พบผลลัพธ์ทั้งหมด 332 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังชี้สองสถาน และผลของการผิดนัดโอนที่ดิน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180(2) มิได้ถือเอากำหนดเวลาที่คู่ความฝ่ายที่ขอแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การ อาจยื่นคำร้องได้ก่อนการชี้สองสถานหรือก่อนกำหนดเวลาชี้สองสถานเป็นเกณฑ์ แต่มาตรา 180(2) ถือเอากำหนดที่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน เหตุนี้ ถ้าหากจำเลยทราบเหตุที่จะขอแก้คำให้การในวันชี้สองสถานนั้นเอง แม้จะทราบก่อนกำหนดเวลาที่เริ่มมีการชี้สองสถาน ก็ไม่เป็นเหตุ ที่จะไม่อนุญาตให้แก้
จำเลยขอผัดโอนที่ให้แก่โจทก์ไปไม่เกินวันที่ 15 โจทก์มีหนังสือตอบตกลงไป จำเลยกลับขอผัดไปหลังวันที่15 โจทก์มิได้ตกลงด้วย ดังนี้ ถือว่าจำเลยผิดนัดไม่โอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว
จำเลยขอผัดโอนที่ให้แก่โจทก์ไปไม่เกินวันที่ 15 โจทก์มีหนังสือตอบตกลงไป จำเลยกลับขอผัดไปหลังวันที่15 โจทก์มิได้ตกลงด้วย ดังนี้ ถือว่าจำเลยผิดนัดไม่โอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินเมื่อมีชื่อร่วมในโฉนด ไม่ถือเป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เจ้าของสามารถนำสืบเพื่อพิสูจน์กรรมสิทธิ์ของตนได้
การที่มีชื่อร่วมกันในโฉนด เป็นแต่เพียงสันนิษฐานว่ามีกรรมสิทธิ์0ในที่ดินเท่ากันเท่านั้น หาเป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาดไม่ เมื่อได้ความว่าที่ดินครึ่งหนึ่งด้านทิศตะวันออกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้มีชื่อเป็นเจ้าของฝ่ายหนึ่ง เจ้าของอีกฝ่ายหนึ่งย่อมนำสืบว่าที่ดินอีกครึ่งหนึ่งทางด้านทิศตะวันตกรวมทั้งที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ายที่นำสืบนั้นได้ ซึ่งเป็นการนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายเท่านั้น หาเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในโฉนดอย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดเป็นเพียงสันนิษฐานได้หักล้างได้ด้วยพยานหลักฐาน
การที่มีชื่อร่วมกันในโฉนด เป็นแค่เพียงสันนิษฐานว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเท่า ๆ กัน เท่านั้น หาเป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาดไม่ เมื่อได้ความว่าที่ดินครึ่งหนึ่งด้านทิศตะวันออกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้มีชื่อเป็นเจ้าของฝ่ายหนึ่ง เจ้าของอีกฝ่ายหนึ่งย่อมนำสืบว่าที่ดินอีกครึ่งหนึ่งทางด้านทิศตะวันตกรวมทั้งที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของฝ่ายที่นำสืบนั้นได้ ซึ่งเป็นการนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายเท่านั้น หาเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในโฉนดอย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ, ค่าเสียหายรายเดือน, ค่าขึ้นศาล, การพิพากษา
เหตุเกิดเมื่อรถเลี้ยวซ้ายเลยหัวโค้งไปแล้ว 10 เมตรเศษ แม้ไฟหน้ารถจำเลยจะดับ ถ้าจำเลยขับรถไม่เร็วเกินไปแล้วรถก็จะไม่ไถลไปทางขวาจนตกถนนและเกิดการกระทบกระแทกโดยแรง จำเลยมิได้แสดงว่าเหตุที่ไฟหน้ารถดับนั้น เป็นเพราะพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบโดยได้ใช้ความระมัดระวังอันควรคาดหมายได้แล้ว จำเลยจึงไม่มีทางอ้างเอาเหตุที่ไฟหน้ารถดับว่าเป็นเหตุสุดวิสัยได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายตั้งแต่วันฟ้องต่อไปเป็นรายเดือน เดือนละ 3,000 บาทไม่มีกำหนดเวลากี่เดือน และไม่มีกำหนดว่าจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จเพราะมิใช่กรณีดอกเบี้ยค่าเช่า หรือค่าเสียหายระหว่างที่ยังค้างชำระหนี้อยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(3, 4) การที่ศาลกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชำระเป็นจำนวนแน่นอน จำนวนหนึ่งสำหรับทดแทนความเสียหายของโจทก์ในอนาคตดังนี้จะเป็นการเกินคำขอหาได้ไม่ ส่วนที่ว่าโจทก์มิได้เสียค่าขึ้นศาลในคำขอเช่นนี้มาด้วยนั้น เห็นว่าคำขอให้ชำระค่าเสียหายในอนาคตดังที่โจทก์ขอมาเป็นรายเดือนนั้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาทตามตาราง 1 ข้อ 4 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าขึ้นศาลในคำขออื่น ๆ ของโจทก์ โจทก์มิได้เสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้มาในศาลชั้นต้น แต่ก็มิใช่ว่าโจทก์ขัดขืนไม่ยอมเสียค่าฤชาธรรมเนียมอันจะเป็นเหตุให้ศาลไม่รับคำฟ้อง ข้อนี้จึงไม่เป็นข้อที่จำเลยจะอ้างขึ้นให้ศาลฎีกายกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายตั้งแต่วันฟ้องต่อไปเป็นรายเดือน เดือนละ 3,000 บาทไม่มีกำหนดเวลากี่เดือน และไม่มีกำหนดว่าจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จเพราะมิใช่กรณีดอกเบี้ยค่าเช่า หรือค่าเสียหายระหว่างที่ยังค้างชำระหนี้อยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(3, 4) การที่ศาลกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชำระเป็นจำนวนแน่นอน จำนวนหนึ่งสำหรับทดแทนความเสียหายของโจทก์ในอนาคตดังนี้จะเป็นการเกินคำขอหาได้ไม่ ส่วนที่ว่าโจทก์มิได้เสียค่าขึ้นศาลในคำขอเช่นนี้มาด้วยนั้น เห็นว่าคำขอให้ชำระค่าเสียหายในอนาคตดังที่โจทก์ขอมาเป็นรายเดือนนั้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาล 50 บาทตามตาราง 1 ข้อ 4 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าขึ้นศาลในคำขออื่น ๆ ของโจทก์ โจทก์มิได้เสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้มาในศาลชั้นต้น แต่ก็มิใช่ว่าโจทก์ขัดขืนไม่ยอมเสียค่าฤชาธรรมเนียมอันจะเป็นเหตุให้ศาลไม่รับคำฟ้อง ข้อนี้จึงไม่เป็นข้อที่จำเลยจะอ้างขึ้นให้ศาลฎีกายกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 795/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ, เหตุสุดวิสัย, ค่าเสียหายต่อเนื่อง, ค่าขึ้นศาล
เหตุเกิดเมื่อรถเลี้ยวซ้ายเลยหัวโค้งไปแล้ว 10 เมตรเศษแม้ไฟหน้ารถจำเลยจะดับ ถ้าจำเลยขับรถไม่เร็วเกินไปแล้วรถก็จะไม่ไถลไปทางขวาจนตกถนนและเกิดการกระทบกระแทกโดยแรง จำเลยมิได้แสดงว่าเหตุที่ไฟหน้ารถดับนั้นเป็นเพราะพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบโดยได้ใช้ความระมัดระวังอันควรคาดหมายได้แล้ว จำเลยจึงไม่มีทางอ้างเอาเหตุที่ไฟหน้ารถดับว่าเป็นเหตุสุดวิสัยได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายตั้งแต่วันฟ้องต่อไปเป็นรายเดือนเดือนละ 3,000 บาท ไม่มีกำหนดเวลากี่เดือน และไม่มีกำหนดว่าจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จเพราะมิใช่กรณีดอกเบี้ยค่าเช่าหรือค่าเสียหาย ระหว่างที่ยังค้างชำระหนี้อยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3,4) การที่ศาลกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชำระเป็น จำนวนแน่นอน จำนวนหนึ่งสำหรับทดแทนความเสียหายของโจทก์ ในอนาคตดังนี้จะเป็นการเกินคำขอหาได้ไม่ ส่วนที่ว่าโจทก์มิได้เสีย ค่าขึ้นศาลในคำขอเช่นนี้มาด้วยนั้น เห็นว่าคำขอให้ชำระค่าเสียหาย ในอนาคตดังที่โจทก์ขอมาเป็นรายเดือนนั้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาล50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 4 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าขึ้นศาลในคำขออื่น ๆ ของโจทก์ โจทก์มิได้เสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้มาในศาลชั้นต้น แต่ก็มิใช่ว่า โจทก์ขัดขืนไม่ยอมเสียค่าฤชาธรรมเนียมอันจะเป็นเหตุให้ศาล ไม่รับคำฟ้อง ข้อนี้จึงไม่เป็นข้อที่จำเลยจะอ้างขึ้นให้ศาลฎีกา ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายตั้งแต่วันฟ้องต่อไปเป็นรายเดือนเดือนละ 3,000 บาท ไม่มีกำหนดเวลากี่เดือน และไม่มีกำหนดว่าจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จเพราะมิใช่กรณีดอกเบี้ยค่าเช่าหรือค่าเสียหาย ระหว่างที่ยังค้างชำระหนี้อยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(3,4) การที่ศาลกำหนดค่าเสียหายให้จำเลยชำระเป็น จำนวนแน่นอน จำนวนหนึ่งสำหรับทดแทนความเสียหายของโจทก์ ในอนาคตดังนี้จะเป็นการเกินคำขอหาได้ไม่ ส่วนที่ว่าโจทก์มิได้เสีย ค่าขึ้นศาลในคำขอเช่นนี้มาด้วยนั้น เห็นว่าคำขอให้ชำระค่าเสียหาย ในอนาคตดังที่โจทก์ขอมาเป็นรายเดือนนั้น โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาล50 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 4 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าขึ้นศาลในคำขออื่น ๆ ของโจทก์ โจทก์มิได้เสียค่าขึ้นศาลในส่วนนี้มาในศาลชั้นต้น แต่ก็มิใช่ว่า โจทก์ขัดขืนไม่ยอมเสียค่าฤชาธรรมเนียมอันจะเป็นเหตุให้ศาล ไม่รับคำฟ้อง ข้อนี้จึงไม่เป็นข้อที่จำเลยจะอ้างขึ้นให้ศาลฎีกา ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาทวงหนี้ตาม พรบ.ล้มละลาย และการฟ้องผู้ถือหุ้นไม่จำกัดความรับผิด
คำว่า "ซึ่งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน" ในพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 8(9) หมายความว่าในระหว่างการทวงถามครั้งแรกกับครั้งที่สองต้องมีระยะเวลาสามสิบวันเท่านั้น
โจทก์อาจฟ้องผู้ถือหุ้นชนิดไม่จำกัดความรับผิดให้ล้มละลายพร้อมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ โดยโจทก์ไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 89 ก่อน
โจทก์อาจฟ้องผู้ถือหุ้นชนิดไม่จำกัดความรับผิดให้ล้มละลายพร้อมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ โดยโจทก์ไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 89 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย และการฟ้องผู้ถือหุ้นไม่จำกัดความรับผิด
คำว่า "ซึ่งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน" ในพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 8(9) หมายความว่าในระหว่างการทวงถามครั้งแรกกับครั้งที่สองต้องมีระยะเวลาสามสิบวันเท่านั้น
โจทก์อาจฟ้องผู้ถือหุ้นชนิดไม่จำกัดความรับผิดให้ล้มละลายพร้อมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ โดยโจทก์ไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 89 ก่อน
โจทก์อาจฟ้องผู้ถือหุ้นชนิดไม่จำกัดความรับผิดให้ล้มละลายพร้อมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ โดยโจทก์ไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 89 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลคำพิพากษาต้องพิจารณาข้อวินิจฉัยทั้งหมด แม้ไม่ได้ระบุขับไล่โดยชัดแจ้ง หากพิพากษาให้ชดใช้ค่าเสียหายจนกว่าจะส่งมอบทรัพย์สิน ย่อมหมายถึงการสั่งให้ส่งมอบ
