คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไฉน บุญยก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 713 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ศาลฎีกาวินิจฉัยขอบเขตอำนาจศาลอุทธรณ์ในการแก้ไขคำพิพากษาเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอที่ 49784 ดีกว่าจำเลย.และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอที่48018 และคำขอเลขที่ 48390 เสีย. ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 49784 ดีกว่าจำเลย. มิได้พิพากษาให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 48390 ด้วย.โจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น. ดังนี้พอถือได้ว่า ข้อความในประเด็น.ข้อนี้ไม่จำเป็นแก่โจทก์. และโจทก์พอใจในผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ประเด็นข้อนี้เป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น. ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิพากษาแก้.คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 48390 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาลอุทธรณ์ในการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้น กรณีโจทก์ไม่เคยอุทธรณ์ประเด็นนั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอที่ 49784 ดีกว่าจำเลย และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอที่48018 และคำขอเลขที่ 48390 เสีย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 49784 ดีกว่าจำเลย มิได้พิพากษาให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 48390 ด้วย โจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้พอถือได้ว่า ข้อความในประเด็น ข้อนี้ไม่จำเป็นแก่โจทก์ และโจทก์พอใจในผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ประเด็นข้อนี้เป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 48390 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีต่อเนื่องหลังศาลยกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิ: สิทธิการฟ้องยังคงอยู่
คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 187/2507 ของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุด. แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในประเด็นที่พิพาท และได้พิพากษาในคดีก่อนให้ยกฟ้องเสีย โดยไม่ตัดสิทธิของโจทก์มาฟ้องใหม่. ส่วนประเด็นแห่งคดีก็เป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง. ในคดีแรกยังอยู่ภายในระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375.และมาฟ้องคดีหลังก็เนื่องจากศาลอนุญาตให้มาฟ้องใหม่.ก็ต้องถือว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องร้องโดยถูกต้องมาแล้ว มาฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นการฟ้องต่อเนื่องกัน. หลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 174 เอามาใช้ไม่ได้.เพราะไม่ใช่อายุความ.
โจทก์ถูกแย่งการครอบครองตั้งแต่พฤษภาคม 2507. และโจทก์ฟ้องคดีเรื่องก่อนเมื่อ 7 สิงหาคม 2507. คดีถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีเรื่องก่อนเมื่อ 5 ตุลาคม 2508ให้ยกฟ้องโจทก์. โดยไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่. โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2508ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องได้.(โดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีต่อเนื่องหลังศาลอนุญาตให้ฟ้องใหม่ ไม่ถือเป็นอายุความ
คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 187/2507 ของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุด แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในประเด็นที่พิพาท และได้พิพากษาในคดีก่อนให้ยกฟ้องเสีย โดยไม่ตัดสิทธิของโจทก์มาฟ้องใหม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีก็เป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืน ซึ่งการครอบครอง ในคดีแรกยังอยู่ภายในระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 และมาฟ้องคดีหลังก็เนื่องจากศาลอนุญาตให้มาฟ้องใหม่ ก็ต้องถือว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องร้องโดยถูกต้องมาแล้ว มาฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นการฟ้องต่อเนื่องกัน หลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 174 เอามาใช้ไม่ได้ เพราะไม่ใช่อายุความ
โจทก์ถูกแย่งการครอบครองตั้งแต่พฤษภาคม 2507 และโจทก์ฟ้องคดีเรื่องก่อนเมื่อ 7 สิงหาคม 2507 คดีถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีเรื่องก่อนเมื่อ 5 ตุลาคม 2508 ให้ยกฟ้องโจทก์ โดยไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2508 ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องได้
(โดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีต่อเนื่องหลังศาลอนุญาตให้ฟ้องใหม่ ไม่ถือขาดอายุความ
คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 187/2507 ของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีถึงที่สุด แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในประเด็นที่พิพาท และได้พิพากษาในคดีก่อนให้ยกฟ้องเสีย โดยไม่ตัดสิทธิของโจทก์มาฟ้องใหม่ ส่วนประเด็นแห่งคดีก็เป็นการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครอง ในคดีแรกยังอยู่ภายในระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 และมาฟ้องคดีหลังก็เนื่องจากศาลอนุญาตให้มาฟ้องใหม่ ก็ต้องถือว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องร้องโดยถูกต้องมาแล้ว มาฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นการฟ้องต่อเนื่องกัน หลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 174 เอามาใช้ไม่ได้ เพราะไม่ใช่อายุความ
โจทก์ถูกแย่งการครอบครองตั้งแต่พฤษภาคม 2507 และโจทก์ฟ้องคดีเรื่องก่อนเมื่อ 7 สิงหาคม 2507 คดีถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีเรื่องก่อนเมื่อ 5 ตุลาคม 2508ให้ยกฟ้องโจทก์ โดยไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2508 ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องได้(โดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทของผู้รับเหมาในการตรวจสอบฐานะผู้ว่าจ้าง ไม่ถือเป็นกลฉ้อฉล สัญญาไม่ตกเป็นโมฆียะ
ในการทำสัญญารับเหมาก่อสร้างเป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างโดยตรงที่จะต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเอง. ฉะนั้น จึงมีหน้าที่ต้องพิจารณาด้วยตนเองว่า ผู้ว่าจ้างเป็นบุคคลมีหลักฐานสมควรที่ผู้รับจ้างเข้าทำสัญญาด้วยหรือไม่. การที่ผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวย่อมเป็นความประมาทและเสี่ยงภัยของตนเอง. ฉะนั้น แม้ผู้อื่นจะแจ้งแก่ผู้รับจ้างโดยไม่เป็นความจริงว่า. ผู้ว่าจ้างเป็นคนร่ำรวยมีฐานะดีก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้อื่นทำกลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์. สัญญารับเหมาก่อสร้างจึงไม่ตกเป็นโมฆียะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทของผู้รับจ้างในการตรวจสอบฐานะคู่สัญญา สัญญาไม่ตกเป็นโมฆียะ
ในการทำสัญญารับเหมาก่อสร้างเป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างโดยตรงที่จะต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ฉะนั้น จึงมีหน้าที่พิจารณาด้วยตนเองว่า ผู้ว่าจ้างเป็นบุคคลมีหลักฐานสมควรที่ผู้รับจ้างเข้าทำสัญญาด้วยหรือไม่ การที่ผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวย่อมเป็นความประมาทและเลี่ยงภัยของตนเอง ฉะนั้น แม้ผู้อื่นจะแจ้งแก่ผู้รับจ้างโดยไม่เป็นความจริงว่า ผู้ว่าจ้างเป็นคนร่ำรวยมีฐานะดีกับยังถือไม่ได้ว่าผู้อื่นทำกลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ สัญญารับเหมาก่อสร้างจึงไม่ตกเป็นโมฆียะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับเหมาในการตรวจสอบฐานะผู้ว่าจ้าง สัญญาไม่ตกเป็นโมฆียะจากกลฉ้อฉล
