คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วงษ์ วีระพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 586 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันเวลาในคำฟ้องไม่เป็นสาระสำคัญ หากจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้ ศาลลงโทษตามข้อเท็จจริงได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ในวันที่ 20 ตุลาคม 2508 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2508 เวลา3 นาฬิกาเศษ วันเวลาตามที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับวันเวลาดังที่กล่าวในฟ้อง ดังนี้ วันเวลาในคำฟ้องไม่เป็นสารสำคัญของคำฟ้องเป็นแต่รายละเอียดเพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันเวลาในคำฟ้องไม่เป็นสาระสำคัญ หากจำเลยไม่หลงข้อต่อสู้ ศาลลงโทษตามข้อเท็จจริงได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ในวันที่ 20 ตุลาคม 2508 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2508 เวลา 3 นาฬิกาเศษ วันเวลาตามที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับเวลาดังที่กล่าวในฟ้อง ดังนี้ วันเวลาในคำฟ้องไม่เป็นสารสำคัญของคำฟ้อง เป็นแต่รายละเอียดเพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรังวัดที่ดิน: การแก้ไขผลรังวัดเดิมด้วยวิธีที่แม่นยำกว่าย่อมชอบธรรม แม้มีการโต้แย้ง
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลให้แบ่งแยกที่พิพาทออกเป็น 3 ส่วน โดยให้เส้นแบ่งแยกตั้งได้ฉากกับถนน ศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้ว ช่างรังวัดของสำนักงานที่ดินได้ทำการรังวัดปักหลักเขตแบ่งแยกที่ดินให้ตามสัญญายอม โจทก์จำเลยได้ลงชื่อรับรองการรังวัดนั้น ต่อมาโจทก์เห็นว่าเส้นแบ่งเขตไม่ตั้งได้ฉากกับถนนตามสัญญายอมโดยการรังวัดของเจ้าพนักงานคลาดเคลื่อนไป โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้ศาลสั่งให้มีการรังวัดตรวจสอบใหม่ได้ ลำพังที่โจทก์จำเลยลงชื่อรับรองการรังวัดนั้น จะถือว่าโจทก์จำเลยรับรองว่าแผนที่ได้ทำขึ้นถูกต้องตามสัญญายอมต้องถือเป็นยุติแล้วหาได้ไม่
สำนักงานที่ดินมีหนังสืออธิบายต่อศาลว่า การรังวัดด้วยวิธีเจาะช่องส่องกล้องและบังธงอาจคลาดเคลื่อนได้ ถ้ารังวัดด้วยกล้องธีโอโดไลท์โดยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวางออกให้กล้องสามารถส่องไปถึงจุดที่หมายได้แล้ววัดระยะอีกครั้งหนึ่ง จะได้ความจริงถูกต้องและแน่นอน ศาลชั้นต้นแจ้งให้คู่ความทราบ จำเลยได้ยินยอมให้รังวัดใหม่ด้วยกล้องธีโอโดไลท์ ต่อมาสำนักงานที่ดินมีหนังสือรายงานศาลว่าช่างรังวัดได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินด้วยกล้องธีโอโดไลท์ตามสัญญายอมแล้ว ศาลชั้นต้นแจ้งให้คู่ความทราบจำเลยปฏิเสธไม่รับรองการรังวัดครั้งหลัง ศาลชั้นต้นได้สั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า เจ้าหน้าที่รับรองว่าการรังวัดครั้งหลังใช้วิธีการเครื่องมือที่แน่นอนกว่า คือ ใช้กล้องส่องแทนที่ใช้โซ่ลากอย่างคราวแรก ถือได้ว่าการรังวัดครั้งหลังถูกต้องยิ่งกว่าคราวแรกให้โจทก์จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกตามที่ได้รังวัดครั้งหลังนี้ นั้น ศาลฎีกาเห็นว่าศาลชั้นต้นได้รับฟังหนังสือรายงานของสำนักงานที่ดินเป็นหลักฐาน พิเคราะห์ในการสั่งเป็นการไต่สวนอยู่แล้ว เห็นว่าศาลชั้นต้นไม่จำต้องทำการไต่สวนอย่างใดต่อไปอีกตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสองและสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรังวัดที่ดิน: ศาลใช้รายงานสำนักงานที่ดินเป็นหลักฐานพิสูจน์ความถูกต้องของการรังวัดใหม่ด้วยเครื่องมือที่แม่นยำกว่า
