คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วงษ์ วีระพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 586 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วงและผลกระทบจากการบอกเลิกสัญญาเช่าเดิม สิทธิในการเรียกร้องค่าเช่าของผู้ให้เช่า
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งโจทก์เช่ามาจากจำเลยที่ 2ที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของ. โดยโจทก์มีสิทธิให้เช่าช่วงได้ และได้ให้จำเลยที่ 1 เช่าช่วง. ก่อนคดีนี้จำเลยที่2 ที่ 3 ได้ฟ้องขับไล่โจทก์จากห้องเลขที่ 21-23 ตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น.ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่. คดีอยู่ระหว่างฎีกา ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยว่าระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา. โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่าโจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพียงใด. การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของห้องพิพาท. โดยฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น ก็เพื่อนำมาวินิจฉัยประเด็นที่ว่า ระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา. โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่. จึงไม่เป็นการนอกประเด็น. และขาดพยานหลักฐานสนับสนุนในท้องสำนวน.
เมื่อผู้ให้เช่าให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตามสัญญา. แม้ผู้เช่าจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินนั้น ผู้เช่าก็มีหน้าที่ชำระค่าเช่า.
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ ซ.ครบกำหนดแล้วซ.ได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์. ซึ่งข้อเท็จจริงนี้คู่ความมิได้รับกัน. และไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน. เป็นแต่จำเลยยกขึ้นอ้างในคำให้การ. ซึ่งจำเลยมีภาระการพิสูจน์. แต่เมื่อโจทก์จำเลยสละข้อพิพาทในประเด็นอื่น. นอกจากเรื่องค่าเช่าและค่าเสียหาย และไม่ติดใจสืบพยาน. คดีไม่มีทางรับฟังตามข้ออ้างของจำเลย. ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงผิดกฎหมาย.ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงข้อนี้ใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247,243.
คู่กรณีทำสัญญาเช่าต่อกัน 2 ฉบับ. ฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2,3 โดยโจทก์เช่าห้อง 12ห้อง รวมทั้งห้องพิพาทจากจำเลยที่ 2,3. อีกฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1. จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าช่วงห้องพิพาทจากโจทก์. สัญญา 2 ฉบับนี้ไม่เกี่ยวพันกัน. เพราะเป็นหนี้คนละราย. แม้จำเลยที่ 2,3 บอกเลิกสัญญากับโจทก์เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2502.อันจะมีผลทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2,3เลิกกันตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2503 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 ก็ตาม. แต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ยังผูกพันกันอยู่. เพราะไม่มีกรณีที่ทำให้สัญญาฉบับนี้เลิกกันไม่ว่าโดยข้อสัญญาหรือโดยกฎหมาย. แม้สัญญาสิ้นกำหนด. แต่จำเลยที่ 1 ยังครองทรัพย์สินที่เช่าต่อมาโดยโจทก์ไม่ทักท้วง. ก็ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา. ตราบใดที่โจทก์ยังให้จำเลยที่ 1 ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าได้แล้ว. จำเลยที่ 1ก็ต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์.
เมื่อจำเลยที่ 2,3 ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพิพาทบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ยอมออก. จำเลยที่ 2,3 จึงฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21-23 ที่โจทก์ทำเป็นโรงแรม. อันเป็นส่วนหนึ่งของห้องที่โจทก์เช่าจากจำเลยทั้งหมด. แต่หาได้ฟ้องขับไล่โจทก์หรือห้ามโจทก์มิให้เกี่ยวข้องกับห้องพิพาทด้วยไม่. ตามคำพิพากษาฎีกาที่พิพากษาขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21-23 ได้ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเดือนละ 360 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะออกจากห้อง. ค่าเสียหายนี้เท่ากับจำนวนค่าเช่าที่โจทก์เช่าจากจำเลยที่ 2,3 รวมทั้งห้องพิพาท. ส่วนจำเลยที่ 1 ได้ใช้ห้องพิพาทมาแต่ต้นโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่ากับโจทก์ และคงใช้ห้องพิพาทตลอดมา. โดยมีสัญญาเช่าผูกพันกันอยู่ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ใช้ห้องพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าเดิม. จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์ตามอัตราในสัญญา. คือเดือนละ 37.50บาท ตลอดเวลาที่ใช้ห้องพิพาทตามสัญญาเช่า.
โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เทียบอัตราค่าเช่าเดือนละ 37.50 บาท. นับแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่า. เมื่อพิจารณาประกอบคำขอท้ายฟ้อง. ก็เห็นว่าโจทก์หมายถึงค่าเช่าด้วย. ฉะนั้น ศาลย่อมพิพากษาให้ชำระค่าเช่าให้โจทก์ได้.
แต่ที่โจทก์ขอให้ชำระตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่านั้น. ปรากฏตามคำแถลงของโจทก์ในรายงานกระบวนพิจารณาว่าถ้าคดีแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้นถึงที่สุด. โดยศาลพิพากษาขับไล่โจทก์. โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้ศาลบังคับขับไล่จำเลยที่ 1. แต่ขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่าระหว่างนี้โจทก์มีสิทธิจะเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หรือไม่.คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่า ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์. โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยที่ 1 อยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่วันโจทก์ฟ้องนั้นเป็นการอยู่โดยผิดสัญญาต่อไป. เพราะสละสิทธิที่ขอให้บังคับตามฟ้องในข้อนี้เสียแล้ว. คงสงวนสิทธิแต่จะเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายในระหว่างนั้นเท่านั้น. ศาลฎีกาจึงเห็นว่าควรบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าให้โจทก์เพียงแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนถึงวันฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วง สิทธิค่าเช่า การสละสิทธิเรียกร้อง และผลของการสิ้นสุดสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งโจทก์เช่ามาจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของ โดยโจทก์มีสิทธิให้เช่าช่วงได้ และได้ให้จำเลยที่ 1 เช่าช่วง ก่อนคดีนี้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ฟ้องขับไล่โจทก์จากห้องเลขที่ 21-23 ตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่ คดีอยู่ระหว่างฎีกา ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยว่าระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่าโจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพียงใด การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของห้องพิพาท โดยฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น ก็เพื่อนำมาวินิจฉัยประเด็นที่ว่า ระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ จึงไม่เป็นการนอกประเด็น และขาดพยานหลักฐานสนับสนุนในท้องสำนวน
เมื่อผู้ให้เช่าให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตามสัญญาแม้ผู้เช่าจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินนั้น ผู้เช่าก็มีหน้าที่ชำระค่าเช่า
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ ซ. ครบกำหนดแล้ว ซ.ได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ ซึ่งข้อเท็จจริงนี้คู่ความมิได้รับกัน และไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน เป็นแต่จำเลยยกขึ้นอ้างในคำให้การ ซึ่งจำเลยมีภาระการพิสูจน์ แต่เมื่อโจทก์จำเลยสละข้อพิพาทในประเด็นอื่น นอกจากเรื่องค่าเช่าและค่าเสียหาย และไม่ติดใจสืบพยาน คดีไม่มีทางรับฟังตามข้ออ้างของจำเลย ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงผิดกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงข้อนี้ใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247, 253
