คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 124

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการและการยอมรับของจำเลยเพื่อเปรียบเทียบลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกัน
เมื่อเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการที่โจทก์อ้างส่งต่อศาล จำเลยไม่คัดค้าน อีกทั้งจำเลยยังได้เบิกความยอมรับถึงความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าว ดังนี้ศาลย่อมรับฟังลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารดังกล่าวเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของผู้ค้ำประกันที่พิพาทได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังเอกสารสำเนาบัตรข้าราชการและลายมือชื่อเพื่อเปรียบเทียบ
เมื่อเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการที่โจทก์อ้างส่งต่อศาล จำเลยไม่คัดค้าน อีกทั้งจำเลยยังได้เบิกความยอมรับถึงความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าว ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารดังกล่าวเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของผู้ค้ำประกันที่พิพาทได้ ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 93 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5319/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานเอกสารและการบังคับอายุความสิทธิเรียกร้องเงินคืน
เอกสารหมาย ล.3 ที่จำเลยอ้างเป็นเพียงสำเนาภาพถ่ายเอกสารและโจทก์ก็มีหนังสือตอบปฏิเสธว่าไม่ได้ดำเนินการส่งเรื่องไปตรวจพิสูจน์เท่ากับโจทก์ไม่รับรองว่าสำเนาเอกสารถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่แสดงเหตุขัดข้องที่ไม่ส่งต้นฉบับและไม่นำผู้รับรองสำเนาเอกสารมาเบิกความรับรอง จึงไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของโจทก์ และได้ยืมเงินงบประมาณเพื่อนำไปใช้จ่ายหมุนเวียนและปฏิบัติงานตามโครงการ เมื่อปฏิบัติเสร็จแล้วต้องนำใบสำคัญคู่จ่ายเงินส่งใช้ใบยืม หากมีเงินเหลือให้ส่งใช้ใบยืมเงิน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งใช้ใบยืมจนครบ จำเลยที่ 1ก็จะต้องชดใช้เงินคืนให้ทางราชการจนครบ ดังนี้ถือว่าเงินที่จะต้องคืนนั้นเป็นเงินของทางราชการที่ยังอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในเรื่องนี้ไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่ (มาตรา 164 เดิม) คือมีอายุความ 10 ปี เมื่อนับแต่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่คืนเงินจนถึงวันฟ้องเรียกเงินคืนยังไม่พ้น 10 ปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเช่นนี้ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหายจะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายในกำหนด 1 ปี ตามมาตรา 448 มาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ภาษี, ค่าเสื่อมราคา, และการนำสืบพยานเอกสาร/บุคคลในคดีภาษีอากร
พยานเอกสารซึ่งโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียก เป็นเพียงใบสำคัญคู่จ่ายและใบเสร็จรับเงินซึ่งนำส่งในชั้นตรวจสอบไต่สวนอันเป็นเอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชีของโจทก์เท่านั้น และเหตุที่จำเลยไม่อาจส่งเอกสารดังกล่าวก็เนื่องจากเอกสารสูญหายในช่วงที่จำเลยมีการแบ่งส่วนราชการภายในใหม่ จึงมิใช่กรณีที่จำเลยมีความมุ่งหมายที่จะกีดกันมิให้โจทก์ใช้เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานทั้งเมื่อจำเลยไม่สามารถส่งเอกสารตามที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกเนื่องจากสูญหาย โจทก์ก็อาจขออนุญาตศาลนำพยานบุคคลมาสืบเกี่ยวกับข้ออ้างได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 93 (2) จะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ลงรายการต่าง ๆ ครบถ้วนถูกต้องหาได้ไม่
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินและการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลไว้แล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินรายการใด ย่อมแสดงว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเฉพาะรายการนั้น ส่วนรายการใดที่มิได้มีการอุทธรณ์ย่อมแสดงว่าผู้ยื่นเสียภาษีพอใจแล้วเมื่อโจทก์ไม่ยื่นอุทธรณ์รายการใด โจทก์ย่อมหมดสิทธิโต้แย้งในรายการนั้น โจทก์หามีสิทธิรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินนำมาอุทธรณ์ต่อศาลอีกหาได้ไม่
เหล็กแผ่นที่ใช้ทำแบบในการก่อสร้าง โดยสภาพเป็นวัตถุที่คงทนถาวรไม่เสื่อมสภาพโดยง่าย ย่อมสามารถใช้ได้หลายครั้ง ทั้งตามรายงานการตรวจสอบปรากฏว่าเหล็กแผ่นดังกล่าวมีอายุการใช้งานได้มากกว่า 1 ปี รายจ่ายค่าแผ่นเหล็กดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นรายจ่ายที่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนและไม่ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายทั้งหมดในแต่ละปี โดยเพียงแต่คำนวณหักเป็นค่าเสื่อมราคาให้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การอุทธรณ์ และการหักค่าใช้จ่ายลงทุน: การพิจารณาเอกสารหลักฐานและอายุการใช้งานของทรัพย์สิน
พยานเอกสารซึ่งโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียก เป็นเพียงใบสำคัญคู่จ่ายและใบเสร็จรับเงินซึ่งนำส่งในชั้นตรวจสอบไต่สวนอันเป็นเอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชีของโจทก์เท่านั้น และเหตุที่จำเลยไม่อาจส่งเอกสารดังกล่าวก็เนื่องจากเอกสารสูญหายในช่วงที่จำเลยมีการแบ่งส่วนราชการภายในใหม่ จึงมิใช่กรณีที่จำเลยมีความมุ่งหมายที่จะกีดกันมิให้โจทก์ใช้เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานทั้งเมื่อจำเลยไม่สามารถส่งเอกสารตามที่โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกเนื่องจากสูญหาย โจทก์ก็อาจขออนุญาตศาลนำพยานบุคคลมาสืบเกี่ยวกับข้ออ้างได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) จะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างว่าโจทก์ลงรายการต่าง ๆ ครบถ้วนถูกต้องหาได้ไม่ ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินและการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลไว้แล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินรายการใด ย่อมแสดงว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเฉพาะรายการนั้นส่วนรายการใดที่มิได้มีการอุทธรณ์ย่อมแสดงว่าผู้ยื่นเสียภาษีพอใจแล้วเมื่อโจทก์ไม่ยื่นอุทธรณ์รายการใด โจทก์ย่อมหมดสิทธิโต้แย้งในรายการนั้น โจทก์หามีสิทธิรื้อฟื้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินนำมาอุทธรณ์ต่อศาลอีกหาได้ไม่ เหล็กแผ่นที่ใช้ทำแบบในการก่อสร้าง โดยสภาพเป็นวัตถุที่คงทนถาวรไม่เสื่อมสภาพโดยง่าย ย่อมสามารถใช้ได้หลายครั้งทั้งตามรายงานการตรวจสอบปรากฏว่าเหล็กแผ่นดังกล่าวมีอายุการใช้งานได้มากกว่า 1 ปี รายจ่ายค่าแผ่นเหล็กดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นรายจ่ายที่บังเกิดเป็นทุนรอนหรือทรัพย์สินของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินถือว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนและไม่ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายทั้งหมดในแต่ละปี โดยเพียงแต่คำนวณหักเป็นค่าเสื่อมราคาให้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3589/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ส่งเอกสารตามคำสั่งศาล & อำนาจแก้ไขคำสั่งที่ไม่ถูกต้องของศาลชั้นต้น
การที่โจทก์ไม่ส่งเอกสารตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกจากโจทก์เพื่อให้จำเลยตรวจดูก่อนจำเลยยื่นคำให้การนั้น ชอบที่ศาลจะสอบถามหรือไต่สวนให้ได้ความว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามที่ศาลกำหนด หรือเป็นการขัดขืนไม่ส่งเอกสารในการพิจารณาคดี และดำเนินการต่อไปตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดที่อนุโลมให้ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าไม่มีเอกสารเช่นว่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยประสงค์จะอ้างเอกสารเพื่อจะสืบข้อเท็จจริงเรื่องใดจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงนั้นหรือไม่มีเอกสารเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 124
การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเข้าใจโดยผิดหลงศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้ส่วนที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 บัญญัติให้ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์นั้น เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดวิธีการที่ผู้อุทธรณ์จะปฏิบัติได้อีกทางหนึ่งเท่านั้นหาใช่เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ศาลชั้นต้นสั่งแก้ไขคำสั่งที่สั่งไปโดยผิดหลงเช่นนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3589/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ส่งเอกสารตามคำสั่งศาลและการแก้ไขคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ ศาลมีอำนาจสอบถามและแก้ไขได้
การที่โจทก์ไม่ส่งเอกสารตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกจากโจทก์เพื่อให้จำเลยตรวจดูก่อนจำเลยยื่นคำให้การนั้นชอบที่ศาลจะสอบถามหรือไต่สวนให้ได้ความว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามที่ศาลกำหนด หรือเป็นการขัดขืนไม่ส่งเอกสารในการพิจารณาคดี และดำเนินการต่อไปตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดที่อนุโลมให้ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าไม่มีเอกสารเช่นว่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยประสงค์จะอ้างเอกสารเพื่อจะสืบข้อเท็จจริงเรื่องใดจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงนั้นหรือไม่มีเอกสารเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 124
การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเข้าใจโดยผิดหลงศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้ส่วนที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 บัญญัติให้ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งไม่รับอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์นั้น เป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดวิธีการที่ผู้อุทธรณ์จะปฏิบัติได้อีกทางหนึ่งเท่านั้นหาใช่เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ศาลชั้นต้นสั่งแก้ไขคำสั่งที่สั่งไปโดยผิดหลงเช่นนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2491/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างเอกสารเป็นพยาน: ศาลมีอำนาจไต่สวนความถูกต้องแม้โจทก์ไม่คัดค้าน
จำเลยอ้างว่าได้ชำระหนี้บางส่วนให้โจทก์แล้วตามเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.9 ที่จำเลยอ้างเป็นพยาน และได้ส่งสำเนาให้แก่โจทก์ก่อนวันสืบพยานแล้ว แม้โจทก์จะไม่คัดค้านการอ้างเอกสารนั้น ก็ไม่ตัดอำนาจของศาลในอันที่จะไต่สวนและชี้ขาดในเรื่องการมีอยู่ความแท้จริง หรือความถูกต้องของเอกสารเช่นว่านั้นตามความในวรรคท้ายของมาตรา 125 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2491/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างเอกสารเป็นพยาน ศาลมีอำนาจไต่สวนความถูกต้อง แม้คู่ความไม่คัดค้าน
จำเลยอ้างว่าได้ชำระหนี้บางส่วนให้โจทก์แล้วตามเอกสารหมาย ล.1 ถึงล.9 ที่จำเลยอ้างเป็นพยาน และได้ส่งสำเนาให้แก่โจทก์ก่อนวันสืบพยาน แล้ว แม้โจทก์จะไม่คัดค้านการอ้างเอกสารนั้น ก็ไม่ตัดอำนาจของศาล ในอันที่จะไต่สวนและชี้ขาดในเรื่องการมีอยู่ความแท้จริง หรือความถูกต้องของเอกสารเช่นว่านั้นตามความในวรรคท้ายของมาตรา125 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขเอกสารสัญญากู้ยืมเงินมีผลทำให้เอกสารเสียความน่าเชื่อถือ โจทก์ต้องพิสูจน์ความถูกต้อง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้เป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท จำเลยรับว่าได้ทำสัญญากู้เงินจากโจทก์จริง แต่เป็นจำนวนเงิน 100 บาท ไม่ใช่ 1,000 บาท โจทก์แกด้จำนวนเงินจาก 100 บาทเป็น 1,000 บาท และในวันชี้สองสถานโจทก์นำต้นฉบับสัญญากู้ส่งต่อศาลจำเลยดูแล้วก็ยังรับว่าได้ทำสัญญากู้ดังโจทก์กล่าวจริง แต่กู้เพียง 100 บาท โจทก์แก้จำนวนเงินในสัญญาเป็น 1,000 บาท ดังนี้เป็นหน้าที่โจทก์จะต้องนำสืบก่อนตามที่กล่าวอ้าง เมื่อทั้งสองฝ่ายต่างไม่สืบพยาน โจทก์ก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
of 2