดังกล่าวเป็นการทำให้สิทธิของ ส. ที่จะรับบำเหน็จทดแทนในฐานะเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของ ฉ. ต้องระงับไป เอกสารนั้นจึงเป็นหลักฐานแห่งการระงับสิทธิของ ส. จึงเป็นเอกสารสิทธิ ไม่ใช่เอกสารธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบในคดีหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา: โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1482
โจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปใช้จ่ายในครอบครัว เป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากัน แม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นขณะที่จำเลยกับผู้ร้องเป็นสามีภริยากัน แต่หนี้ที่จะเกิดขึ้นแก่สามีหรือภริยาในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันย่อมมีหลายชนิดด้วยกันและเฉพาะแต่หนี้บางชนิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เท่านั้น จึงจะเป็นหนี้ร่วม ฉะนั้น เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมเพื่อจะให้ผู้ร้องต้องรับผิดใช้หนี้จากสินสมรสและสินเดิม โจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบในคดีหนี้ร่วมสามีภริยา: โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1482
โจทก์เป็นผู้กล่าวอ้างว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไปใช้จ่ายในครอบครัว เป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องซึ่งเป็นสามีภริยากัน แม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นขณะที่จำเลยกับผู้ร้องเป็นสามีภริยากัน แต่หนี้ที่จะเกิดขึ้นแก่สามีหรือภริยาในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันย่อมมีหลายชนิดด้วยกัน และเฉพาะแต่หนี้บางชนิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เท่านั้น จึงจะเป็นหนี้ร่วม ฉะนั้น เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าหนี้รายนี้เป็นหนี้ร่วมเพื่อจะให้ผู้ร้องต้องรับผิดใช้หนี้จากสินสมรสและสินเดิม โจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบในการรังวัดที่ดินตามสัญญาประนีประนอม การปักหลักเขตเกินขอบเขตสัญญา
ข้อเท็จจริงปรากฏในสำนวนแล้วว่าโจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้นำเจ้าพนักงานแผนที่ไปทำการรังวัด เพื่อกำหนดเขตที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์จำเลยจึงเห็นได้ว่าการกระทำของเจ้าพนักงานก็ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์ทั้งสิ้น และเมื่อปรากฏว่าได้มีการปักหลักลงในคูพิพาทอันเป็นการนอกเหนือเกินกว่าที่ปรากฏในสัญญายอม แม้โจทก์จะอ้างว่าเจ้าพนักงานแผนที่เป็นผู้สั่งให้ปักก็ตาม ก็ถือว่าอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์ ข้อเท็จจริงในสำนวนจึงพอที่ศาลจะสั่งได้ ไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบในการรังวัดที่ดินตามสัญญาประนีประนอม การปักหลักเขตเกินกว่าตกลง
ข้อเท็จจริงปรากฏในสำนวนแล้วว่าโจทก์ฝ่ายเดียวเป็นผู้นำเจ้าพนักงานแผนที่ไปทำการรังวัดเพื่อกำหนดเขตที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมระหว่างโจทก์จำเลย จึงเห็นได้ว่าการกระทำของเจ้าพนักงานก็ต้องอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์ทั้งสิ้น และเมื่อปรากฏว่าได้มีการปักหลักลงในคูพิพาทอันเป็นการนอกเหนือเกินกว่าที่ปรากฏในสัญญายอม แม้โจทก์อ้างว่าเจ้าพนักงานแผนที่เป็นผู้สั่งให้ปักก็ตาม ก็ถือว่าอยู่ในความรับผิดชอบของโจทก์ ข้อเท็จจริงในสำนวนจึงพอที่ศาลจะสั่งได้ ไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน และผลของการผิดนัดโอนที่ดิน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180(2) มิได้ถือเอากำหนดเวลาที่คู่ความฝ่ายที่ขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ อาจยื่นคำร้องได้ก่อนการชี้สองสถานหรือก่อนกำหนดเวลาชี้สองสถานเป็นเกณฑ์ แต่มาตรา 180(2) ถือเอากำหนดที่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน เหตุนี้ ถ้าหากจำเลยทราบเหตุที่จะขอแก้คำให้การในวันชี้สองสถานนั้นเอง แม้จะทราบก่อนกำหนดเวลาที่เริ่มมีการชี้สองสถาน ก็ไม่เป็นเหตุ ที่จะไม่อนุญาตให้แก้
จำเลยขอผัดโอนที่ให้แก่โจทก์ไปไม่เกินวันที่ 15 โจทก์มีหนังสือตอบตกลงไป จำเลยกลับขอผัดไปหลังวันที่15 โจทก์มิได้ตกลงด้วย ดังนี้ ถือว่าจำเลยผิดนัดไม่โอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว
จำเลยขอผัดโอนที่ให้แก่โจทก์ไปไม่เกินวันที่ 15 โจทก์มีหนังสือตอบตกลงไป จำเลยกลับขอผัดไปหลังวันที่15 โจทก์มิได้ตกลงด้วย ดังนี้ ถือว่าจำเลยผิดนัดไม่โอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว