พบผลลัพธ์ทั้งหมด 332 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657-660/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธการรับอุทธรณ์เนื่องจากค่าขึ้นศาลไม่ครบถ้วน และคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ถือเป็นที่สุด
ในการตรวจอุทธรณ์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นอาจตรวจทั้งในข้อที่คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224,230 รวมตลอดทั้งตรวจอุทธรณ์เพื่อปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์นั้นในเหตุอื่นตามมาตรา 230 วรรค 2 และ มาตรา 232 ด้วย
ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ของโจทก์ตามมาตรา 232 และมีคำสั่งให้คืนฟ้องอุทธรณ์ให้โจทก์เสียค่าฤชาธรรมเนียมให้ครบถ้วนคำสั่งศาลชั้นต้นนี้เป็นคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์โดยเหตุผลดังที่ปรากฏในคำสั่งนั้น โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์นี้ โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นตามมาตรา 234 ศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้องของโจทก์แล้วมีคำสั่งว่า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ครบนั้นชอบแล้วให้ยกคำร้อง คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังนี้เป็นคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปศาลอุทธรณ์นั่นเอง ซึ่งมาตรา 236 บัญญัติว่า คำสั่งศาลอุทธรณ์นี้ให้เป็นที่สุด โจทก์จึงฎีกาคำสั่งนี้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1223/2498,1404/2498)
ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ของโจทก์ตามมาตรา 232 และมีคำสั่งให้คืนฟ้องอุทธรณ์ให้โจทก์เสียค่าฤชาธรรมเนียมให้ครบถ้วนคำสั่งศาลชั้นต้นนี้เป็นคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์โดยเหตุผลดังที่ปรากฏในคำสั่งนั้น โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์นี้ โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นตามมาตรา 234 ศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้องของโจทก์แล้วมีคำสั่งว่า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลไม่ครบนั้นชอบแล้วให้ยกคำร้อง คำสั่งศาลอุทธรณ์ดังนี้เป็นคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปศาลอุทธรณ์นั่นเอง ซึ่งมาตรา 236 บัญญัติว่า คำสั่งศาลอุทธรณ์นี้ให้เป็นที่สุด โจทก์จึงฎีกาคำสั่งนี้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1223/2498,1404/2498)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 641-644/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จและสมคบกันทำผิดอาญา ศาลฎีกาแก้ไขบทลงโทษให้ถูกต้องแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์
จำเลยหลายคนสมคบกันใช้ให้จำเลยคนหนึ่งไปแจ้งข้อความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่า ผู้เสียหายได้ใช้กำลังประทุษร้ายกระทำอนาจารแก่จำเลยผู้แจ้ง เพื่อแกล้งให้ผู้เสียหายต้องรับโทษทางอาญา ดังนี้ จำเลยทั้งหมดมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173 และมาตรา 174 วรรคสอง ไม่ผิดตามมาตรา 174 วรรคแรก และการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามมาตรา 174 วรรคสองซึ่งเป็นบทหนัก
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 174 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 174 วรรคแรก โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 174 วรรคสอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้บทลงโทษให้ถูกต้อง โดยไม่เพิ่มกำหนดโทษจำเลยให้สูงขึ้นอีกได้ และถือว่าเป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามมาตรา 174 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 174 วรรคแรก โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 174 วรรคสอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้บทลงโทษให้ถูกต้อง โดยไม่เพิ่มกำหนดโทษจำเลยให้สูงขึ้นอีกได้ และถือว่าเป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยจากการประสบเหตุฉุกเฉินขณะปฏิบัติหน้าที่: การใช้ความระมัดระวังตามสมควรและการเกิดเหตุบังเอิญ
จำเลยขับรถยนต์ในราชการตำรวจไปตามถนนโดยใช้สัญญาณไฟแดงกระพริบและแตรไซเรนเพื่อนำคนประสพอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาล การขับรถโดยใช้สัญญาณดังกล่าวมิได้หมายความว่าขับได้เร็วเท่าใดก็ไม่เป็นการละเมิดหากเกิดการเสียหายขึ้น แต่จะต้องขับด้วยความเร็วไม่สูงเกินกว่าที่ควรกระทำในพฤติการณ์เช่นนั้น และต้องใช้ความระมัดระวังในฐานะที่ต้องใช้ความเร็วสูงกว่าธรรมดาตามสมควรแก่พฤติการณ์เช่นนั้นด้วย
จำเลยขับรถใช้อาณัติสัญญาณไฟแดงกระพริบและเปิดแตรไซเรนมาด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อจะขึ้นสะพานลดลงเหลือ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีรถบรรทุกแล่นสวนมาบนสะพานโดยไม่หยุด และมีเด็กวิ่งข้ามถนนตัดท้ายรถบรรทุกมาในระยะกระชั้นชิดซึ่งจำเลยไม่สามารถหยุดรถได้ทัน จึงต้องหักหลบแล้วไปชนผู้ตาย ถือได้ว่าความเร็วที่จำเลยใช้ในขณะข้ามสะพานไม่เป็นความเร็วที่เกินสมควรตามเวลา สถานที่ และพฤติการณ์อื่น ๆ ในขณะนั้น จึงไม่เป็นการประมาทเลินเล่อ การที่มีเด็กวิ่งตัดหลัง รถบรรทุกข้ามถนนผ่านหน้ารถจำเลยในระยะใกล้เป็นเหตุบังเอิญ มิอาจคาดหมายได้ และเกิดขึ้นโดยฉับพลันเป็นเหตุที่ไม่มีใครป้องกันได้เมื่อจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จาก บุคคลในฐานะที่ประสบเหตุเช่นนั้นแล้ว เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437
จำเลยขับรถใช้อาณัติสัญญาณไฟแดงกระพริบและเปิดแตรไซเรนมาด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อจะขึ้นสะพานลดลงเหลือ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีรถบรรทุกแล่นสวนมาบนสะพานโดยไม่หยุด และมีเด็กวิ่งข้ามถนนตัดท้ายรถบรรทุกมาในระยะกระชั้นชิดซึ่งจำเลยไม่สามารถหยุดรถได้ทัน จึงต้องหักหลบแล้วไปชนผู้ตาย ถือได้ว่าความเร็วที่จำเลยใช้ในขณะข้ามสะพานไม่เป็นความเร็วที่เกินสมควรตามเวลา สถานที่ และพฤติการณ์อื่น ๆ ในขณะนั้น จึงไม่เป็นการประมาทเลินเล่อ การที่มีเด็กวิ่งตัดหลัง รถบรรทุกข้ามถนนผ่านหน้ารถจำเลยในระยะใกล้เป็นเหตุบังเอิญ มิอาจคาดหมายได้ และเกิดขึ้นโดยฉับพลันเป็นเหตุที่ไม่มีใครป้องกันได้เมื่อจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จาก บุคคลในฐานะที่ประสบเหตุเช่นนั้นแล้ว เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขับรถฉุกเฉิน: การประเมินความเร็วและความระมัดระวังเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
จำเลยขับรถยนต์ในราชการตำรวจไปตามถนนโดยใช้สัญญาณไฟแดงกระพริบและแตรไซเรนเพื่อนำคนประสพอุบัติเหตุส่งโรงพยาบาล การขับรถโดยใช้สัญญาณดังกล่าวมิได้หมายความว่าขับได้เร็วเท่าใดก็ไม่เป็นการละเมิดหากเกิดการเสียหายขึ้น แต่จะต้องขับด้วยความเร็วไม่สูงเกินกว่าที่ควรกระทำในพฤติการณ์เช่นนั้น และต้องใช้ความระมัดระวังในฐานะที่ต้องใช้ความเร็วสูงกว่าธรรมดาตามสมควรแก่พฤติการณ์เช่นนั้นด้วย
จำเลยขับรถใช้อาณัติสัญญาณไฟแดงกระพริบและเปิดแตรไซเรนมาด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อจะขึ้นสะพานลดลงเหลือ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีรถบรรทุกแล่นสวนมาบนสะพานโดยไม่หยุด และมีเด็กวิ่งข้ามถนนตัดท้ายรถบรรทุกในระยะกระชั้นชิดซึ่งจำเลยไม่สามารถหยุดรถได้ทัน จึงต้องหักหลบแล้วไปชนผู้ตาย ถือได้ว่าความเร็วที่จำเลยใช้ในขณะข้ามสะพานไม่เป็นความเร็วที่เกินสมควร ตามเวลา สถานที่ และพฤติการณ์อื่น ๆ ในขณะนั้น จึงไม่เป็นกาประมาทเลินเล่อ การที่มีเด็กวิ่งตัดหลังรถบรรทุกข้ามถนนผ่านหน้ารถจำเลยในระยะใกล้เป็นเหตุบังเอิญมิอาจคาดหมายได้ และเกิดขึ้นโดยฉับพลันเป็นเหตุที่ไม่มีใครป้องกันได้ เมื่อจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะที่ประสบเหตุเช่นั้นแล้ว เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามมาตรา 437
