พบผลลัพธ์ทั้งหมด 586 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเรียกรับทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง
จำเลยและ บ. เป็นสมาชิกสภาเทศบาล จำเลยได้มีจดหมายถึง บ. ให้ช่วยเหลือปลดเปลื้องหนี้สินของจำเลย เพื่อที่จำเลยจะได้สนับสนุนให้ บ. กับคณะดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี ดังนี้ จำเลยย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยและ บ. เป็นสมาชิกสภาเทศบาลจำเลยได้เรียกร้องเอาทรัพย์สินจาก บ. เพื่อประโยชน์ของจำเลยเองในการที่จำเลยจะกระทำการเป็นฝ่ายช่วยเหลือสนับสนุน บ. กับคณะให้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี ทั้งนี้เป็นการมิชอบด้วยหน้าที่ของจำเลย ดังนี้ แม้ไม่บรรยายว่าเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง ก็เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์เข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยและ บ. เป็นสมาชิกสภาเทศบาลจำเลยได้เรียกร้องเอาทรัพย์สินจาก บ. เพื่อประโยชน์ของจำเลยเองในการที่จำเลยจะกระทำการเป็นฝ่ายช่วยเหลือสนับสนุน บ. กับคณะให้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี ทั้งนี้เป็นการมิชอบด้วยหน้าที่ของจำเลย ดังนี้ แม้ไม่บรรยายว่าเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง ก็เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์เข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องแบ่งมรดกและการแบ่งค่าเช่าทรัพย์มรดกแก่ทายาท โดยมิพักรอการจัดการมรดกให้เสร็จสิ้น
โจทก์เป็นบุตรคนเดียวของ ซ. ซึ่งเป็นบุตรของ ย. เมื่อฮ. ซึ่งเป็นสามีของ ย. ตายมรดกของ ฮ. คงมีเฉพาะ 2 ใน 3 ของที่ดิน 3 โฉนดผู้จัดการมรดกของ ฮ. มีสิทธิจัดการได้เฉพาะมรดกของ ฮ. ตอนนี้ ซ. มารดาโจทก์มิได้เป็นทายาทของ ฮ. ไม่มีสิทธิในที่ดิน 3 แปลงนี้ เพราะ ย. มารดาของ ซ . ซึ่งเป็นมารดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ ผู้จัดการมรดกจึงไม่ได้กระทำอะไรแทน ซ. ย. คงมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน 3 โฉนดทุกแปลง
เมื่อ ย. ตายในปี 2490 ที่ดิน 3 ใน 7 ส่วน ทั้ง 3 โฉนด เป็นมรดกของ ย. ตกได้แก่ทายาทของ ย. คือบุตรของ ย. ที่เกิดจากสามีเก่าและสามีใหม่ มรดกของ ย. ไม่มีผู้จัดการมรดก คงมีแต่ทายาททายาททุกคนไม่อยู่ในฐานะจัดการมรดกแทนทายาทอื่น ถ้า ซ. บุตรของย. ฟ้องขอให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปี ซ. ก็มีสิทธิขอแบ่งมรดกย.3 ใน 7 ส่วนของที่ดินทั้ง 3 แปลง ถ้ามิได้ฟ้องภายใน 1 ปี ก็ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เว้นแต่ ซ. จะได้ครอบครองทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 หมายความว่าเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีแล้ว ทายาทที่ครอบครองมรดกเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้เฉพาะทรัพย์ที่ตนครอบครองเท่านั้น เว้นแต่ทรัพย์มรดกนั้นไม่มีทายาทคนใดครอบครองเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้ทรัพย์มรดกนั้นทายาทเป็นเจ้าของร่วมกันตามมาตรา 1754 เมื่อ ซ. มารดาโจทก์ได้ครอบครองที่ดินมรดกโฉนดที่ 446 แปลงเดียว ส่วนที่ดินโฉนดที่ 942 และ 943 จำเลยทั้งห้าเป็นผู้ครอบครอง ซ. ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งเฉพาะที่ดินที่ตนครอบครอง โจทก์จะอ้างการจัดการมรดกของ ฮ. เป็นการกระทำแทน ซ. หาได้ไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ฮ.โจทก์ไม่ใช่ทายาทของ ฮ. ผู้จัดการมรดกไม่มีหน้าที่จะต้องแสดงบัญชีต่อผู้ที่ไม่ใช่ทายาท
