คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วงษ์ วีระพงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 586 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่อเนื่อง การขัดขวางการใช้ประโยชน์ และละเมิดจากผู้เช่าหลังสัญญาหมดอายุ
สัญญาเช่าข้อ 2 มีความว่า สัญญาเช่ามีกำหนด 15เดือน นับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2504 และแทนการชำระค่าเช่าในระหว่างการเช่าดังกล่าวนี้ ผู้เช่าตกลงซ่อมแซมโรงและหน้าโรงในส่วนที่จำเป็นเพราะทรุดโทรมไม่อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ ประมาณเงิน 200,000 บาท เป็นการตอบแทนแทนค่าเช่า ฯลฯ สัญญาข้อ 10 มีความว่าถ้าหมดสัญญาเช่า ผู้เช่า ไม่อาจจะดำเนินกิจการต่อไปได้ เพราะกิจการไม่เจริญตามความคาดหมาย แต่เพื่อมิต้องขนย้ายทรัพย์สินที่ซื้อมาจากบริษัท ค. ผู้ให้เช่ายินยอมให้ผู้เช่าต่อสัญญาโดยไม่คิดมูลค่าใดๆ แต่ให้คิดหักเป็นรายเดือนออกจากเงิน 170,000 บาท เป็นจำนวนเดือนละ 5,000 บาท จนครบจำนวนเงินดังกล่าวแล้ว เมื่ออยู่ต่อไปจนครบจำนวนเงิน 170,000 บาทที่จ่ายไปแล้ว ผู้เช่ายินยอมโอนทรัพย์สมบัติรายนี้ให้แก่ผู้ให้เช่าทั้งนี้ต้องแล้วแต่ความสมัครใจของผู้เช่าว่าจะอยู่ต่อไปหรือไม่ ฯลฯ ดังนี้ เมื่อพิจารณาข้อความในสัญญาเช่าข้อ 2 ข้อ 10 ประกอบกันแล้ว ย่อมเห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยในขณะที่ทำสัญญาได้ว่า ทั้งสองฝ่ายประสงค์จะให้การเช่าระยะแรกกับระยะหลังติดต่อกันไป คำว่า'ต่อสัญญา' ในข้อ 10 นั้น ในที่นี้ไม่มีทางแปลเป็นอย่างอื่นนอกจากต่อจากกำหนดเวลาเช่าระยะแรก ข้อความในสัญญาข้ออื่นก็ไม่มีตอนใดที่แสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามีความประสงค์ที่จะเว้นระยะการเช่าสองระยะนั้นให้ห่างจากกันในกรณีใด ฉะนั้นเมื่อการเช่าระยะแรกครบกำหนด 15 เดือนในวันที่ 15 มิถุนายน 2505. การเริ่มต้นนับกำหนดเวลาเช่าระยะที่ 2 จึงต้องเริ่มตั้งแต่วันที่ 16มิถุนายน 2505 ตามสัญญา และเมื่อคำนวณจำนวนเงินค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท หักกับจำนวนเงิน 170,000 บาท ตามสัญญาข้อ 10 แล้ว การเช่าระยะที่ 2 มีกำหนด 34 เดือน และครบกำหนดในวันที่ 15 เมษายน 2508
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 โจทก์ผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องให้จำเลยผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าตลอดเวลาของการเช่า หากโจทก์ขัดขวางมิให้จำเลยใช้สถานที่เช่า ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เป็นไปตามสัญญา ชอบที่จำเลยจะดำเนินการตามสิทธิของตนในฐานที่โจทก์ผิดสัญญาเป็นอีกส่วนหนึ่ง กรณีดังกล่าวนั้น การที่โจทก์ขัดขวางไม่ให้จำเลยใช้สถานที่เช่า นับตั้งแต่สัญญาเช่าระยะแรกครบกำหนด เพิ่งยอมให้ใช้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2506.หาเป็นเหตุให้กำหนดเวลาเช่าระยะหลังมาเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2506 ไม่ เพราะคู่กรณีมิได้ตกลงกันเช่นนั้น การเช่าระยะหลังจึงครบกำหนดในวันที่ 15เมษายน 2508 ก่อนโจทก์ฟ้องคดีโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป ได้บอกกล่าวให้จำเลยรู้ตัวก่อนแล้วสัญญาเช่าย่อมระงับ จำเลยไม่มีสิทธิจะใช้สถานที่เช่าได้อีก การที่จำเลยยังใช้สถานที่เช่าของโจทก์อยู่ หากโจทก์ได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นละเมิด
ในกรณีละเมิด ถ้าเห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อยู่ในตัว แม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนความเสียหายไม่ได้แน่นอน ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ได้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
