พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4056/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ที่ดินต่อเนื่องต้องใช้ประโยชน์ร่วมกันกับสิ่งปลูกสร้าง
อาคารคลังพัสดุของโจทก์มีพื้นที่ 3,360 ตารางเมตร ส่วนที่ดินอีก 98,944ตารางเมตร เป็นพื้นที่ในส่วนที่โจทก์มิได้ใช้ปลูกสร้างโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆโดยอยู่กระจัดกระจายกันไปและมิใช่พื้นที่บริเวณต่อเนื่องอันจะใช้ไปด้วยกันกับอาคารคลังพัสดุ กรุงเทพมหานครจำเลยจะนำพื้นที่ดินที่โจทก์เช่ามาหักด้วยพื้นที่ที่โจทก์ใช้ก่อสร้างโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างแล้วนำพื้นที่ส่วนที่เหลือมาประเมินรวมกับพื้นที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอาคารใดอาคารหนึ่งย่อมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7325/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินต่อเนื่องกับสิ่งปลูกสร้าง: การประเมินภาษีที่ดินต้องพิจารณาการใช้ประโยชน์จริง
ทรัพย์สินที่กำหนดตามมาตรา 6(1) แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 นั้นภาษีจะต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในภาค 1 ส่วนทรัพย์สินตามมาตรา 6(2) แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 นั้นภาษีจะต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 ซึ่งหลักเกณฑ์ของภาษีทั้งสองภาคนั้นกฎหมายบัญญัติไว้แตกต่างกัน กรณีที่ดินที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ว่างมิได้ใช้ปลูกโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นอยู่กระจัดกระจายกันไป มิใช่พื้นที่บริเวณต่อเนื่องกับสนามน็อกบอร์ดและมีถนนสาธารณะกั้นอยู่ระหว่างที่ว่างกับสนามดังกล่าว รวมทั้งพื้นที่ว่างนอกรั้วคลังพัสดุที่ใช้เก็บพัสดุสิ่งของต่าง ๆ มิได้ใช้เป็นที่เก็บพัสดุ หรือนำพัสดุมาตั้งไว้รอเก็บ หรือเป็นที่จอดรถยนต์เพื่อขนส่งพัสดุ อีกทั้งคลังพัสดุอยู่ห่างจากสนามเทนนิสและสนามน็อคบอร์ดประมาณ 800 เมตร ถึง 1,500 เมตรและอยู่แยกต่างหากจากโรงเรือนของโจทก์ มีถนน ทางรถไฟและคลองกั้นอยู่นั้น มิใช่ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับสนามน็อกบอร์ด และคลังพัสดุอันเป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ แม้โจทก์จะไม่สำแดงจำนวนเนื้อที่ที่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างไว้แต่ถ้าหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่ามีที่ดินที่ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างแล้วจำเลยก็สามารถประเมินเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินส่วนนี้จากโจทก์ได้ ดังนั้นการที่พนักงานเจ้าหน้าที่นำเอาพื้นที่ดังกล่าวมารวมกับพื้นที่ของสนามน็อกบอร์ด แล้วประเมินภาษีตามภาค 1 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475ในปีภาษี 2531-2533 และนำเอาพื้นที่ดังกล่าวมารวมกับพื้นที่คลังพัสดุแล้วประเมินภาษีตามภาค 1 แห่ง พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ในปีภาษี 2534เช่นนี้ จึงเป็นการประเมินที่มิชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: หลักเกณฑ์การกำหนดค่ารายปี, การเพิ่มค่ารายปีตามสภาพค่าครองชีพ และขอบเขตที่ดินที่นำมาประเมิน
การกำหนดค่ารายปีขึ้นใหม่กับการกำหนดค่ารายปีในปีต่อ ๆ มานั้นกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ต่างกัน การกำหนดค่ารายปีขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 8 วรรคสองจะต้องเป็นกรณีที่ค่ารายปีที่เดิมกำหนดไว้ไม่ถูกต้องเท่านั้นส่วนมาตรา 18 บัญญัติให้นำค่ารายปีในปีล่วงมาแล้วเป็นหลักในการคำนวณค่าภาษีซึ่งจะต้องเสียในปีต่อมา คดีนี้ ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าค่ารายปีที่กำหนดไว้เดิมไม่ถูกต้องอย่างไร การจะเพิ่มค่ารายปีได้จึงต้องเป็นการเพิ่มตามสภาพแห่งค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอันจะมีผลให้ค่ารายปีเพิ่มขึ้นไปในตัวเอง เมื่อปรากฏว่าในปีก่อนหน้าปีพิพาทมีการเพิ่มค่ารายปีในอัตราร้อยละ 10 ของค่ารายปีในปีก่อนและในปีพิพาทก็ไม่ปรากฏว่าค่าครองชีพทั่ว ๆ ไปได้มีการเพิ่มขึ้นในลักษณะผิดปกติธรรมดา ที่มีการเพิ่มจากปีก่อน ๆ แต่อย่างใดกรณีจึงต้องเพิ่มค่ารายปีจากที่กำหนดไว้เดิมร้อยละ 10 จะกำหนดให้เพิ่มในลักษณะผิดปกติธรรมดา เช่นจะกำหนดให้เพิ่มเท่าตัวคือร้อยละ 100 ไม่ได้ เพราะจะเสมือนกับว่าเป็นการกำหนดค่ารายปีขึ้นใหม่ ที่ดินซึ่งเป็นพื้นที่ว่างมิได้ใช้ปลูกโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างและมิใช่พื้นที่บริเวณต่อเนื่องกับสนามน็อก กรณีจึงมิอาจเอาพื้นที่ดังกล่าวมารวมกับพื้นที่ของสนามน็อกบอร์ดเพื่อประเมินภาษีได้ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 6 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 2 เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ไปตามอำนาจหน้าที่ มิใช่ผู้ที่รับเงินภาษีโรงเรือนที่โจทก์ชำระตามคำวินิจฉัย จึงไม่มีหน้าที่คืนเงินภาษีส่วนที่เกินไป การคืนภาษีส่วนที่เกินจะต้องเสียดอกเบี้ยก็ต่อเมื่อไม่คืนในกำหนด 3 เดือน เท่านั้นตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินมาตรา 39 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ได้ชำระให้แก่กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 ไป