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลให้แบ่งแยกที่พิพาทออกเป็น 3
ส่วน โดยให้เส้นแบ่งแยกตั้งได้ฉากกับถนน ศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้ว ช่างรังวัดของสำนักงานที่ดินได้ทำการรังวัดปักหลักเขตแบ่งแยกที่ดินให้ตามสัญญายอม โจทก์จำเลยได้ลงชื่อรับรองการรังวัดนั้น ต่อมาโจทก์เห็นว่าเส้นแบ่งเขตไม่ตั้งได้ฉากกับถนนตามสัญญายอม โดยการรังวัดของเจ้าพนักงานคลาดเคลื่อนไป โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้ศาลสั่งให้มีการรังวัดตรวจสอบใหม่ได้ ลำพังที่โจทก์จำเลยลงชื่อรับรองการรังวัดนั้น จะถือว่าโจทก์จำเลยรับรองว่าแผนที่ได้ทำขึ้นถูกต้องตามสัญญายอมต้องถือเป็นยุติแล้วหาได้ไม่
สำนักงานที่ดินมีหนังสืออธิบายต่อศาลว่า การรังวัดด้วยวิธีเจาะช่องส่องกล้องและบังธงอาจคลาดเคลื่อนได้ ถ้ารังวัดด้วยกล้องธีโอโดไลท์โดยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่กีดขวางออกให้กล้องสามารถส่องไปถึงจุดที่หมายได้แล้ววัดระยะอีกครั้งหนึ่ง จะได้ความจริงถูกต้องและแน่นอน ศาลชั้นต้นแจ้งให้คู่ความทราบ จำเลยได้ยินยอมให้รังวัดใหม่ด้วยกล้องธีโอไดไลท์ ต่อมาสำนักงานที่ดินมีหนังสือรายงานศาลว่า ช่างรังวัดได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินด้วยกล้องธีโอโดไลท์ตามสัญญายอมแล้ว ศาลชั้นต้นแจ้งให้คู่ความทราบจำเลยปฏิเสธไม่รับรองการรังวัดครั้งหลัง ศาลชั้นต้นได้สั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า เจ้าหน้าที่รับรองว่าการรังวัดครั้งหลังใช้วิธีการเครื่องมือที่แน่นอนกว่า คือ ใช้กล้องส่องแทนที่ใช้โซ่ลากอย่างคราวแรก ถือได้ว่าการรังวัดครั้งหลังถูกต้องยิ่งกว่าคราวแรกให้โจทก์จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกตามที่ได้รังวัดครั้งหลังนี้ นั้น ศาลฎีกาเห็นว่าศาลชั้นต้นได้รับฟังหนังสือรายงานของสำนักงานที่ดินเป็นหลักฐาน พิเคราะห์ในการสั่งเป็นการไต่สวนอยู่แล้ว เห็นว่าศาลชั้นต้นไม่จำต้องทำการไต่สวนอย่างใดต่อไปอีกตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรค 2 และ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของเช่าซื้อในการติดตามเรียกคืนทรัพย์สินจากผู้รับจำนำ แม้มีข้อจำกัดตามพรบ.โรงรับจำนำ
เจ้าของจักรได้ให้เช่าซื้อจักรไปโดยมีข้อสัญญาว่าผู้เช่าซื้อจะไม่นำไปจำนำแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้เช่าซื้อนำไปจำนำ โจทก์ผู้เป็นเจ้าของชอบที่จะกลับเข้าครอบครองจักรรายพิพาทได้ และใช้สิทธิติดตามฟ้องเรียกคืนจากผู้รับจำนำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 เว้นแต่ผู้รับจำนำจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ แต่ปรากฏว่าเวลาที่รับจำนำจักรรายพิพาทยังอยู่ในระหว่างเวลาที่พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2480 และพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2484 ยังใช้บังคับ ซึ่งกำหนดให้โรงรับจำนำรับจำนำแต่ละรายไม่เกิน 400 บาท เมื่อผู้รับจำนำรับจำนำไว้แต่ละรายเกินกว่า 400 บาท ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำดังกล่าว ส่วนพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ก็ไม่อาจนำมาใช้บังคับ เพราะผู้รับจำนำรับจำนำไว้ก่อน โจทก์ไม่จำต้องนำสืบว่าผู้เช่าซื้อมีเจตนาทุจริตหรือไม่และไม่จำต้องฟ้องเรียกร้องตามสัญญาจากผู้ค้ำประกันก่อน โจทก์มีสิทธิติดตามฟ้องเรียกจักรรายพิพาทคืนจากผู้รับจำนำได้โดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของเช่าซื้อในการติดตามเอายานพาหนะคืนจากโรงรับจำนำ แม้เกินวงเงินจำกัดตามกฎหมาย
