คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วงษ์ วีระพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 586 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1537/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมุห์บัญชีอำเภอ ยักยอกเงินภาษีเข้าตนเอง มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์
จำเลยเป็นสมุห์บัญชีอำเภอ. ไปเร่งรัดภาษีจากผู้ค้างภาษี. ผู้ค้างภาษีจึงได้ชำระเงินภาษีให้จำเลยมา. จำเลยหาได้ส่งเงินดังกล่าวต่อกรรมการรักษาเงินหรือต่อคลังจังหวัดตามระเบียบไม่. จำเลยกลับนำเงินเหล่านั้นไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย. จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,151 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2502 มาตรา 3,7. แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะส่งเงินทะยอยคืน. ก็หาทำให้การกระทำของจำเลยที่เกิดเป็นความผิดขึ้นแล้ว.กลับกลายเป็น.ไม่.เป็นความผิด.ไม่.
เงินภาษีอากรที่จำเลยเก็บมาดังกล่าวเป็นของรัฐบาล. เมื่อจำเลยยักยอกเอาไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย รัฐบาลย่อมเป็นผู้เสียหาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1537/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมุห์บัญชีอำเภอ ยักยอกเงินภาษีอากรของรัฐบาลเข้าใช้ส่วนตัว มีความผิดอาญา แม้จะคืนเงินภายหลังก็ไม่ทำให้ความผิดนั้นหมดไป
จำเลยเป็นสมุห์บัญชีอำเภอ ไปเร่งรัดภาษีจากผู้ค้างภาษีผู้ค้างภาษีจึงได้ชำระเงินภาษีให้จำเลยมา จำเลยหาได้ส่งเงินดังกล่าวต่อกรรมการรักษาเงินหรือต่อคลังจังหวัดตามระเบียบไม่ จำเลยกลับนำเงินเหล่านั้นไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,151 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2502 มาตรา 3,7 แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะส่งเงินทะยอยคืนก็หาทำให้การกระทำของจำเลยที่เกิดเป็นความผิดขึ้นแล้วกลับกลายเป็น ไม่ เป็นความผิด ไม่
เงินภาษีอากรที่จำเลยเก็บมาดังกล่าวเป็นของรัฐบาล เมื่อจำเลยยักยอกเอาไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย รัฐบาลย่อมเป็นผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำทางน้ำผ่านที่ดินต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อน หากมีการเวนคืนที่ดินแล้ว สิทธิเรียกร้องเพื่อฟื้นฟูสภาพเดิมสิ้นสุด
ตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 ที่ว่า เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการชลประทาน. ถ้าไม่สามารถจะทำได้โดยวิธีอื่น. ให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ห่างทางน้ำหรือแหล่งน้ำใดมีสิทธิทำทางน้ำผ่านที่ดินของผู้อื่นได้. ในเมื่อนายช่างชลประทาน ข้าหลวงประจำจังหวัดหรือนายอำเภอได้อนุญาตและกำหนดให้โดยกว้างรวมทั้งที่ทิ้งดินด้วยไม่เกินสิบเมตร. แต่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินที่ทางน้ำผ่านนั้น. หมายความว่าต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเสียก่อน จึงจะมีสิทธิทำทางน้ำผ่านที่ดินได้.
