คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไฉน บุญยก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกแผงลอย สัญญาเช่าระงับแล้ว ผู้ให้เช่ามีสิทธิฟ้องได้ แม้จะทำสัญญาใหม่
โจทก์เป็นเจ้าของแผงลอยพิพาท ได้ทำสัญญาให้ ช. เช่า เมื่อ ช. ตาย สัญญาเช่าจึงระงับไป จำเลยผู้เป็นน้องชายของ ช. เข้าใช้แผงลอยนี้ต่อมาโดยไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย แม้โจทก์จะได้ทำสัญญาให้ ก. เช่าเพื่อสร้างอาคารใหม่ ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ระงับไป
โจทก์ทำสัญญาให้ ก. เช่าตลาดโดยให้รื้อตึกเก่าและแผงลอยออกแล้วสร้างตึกใหม่และมอบอำาจให้ ก. เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าตึกและแผงลอย ไม่ใช่เป็นเรื่องโจทก์ตั้งให้ ก. เป็นตัวแทนไปตกลงเรื่องจะให้ค่าขนย้ายออกจากแผงลอย การที่ ก. ตกลงจะให้ค่าขนย้ายแก่ผู้ที่อยู่ในแผงลอย จึงไม่ผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าใช้ประโยชน์ในที่ของผู้อื่นโดยไม่มีนิติสัมพันธ์ ถือเป็นการละเมิด เจ้าของมีสิทธิฟ้องขับไล่ได้
โจทก์เป็นเจ้าของแผงลอยพิพาท ได้ทำสัญญาให้ ช. เช่า เมื่อ ช. ตาย สัญญาเช่าจึงระงับไป จำเลยผู้เป็นน้องชายของ ช. เข้าใช้แผงลอยนี้ต่อมาโดยไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย แม้โจทก์จะได้ทำสัญญาให้ ก. เช่าเพื่อสร้างอาคารใหม่ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ระงับไป
โจทก์ทำสัญญาให้ ก. เช่าตลาดโดยให้รื้อตึกเก่าและแผงลอยออกแล้วสร้างตึกใหม่และมอบอำนาจให้ ก. เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าตึกและแผงลอย ไม่ใช่เป็นเรื่องโจทก์ตั้งให้ ก. เป็นตัวแทนไปตกลงเรื่องจะให้ค่าขนย้ายออกจากแผงลอย การที่ ก. ตกลงจะให้ค่าขนย้ายแก่ผู้ที่อยู่ในแผงลอย จึงไม่ผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้ามาของผู้รับเรือนไม่ได้เป็นการแปลงหนี้เดิม แม้จะมีการผ่อนผันชำระหนี้กับผู้รับเรือน
ช. ผู้สั่งจ่ายเช็คทำเอกสารหมาย จ.3 รับรองว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กู้เป็นผู้ทรงเช็คจริง แต่ขณะนี้ยังขัดข้อง ช. ยอมเป็นผู้รับเรือนยอมรับผิดที่จะต้องใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 เพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่งโดยขอผัดชำระหนี้ไปภายในเดือนกรกฎาคม 2505 เมื่อผู้รับเรือนใช้หนี้รายนี้เสร็จแล้ว หนี้สินเดิมจึงจะเสร็จสิ้นกัน ไม่มีข้อความตอนใดว่า การที่ ช. ยอมเข้ามาเป็นผู้รับเรือนและยอมใช้หนี้เงินกู้รายนี้เพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่งแล้วจะให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 หลุดพ้นดังนี้ สัญญาตามเอกสารหมาย จ.3 จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยที่ 1 มาเป็น ช. หนี้เงินกู้จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349
แม้ ช. จะได้ออกเช็คให้โจทก์ผู้ให้กู้ แต่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็ค หนี้จึงไม่ระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321
หลังจากที่จำเลยที่ 1 นำ ช. เข้ามาผูกพันกับหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2กู้ไปจากโจทก์แล้ว การติดต่อทวงถามหนี้ได้เป็นไปเพียงระหว่างโจทก์กับ ช.เท่านั้น โจทก์กับ ช. ตกลงผ่อนการชำระหนี้แก่กัน ช. ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์4 ครั้ง ดังนี้ พฤติการณ์ของ ช. หาใช่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้แต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1405/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงหนี้เงินกู้: การเข้ามาของบุคคลใหม่ในฐานะผู้รับเรือน ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิม
ช. ผู้สั่งจ่ายเช็คทำเอกสารหมาย จ.3 รับรองว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กู้เป็นผู้ทรงเช็คจริง แต่ขณะนี้ยังขัดข้อง ช. ยอมเป็นผู้รับเรือน ยอมรับผิดที่จะต้องใช้เงินแทนจำเลยที่ 1 เพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่ง โดยขอผัดชำระหนี้ไปภายในเดือนกรกฎาคม 2505 เมื่อผู้รับเรือนใช้หนี้รายนี้เสร็จแล้ว หนี้สินเดิมจึงจะเสร็จสิ้นกัน ไม่มีข้อความตอนใดว่า การที่ช. ยอมเข้ามาเป็นผู้รับเรือนและยอมใช้หนี้เงินกู้รายนี้เพิ่มขึ้นอีกคนหนึ่งแล้ว จะให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 หลุดพ้น ดังนี้ สัญญาตามเอกสารหมาย จ.3 จึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลบที่ 1 มาเป็น ช. หนี้เงินกู้จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและฎีกาที่ 349
แม้ ช. จะได้ออกเช็คให้โจทก์ผู้ให้กู้ แต่ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้รับเงินตามเช็ค หนี้จึงไม่ระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายและแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321
หลังจากที่จำเลยที่ 1 นำช. เข้ามาผูกพันกับหนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 กู้ไปจากโจทก์แล้ว การติดต่อทวงถามหนี้ได้เป็นไปเพียงระหว่างโจทก์กับ ช. เท่านั้น โจทก์กับ ช. ตกลงผ่อนการชำระหนี้แก่กัน ช. ชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ 4 ครั้ง ดังนี้ พฤติการณ์ของ ช. หาใช่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้แต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินวัด: แม้มีการครอบครองและรังวัดออกโฉนดแล้ว แต่กรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของวัดและห้ามอ้างอายุความ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่วัด แม้จำเลยจะได้นำรังวัดออกโฉนดเป็นของจำเลย และครอบครองทำประโยชน์มานานสักเท่าใดก็ตามจำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ทั้งจะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดไม่ได้ เพราะตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 ก็ดีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2477 ก็ดีพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ก็ดี ได้มีข้อบัญญัติไว้ตลอดมาว่าที่วัดผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ที่นั้นไปไม่ได้ จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ และห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินวัดห้ามโอน/อ้างอายุความ แม้มีการครอบครองทำประโยชน์นานก็ไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่วัด แม้จำเลยจะได้นำรังวัดออกโฉนดเป็นของจำเลย และครอบครองทำประโยชน์มานานสักเท่าใดก็ตาม จำเลยก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ทั้งจะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดไม่ได้ เพราะตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ก็ดี พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2477 ก็ดี พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ก็ดี และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ก็ดี ได้มีข้อบัญญัติไว้ตลอดมาว่า ที่วัด ผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ที่นั้นไปไม่ได้ จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ และห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ล้มละลายทำสัญญาประนีประนอมหลังถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้รับเงิน ถือเป็นเจ้าหนี้ที่เอาเปรียบ
การที่จำเลย (ลูกหนี้) ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย (ลูกหนี้) และได้มอบเงินให้ทนายจำเลยนำไปวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นโจทก์รับไป ดังนี้ เป็นการที่จำเลย (ลูกหนี้) ไม่มีสิทธิจะทำได้ เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อทั้งผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ (จำเลย) ผู้ล้มละลายทราบอยู่แล้วว่าลูกหนี้ (จำเลย) ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ยังรับเงินจากลูกหนี้(จำเลย) ไว้ เช่นนี้ เป็นการมิชอบด้วยมาตรา 173 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ที่เอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเรียกเอาเงินจำนวนนั้นคืนจากผู้ร้องขอรับชำระหนี้ได้
มติที่ประชุมเจ้าหนี้ยืนยันให้เรียกเงินคืน ในกรณีเช่นนี้แม้จะมีเจ้าหนี้มาประชุมเป็นส่วนน้อย เมื่อได้ความว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งแจ้งความนัดประชุมไปยังเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบโดยชอบแล้วก็ไม่ทำให้การประชุมและมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในการนั้นเสียไปทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้รับชำระหนี้หลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือเป็นเจ้าหนี้ที่เอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น