จำเลยเช่าโรงภาพยนต์ของโจทก์มาทำการฉายภาพยนต์หาประโยชน์ เมื่อสัญญาเช่าระงับแล้ว จำเลยยังคงใช้สถานที่เช่าต่อมา จึงเห็นได้อยู่ในตัวว่าโจทก์ย่อมเสียหายขาดประโยชน์ที่จะพึงได้จากโรงภาพยนต์นั้น อย่างน้อยก็เท่ากับค่าเช่าที่เคยได้จากจำเลยตามสัญญา การกระทำของจำเลยจึงเป็นละเมิด อันจะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ตามฟ้องของโจทก์ได้บรรยายความเสียหายที่โจทก์ได้รับไว้ 2 ประการ คือ ถ้าจำเลยส่งมอบสถานที่เช่าคืนแก่โจทก์ โจทก์จะนำไปขายชำระหนี้จำนองให้ธนาคาร การที่จำเลยไม่ส่งคืน ทำให้โจทก์ขายไม่ได้ ต้องเสียดอกเบี้ยทบต้นแก่ธนาคารตามฟ้องซึ่งจำเลยจะต้องรับผิด ประการหนึ่ง หรือถ้าไม่ขายโจทก์อาจจัดการใช้ทรัพย์สินรายนี้หาประโยชน์ จะมีรายได้สุทธิไม่ต่ำกว่าเดือนละ 70,000 บาท การที่จำเลยไม่ส่งคืน จึงทำให้โจทก์เสียหายขาดรายได้ดังกล่าวอีกประการหนึ่ง โจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายประเภทที่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่ธนาคารแต่ประการเดียว ฉะนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท จึงเป็นการใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากโจทก์ต้องขาดรายได้ในการที่จะนำทรัพย์สินที่เช่ามาหาประโยชน์ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้องนั้นเอง หาเป็นการนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่มีประโยชน์ ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ และการบังคับคดีสิ้นสุดแล้วไม่ต้องวินิจฉัย
อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายข้อใดที่ไม่เป็นสารแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย หรือไม่เป็นข้อแพ้ชนะ หรือไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของผู้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนั้น และถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์ทุกข้อไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไปแล้ว ก็มีอำนาจที่จะไม่วินิจฉัยอุทธรณ์นั้นทั้งหมดได้
จำเลยฎีกาว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งบังคับคดีในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเกินคำขอของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาและคำบังคับของศาลชั้นต้นเสร็จสิ้นไปแล้ว และศาลชั้นต้นได้งดหมายจับนั้นแล้ว ทั้งไม่มีกรณีที่จะต้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำบังคับของศาลต่อไปอีก ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยจึงไม่มีประโยชน์แก่คดี ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ยกฎีกานั้นโดยไม่ต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่มีประโยชน์ ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ แม้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้ว
อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายข้อใดที่ไม่เป็นสารแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย หรือไม่เป็นข้อแพ้ชนะ หรือไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของผู้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนั้น และถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์ทุกข้อไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไปแล้ว ก็มีอำนาจที่จะไม่วินิจฉัยอุทธรณ์นั้นทั้งหมดได้
จำเลยฎีกาว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งบังคับคดีในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเกินคำขอของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาและคำบังคับของศาลชั้นต้นเสร็จสิ้นไปแล้ว และศาลชั้นต้นได้งดหมายจับนั้นแล้ว ทั้งไม่มีกรณีที่จะต้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำบังคับของศาลต่อไปอีก ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยจึงไม่มีประโยชน์แก่คดี ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ยกฎีกานั้นโดยไม่ต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่มีประโยชน์ ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ และไม่ต้องวินิจฉัยหากจำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้ว
อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายข้อใดที่ไม่เป็นสารแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย. หรือไม่เป็นข้อแพ้ชนะ. หรือไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของผู้อุทธรณ์. ศาลอุทธรณ์ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนั้น. และถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์ทุกข้อไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยต่อไปแล้ว. ก็มีอำนาจที่จะไม่วินิจฉัยอุทธรณ์นั้นทั้งหมดได้.