จำเลยขับรถใช้อาณัติสัญญาณไฟแดงกระพริบและเปิดแตรไซเรนมาด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อจะขึ้นสะพานลดลงเหลือ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีรถบรรทุกแล่นสวนมาบนสะพานโดยไม่หยุด และมีเด็กวิ่งข้ามถนนตัดท้ายรถบรรทุกในระยะกระชั้นชิดซึ่งจำเลยไม่สามารถหยุดรถได้ทัน จึงต้องหักหลบแล้วไปชนผู้ตาย ถือได้ว่าความเร็วที่จำเลยใช้ในขณะข้ามสะพานไม่เป็นความเร็วที่เกินสมควร ตามเวลา สถานที่ และพฤติการณ์อื่น ๆ ในขณะนั้น จึงไม่เป็นกาประมาทเลินเล่อ การที่มีเด็กวิ่งตัดหลังรถบรรทุกข้ามถนนผ่านหน้ารถจำเลยในระยะใกล้เป็นเหตุบังเอิญมิอาจคาดหมายได้ และเกิดขึ้นโดยฉับพลันเป็นเหตุที่ไม่มีใครป้องกันได้ เมื่อจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะที่ประสบเหตุเช่นั้นแล้ว เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามมาตรา 437
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและเหตุสุดวิสัยจากการเกิดเพลิงไหม้: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้แม้จำเลยไม่ต่อสู้ และพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวแก่ความสงบเรียบร้อย ของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ให้การต่อสู้ไว้แต่แรกศาลอุทธรณ์ ก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
เพลิงไหม้ห่างจากโกดังเก็บของของจำเลยประมาณ 30 เมตรขณะนั้นลมพัดแรงมาก คนงานในบริษัทและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงของกรมตำรวจได้ร่วมกันดับ แต่สุดความสามารถที่จะดับได้เพลิงได้ลามไหม้โกดังเก็บสินค้าของจำเลยโดยไม่มีใครอาจป้องกันได้และไม่ใช่ความผิดของจำเลย จึงเป็นเหตุสุดวิสัย (อ้างฎีกาที่ 882/2507)
เพลิงไหม้ห่างจากโกดังเก็บของของจำเลยประมาณ 30 เมตรขณะนั้นลมพัดแรงมาก คนงานในบริษัทและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงของกรมตำรวจได้ร่วมกันดับ แต่สุดความสามารถที่จะดับได้เพลิงได้ลามไหม้โกดังเก็บสินค้าของจำเลยโดยไม่มีใครอาจป้องกันได้และไม่ใช่ความผิดของจำเลย จึงเป็นเหตุสุดวิสัย (อ้างฎีกาที่ 882/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ต่อสู้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยได้ เหตุสุดวิสัยยกเว้นความรับผิด
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวแก้ความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ให้ต่อสู้ไว้แต่แรก ศาลอุทธรณ์ก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
เพลิงไหม้ห่างจากโกดังเก็บของของจำเลยประมาณ 30 เมตร ขณะนั้น ลมพัดแรงมาก คนงานในบริษัทและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงของกรมตำรวจได้ร่วมกันดับ แต่สุดความสามารถที่จะดับได้ เพลิงได้ลามไหม้โกดังสินค้าของจำเลยโดยไม่มีใครอาจป้องกันได้ และไม่ใช่ความผิดของจำเลย จึงเป็นเหตุสุดวิสัย
(อ้างฎีกาที่ 882/2507)
เพลิงไหม้ห่างจากโกดังเก็บของของจำเลยประมาณ 30 เมตร ขณะนั้น ลมพัดแรงมาก คนงานในบริษัทและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงของกรมตำรวจได้ร่วมกันดับ แต่สุดความสามารถที่จะดับได้ เพลิงได้ลามไหม้โกดังสินค้าของจำเลยโดยไม่มีใครอาจป้องกันได้ และไม่ใช่ความผิดของจำเลย จึงเป็นเหตุสุดวิสัย
(อ้างฎีกาที่ 882/2507)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและการสืบพยานประเด็นข้อตกลงการดูแลบุตร