เจ้าของจักรได้ให้เช่าซื้อจักรไปโดยมีข้อสัญญาว่าผู้เช่าซื้อจะไม่นำไปจำนำแก่บุคคลอื่น เมื่อผู้เช่าซื้อนำไปจำนำ โจทก์ผู้เป็นเจ้าของชอบที่จะกลับเข้าครอบครองจักรรายพิพาทได้ และใช้สิทธิติดตามฟ้องเรียกคืนจากผู้รับจำนำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 เว้นแต่ผู้รับจำนำจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำแต่ปรากฏว่าเวลาที่รับจำนำจักรรายพิพาทยังอยู่ในระหว่างเวลาที่พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2480 และพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2484 ยังใช้บังคับ ซึ่งกำหนดให้โรงรับจำนำรับจำนำแต่ละรายไม่เกิน 400 บาท เมื่อผู้รับจำนำรับจำนำไว้แต่ละรายเกินกว่า 400บาท ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำดังกล่าว ส่วนพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ. 2505 ก็ไม่อาจนำมาใช้บังคับ เพราะผู้รับจำนำรับจำนำไว้ก่อน โจทก์ไม่จำต้องนำสืบว่าผู้เช่าซื้อมีเจตนาทุจริตหรือไม่และไม่จำต้องฟ้องเรียกร้องตามสัญญาจากผู้ค้ำประกันก่อน โจทก์มีสิทธิติดตามฟ้องเรียกจักรรายพิพาทคืนจากผู้รับจำนำได้โดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในตัวบุคคลและการป้องกันเกินกว่ากรณี: ความผิดฐานฆ่าโดยเจตนาและประมาท
จำเลยใช้ปืนยิงเด็กซึ่งส่องไฟหากบที่ริมรั้วบ้านจำเลยถึงแก่ความตายโดยจำเลยสำคัญผิดว่าเป็นคนร้ายจะมาฆ่าพี่จำเลย เป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288,69
ความสำคัญผิดว่ามีภยันตรายอันต้องป้องกันนั้น เป็นความสำคัญผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 62 ไม่ใช่มาตรา 61
ความสำคัญผิดตามมาตรา 61 เป็นเรื่องสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งแม้จะกระทำต่อบุคคลใดก็เป็นผิดทั้งนั้น ส่วนความสำคัญผิดตามมาตรา 62 นั้น เป็นความสำคัญผิดซึ่งทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด หรือทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษหรือได้รับโทษน้อยลงได้
จำเลยยิงคนตายโดยสำคัญผิดว่าเป็นคนร้าย เป็นการกระทำโดยเจตนาแต่เป็นการป้องกันซึ่งเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน จึงเป็นผิดตามมาตรา 288,69 และความสำคัญผิดนั้นก็เกิดโดยความประมาทของจำเลย เช่นนี้จำเลยย่อมผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท โดยผลของมาตรา 62วรรคสอง ด้วย กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษในเรื่องฆ่าโดยป้องกันเกินกว่ากรณี อันเป็นบทหนักตามมาตรา 90 แต่ถ้าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ซึ่งไม่เป็นความผิดก็คงเหลือเพียงความผิดในส่วนที่สำคัญผิดโดยประมาทตามมาตรา 62วรรคสอง คือความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทตามมาตรา 291 ฐานเดียว