จำเลยฎีกาว่า. ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งบังคับคดีในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์. ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย. และเกินคำขอของโจทก์. เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาและคำบังคับของศาลชั้นต้นเสร็จสิ้นไปแล้ว. และศาลชั้นต้นได้งดหมายจับนั้นแล้ว. ทั้งไม่มีกรณีที่จะต้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำบังคับของศาลต่อไปอีก. ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายของจำเลยจึงไม่มีประโยชน์แก่คดี. ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ยกฎีกานั้น.โดยไม่ต้องวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอความช่วยเหลือทางศาล (คนอนาถา) และสิทธิในการนำเสนอพยานหลักฐานเพิ่มเติมหลังมีคำสั่งยกคำขอ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ โดยไม่อนุญาตให้ผู้ขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมนั้น ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา และไม่ใช่คำสั่งยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย จึงไม่ต้องห้ามฎีกา
ในกรณีที่มีการยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ว่าในชั้นใด หากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วนหรือมีคำสั่งให้ยกคำขอเสียทีเดียว ถ้าผู้ยื่นคำขอประสงค์จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคำขอนั้นต่อไป ก็มีสิทธิเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อาจยื่นคำขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติม ว่าตนเป็นคนยากจน หรือใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่ง ถ้าผู้ยื่นคำขอเลือกใช้สิทธิอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งคำขอนั้นประการใดแล้ว คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด ผู้ยื่นคำขอจะย้อนกลับมาขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงว่าตนเป็นคนยากจนอีกไม่ได้
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2511)
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว หากมีเหตุเกิดขึ้นใหม่ทำให้ผู้ยื่นคำขอตกเป็นคนยากจนลงในภายหลัง ก็มีสิทธิยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคแรก จะมาขอให้พิจารณาคำขอเดิมนั้นใหม่ตามมาตรา 156 วรรค 4 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา: สิทธิในการยื่นคำขอใหม่หลังศาลอุทธรณ์มีคำสั่งถึงที่สุด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่โดยไม่อนุญาตให้ผู้ขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมนั้น. ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา. และไม่ใช่คำสั่งยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย. จึงไม่ต้องห้ามฎีกา.
ในกรณีที่มีการยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ว่าในชั้นใด. หากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วนหรือมีคำสั่งให้ยกคำขอเสียทีเดียว. ถ้าผู้ยื่นคำขอประสงค์จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคำขอนั้นต่อไป ก็มีสิทธิเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง. คืออาจยื่นคำขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน. หรือใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่ง. ถ้าผู้ยื่นคำขอเลือกใช้สิทธิอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งคำขอนั้นประการใดแล้วคำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด. ผู้ยื่นคำขอจะย้อนกลับมาขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงว่าตนเป็นคนยากจนอีกไม่ได้. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2511).