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1524 เป็นบทบัญญัติวิธีการพิสูจน์ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายอันสืบเนื่องมาจากมาตรา 1519 อันเป็นบทบัญญัติสำหรับเด็กที่เกิดในสมรสซึ่งกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรของชายผู้เป็นสามีเหตุนี้ ถ้ามีข้ออ้างว่าผู้ใดเป็นบุตรของหญิงชายซึ่งสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็พิสูจน์ได้โดยวิธีการตามมาตรา 1524 ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดามารดามิได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก็โดยบทบัญญัติมาตรา 1526 ต่อไปหาใช่ว่าพฤติการณ์ตามมาตรา 1524 เป็นวิธีการรับรองบุตรนอกสมรสให้เป็น บุตรชอบด้วยกฎหมายขึ้นมานอกเหนือไปจากมาตรา 1526 อีกไม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานเฉพาะข้อโต้เถียงในเรื่องทรัพย์สินข้อเดียว จำเลยหาได้โต้แย้งว่ามีประเด็นอื่นที่ต้องสืบพยาน อีกไม่ ในที่สุดก็แถลงไม่สืบพยาน จำเลยจะมาเถียงว่าศาลมีคำสั่ง ตัดประเด็นข้อที่จะนำสืบว่าไม่ถูกต้องในชั้นฎีกาย่อมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 เพราะคำสั่งศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานเฉพาะข้อโต้เถียงในเรื่องทรัพย์สินข้อเดียว จำเลยหาได้โต้แย้งว่ามีประเด็นอื่นที่ต้องสืบพยาน อีกไม่ ในที่สุดก็แถลงไม่สืบพยาน จำเลยจะมาเถียงว่าศาลมีคำสั่ง ตัดประเด็นข้อที่จะนำสืบว่าไม่ถูกต้องในชั้นฎีกาย่อมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 เพราะคำสั่งศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และขอบเขตการสืบพยานในคดีครอบครัว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1524 เป็นบทบัญญัติวิธีการพิสูจน์ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายอันสืบเนื่องมาจากมาตรา 1519 อันเป็นบทบัญญัติสำหรับเด็กที่เกิดในสมรสซึ่งกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรของชายผู้เป็นสามี เหตุนี้ ถ้ามีข้ออ้างว่าผู้ใดเป็นบุตรของหญิงชายซึ่งสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็พิสูจน์ได้โดยวิธีการตามมาตรา 1524 ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดามารดามิได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก็โดยบทบัญญัติมาตรา 1526 ต่อไป หาใช่ว่าพฤติการณ์ตามมาตรา 1524 เป็นวิธีการรับรองบุตรนอกสมรสให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายขึ้นมานอกเหนือไปจากมาตรา 1526 อีกไม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานเฉพาะข้อโต้เถียงในเรื่องทรัพย์สินข้อเดียวจำเลยหาได้โต้แย้งว่ามีประเด็นอื่นที่ต้องสืบพยานอีกไม่ ในที่สุดก็แถลงไม่สืบพยาน จำเลยจะมาเถียงว่าศาลมีคำสั่งตัดประเด็นข้อที่จะนำสืบว่าไม่ถูกต้องในชั้นฎีกาย่อมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 เพราะคำสั่งศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานเฉพาะข้อโต้เถียงในเรื่องทรัพย์สินข้อเดียวจำเลยหาได้โต้แย้งว่ามีประเด็นอื่นที่ต้องสืบพยานอีกไม่ ในที่สุดก็แถลงไม่สืบพยาน จำเลยจะมาเถียงว่าศาลมีคำสั่งตัดประเด็นข้อที่จะนำสืบว่าไม่ถูกต้องในชั้นฎีกาย่อมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 เพราะคำสั่งศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และการใช้สิทธิโดยสุจริต
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหมีกำลังนั่งป้อนนมลูกด้วยขวดนม ส่วนของจำเลยเป็นรูปหมียืนเกาะถ้วย จึงไม่มีลักษณะในทางเหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่อขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกใด ถือเป็นการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งหมดทั้งจำพวกของสินค้าในจำพวกนั้น ๆ ผู้ขออาจนำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าชนิดอื่นในจำพวกนั้นก็ได้ เว้นแต่จะได้ขอจดทะเบียนจำกัดรายการสินค้าไว้แน่นอนว่าจะใช้กับสินค้าของผู้ขอชนิดนั้นอย่างเดียว