โจทก์ฟ้องเรื่องละเมิด ขับไล่ ขอให้จำเลยออกจากห้องพิพาท และส่งมอบห้องพิพาทให้โจทก์ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ตั้งแต่วันละเมิดถึงวันฟ้อง กับค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบห้องพิพาท ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันละเมิดถึงวันฟ้องและนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบห้องพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ แม้คำพิพากษาจะไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งให้ขับไล่จำเลย หรือให้จำเลยส่งมอบห้องพิพาทให้แก่โจทก์ก็ตาม แต่การแปลคำพิพากษาต้องพิเคราะห์เกี่ยวกับข้อวินิจฉัยในคำพิพากษา เมื่อคำพิพากษาได้วินิจฉัยว่าจำเลยอยู่ในห้องพิพาทโดยไม่มีสิทธิ์จะอ้างได้ และพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะส่งมอบห้องพิพาท จึงมีความหมายอยู่ในตัวว่า คำพิพากษามุ่งประสงค์ให้จำเลยออกจากห้องพิพาทและส่งมอบห้องพิพากษาตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลคำพิพากษาต้องพิจารณาข้อวินิจฉัยทั้งหมด แม้ไม่ได้ระบุขับไล่ชัดเจน หากวินิจฉัยว่าอยู่โดยไม่มีสิทธิ ก็ย่อมมีหน้าที่ส่งมอบคืน
โจทก์ฟ้องเรื่องละเมิด ขับไล่ ขอให้จำเลยออกจากห้องพิพาท และส่งมอบห้องพิพาทให้โจทก์ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ตั้งแต่วันละเมิดถึงวันฟ้อง กับค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบห้องพิพาท ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันละเมิดถึงวันฟ้องและนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบห้องพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ แม้คำพิพากษาจะไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งให้ขับไล่จำเลย หรือให้จำเลยส่งมอบห้องพิพาทให้แก่โจทก์ก็ตามแต่การแปลคำพิพากษาต้องพิเคราะห์เกี่ยวกับข้อวินิจฉัยในคำพิพากษา เมื่อคำพิพากษาได้วินิจฉัยว่าจำเลยอยู่ในห้องพิพาท โดยไม่มีสิทธิจะอ้างได้ และพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะส่งมอบห้องพิพาท จึงมีความหมายอยู่ในตัวว่า คำพิพากษามุ่งประสงค์ให้จำเลยออกจากห้องพิพาทและส่งมอบห้องพิพาทตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการพิจารณาคำร้องขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถา: ศาลต้องพิจารณายกคำร้องก่อน หากเห็นว่าอุทธรณ์ต้องห้าม
จำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนอนาถา ครั้นถึงวันนัดได้สั่งงดไต่สวนเสีย โดยว่าไม่จำเป็นและมีคำสั่งว่า ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย เพราะเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ที่ศาลชั้นต้นสั่งเช่นนี้ ศาลฎีกาเห็นว่า ยังคลาดเคลื่อนอยู่ เพราะเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 ก็พึงยกคำร้องขอฟ้องอุทธรณ์อย่างคนอนาถานั้นเสีย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรค 3 หาควรที่จะก้าวล่วงไปสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเสียทีเดียวไม่ จึงพิพากษายกคำสั่งศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรค 3 ค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ฎีกาให้คืนจำเลยไป (คดีนี้จำเลยฎีกาได้)