การที่ ซ. เสียภาษีที่ดินในนามของ ย.ไม่เป็นการแสดงว่าซ. ครอบครองที่ดินแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่โจทก์ขออ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่า ซ.เสียภาษีในนามของย. เมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้วจึงไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เป็นประเด็นว่า ทายาทอื่นหมดสิทธิหรือสละสิทธิรับมรดก และโจทก์ได้สิทธิอันใดเกินกว่าสิทธิของทายาทคนหนึ่งจะมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดิน 3 โฉนดเป็นมรดก ฯลฯ จำเลยเก็บรายได้มาแบ่งปันให้ทายาทเฉพาะที่ดินโฉนดที่ 446 ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2505 จำเลยให้ ส. เช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท ขอให้คิดบัญชีแบ่งดอกผลให้โจทก์ตามส่วนและแบ่งดอกผลตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจำเลยก็ไม่ปฏิเสธว่าไม่มีรายได้ กลับรับว่าเอารายได้มาแบ่งให้พวกของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ฮ. ดังนี้จำเลยจะอ้างว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมหาได้ไม่
ตัวทรัพย์ที่จำเลยให้เช่าเป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่ง จำเลยให้เช่าตั้งแต่สิงหาคม 2505 ก่อนวันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งดอกผลคือค่าเช่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2505 จนถึงวันฟ้องด้วย
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องความอย่างคนอนาถาย่อมเป็นที่สุดย่อมอุทธรณ์ฎีกาอีกไม่ได้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังศาลพิพากษา
โจทก์มิได้ฟ้องให้เอาสินสมรสใช้สินเดิม เป็นแต่บรรยายถึงสิทธิในการขอแบ่งสินสมรส จึงไม่ต้องระบุว่ามีทรัพย์อะไรเป็นสินเดิมไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม (อ้างฎีกาที่ 886/2479,1080/2497)
มรดกที่มีผู้จัดการ เมื่อยังมิได้แบ่งให้ทายาททุกคนการจัดการมรดกยังไม่เสร็จ การแบ่งมรดกต้องแบ่งตัวทรัพย์หรือเงินราคาตามมาตรา 1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงเป็นอย่างอื่นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทหาจำต้องแสดงเจตนาครอบครองต่อกันไม่ เมื่อนาง ซ. ซึ่งเป็นทายาทครอบครองทรัพย์มรดก ก็มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้จำเลยจะไปประกาศรับโอนมรดกอย่างใด หาอาจใช้ยัน ซ. ได้ไม่ และจำเลยจะอ้างอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ยัน ซ. ก็ไม่ได้เพราะ ซ. กับจำเลยครอบครองร่วมกัน
จำเลยมิได้เป็นทายาทของ ซ. จึงยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ซ. ไม่ได้
เมื่อ ย. ตายในปี 2490 ที่ดิน 3 ใน 7 ส่วน ทั้ง 3 โฉนด เป็นมรดกของ ย. ตกได้แก่ทายาทของ ย. คือบุตรของ ย. ที่เกิดจากสามีเก่าและสามีใหม่ มรดกของ ย. ไม่มีผู้จัดการมรดก คงมีแต่ทายาททายาททุกคนไม่อยู่ในฐานะจัดการมรดกแทนทายาทอื่น ถ้า ซ. บุตรของย. ฟ้องขอให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปี ซ. ก็มีสิทธิขอแบ่งมรดกย.3 ใน 7 ส่วนของที่ดินทั้ง 3 แปลง ถ้ามิได้ฟ้องภายใน 1 ปี ก็ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เว้นแต่ ซ. จะได้ครอบครองทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 หมายความว่าเมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีแล้ว ทายาทที่ครอบครองมรดกเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้เฉพาะทรัพย์ที่ตนครอบครองเท่านั้น เว้นแต่ทรัพย์มรดกนั้นไม่มีทายาทคนใดครอบครองเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้ทรัพย์มรดกนั้นทายาทเป็นเจ้าของร่วมกันตามมาตรา 1754 เมื่อ ซ. มารดาโจทก์ได้ครอบครองที่ดินมรดกโฉนดที่ 446 แปลงเดียว ส่วนที่ดินโฉนดที่ 942 และ 943 จำเลยทั้งห้าเป็นผู้ครอบครอง ซ. ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งเฉพาะที่ดินที่ตนครอบครอง โจทก์จะอ้างการจัดการมรดกของ ฮ. เป็นการกระทำแทน ซ. หาได้ไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ฮ.โจทก์ไม่ใช่ทายาทของ ฮ. ผู้จัดการมรดกไม่มีหน้าที่จะต้องแสดงบัญชีต่อผู้ที่ไม่ใช่ทายาท
การที่ ซ. เสียภาษีที่ดินในนามของ ย.ไม่เป็นการแสดงว่าซ. ครอบครองที่ดินแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่โจทก์ขออ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่า ซ.เสียภาษีในนามของย. เมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้วจึงไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เป็นประเด็นว่า ทายาทอื่นหมดสิทธิหรือสละสิทธิรับมรดก และโจทก์ได้สิทธิอันใดเกินกว่าสิทธิของทายาทคนหนึ่งจะมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดิน 3 โฉนดเป็นมรดก ฯลฯ จำเลยเก็บรายได้มาแบ่งปันให้ทายาทเฉพาะที่ดินโฉนดที่ 446 ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2505 จำเลยให้ ส. เช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท ขอให้คิดบัญชีแบ่งดอกผลให้โจทก์ตามส่วนและแบ่งดอกผลตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจำเลยก็ไม่ปฏิเสธว่าไม่มีรายได้ กลับรับว่าเอารายได้มาแบ่งให้พวกของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ฮ. ดังนี้จำเลยจะอ้างว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมหาได้ไม่
ตัวทรัพย์ที่จำเลยให้เช่าเป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่ง จำเลยให้เช่าตั้งแต่สิงหาคม 2505 ก่อนวันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งดอกผลคือค่าเช่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2505 จนถึงวันฟ้องด้วย
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องความอย่างคนอนาถาย่อมเป็นที่สุดย่อมอุทธรณ์ฎีกาอีกไม่ได้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังศาลพิพากษา
โจทก์มิได้ฟ้องให้เอาสินสมรสใช้สินเดิม เป็นแต่บรรยายถึงสิทธิในการขอแบ่งสินสมรส จึงไม่ต้องระบุว่ามีทรัพย์อะไรเป็นสินเดิมไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม (อ้างฎีกาที่ 886/2479,1080/2497)
มรดกที่มีผู้จัดการ เมื่อยังมิได้แบ่งให้ทายาททุกคนการจัดการมรดกยังไม่เสร็จ การแบ่งมรดกต้องแบ่งตัวทรัพย์หรือเงินราคาตามมาตรา 1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงเป็นอย่างอื่นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทหาจำต้องแสดงเจตนาครอบครองต่อกันไม่ เมื่อนาง ซ. ซึ่งเป็นทายาทครอบครองทรัพย์มรดก ก็มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้จำเลยจะไปประกาศรับโอนมรดกอย่างใด หาอาจใช้ยัน ซ. ได้ไม่ และจำเลยจะอ้างอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ยัน ซ. ก็ไม่ได้เพราะ ซ. กับจำเลยครอบครองร่วมกัน
จำเลยมิได้เป็นทายาทของ ซ. จึงยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ซ. ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก, สิทธิในที่ดิน, ค่าเช่า, และการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน
โจทก์เป็นบุตรคนเดียวของ ซ. ซึ่งเป็นบุตรของ ย. เมื่อ ฮ. ซึ่งเป็นสามีของ ย. ตาย มรดกของ ฮ. คงมีเฉพาะ 2 ใน 3 ของที่ดิน 3 โฉนด ผู้จัดการมรดกของ ฮ.มีสิทธิจัดการได้เฉพาะมรดกของ ฮ. ตอนนี้ ซ.มารดาโจทก์มิได้เป็นทายาทของ ฮ. ไม่มีสิทธิในที่ดิน 3 แปลงนี้ เพราะ ย.มารดาของ ซซึ่งเป็นมารดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ ผู้จัดการมรดกจึงไม่ได้กระทำอะไรแทน ซ. ย.คงมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน 3 โฉนดทุกแปลง