โจทก์เรียกขานเครื่องหมายการค้าของตนว่า "ตราหมี" จำเลยเรียกของตนว่า "ตราหมีทอง" ไม่แสดงว่าจำเลยใช้สิทธิในทางไม่สุจริต
การที่จำเลยใช้รูปหมียืนเกาะถ้วยหาเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่เป็นรูปหมีนั่งป้อนนมลูกด้วยขวดนมไม่ เพราะรูปหมีทั่ว ๆ ไปไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใด โจทก์ไม่มีสิทธิจะสงวนรูปหมีทั่ว ๆ ไปไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของตนแต่ผู้เดียว
เมื่อขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกใด ถือเป็นการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งหมดทั้งจำพวกของสินค้าในจำพวกนั้น ๆ ผู้ขออาจนำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าชนิดอื่นในจำพวกนั้นก็ได้ เว้นแต่จะได้ขอจดทะเบียนจำกัดรายการสินค้าไว้แน่นอนว่าจะใช้กับสินค้าของผู้ขอชนิดนั้นอย่างเดียว
โจทก์เรียกขานเครื่องหมายการค้าของตนว่า "ตราหมี" จำเลยเรียกของตนว่า "ตราหมีทอง" ไม่แสดงว่าจำเลยใช้สิทธิในทางไม่สุจริต
การที่จำเลยใช้รูปหมียืนเกาะถ้วยหาเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่เป็นรูปหมีนั่งป้อนนมลูกด้วยขวดนมไม่ เพราะรูปหมีทั่ว ๆ ไปไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใด โจทก์ไม่มีสิทธิจะสงวนรูปหมีทั่ว ๆ ไปไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของตนแต่ผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า: ความแตกต่างของรูปภาพและขอบเขตการใช้ในสินค้าจำพวกเดียวกัน ไม่ถือเป็นการละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปหมีกำลังนั่งป้อนนมลูกด้วยขวดนม ส่วนของจำเลยเป็นรูปหมียืนเกาะถ้วย จึงไม่มีลักษณะในทางเหมือนหรือคล้ายคลึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่อขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกใด ถือเป็น การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งจำพวกของสินค้าในจำพวกนั้น ๆ ผู้ขออาจนำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าชนิดอื่นในจำพวกนั้นก็ได้เว้นแต่จะได้ขอจดทะเบียนจำกัดรายการสินค้าไว้แน่นอนว่าจะใช้กับสินค้าของผู้ขอชนิดนั้นอย่างเดียว
โจทก์เรียกขานเครื่องหมายการค้าของตนว่า 'ตราหมี' จำเลยเรียกของตนว่า 'ตราหมีทอง' ไม่แสดงว่าจำเลยใช้สิทธิในทางไม่สุจริต
การที่จำเลยใช้รูปหมียืนเกาะถ้วยหาเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่เป็นรูปหมีนั่งป้อนนมลูกด้วยขวดนม ไม่ เพราะรูปหมีทั่ว ๆ ไปไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใดโจทก์ไม่มีสิทธิจะสงวนรูปหมีทั่ว ๆ ไปไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของตนแต่ผู้เดียว
เมื่อขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกใด ถือเป็น การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งจำพวกของสินค้าในจำพวกนั้น ๆ ผู้ขออาจนำเครื่องหมายการค้านั้นไปใช้กับสินค้าชนิดอื่นในจำพวกนั้นก็ได้เว้นแต่จะได้ขอจดทะเบียนจำกัดรายการสินค้าไว้แน่นอนว่าจะใช้กับสินค้าของผู้ขอชนิดนั้นอย่างเดียว
โจทก์เรียกขานเครื่องหมายการค้าของตนว่า 'ตราหมี' จำเลยเรียกของตนว่า 'ตราหมีทอง' ไม่แสดงว่าจำเลยใช้สิทธิในทางไม่สุจริต
การที่จำเลยใช้รูปหมียืนเกาะถ้วยหาเป็นการละเมิดเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่เป็นรูปหมีนั่งป้อนนมลูกด้วยขวดนม ไม่ เพราะรูปหมีทั่ว ๆ ไปไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใดโจทก์ไม่มีสิทธิจะสงวนรูปหมีทั่ว ๆ ไปไว้ใช้สำหรับเครื่องหมายการค้าของตนแต่ผู้เดียว