คู่กรณีทำสัญญาเช่าต่อกัน 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2, 3 โดยโจทก์เช่าห้อง 12 ห้อง รวมทั้งห้องพิพาทจากจำเลยที่ 2, 3 อีกฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าช่วงห้องพิพาทจากโจทก์สัญญา 2 ฉบับนี้ไม่เกี่ยวพันกัน เพราะเป็นหนี้คนละราย แม้จำเลยที่ 2, 3 บอกเลิกสัญญากับโจทก์เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 02502 อันจะมีผลทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2, 3 เลิกกันตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2503 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 ก็ตาม แต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ยังผูกพันกันอยู่ เพราะไม่มีกรณีที่ทำให้สัญญาฉบับนี้เลิกกันไม่ว่าโดยข้อสัญญาหรือโดยกฎหมาย แม้สัญญาสิ้นกำหนด แต่จำเลยที่ 1 ยังครองทรัพย์สินที่เช่าต่อมาโดยโจทก์ไม่ทักท้วง ก็ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ตราบใดที่โจทก์ยังให้จำเลยที่ 1 ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าได้แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 2, 3 ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพิพาทบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ยอมออก จำเลยที่ 2, 3 จึงฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21 - 23 ที่โจทก์ทำเป็นโรงแรม อันเป็นส่วนหนึ่งของห้องที่โจทก์เช่าจากจำเลยทั้งหมด แต่หาได้ฟ้องขับไล่โจทก์หรือห้ามโจทก์มิให้เกี่ยวข้องกับห้องพิพาทด้วยไม่ตามคำพิพากษาฎีกาที่พิพากษาขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21-23 ได้ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเดือนละ 360 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะออกจากห้อง ค่าเสียหายนี้เท่ากับจำนวนค่าเช่าที่โจทก์เช่าจากจำเลยที่ 2,3 รวมทั้งห้องพิพาท ส่วนจำเลยที่ 1 ได้ใช้ห้องพิพาทมาแต่ต้นโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่ากับโจทก์ และคงใช้ห้องพิพาทตลอดมา โดยมีสัญญาเช่าผูกพันกันอยู่ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ใช้ห้องพิพาทโดยอาศัยตามสัญญาเช่าเดิม จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์ตามอัตราในสัญญา คือ เดือนละ 37.50 บาท ตลอดเวลาที่ใช้ห้องพิพาทตามสัญญาเช่า
โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ เทียบอัตราค่าเช่าเดือนละ 37.50 บาท นับแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่า เมื่อพิจารณาประกอบคำขอท้ายฟ้อง ก็เห็นว่าโจทก์หมายถึงค่าเช่าด้วย ฉะนั้น ศาลย่อมพิพากษาให้ชำระค่าเช่าให้โจทก์ได้
แต่ที่โจทก์ขอให้ชำระตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่านั้น ปรากฏตามคำแถลงของโจทก์ในรายงานกระบวนพิจารณาว่าถ้าคดีแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้นถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาขับไล่โจทก์ โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้ศาลบังคับขับไล่จำเลยที่ 1 แต่ขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่าระหว่างนี้โจทก์มีสิทธิจะเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หรือไม่ คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่า ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์ โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยที่ 1 อยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่วัน โจทก์ฟ้องนั้นเป็นการอยู่โดยผิดสัญญาต่อไป เพราะสละสิทธิที่ขอให้บังคับตามฟ้องในข้อนี้เสียแล้ว คงสงวนสิทธิแต่จะเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายในระหว่างนั้นเท่านั้น ศาลฎีกาจึงเห็นว่าควรบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าให้โจทก์เพียงแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนถึงวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วง: สิทธิการเรียกร้องค่าเช่า แม้มีข้อตกลงสละสิทธิในการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 1 และบริวารออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งโจทก์เช่ามาจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของ โดยโจทก์มีสิทธิให้เช่าช่วงได้ และได้ให้จำเลยที่ 1 เช่าช่วง ก่อนคดีนี้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ฟ้องขับไล่โจทก์จากห้องเลขที่ 21-23 ตามสำนวนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ขับไล่ คดีอยู่ระหว่างฎีกา ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยว่าระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ ต้องพิจารณาว่าโจทก์จะมีสิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพียงใด การที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาถึงสิทธิการเช่าระหว่างโจทก์กับเจ้าของห้องพิพาท โดยฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้น ก็เพื่อนำมาวินิจฉัยประเด็นที่ว่า ระหว่างที่ศาลฎีกายังไม่ได้พิพากษา โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างจากจำเลยที่ 1 ได้หรือไม่ จึงไม่เป็นการนอกประเด็น และขาดพยานหลักฐานสนับสนุนในท้องสำนวน
เมื่อผู้ให้เช่าให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตามสัญญา แม้ผู้เช่าจะไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินนั้น ผู้เช่าก็มีหน้าที่ชำระค่าเช่า
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับซ.ครบกำหนดแล้วซ. ได้บอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ ซึ่งข้อเท็จจริงนี้คู่ความมิได้รับกัน และไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน เป็นแต่จำเลยยกขึ้นอ้างในคำให้การ ซึ่งจำเลยมีภาระการพิสูจน์ แต่เมื่อโจทก์จำเลยสละข้อพิพาทในประเด็นอื่น นอกจากเรื่องค่าเช่าและค่าเสียหาย และไม่ติดใจสืบพยาน คดีไม่มีทางรับฟังตามข้ออ้างของจำเลย ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงผิดกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงข้อนี้ใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247,243
คู่กรณีทำสัญญาเช่าต่อกัน 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2,3 โดยโจทก์เช่าห้อง 12 ห้อง รวมทั้งห้องพิพาทจากจำเลยที่ 2,3 อีกฉบับหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าช่วงห้องพิพาทจากโจทก์ สัญญา 2 ฉบับนี้ไม่เกี่ยวพันกัน เพราะเป็นหนี้คนละราย แม้จำเลยที่ 2,3 บอกเลิกสัญญากับโจทก์เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2502 อันจะมีผลทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2,3เลิกกันตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2503 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566 ก็ตาม แต่สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ยังผูกพันกันอยู่ เพราะไม่มีกรณีที่ทำให้สัญญาฉบับนี้เลิกกันไม่ว่าโดยข้อสัญญาหรือโดยกฎหมาย แม้สัญญาสิ้นกำหนด แต่จำเลยที่ 1 ยังครองทรัพย์สินที่เช่าต่อมาโดยโจทก์ไม่ทักท้วง ก็ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ตราบใดที่โจทก์ยังให้จำเลยที่ 1 ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าได้แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์
เมื่อจำเลยที่ 2,3 ซึ่งเป็นเจ้าของห้องพิพาทบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ยอมออก จำเลยที่ 2,3 จึงฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21-23 ที่โจทก์ทำเป็นโรงแรม อันเป็นส่วนหนึ่งของห้องที่โจทก์เช่าจากจำเลยทั้งหมด แต่หาได้ฟ้องขับไล่โจทก์หรือห้ามโจทก์มิให้เกี่ยวข้องกับห้องพิพาทด้วยไม่ ตามคำพิพากษาฎีกาที่พิพากษาขับไล่โจทก์ออกจากห้องเลขที่ 21-23 ได้ให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเดือนละ 360 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะออกจากห้อง ค่าเสียหายนี้เท่ากับจำนวนค่าเช่าที่โจทก์เช่าจากจำเลยที่ 2,3 รวมทั้งห้องพิพาท ส่วนจำเลยที่ 1 ได้ใช้ห้องพิพาทมาแต่ต้นโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่ากับโจทก์ และคงใช้ห้องพิพาทตลอดมา โดยมีสัญญาเช่าผูกพันกันอยู่ จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ใช้ห้องพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าเดิม จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์ตามอัตราในสัญญา คือเดือนละ 37.50บาท ตลอดเวลาที่ใช้ห้องพิพาทตามสัญญาเช่า
โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เทียบอัตราค่าเช่าเดือนละ 37.50 บาท นับแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่า เมื่อพิจารณาประกอบคำขอท้ายฟ้อง ก็เห็นว่าโจทก์หมายถึงค่าเช่าด้วย ฉะนั้น ศาลย่อมพิพากษาให้ชำระค่าเช่าให้โจทก์ได้
แต่ที่โจทก์ขอให้ชำระตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนกว่าโจทก์จะออกจากห้องเช่านั้น ปรากฏตามคำแถลงของโจทก์ในรายงานกระบวนพิจารณาว่าถ้าคดีแดงที่ 192/2504 ของศาลชั้นต้นถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาขับไล่โจทก์ โจทก์สละสิทธิไม่ขอให้ศาลบังคับขับไล่จำเลยที่ 1 แต่ขอให้วินิจฉัยประการเดียวว่าระหว่างนี้โจทก์มีสิทธิจะเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 หรือไม่คำแถลงของโจทก์ดังนี้มีความหมายว่า ถ้าศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์ โจทก์ก็เป็นอันสละสิทธิไม่ถือว่าที่จำเลยที่ 1 อยู่ในห้องพิพาทต่อมานับแต่วันโจทก์ฟ้องนั้นเป็นการอยู่โดยผิดสัญญาต่อไป เพราะสละสิทธิที่ขอให้บังคับตามฟ้องในข้อนี้เสียแล้ว คงสงวนสิทธิแต่จะเรียกค่าเช่าและค่าเสียหายในระหว่างนั้นเท่านั้น ศาลฎีกาจึงเห็นว่าควรบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าให้โจทก์เพียงแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2503 จนถึงวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายผิดสัญญา (สวิทซ์) และการชำระหนี้ตามส่วน รวมถึงค่าเสียหายจากการติดตั้งที่ไม่เสร็จ
โจทก์ส่งมอบเครื่องสัญญาณเรียกผู้รับใช้ที่ตกลงซื้อขายให้จำเลยถูกต้อง แต่ส่งมอบสวิทซ์ไฟฟ้าผิดยี่ห้อไม่ตรงตามสัญญา เมื่อจำเลยได้รับชำระหนี้ตามสภาพดังกล่าวแล้วก็ต้องชำระราคาตอบแทนตามส่วน
การที่โจทก์ติดตั้งเครื่องสัญญาณไม่เสร็จเรียบร้อยตามสัญญา เพราะจำเลยเกี่ยงจะให้โจทก์ปฏิบัตินอกเหนือสัญญา ย่อมไม่ใช่ความผิดของโจทก์ แต่เป็นความผิดของจำเลย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามส่วนทดแทนค่าแรงและอุปกรณ์ในการติดตั้งที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว
ตามสัญญา จำเลยจะต้องชำระราคาค่าเครื่องสัญญาณทันที เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระก็ต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันรับมอบของ ซึ่งจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัก
ค่าติดตั้งเครื่องสัญญาณซึ่งโจทก์ทำไม่เสร็จเรียบร้อยตามสัญญา เพราะความผิดของจำเลย โจทก์ย่อมเรียกดอกเบี้ยได้ในจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนการงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดแน่นอนเมื่อใด ศาลก็พิพากษาให้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายผิดนัดชำระหนี้และติดตั้ง, ความรับผิดจากสัญญา, ดอกเบี้ยจากค่าเสียหาย
โจทก์ส่งมอบเครื่องสัญญาณเรียกผู้รับใช้ที่ตกลงซื้อขายให้จำเลยถูกต้อง. แต่ส่งมอบสวิทซ์ไฟฟ้าผิดยี่ห้อไม่ตรงตามสัญญา. เมื่อจำเลยได้รับชำระหนี้ตามสภาพดังกล่าวแล้วก็ต้องชำระราคาตอบแทนตามส่วน.
การที่โจทก์ติดตั้งเครื่องสัญญาณไม่เสร็จเรียบร้อยตามสัญญา. เพราะจำเลยเกี่ยงจะให้โจทก์ปฏิบัตินอกเหนือสัญญา. ย่อมไม่ใช่ความผิดของโจทก์. แต่เป็นความผิดของจำเลย. จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามส่วนทดแทนค่าแรงและอุปกรณ์ในการติดตั้งที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว.
ตามสัญญา จำเลยจะต้องชำระราคาค่าเครื่องสัญญาณทันที.เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระก็ต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันรับมอบของ. ซึ่งจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด.
ค่าติดตั้งเครื่องสัญญาณซึ่งโจทก์ทำไม่เสร็จเรียบร้อยตามสัญญา. เพราะความผิดของจำเลย โจทก์ย่อมเรียกดอกเบี้ยได้ในจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนการงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้ว.เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดแน่นอนเมื่อใด. ศาลก็พิพากษาให้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย-ติดตั้ง: การชำระหนี้ตามส่วน, ความผิดของผู้ซื้อ, ดอกเบี้ย, ค่าเสียหายจากการติดตั้งไม่เสร็จ