เมื่อ ย. ตายในปี 2490 ที่ดิน 3 ใน 7 ส่วน ทั้ง 3 โฉนด เป็นมรดกของ ย.ตกได้แก่ทายาทของ ย. คือบุตรของ ย.ที่เกิดจากสามีเก่าและสามีใหม่ มรดกของ ย.ไม่มีผู้จัดการมรดก คงมีแต่ทายาท ทายาททุกคนไม่อยู่ในฐานะจัดการมรดกแทนทายาทอื่น ถ้า ซ. บุตรของ ย.ฟ้องขอให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปี ซ.ก็มีสิทธิขอแบ่งมรดก ย.3 ใน 7 ส่วนของที่ดินทั้ง 3 แปลง ถ้ามิได้ฟ้องภายใน 1 ปี ก็ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เว้นแต่ ซ.จะได้ครอบครองทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 หมายความว่า เมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีแล้ว ทายาทที่ครอบครองมรดกเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้เฉพาะทรัพย์ที่ตนครอบครองเท่านั้น เว้นแต่ทรัพย์มรดกนั้นไม่มีทายาทคนใดครอบครองเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้ทรัพย์มรดกนั้นทายาทเป็นเจ้าของร่วมกันตามมาตรา 1755 เมื่อ ซ.มารดาโจทก์ได้ครอบครองที่ดินมรดกโฉนดที่ 446 แปลงเดียว ส่วนที่ดินโฉนดที่ 942 และ 943 จำเลยทั้งห้าเป็นผู้ครอบครอง ซ.ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งเฉพาะที่ดินที่ตนครอบครอง โจทก์จะอ้างการจัดการมรดกของ ฮ.เป็นการกระทำแทน ซ.หาได้ไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ฮ.โจทก์ไม่ใช่ทายาทของ ฮ. ผู้จัดการมรดกไม่มีหน้าที่จะต้องแสดงบัญชีต่อผู้ที่ไม่ใช่ทายาท
การที่ ซ.เสียภาษีที่ดินในนามของ ย.ไม่เป็นการแสดงว่า ซ.ครอบครองที่ดินแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่โจทก์ขออ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่า ซ.เสียภาษีในนามของ ย.เมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้ว จึงไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เป็นประเด็นว่า ทายาทอื่นหมดสิทธิหรือสละสิทธิรับมรดก และโจทก์ได้สิทธิอันใดเกินกว่าสิทธิของทายาทคนหนึ่ง จะมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดิน 3 โฉนดเป็นมรดก ฯลฯ จำเลยเก็บรายได้มาแบ่งปันให้ทายาทเฉพาะที่ดินโฉนดที่ 446 ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2505 จำเลยให้ ส. เช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท ขอให้คิดบัญชีแบ่งดอกผลให้โจทก์ตามส่วนและแบ่งดอกผลตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จำเลยก็ไม่ปฏิเสธว่าไม่มีรายได้ กลับรับว่าเอารายได้มาแบ่งให้พวกของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ฮ.ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมหาได้ไม่
ตัวทรัพย์ที่จำเลยให้เช่าเป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่ง จำเลยให้เช่าตั้งแต่สิงหาคม 2505 ก่อนวันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับแบ่งดอกผลคือค่าเช่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2505 จนถึงวันฟ้องด้วย
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องความอย่างคนอนาถาย่อมเป็นที่สุดย่อมอุทธรณ์ฎีกาอีกไม่ได้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังศาลพิพากษา
โจทก์มิได้ฟ้องให้เอาสินสมรสใช้สินเดิม เป็นแต่บรรยายถึงสิทธิในการขอแบ่งสินสมรส จึงไม่ต้องระบุว่ามีทรัพย์อะไรเป็นสินเดิม ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม (อ้างฎีกาที่ 886/2479, 1080/2497)
มรดกที่มีผู้จัดการ เมื่อยังมิได้แบ่งให้ทายาททุกคน การจัดการมรดกยังไม่เสร็จ การแบ่งมรดกต้องแบ่งตัวทรัพย์หรือเงินราคาตามมาตรา 1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงเป็นอย่างอื่น จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทจำต้องแสดงเจตนาครอบครองต่อกันไม่ เมื่อนาง ซ.ซึ่งเป็นทายาทครอบครองทรัพย์มรดก ก็มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ จำเลยจะไปประกาศรับโอนมรดกอย่างใด หาอาจใช้ยัน ซ.ได้ไม่ และจำเลยจะอ้างอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้ยัน ซ.ก็ไม่ได้เพราะ ซ.กับจำเลยครอบครองร่วมกัน