ผู้ที่กระทำการป้องกันด้วยกันหาได้ร่วมกันกระทำผิดไม่ เมื่อผลของการกระทำของผู้นั้นไม่เป็นอันตรายแก่ผู้ใด ผู้นั้นก็ย่อมไม่มีความผิด แม้ว่าผู้ร่วมป้องกันคนอื่นจะได้รับโทษฐานป้องกันเกินกว่ากรณีจากผลแห่งการกระทำส่วนของคนอื่นนั้นก็ตาม (ประชุมใหญ่ ครั้งที่10/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฆ่าโดยป้องกันเกินกว่ากรณี และการปรับบทความผิดโดยประมาท
จำเลยใช้ปืนยิงเด็กซึ่งส่องไฟหากบที่ริมรั้วบ้านจำเลยถึงแก่ความตาย โดยจำเลยสำคัญผิดว่าเป็นคนร้ายจะมาฆ่าพี่จำเลย เป็นการป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288, 69
ความสำคัญผิดว่ามีภยันตรายอันต้องป้องกันนั้น เป็นความสำคัญผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 62 ไม่ใช่มาตรา 61
ความสำคัญผิดตามมาตรา 61 เป็นเรื่องสำคัญผิดในตัวบุคคล ซึ่งแม้จะกระทำต่อบุคคลใดก็เป็นผิดทั้งนั้น ส่วนความสำคัญผิดตามมาตรา 62 นั้น เป็นความสำคัญผิดซึ่งทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด หรือทำให้ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับโทษน้อยลงได้
จำเลยยิงคนตายโดยสำคัญผิดว่าเป็นคนร้าย เป็นการกระทำโดยเจตนาแต่เป็นการป้องกันซึ่งเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน จึงเป็นผิดตามมาตรา 288, 69 และความสำคัญผิดนั้นก็เกิดโดยความประมาทของจำเลย เช่นนี้ จำเลยย่อมผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาท โดยผลของมาตรา 62 วรรค 2 ด้วย กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงต้องลงโทษในเรื่องฆ่าโดยป้องกันเกินกว่ากรณี อันเป็นบทหนักตามมาตรา 90 แต่ถ้าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ซึ่งไม่เป็นความผิด ก็คงเหลือเพียงความผิดในส่วนที่สำคัญผิดโดยประมาทตามมาตรา 62 วรรค 2 คือความผิดฐานทำให้คนตายโดยประมาทตามมาตรา 291 ฐานเดียว
ผู้ที่กระทำการป้องกันด้วยกันหาได้ร่วมกันกระทำผิดไม่ เมื่อผลของการกระทำของผู้นั้นไม่เป็นอันตรายแก่ผู้ใด ผู้นั้นก็ย่อมไม่มีความผิด แม้ว่าผู้ร่วมป้องกันคนอื่นจะได้รับโทษฐานป้องกันเกินกว่ากรณีจากผลแห่งการกระทำส่วนของคนอื่นนั้นก็ตาม (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2510)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิด: แม้มีสัญญาระหว่างโจทก์กับบุคคลภายนอก จำเลยยังต้องรับผิดชอบความเสียหายจากการกระทำของลูกจ้าง
แม้นายหัดผู้เช่ารถโจทก์จะมีข้อสัญญารับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาเช่าด้วยประการใดๆ ก็ตาม ก็เป็นเรื่องระหว่างนายหัดกับโจทก์ ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จำเลยที่ 2 จ้าง จำเลยที่ 2 ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกจ้าง จำเลยที่ 2 จะอ้างเอาสัญญาระหว่างโจทก์กับบุคคลภายนอกมาเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของลูกจ้างและนายจ้าง แม้มีสัญญาเช่าระบุความรับผิดของผู้เช่า
แม้นายหัดผู้เช่ารถโจทก์จะมีข้อสัญญารับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาเช่าด้วยประการใด ๆ ก็ตาม ก็เป็นเรื่องระหว่างนายหัดกับโจทก์ ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์โดยตรง เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จำเลยที่ 2 จ้าง จำเลยที่ 2 ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกจ้าง จำเลยที่ 2 จะอ้างเอาสัญญาระหว่างโจทก์กับบุคคลภายนอกมาเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้
of 59