แม้ที่ดินของโจทก์จะถูกนายช่างชลประทานใช้รถขุดดินทำทางน้ำผ่านเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ห่างทางน้ำ. โดยยังไม่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์. แต่เมื่อมีกฎหมายเวนคืนที่ดินของโจทก์ให้แก่กรมชลประทานแล้ว. โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง. ขอให้บังคับนายช่างชลประทานหรือกรมชลประทานกลบที่ดินที่ถูกขุดให้กลับคงคืนตามสภาพเดิม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำทางน้ำผ่านที่ดินต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนก่อน หากมีกฎหมายเวนคืน สิทธิเรียกร้องให้กลับสู่สภาพเดิมสิ้นสุด
ตามความในมาตรา 9 แห่ง พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ.2485 ที่ว่า เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการชลประทาน ถ้าไม่สามารถจะทำได้โดยวิธีอื่น ให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ห่างทางน้ำหรือแหล่งน้ำใดมีสิทธิทำทางน้ำผ่านที่ดินของผู้อื่นได้ ในเมื่อนายช่างชลประทาน ข้าหลวงประจำจังหวัดหรือนายอำเภอได้อนุญาตและกำหนดให้โดยกว้างรวมทั้งที่ทิ้งดินด้วยไม่เกินสิบเมตร แต่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินที่ทางน้ำผ่านนั้น หมายความว่าต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเสียก่อน จึงจะมีสิทธิทำทางน้ำผ่านที่ดินได้
แม้ที่ดินของโจทก์จะถูกนายช่างชลประทานใช้รถขุดดินทำทางน้ำผ่านเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ห่างทางน้ำ โดยยังไม่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ แต่เมื่อมีกฎหมายเวนคืนที่ดินของโจทก์ให้แก่กรมชลประทานแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้บังคับนายช่างชลประทานหรือกรมชลประทานกลบที่ดินที่ถูกขุดให้กลับคงคืนตามสภาพเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำทางน้ำผ่านที่ดินตาม พ.ร.บ.การชลประทาน ต้องชำระค่าสินไหมทดแทนก่อน และเวนคืนได้ตามกฎหมาย
ตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 ที่ว่า เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการชลประทาน ถ้าไม่สามารถจะทำได้โดยวิธีอื่น ให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ห่างทางน้ำหรือแหล่งน้ำใดมีสิทธิทำทางน้ำผ่านที่ดินของผู้อื่นได้ ในเมื่อนายช่างชลประทาน ข้าหลวงประจำจังหวัดหรือนายอำเภอได้อนุญาตและกำหนดให้โดยกว้างรวมทั้งที่ทิ้งดินด้วยไม่เกินสิบเมตร แต่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เจ้าของและผู้ครอบครองที่ดินที่ทางน้ำผ่านนั้น หมายความว่าต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเสียก่อน จึงจะมีสิทธิทำทางน้ำผ่านที่ดินได้
แม้ที่ดินของโจทก์จะถูกนายช่างชลประทานใช้รถขุดดินทำทางน้ำผ่านเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ห่างทางน้ำ โดยยังไม่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ แต่เมื่อมีกฎหมายเวนคืนที่ดินของโจทก์ให้แก่กรมชลประทานแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้บังคับนายช่างชลประทานหรือกรมชลประทานกลบที่ดินที่ถูกขุดให้กลับคงคืนตามสภาพเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1523/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค้าประเวณี, การบังคับข่มขืน, หน่วงเหนี่ยว, ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและ พรบ.ปรามการค้าประเวณี
เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เจ้าของกิจการสถานค้าประเวณีรับตัวนางสมจิตรผู้เสียหายไว้ แล้วบังคับให้ค้าประเวณี ครั้นนางสมจิตรไม่ยินยอมก็ถูกผลักเข้าไปในห้องที่มีชายรออยู่ เมื่อขัดขืนต่อไปอีกก็ถูกจำเลยที่ 1 ตบหน้า และบางครั้งเมื่อนางสมจิตรถูกชายดึงเข้าไปในห้องแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ใส่กุญแจห้องข้างนอกและคอยเฝ้าอยู่ ทั้งยังตะโกนบอกชายที่มาเที่ยวว่าให้ตบตีได้ถ้านางสมจิตรไม่ยอม ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เช่นนี้เป็นการกระทำเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหาเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงโดยใช้กำลังประทุษร้าย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 283 แล้ว แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 282 เพราะนางสมจิตรอายุเกิน 18 ปี และไม่เป็นความผิดตามมาตรา 284 เพราะเป็นการกระทำเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น มิใช่เพื่อสำเร็จความใคร่ของตนเองหรือผู้ร่วมกระทำความผิดกับตน
ส่วนการที่จำเลยที่ 1 รับตัวนางสาววรรณาผู้เสียหายอายุ 16 ปี ซึ่งถูกหลอกลวงมาไว้เป็นโสเภณีในสำนักของตน ก็ได้ชื่อว่าเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของชายที่มาเที่ยว และจำเลยที่ 1 ได้เป็นธุระจัดหาเพื่อการอนาจารซึ่งนางสาววรรณา อันเป็นความผิดสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282 แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจประการอื่น ทั้งไม่จำเป็นต้องให้มีผู้อื่นมาสำเร็จความใคร่กับนางสาววรรณาเสียก่อน
สำหรับการที่จำเลยที่ 1 กระทำแก่นางสมจิตรผู้เสียหายโดยผลักเข้าไปในห้องที่มีชายรออยู่ ในเมื่อนางสมจิตรไม่ยินยอม และบางครั้งปิดประตูใส่กุญแจข้างนอก ขังนางสมจิตรไว้กับชายที่มาเที่ยวแล้วคอยเฝ้าอยู่ ย่อมเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังนางสมจิตรให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1523/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค้าประเวณี, หน่วงเหนี่ยวกักขัง, ความผิดฐานค้ามนุษย์, การกระทำความผิดหลายบท, การลงโทษ
เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เจ้าของกิจการสถานค้าประเวณีรับตัวนางสมจิตรผู้เสียหายไว้ แล้วบังคับให้ค้าประเวณี. ครั้นนางสมจิตรไม่ยินยอมก็ถูกผลักเข้าไปในห้องที่มีชายรออยู่. เมื่อขัดขืนต่อไปอีกก็ถูกจำเลยที่ 1 ตบหน้า. และบางครั้งเมื่อนางสมจิตรถูกชายดึงเข้าไปในห้องแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ใส่กุญแจห้องข้างนอกและคอยเฝ้าอยู่. ทั้งยังตะโกนบอกชายที่มาเที่ยวว่าให้ตบตีได้ถ้านางสมจิตรไม่ยอม. ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เช่นนี้เป็นการกระทำเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น. เป็นธุระจัดหาเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงโดยใช้กำลังประทุษร้าย. อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 283 แล้ว. แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 282.เพราะนางสมจิตรอายุเกิน 18 ปี. และไม่เป็นความผิดตามมาตรา 284. เพราะเป็นการกระทำเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น. มิใช่เพื่อสำเร็จความใคร่ของตนเองหรือผู้ร่วมกระทำความผิดกับตน.
ส่วนการที่จำเลยที่ 1 รับตัวนางสาววรรณาผู้เสียหายอายุ 16 ปี ซึ่งถูกหลอกลวงมาไว้เป็นโสเภณีในสำนักของตน ก็ได้ชื่อว่าเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของชายที่มาเที่ยว. และจำเลยที่ 1 ได้เป็นธุระจัดหาเพื่อการอนาจารซึ่งนางสาววรรณา อันเป็นความผิดสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282 แล้ว. โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ.ใช้กำลังประทุษร้าย. ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม. หรือใช้วิธีข่มขืนใจประการอื่น. ทั้งไม่จำเป็นต้องให้มีผู้อื่นมาสำเร็จความใคร่กับนางสาววรรณาเสียก่อน.