จำเลยมิได้เป็นทายาทของ ซ.จึงยกอายุความ 1 ปี ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ซ.ไม่ได้
เมื่อ ย. ตายในปี 2490 ที่ดิน 3 ใน 7 ส่วน ทั้ง 3 โฉนด เป็นมรดกของ ย.ตกได้แก่ทายาทของ ย. คือบุตรของ ย.ที่เกิดจากสามีเก่าและสามีใหม่ มรดกของ ย.ไม่มีผู้จัดการมรดก คงมีแต่ทายาท ทายาททุกคนไม่อยู่ในฐานะจัดการมรดกแทนทายาทอื่น ถ้า ซ. บุตรของ ย.ฟ้องขอให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปี ซ.ก็มีสิทธิขอแบ่งมรดก ย.3 ใน 7 ส่วนของที่ดินทั้ง 3 แปลง ถ้ามิได้ฟ้องภายใน 1 ปี ก็ต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 เว้นแต่ ซ.จะได้ครอบครองทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 หมายความว่า เมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปีแล้ว ทายาทที่ครอบครองมรดกเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกได้เฉพาะทรัพย์ที่ตนครอบครองเท่านั้น เว้นแต่ทรัพย์มรดกนั้นไม่มีทายาทคนใดครอบครองเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้ทรัพย์มรดกนั้นทายาทเป็นเจ้าของร่วมกันตามมาตรา 1755 เมื่อ ซ.มารดาโจทก์ได้ครอบครองที่ดินมรดกโฉนดที่ 446 แปลงเดียว ส่วนที่ดินโฉนดที่ 942 และ 943 จำเลยทั้งห้าเป็นผู้ครอบครอง ซ.ก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งเฉพาะที่ดินที่ตนครอบครอง โจทก์จะอ้างการจัดการมรดกของ ฮ.เป็นการกระทำแทน ซ.หาได้ไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ฮ.โจทก์ไม่ใช่ทายาทของ ฮ. ผู้จัดการมรดกไม่มีหน้าที่จะต้องแสดงบัญชีต่อผู้ที่ไม่ใช่ทายาท
การที่ ซ.เสียภาษีที่ดินในนามของ ย.ไม่เป็นการแสดงว่า ซ.ครอบครองที่ดินแต่อย่างใด ฉะนั้น การที่โจทก์ขออ้างพยานหลักฐานเพิ่มเติมว่า ซ.เสียภาษีในนามของ ย.เมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้ว จึงไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เป็นประเด็นว่า ทายาทอื่นหมดสิทธิหรือสละสิทธิรับมรดก และโจทก์ได้สิทธิอันใดเกินกว่าสิทธิของทายาทคนหนึ่ง จะมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดิน 3 โฉนดเป็นมรดก ฯลฯ จำเลยเก็บรายได้มาแบ่งปันให้ทายาทเฉพาะที่ดินโฉนดที่ 446 ต่อมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2505 จำเลยให้ ส. เช่า ได้ค่าเช่าเดือนละ 12,000 บาท ขอให้คิดบัญชีแบ่งดอกผลให้โจทก์ตามส่วนและแบ่งดอกผลตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป จำเลยก็ไม่ปฏิเสธว่าไม่มีรายได้ กลับรับว่าเอารายได้มาแบ่งให้พวกของจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ฮ.ดังนี้ จำเลยจะอ้างว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุมหาได้ไม่
ตัวทรัพย์ที่จำเลยให้เช่าเป็นมรดกที่โจทก์มีสิทธิได้ส่วนแบ่ง จำเลยให้เช่าตั้งแต่สิงหาคม 2505 ก่อนวันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับแบ่งดอกผลคือค่าเช่าตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2505 จนถึงวันฟ้องด้วย
คำสั่งศาลที่อนุญาตให้โจทก์ฟ้องความอย่างคนอนาถาย่อมเป็นที่สุดย่อมอุทธรณ์ฎีกาอีกไม่ได้ ไม่ว่าก่อนหรือหลังศาลพิพากษา
โจทก์มิได้ฟ้องให้เอาสินสมรสใช้สินเดิม เป็นแต่บรรยายถึงสิทธิในการขอแบ่งสินสมรส จึงไม่ต้องระบุว่ามีทรัพย์อะไรเป็นสินเดิม ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม (อ้างฎีกาที่ 886/2479, 1080/2497)