การที่จำเลย (ลูกหนี้) ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องขอรับชำะหนี้ซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย (ลูกหนี้) และได้มอบเงินให้ทนายจำเลยนำไปวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นโจทก์รับไป ดังนี้ เป็นการที่จำเลย (ลูกหนี้) ไม่มีสิทธิจะทำได้ เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 23 เมื่อทั้งผู้ร้องขอรับชำระหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ลูกหนี้ (จำเลย) ผู้ล้มละลาย ทราบอยู่แล้วว่าลูกหนี้ (จำเลย) ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ผู้ร้องจะขอรับชำระหนี้ยังรับเงินจากลูกหนี้ (จำเลย) ไว้ เช่นนี้ เป็นการมิชอบด้วยมาตรา 173 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ที่เอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรพัย์มีสิทธิเรียกเอาเงินจำนวนนั้นคืนจากผู้ร้องขอรับชำะรหนี้ได้ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ยืนยันให้เรียกเงินคืน ในกรณีเช่นนี้ แม้จะมีเจ้าหนี้มาประชุมเป็นส่วนน้อย เมื่อได้ความว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ส่งแจ้งความนัดประชุมไปยังเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบโดยชอบแล้ว ก็ไม่ทำให้การประชุมและมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในการนั้นเสียไป ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของบุตรนอกสมรสและภริยาที่ไม่จดทะเบียนสมรส: เงื่อนไขและขอบเขต
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะไม่ใช่บุตรและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายนั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกข้อนี้ขึ้นว่าในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์เป็นเพียงบุตรนอกสมรสของผู้ตาย ถึงแม้ผู้ตายได้แจ้งทะเบียนคนเกิดว่าโจทก์เป็นบุตรของผู้ตายและอุปการะเลี้ยงดูโดยเปิดเผยตลอดมา ก็ไม่ทำให้โจทก์เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเพราะบุตรนอกสมรสจะกลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้ตามวิธีการในมาตรา 1526 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เท่านั้นโจทก์คงมีฐานะเป็นเพียงบุตรที่ผู้ตายได้รับรองแล้วตามมาตรา 1627และมีสิทธิที่จะรับมรดกในฐานะที่เป็นผู้สืบสันดานได้ตามมาตรา 1629(1)แต่ไม่มีสิทธิได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: สถานะทางกฎหมายของโจทก์ (ภริยาและบุตร) และอายุความฎีกา
ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันที่ 20 พฤษภาคม 2511 การนับอายุความฎีกาจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2511 กำหนดหนึ่งเดือนจึงสิ้นสุดในวันที่ 20 มิถุนายน 2511 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวัดแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น แต่ในวันดังกล่าวนี้เป็นวันหยุดราชการ จึงต้องนับถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2511 ซึงเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าในอายุความฎีกาด้วย
ปัญหาที่ว่า โจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และโจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์เป็นเพียงบุตรนอกสมรสของผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งผู้ตายได้แจ้งทะเบียนคนเกิดว่าเป็นบุตรของตน และอุปการะเลี้ยงดูโดยเปิดเผยตลอดมาเท่านั้น การที่ผู้ตายแจ้งทะเบียนคนเกิดว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของตนก็ดี หรือได้ทำการอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 2 ฉันบุตรตลอดมาก็ดี ก็หาทำให้โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายขึ้นมาไม่ เพราะบุตรนอกสมรสจะกลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้ ก็ต้องเป็นไปตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1526 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ที่ 2 คงมีฐานะเป็นเพียงบุตรที่ผู้ตายรับรองแล้วตามมาตรา 1627 และมีเพียงสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) จึงไม่มีสิทธิได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ที่ทำให้บิดาตนถึงแก่ความตายได้ (อ้างฎีกาที่ 1259/2506)
เมื่อโจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ก็มิใช่ผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทำศพผู้ตายจากจำเลยได้
of 72