สำหรับการที่จำเลยที่ 1 กระทำแก่นางสมจิตรผู้เสียหายโดยผลักเข้าไปในห้องที่มีชายรออยู่. ในเมื่อนางสมจิตรไม่ยินยอม. และบางครั้งปิดประตูใส่กุญแจข้างนอก ขังนางสมจิตรไว้กับชายที่มาเที่ยวแล้วคอยเฝ้าอยู่. ย่อมเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังนางสมจิตรให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1523/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค้าประเวณีโดยใช้กำลังประทุษร้าย และหน่วงเหนี่ยวกักขัง ถือเป็นความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เจ้าของกิจการสถานค้าประเวณีรับตัวนางสมจิตรผู้เสียหายไว้แล้วบังคับให้ค้าประเวณี ครั้นนางสมจิตรไม่ยินยอมก็ถูกผลักเข้าไปในห้องที่มีชายรออยู่ เมื่อขัดขืนต่อไปอีกก็ถูกจำเลยที่ 1 ตบหน้า และบางครั้งเมื่อนางสมจิตรถูกชายดึงเข้าไปในห้องแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ใส่กุญแจห้องข้างนอกและคอยเฝ้าอยู่ ทั้งยังตะโกนบอกชายที่มาเที่ยวว่าให้ตบตีได้ถ้านางสมจิตรไม่ยอม ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เช่นนี้เป็นการกระทำเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหาเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงโดยใช้กำลังประทุษร้าย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 283 แล้ว แต่ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 282เพราะนางสมจิตรอายุเกิน 18 ปี และไม่เป็นความผิดตามมาตรา 284 เพราะเป็นการกระทำเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่น มิใช่เพื่อสำเร็จความใคร่ของตนเองหรือผู้ร่วมกระทำความผิดกับตน
ส่วนการที่จำเลยที่ 1 รับตัวนางสาววรรณาผู้เสียหายอายุ 16 ปี ซึ่งถูกหลอกลวงมาไว้เป็นโสเภณีในสำนักของตน ก็ได้ชื่อว่าเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของชายที่มาเที่ยว และจำเลยที่ 1 ได้เป็นธุระจัดหาเพื่อการอนาจารซึ่งนางสาววรรณา อันเป็นความผิดสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 282 แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจประการอื่น ทั้งไม่จำเป็นต้องให้มีผู้อื่นมาสำเร็จความใคร่กับนางสาววรรณาเสียก่อน
สำหรับการที่จำเลยที่ 1 กระทำแก่นางสมจิตรผู้เสียหายโดยผลักเข้าไปในห้องที่มีชายรออยู่ ในเมื่อนางสมจิตรไม่ยินยอม และบางครั้งปิดประตูใส่กุญแจข้างนอก ขังนางสมจิตรไว้กับชายที่มาเที่ยวแล้วคอยเฝ้าอยู่ ย่อมเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังนางสมจิตรให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าทรัพย์สินและการคิดค่าเสียหายจากการใช้สถานที่หลังสัญญาหมดอายุ
สัญญาเช่าข้อ 2 มีความว่า สัญญาเช่ามีกำหนด 15 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2504 และแทนการชำระค่าเช่าในระหว่างการเช่าดังกล่าวนี้ ผู้เช่าตกลงซ่อมแซมโรงและหน้าโรงในส่วนที่จำเป็นเพราะทรุดโทรมไม่อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ประมาณเงิน 200,000 บาท เป็นการตอบแทนแทนค่าเช่า ฯลฯ สัญญาข้อ 10 มีความว่าถ้าหมดสัญญาเช่า ผู้เช่า ไม่อาจจะดำเนินกิจการต่อไปได้ เพราะกิจการไม่เจริญตามความคาดหมาย แต่เพื่อมิต้องขนย้ายทรัพย์สินที่ซื้อมาจากบริษัท ค. ผู้ให้เช่ายินยอมให้ผู้เช่าต่อสัญญาโดยไม่คิดมูลค่าใดๆ แต่ให้คิดหักเป็นรายเดือนออกจากเงิน 170,000 บาท เป็นจำนวนเดือนละ 5,000 บาท จนครบจำนวนเงินดังกล่าวแล้ว เมื่ออยู่ต่อไปจนครบจำนวนเงิน 170,000 บาทที่จ่ายไปแล้ว ผู้เช่ายินยอมโอนทรัพย์สมบัติรายนี้ให้แก่ผู้ให้เช่าทั้งนี้ต้องแล้วแต่ความสมัครใจของผู้เช่าว่าจะอยู่ต่อไปหรือไม่ ฯลฯ ดังนี้ เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาเช่าข้อ 2 ข้อ 10 ประกอบกันแล้ว ย่อมเห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยในขณะที่ทำสัญญาได้ว่า ทั้งสองฝ่ายประสงค์จะให้การเช่าระยะแรกกับระยะหลังติดต่อกันไป คำว่า "ต่อสัญญา" ในข้อ 10 นั้น ในที่นี้ไม่มีทางแปลเป็นอย่างอื่นนอกจากต่อจากกำหนดเวลาเช่าระยะแรก ข้อความในสัญญาข้ออื่นก็ไม่มีตอนใดที่แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามีความประสงค์ที่จะเว้นระยะการเช่าสองระยะนั้นให้ห่างจากกันในกรณีใด ฉะนั้นเมื่อการเช่าระยะแรกครบกำหนด 15 เดือนในวันที่ 15 มิถุนายน 2505 การเริ่มต้นนับกำหนดเวลาเช่าระยะที่ 2 จึงต้องเริ่มตั้งแต่วันที่ 16มิถุนายน 2505 ตามสัญญา และเมื่อคำนวณจำนวนเงินค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท หักกับจำนวนเงิน 170,000 บาท ตามสัญญาข้อ 10 แล้ว การเช่าระยะที่ 2 มีกำหนด 34เดือน และครบกำหนดในวันที่ 15 เมษายน 2508