มรดกที่มีผู้จัดการ เมื่อยังมิได้แบ่งให้ทายาททุกคน การจัดการมรดกยังไม่เสร็จ การแบ่งมรดกต้องแบ่งตัวทรัพย์หรือเงินราคาตามมาตรา 1750 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากตกลงเป็นอย่างอื่น จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทจำต้องแสดงเจตนาครอบครองต่อกันไม่ เมื่อนาง ซ.ซึ่งเป็นทายาทครอบครองทรัพย์มรดก ก็มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ จำเลยจะไปประกาศรับโอนมรดกอย่างใด หาอาจใช้ยัน ซ.ได้ไม่ และจำเลยจะอ้างอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้ยัน ซ.ก็ไม่ได้เพราะ ซ.กับจำเลยครอบครองร่วมกัน
จำเลยมิได้เป็นทายาทของ ซ.จึงยกอายุความ 1 ปี ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ ซ.ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1296/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอพิจารณาใหม่เมื่อพฤติการณ์นอกเหนือควบคุมทำให้ไม่สามารถดำเนินการภายในกำหนดเวลาได้
ตั้งแต่โจทก์เริ่มฟ้องคดีจนถึงขั้นออกคำบังคับคดี โจทก์ได้ใช้วิธีขอให้ศาลประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ให้จำเลยแก้คดี กำหนดวันสืบพยานและประกาศให้จำเลยทราบคำบังคับตลอดมา เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์ได้ขอให้บังคับคดียึดสวนยางของจำเลยอันอยู่ในหมู่เดียวกับภูมิลำเนาที่จำเลยอยู่ตามฟ้องโจทก์ จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ อ้างว่าจำเลยไม่ได้ไปจากบ้านตามภูมิลำเนาที่ปรากฏอยู่ตามฟ้อง คงอยู่ที่ภูมิลำเนาของจำเลยตลอดมาจำเลยยังไม่ทราบคำบังคับของศาล เมื่อจำเลยถูกยึดทรัพย์ จำเลยไม่ทราบว่าถูกยึดและถูกฟ้องด้วยเรื่องอะไร บ้านจำเลยอยู่ไกลตัวเมืองห่างความเจริญ ไม่มีหนังสือพิมพ์จะอ่านหากตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนดังกล่าว ประกอบกับข้อที่จำเลยกล่าวอ้างเป็นความจริงย่อมถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้และพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นี้ เพิ่งสิ้นสุดลงเมื่อจำเลยได้ไปยื่นคำขอตรวจและคัดสำนวนต่อศาลที่ได้ออกคำบังคับ ทราบแน่ว่าจำเลยถูกฟ้องด้วยเรื่องอะไร และศาลได้มีคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้ว ซึ่งต่อจากนั้นอีก 7 วันจำเลยได้ไปยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ จึงยื่นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1296/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอพิจารณาคดีใหม่หลังถูกบังคับคดี: พฤติการณ์นอกเหนือควบคุมและระยะเวลาการยื่นคำร้อง
ตั้งแต่โจทก์เริ่มฟ้องคดีจนถึงขั้นออกคำบังคับคดี โจทก์ได้ใช้วิธีขอให้ศาลประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ให้จำเลยแก้คดี กำหนดวันสืบพยานและประกาศให้จำเลยทราบคำบังคับตลอดมา เมือจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ โจทก์ได้ขอให้บังคับคดียึดสวนยางของจำเลยอันอยู่ในหมู่เดียวกับภูมิลำเนาที่จำเลยอยู่ตามฟ้องโจทก์ จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ อ้างว่าจำเลยไม่ได้ไปจากบ้านตามภูมิลำเนาที่ปรากฏอยู่ตามฟ้อง คงอยู่ที่ภูมิลำเนาของจำเลยตลอดมาจำเลยยังไม่ทราบคำบังคับของศาล เมื่อจำเลยถูกยึดทรัพย์ จำเลยไม่ทราบว่าถูกยึดและถูกฟ้องด้วยเรื่องอะไร บ้านจำเลยอยู่ไกลตัวเมืองห่างความเจริญ ไม่มีหนังสือพิมพ์จะอ่านหากตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนดังกล่าว ประกอบกับข้อที่จำเลยกล่าวอ้างเป็นความจริงย่อมถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ และพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นี้ เพิ่งสิ้นสุดลงเมื่อจำเลยได้ไปยื่นคำขอตรวจและคัดสำเนาต่อศาลที่ได้ออกคำบังคับ ทราบแน่ว่าจำเลยถูกฟ้องด้วยเรื่องอะไร และศาลได้มีคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้ว ซึ่งต่อจากนั้นอีก 7 วันจำเลยได้ไปยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ จึงยื่นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดในหนี้ของห้างหุ้นส่วน และอายุความของหนี้การค้า