โจทก์ส่งมอบเครื่องสัญญาณเรียกผู้รับใช้ที่ตกลงซื้อขายให้จำเลยถูกต้อง แต่ส่งมอบสวิทซ์ไฟฟ้าผิดยี่ห้อไม่ตรงตามสัญญา เมื่อจำเลยได้รับชำระหนี้ตามสภาพดังกล่าวแล้วก็ต้องชำระราคาตอบแทนตามส่วน
การที่โจทก์ติดตั้งเครื่องสัญญาณไม่เสร็จเรียบร้อยตามสัญญาเพราะจำเลยเกี่ยงจะให้โจทก์ปฏิบัตินอกเหนือสัญญา ย่อมไม่ใช่ความผิดของโจทก์ แต่เป็นความผิดของจำเลย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามส่วนทดแทนค่าแรงและอุปกรณ์ในการติดตั้งที่โจทก์ได้กระทำไปแล้ว
ตามสัญญา จำเลยจะต้องชำระราคาค่าเครื่องสัญญาณทันทีเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระก็ต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันรับมอบของ ซึ่งจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด
ค่าติดตั้งเครื่องสัญญาณซึ่งโจทก์ทำไม่เสร็จเรียบร้อยตามสัญญา เพราะความผิดของจำเลย โจทก์ย่อมเรียกดอกเบี้ยได้ในจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนการงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้วเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยผิดนัดแน่นอนเมื่อใด ศาลก็พิพากษาให้ดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า: การพิจารณาจากอาวุธที่ใช้, บาดแผล, และพฤติการณ์ประกอบ
การวินิจฉัยว่ามีเจตนาฆ่าหรือไม่นั้น ต้องพิเคราะห์ถึงการกระทำของจำเลยอาวุธที่ใช้ บาดแผลที่ผู้ตายได้รับ ตลอดถึงพฤติการณ์อื่น ประกอบกัน ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจำเลยที่ 1 มีโอกาสเลือกแทงที่สำคัญได้ แต่ได้แทงผู้ตายที่แขนเพียงทีเดียวแล้วเลยไปมิได้ซ้ำเติม หากแต่ด้วยความแรงเป็นเหตุให้คมมีดตัดเส้นโลหิตใหญ่ทะลุเข้าชายโครงถึงแก่ความตายเพราะโลหิตออกมาก ยังไม่พอชี้ขาดว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นถึงตายโดยไม่เจตนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า: พิจารณาจากอาวุธ, การกระทำ, บาดแผล, และพฤติการณ์โดยรวม
การวินิจฉัยว่ามีเจตนาฆ่าหรือไม่นั้น. ต้องพิเคราะห์ถึงการกระทำของจำเลยอาวุธที่ใช้ บาดแผลที่ผู้ตายได้รับตลอดถึงพฤติการณ์อื่น ประกอบกัน. ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจำเลยที่ 1 มีโอกาสเลือกแทงที่สำคัญได้. แต่ได้แทงผู้ตายที่แขนเพียงทีเดียวแล้วเลยไปมิได้ซ้ำเติม. หากแต่ด้วยความแรงเป็นเหตุให้คมมีดตัดเส้นโลหิตใหญ่ทะลุเข้าชายโครงถึงแก่ความตายเพราะโลหิตออกมาก. ยังไม่พอชี้ขาดว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า. จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นถึงตายโดยไม่เจตนา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า: การพิจารณาจากอาวุธ, บาดแผล, และพฤติการณ์ประกอบ เพื่อวินิจฉัยความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
การวินิจฉัยว่ามีเจตนาฆ่าหรือไม่นั้น ต้องพิเคราะห์ถึงการกระทำของจำเลยอาวุธที่ใช้ บาดแผลที่ผู้ตายได้รับตลอดถึงพฤติการณ์อื่น ประกอบกัน ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจำเลยที่ 1 มีโอกาสเลือกแทงที่สำคัญได้ แต่ได้แทงผู้ตายที่แขนเพียงทีเดียวแล้วเลยไปมิได้ซ้ำเติม หากแต่ด้วยความแรงเป็นเหตุให้คมมีดตัดเส้นโลหิตใหญ่ทะลุเข้าชายโครงถึงแก่ความตายเพราะโลหิตออกมาก ยังไม่พอชี้ขาดว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นถึงตายโดยไม่เจตนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาคดีอื่นไม่ผูกพันคดีปัจจุบัน และคำเบิกความพยานในคดีหนึ่งใช้ยันจำเลยในอีกคดีหนึ่งไม่ได้
คำพิพากษาในคดีอื่นซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน ไม่ผูกพันคู่ความในอีกคดีหนึ่ง
คำเบิกความของพยานในคดีหนึ่งจะนำมาใช้ยันคู่ความในอีดคดีหนึ่งไม่ได้ เพราะมิได้พิจารณาต่อหน้าคู่ความในคดีนั้น และคู่ความในคดีนั้นไม่มีโอกาสซักค้าน หากโจทก์จะประสงค์จะให้ข้อเท็จจริงได้เข้ามาสู่สำนวนความโจทก์ต้องนำพยานนั้นมาสืบ
of 59