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โจทก์ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องให้จำเลยผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดเวลาของการเช่า หากโจทก์ขัดขวางมิให้จำเลยใช้สถานที่เช่า ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เป็นไปตามสัญญา ชอบที่จำเลยจะดำเนินการตามสิทธิของตนในฐานที่โจทก์ผิดสัญญาเป็นอีกส่วนหนึ่ง กรณีดังกล่าวนั้น การที่โจทก์ขัดขวางไม่ให้จำเลยใช้สถานที่เช่า นับตั้งแต่สัญญาเช่าระยะแรกครบกำหนด เพิ่งยอมให้ใช้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2506 หาเป็นเหตุให้กำหนดเวลาเช่าระยะหลังมาเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2506 ไม่ เพราะคู่กรณีมิได้ตกลงกันเช่นนั้น การเช่าระยะหลังจึงครบกำหนดในวันที่ 15เมษายน 2508 ก่อนโจทก์ฟ้องคดีโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้จำเลยรู้ตัวก่อนแล้วสัญญาเช่าย่อมระงับ จำเลยไม่มีสิทธิจะใช้สถานที่เช่าได้อีก การที่จำเลยยังใช้สถานที่เช่าของโจทก์อยู่ หากโจทก์ได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นละเมิด
ในกรณีละเมิด ถ้าเห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อยู่ในตัว แม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนความเสียหายไม่ได้แน่นอน ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
จำเลยเช่าโรงภาพยนตร์ของโจทก์มาทำการฉายภาพยนตร์หาประโยชน์ เมื่อสัญญาเช่าระงับแล้ว จำเลยยังคงใช้สถานที่เช่าต่อมา จึงเห็นได้อยู่ในตัวว่าโจทก์ย่อมเสียหายขาดประโยชน์ที่จะพึงได้จากโรงภาพยนตร์นั้น อย่างน้อยก็เท่ากับค่าเช่าที่เคยได้จากจำเลยตามสัญญา การกระทำของจำเลยจึงเป็นละเมิด อันจะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามฟ้องของโจทก์ได้บรรยายความเสียหายที่โจทก์ได้รับไว้ 2 ประการ คือ ถ้าจำเลยส่งมอบสถานที่เช่าคืนแก่โจทก์ โจทก์จะนำไปขายชำระหนี้จำนองให้ธนาคาร การที่จำเลยไม่ส่งคืน ทำให้โจทก์ขายไม่ได้ ต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นแก่ธนาคารตามฟ้องซึ่งจำเลยจะต้องรับผิด ประการหนึ่ง หรือถ้าไม่ขายโจทก์อาจจัดการใช้ทรัพย์สินรายนี้หาประโยชน์ จะมีรายได้สุทธิไม่ต่ำกว่าเดือนละ 70,000 บาท การที่จำเลยไม่ส่งคืน จึงทำให้โจทก์เสียหายขาดรายได้ดังกล่าวอีกประการหนึ่ง โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายประเภทที่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารแต่ประการเดียว ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท จึงเป็นการใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากโจทก์ต้องขาดรายได้ในการที่จะนำทรัพย์สินที่เช่ามาหาประโยชน์ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องนั้นเอง หาเป็นการนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่อเนื่อง การขัดขวางการใช้ประโยชน์ และละเมิดจากผู้เช่าหลังสัญญาหมดอายุ
สัญญาเช่าข้อ 2 มีความว่า สัญญาเช่ามีกำหนด 15เดือน นับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2504 และแทนการชำระค่าเช่าในระหว่างการเช่าดังกล่าวนี้ ผู้เช่าตกลงซ่อมแซมโรงและหน้าโรงในส่วนที่จำเป็นเพราะทรุดโทรมไม่อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ประมาณเงิน 200,000 บาท เป็นการตอบแทนแทนค่าเช่า ฯลฯ สัญญาข้อ 10 มีความว่าถ้าหมดสัญญาเช่า ผู้เช่า ไม่อาจจะดำเนินกิจการต่อไปได้ เพราะกิจการไม่เจริญตามความคาดหมาย แต่เพื่อมิต้องขนย้ายทรัพย์สินที่ซื้อมาจากบริษัท ค. ผู้ให้เช่ายินยอมให้ผู้เช่าต่อสัญญาโดยไม่คิดมูลค่าใดๆ แต่ให้คิดหักเป็นรายเดือนออกจากเงิน 170,000 บาท เป็นจำนวนเดือนละ 5,000 บาท จนครบจำนวนเงินดังกล่าวแล้ว เมื่ออยู่ต่อไปจนครบจำนวนเงิน 170,000 บาทที่จ่ายไปแล้ว