โจทก์เป็นพ่อค้า ฟ้องเรียกเอาค่าส่งมอบน้ำมันให้ห้างหุ้นส่วนเหมืองแร่เพื่อนำไปเดิดเครื่องยนต์ในการผลิตแร่ดีบุกของห้างหุ้นส่วนเหมืองแร่ เป็นการทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายลูกหนี้เอง จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้าย
คำบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรค 2
คำบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ซื้อเชื่อเพื่ออุตสาหกรรม และความรับผิดของหุ้นส่วนในสัญญาซื้อขาย
โจทก์เป็นพ่อค้า ฟ้องเรียกเอาค่าส่งมอบน้ำมันให้ห้างหุ้นส่วนเหมืองแร่เพื่อนำไปเดินเครื่องยนต์ในการผลิตแร่ดีบุกของห้างหุ้นส่วนเหมืองแร่ เป็นการ ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายลูกหนี้เอง จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้าย
คำบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
คำบรรยายฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาจำนองเนื่องจากเจตนาทุจริตของผู้รับจำนองและผู้จำนองร่วมกัน
โจทก์ครอบครองที่นาพิพาท 30-40 ปี อยู่ตำบลหนึ่ง จำเลยที่ 1, 2 อยู่อีกตำบลหนึ่งไม่เคยมาเกี่ยวข้องกับที่พิพาทเลย โจทก์จำเลยที่ 1 ไปแจ้งว่าโฉนดที่พิพาทหายไป ขอใบแทน แล้วจำเลยที่ 1 รีบไปรับเอาใบแทนไปเสียก่อน แล้วจำเลยที่ 1, 2 ทำรับมรดกและทำจำนองไม่เคยขอดูหลักฐานหนังสือสำคัญว่าที่ที่รับจำนองมีเนื้อที่เท่าใดมีชื่อใครเป็นเจ้าของผู้ครอบครองอยู่ และมิได้ตรวจดูสภาพของที่ที่รับจำนองก่อนว่าจะคุ้มกับจำนวนเงินหรือไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1, 2 เพื่อให้ได้มาซึ่งใบแทนโฉนด โอนรับมรดกเป็นไปในลักษณะช่วงชิงฉวยโอกาส และทำจำนองในวันเดียวกัน โดยพฤติการณ์และเหตุผลส่อแสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสามได้รู้เห็นร่วมกันมาตลอดเรื่อง อันเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทได้รับความเสียหายชอบที่ศาลจะเพิกถอนสัญญาจำนองระหว่างจำเลยทั้งสามเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนจำนองจากพฤติการณ์ฉวยโอกาสและไม่สุจริตของผู้กู้และผู้ให้จำนอง
โจทก์ครอบครองที่นาพิพาท 30 - 40 ปี อยู่ตำบลหนึ่ง จำเลยที่ 1, 2 อยู่อีกตำบลหนึ่งไม่เคยมาเกี่ยวข้องกับที่พิพาทเลย โจทก์จำเลยที่ 1 ไปแจ้งว่าโฉนดที่พิพาทหายไป ขอใบแทน แล้วจำเลยที่ 1 รีบไปรับเอาใบแทนไปเสียก่อน แล้วจำเลยที่ 1,2 ทำรับมรดกและทำจำนองไม่เคยขอดูหลักฐานหนังสือสำคัญว่าที่ที่รับจำนองมีเนื้อที่เท่าใดมีชื่อใครเป็นเจ้าของผู้ครอบครองอยู่ และมิได้ตรวจดูสภาพของที่ที่รับจำนองก่อนว่าจะคุ้มกับจำนวนเงินหรือไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1,2 เพื่อให้ได้มาซึ่งใบแทนโฉนด โอนรับมรดกเป็นไปในลักษณะช่วงชิงฉวยโอกาส และทำจำนองในวันเดียวกัน โดยพฤติการณ์และเหตุผลส่อแสดงให้เห็นว่า จำเลยทั้งสามได้รู้เห็นร่วมกันมาตลอดเรื่อง อันเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทได้รับความเสียหาย ชอบที่ศาลจะเพิกถอนสัญญาจำนองระหว่างจำเลยทั้งสามเสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเด็กและเยาวชนเมื่อศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นฝึกอบรม ไม่เกิน 5 ปี
คดีอาญาของศาลคดีเด็กและเยาวชนซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างโดยให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางนั้นถือว่าศาลมิได้ลงโทษจำเลยโดยจำคุกเกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218