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว. หากมีเหตุเกิดขึ้นใหม่ทำให้ผู้ยื่นคำขอตกเป็นคนยากจนลงในภายหลัง. ก็มีสิทธิยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคแรก. จะมาขอให้พิจารณาคำขอเดิมนั้นใหม่ตามมาตรา 156 วรรคสี่ หาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นโจทก์/จำเลยอนาถา: สิทธิในการยื่นคำขอใหม่หลังศาลอุทธรณ์ตัดสินแล้วเป็นที่สุด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่โดยไม่อนุญาตให้ผู้ขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมนั้น ไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา และไม่ใช่คำสั่งยกคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย จึงไม่ต้องห้ามฎีกา
ในกรณีที่มีการยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ว่าในชั้นใด หากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วนหรือมีคำสั่งให้ยกคำขอเสียทีเดียว ถ้าผู้ยื่นคำขอประสงค์จะดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคำขอนั้นต่อไป ก็มีสิทธิเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง คืออาจยื่นคำขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน หรือใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อไปภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันมีคำสั่ง ถ้าผู้ยื่นคำขอเลือกใช้สิทธิอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งคำขอนั้นประการใดแล้วคำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด ผู้ยื่นคำขอจะย้อนกลับมาขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงว่าตนเป็นคนยากจนอีกไม่ได้ (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 23/2511)
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว หากมีเหตุเกิดขึ้นใหม่ทำให้ผู้ยื่นคำขอตกเป็นคนยากจนลงในภายหลัง ก็มีสิทธิยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาได้อีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคแรก จะมาขอให้พิจารณาคำขอเดิมนั้นใหม่ตามมาตรา 156 วรรคสี่ หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1430/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันสิทธิโดยชอบธรรมและการทำร้ายร่างกายโดยบันดาลโทสะ: พฤติการณ์และเหตุผลในการใช้ความรุนแรง
เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยเพียงยกขวดแตกขึ้นรับเมื่อผู้ตายโถมเข้าแทงจำเลยทำให้พับแขนของผู้ตายถูกขวดเข้าเองเป็นบาดแผล. และผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา. ฉะนั้นเมื่อจำเลยมิได้ทำร้ายผู้ตาย จำเลยจึงไม่มีความผิด.
แต่สำหรับเหตุการณ์ตอนที่ผู้ตายแทงผู้อื่นพลาดมาถูกจำเลย. เมื่อจำเลยเข้าห้ามการทะเลาะวิวาท แล้วจำเลยใช้ขวดสุราตีศีรษะผู้ตายบาดเจ็บนั้น. ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบ เพราะภยันตรายได้ผ่านพ้นไปแล้ว. แต่การกระทำของจำเลยเนื่องมาจากการที่ผู้ตายข่มเหงโดยเหตุอันไม่เป็นธรรม. จึงต้องถือว่าจำเลยมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเหตุบันดาลโทสะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1430/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายและการทำร้ายร่างกายโดยบันดาลโทสะ กรณีขวดแตกบาดเจ็บและเสียชีวิต
เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยเพียงยกขวดแตกขึ้นรับเมื่อผู้ตายโถมเข้าแทงจำเลยทำให้พับแขนของผู้ตายถูกขวดเข้าเองเป็นบาดแผล และผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ฉะนั้นเมื่อจำเลยมิได้ทำร้ายผู้ตาย จำเลยจึงไม่มีความผิด
แต่สำหรับเหตุการณ์ตอนที่ผู้ตายแทงผู้อื่นพลาดมาถูกจำเลยเมื่อจำเลยเข้าห้ามการทะเลาะวิวาท แล้วจำเลยใช้ขวดสุราตีศีรษะผู้ตายบาดเจ็บนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบ เพราะภยันตรายได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่การกระทำของจำเลยเนื่องมาจากการที่ผู้ตายข่มเหงโดยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงต้องถือว่าจำเลยมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเหตุบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1430/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย การทำร้ายร่างกายโดยบันดาลโทสะ และขอบเขตการป้องกันตนเอง
เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยเพียงยกขวดแตกขึ้นรับเมื่อผู้ตายโถมเข้าแทงจำเลยทำให้พับแขนของผู้ตายถูกขวดเข้าเองเป็นบาดแผล และผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ฉะนั้นเมื่อจำเลยมิได้ทำร้ายผู้ตาย จำเลยจึงไม่มีความผิด
แต่สำหรับเหตุการณ์ตอนที่ผู้ตายแทงผู้อื่นพลาดมาถูกจำเลย เมื่อจำเลยเข้าห้ามการทะเลาะวิวาท แล้วจำเลยใช้ขวดสุราตีศีรษะผู้ตายบาดเจ็บนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบ เพราะภยันตรายได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่การกระทำของจำเลยเนื่องมาจากการที่ผู้ตายข่มเหงโดยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงต้องถือว่าจำเลยมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเหตุบันดาลโทสะ
of 59