ผู้เช่ายินยอมโอนทรัพย์สมบัติรายนี้ให้แก่ผู้ให้เช่าทั้งนี้ต้องแล้วแต่ความสมัครใจของผู้เช่าว่าจะอยู่ต่อไปหรือไม่ ฯลฯ ดังนี้ เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาเช่าข้อ 2 ข้อ 10 ประกอบกันแล้ว ย่อมเห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยในขณะที่ทำสัญญาได้ว่า ทั้งสองฝ่ายประสงค์จะให้การเช่าระยะแรกกับระยะหลังติดต่อกันไป คำว่า'ต่อสัญญา' ในข้อ 10 นั้น ในที่นี้ไม่มีทางแปลเป็นอย่างอื่นนอกจากต่อจากกำหนดเวลาเช่าระยะแรก ข้อความในสัญญาข้ออื่นก็ไม่มีตอนใดที่แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามีความประสงค์ที่จะเว้นระยะการเช่าสองระยะนั้นให้ห่างจากกันในกรณีใด ฉะนั้นเมื่อการเช่าระยะแรกครบกำหนด 15 เดือนในวันที่ 15 มิถุนายน 2505. การเริ่มต้นนับกำหนดเวลาเช่าระยะที่ 2 จึงต้องเริ่มตั้งแต่วันที่ 16มิถุนายน 2505 ตามสัญญา และเมื่อคำนวณจำนวนเงินค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท หักกับจำนวนเงิน 170,000 บาท ตามสัญญาข้อ 10 แล้ว การเช่าระยะที่ 2 มีกำหนด 34 เดือน และครบกำหนดในวันที่ 15 เมษายน 2508
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โจทก์ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องให้จำเลยผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดเวลาของการเช่า หากโจทก์ขัดขวางมิให้จำเลยใช้สถานที่เช่า ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เป็นไปตามสัญญา ชอบที่จำเลยจะดำเนินการตามสิทธิของตนในฐานที่โจทก์ผิดสัญญาเป็นอีกส่วนหนึ่ง กรณีดังกล่าวนั้น การที่โจทก์ขัดขวางไม่ให้จำเลยใช้สถานที่เช่า นับตั้งแต่สัญญาเช่าระยะแรกครบกำหนด เพิ่งยอมให้ใช้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2506.หาเป็นเหตุให้กำหนดเวลาเช่าระยะหลังมาเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2506 ไม่ เพราะคู่กรณีมิได้ตกลงกันเช่นนั้น การเช่าระยะหลังจึงครบกำหนดในวันที่ 15เมษายน 2508 ก่อนโจทก์ฟ้องคดีโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้จำเลยรู้ตัวก่อนแล้วสัญญาเช่าย่อมระงับ จำเลยไม่มีสิทธิจะใช้สถานที่เช่าได้อีก การที่จำเลยยังใช้สถานที่เช่าของโจทก์อยู่ หากโจทก์ได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นละเมิด
ในกรณีละเมิด ถ้าเห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อยู่ในตัว แม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนความเสียหายไม่ได้แน่นอน ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
จำเลยเช่าโรงภาพยนต์ของโจทก์มาทำการฉายภาพยนต์หาประโยชน์ เมื่อสัญญาเช่าระงับแล้ว จำเลยยังคงใช้สถานที่เช่าต่อมา จึงเห็นได้อยู่ในตัวว่าโจทก์ย่อมเสียหายขาดประโยชน์ที่จะพึงได้จากโรงภาพยนต์นั้น อย่างน้อยก็เท่ากับค่าเช่าที่เคยได้จากจำเลยตามสัญญา การกระทำของจำเลยจึงเป็นละเมิด อันจะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ตามฟ้องของโจทก์ได้บรรยายความเสียหายที่โจทก์ได้รับไว้ 2 ประการ คือ ถ้าจำเลยส่งมอบสถานที่เช่าคืนแก่โจทก์ โจทก์จะนำไปขายชำระหนี้จำนองให้ธนาคาร การที่จำเลยไม่ส่งคืน ทำให้โจทก์ขายไม่ได้ ต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นแก่ธนาคารตามฟ้องซึ่งจำเลยจะต้องรับผิด ประการหนึ่ง หรือถ้าไม่ขายโจทก์อาจจัดการใช้ทรัพย์สินรายนี้หาประโยชน์ จะมีรายได้สุทธิไม่ต่ำกว่าเดือนละ 70,000 บาท การที่จำเลยไม่ส่งคืน จึงทำให้โจทก์เสียหายขาดรายได้ดังกล่าวอีกประการหนึ่ง โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายประเภทที่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารแต่ประการเดียว ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท จึงเป็นการใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากโจทก์ต้องขาดรายได้ในการที่จะนำทรัพย์สินที่เช่ามาหาประโยชน์ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องนั้นเอง หาเป็นการนอกประเด็นไม่
of 59