ในการทำสัญญารับเหมาก่อสร้างเป็นหน้าที่ของผู้รับจ้างโดยตรงที่จะต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเอง ฉะนั้น จึงมีหน้าที่ต้องพิจารณาด้วยตนเองว่า ผู้ว่าจ้างเป็นบุคคลมีหลักฐานสมควรที่ผู้รับจ้างเข้าทำสัญญาด้วยหรือไม่ การที่ผู้รับจ้างไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวย่อมเป็นความประมาทและเสี่ยงภัยของตนเอง ฉะนั้น แม้ผู้อื่นจะแจ้งแก่ผู้รับจ้างโดยไม่เป็นความจริงว่า ผู้ว่าจ้างเป็นคนร่ำรวยมีฐานะดีก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้อื่นทำกลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ สัญญารับเหมาก่อสร้างจึงไม่ตกเป็นโมฆียะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่อาจเข้าข่ายพยายามฆ่า แต่ศาลเห็นว่าเป็นการทำร้ายร่างกายจนเป็นอันตรายถึงบาดเจ็บ
จำเลยขับรถแซงรถผู้เสียหายขึ้นไปด้วยความเร็ว แล้วหักพวกมาลัยให้ท้ายรถจำเลยปัดหน้ารถผู้เสียหายจนรถยนต์ผู้เสียหายแฉลมไปจนเกือบตกถนนนั้นหากถนนตรงนั้นเป็นที่สูงหรืออยู่หน้าผาสูงชันย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า ถ้ารถคว่ำลงไปแล้วทั้งรถและคนย่อมถึงซึ่งความพินาศ เห็นผลได้ชัดเจนว่าผู้เสียหายย่อมได้รับอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น แม้รถยนต์ผู้เสียหายจะไม่ตกถนนลงไป จำเลยก็มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น และไม่ต้องคำนึงถึงว่าคนนั่งภายในรถจะมีตัวรถป้องกันหรือไม่ แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าถนนตรงที่เกิดเหตุสูงจากพื้นนาประมาณ 1 แขน หรือ 1 เมตร ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายขับรถอยู่ในอัตราความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อถูกจำเลยเอาท้ายรถปาดหน้ารถผู้เสียหาย ๆ ก็แตะเบรครถหยุดทันที และเครื่องดับเอง ล้อรถด้านซ้ายยังห่างขอบถนอีกราว 1 ศอก ผู้เสียหายไม่ได้รับบาดเจ็บอันใด จึงถือว่าจำเลยมีเจตนาพยายามฆ่าผู้เสียหายให้ถึงตายยังไม่ได้ เพราะถึงหากรถยนต์ผู้เสียหายจะตกลงไปโดยผู้เสียหายนั่งภายในตัวรถก็ไม่แน่ว่าจะถึงตาย แต่ก็พอคาดหมายได้ว่าอย่างน้อยผู้เสียหายย่อมได้รับการกระทบกระแทกเป็นอันตรายถึงบาดเจ็บ ซึ่งจำเลยก็น่าจะเล็งเห็นผลอันจะเกิดแก่ผู้เสียหายได้ดังนี้ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามทำร้ายผู้เสียหายเป็นอันตรายถึงบาดเจ็บตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295, 80
จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 358 การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท ตามมาตรา 90 ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลย แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ใช้บทมาตรา 358 ฐานทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งมีโทษหนักที่สุดลงโทษมาแล้วและฎีกาของโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นอีก จึงแก้โทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาพยายามทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นอันตรายถึงบาดเจ็บ การกระทำที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตแต่ไม่สำเร็จ
จำเลยขับรถแซงรถผู้เสียหายขึ้นไปด้วยความเร็ว แล้วหักพวงมาลัยให้ท้ายรถจำเลยปัดหน้ารถผู้เสียหายจนรถยนต์ผู้เสียหายแฉลบไปจนเกือบตกถนนนั้น.หากถนนตรงนั้นเป็นที่สูงหรืออยู่หน้าผาสูงชันย่อมเล็งเห็นผลได้ว่า. ถ้ารถคว่ำลงไปแล้วทั้งรถและคนย่อมถึงซึ่งความพินาศ. เห็นผลได้ชัดว่าผู้เสียหายย่อมได้รับอันตรายถึงชีวิต. ดังนั้น แม้รถยนต์ผู้เสียหายจะไม่ตกถนนลงไป จำเลยก็มีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น. และไม่จำต้องคำนึงถึงว่าคนนั่งภายในรถจะมีตัวรถป้องกันหรือไม่. แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าถนนตรงที่เกิดเหตุสูงจากพื้นนาประมาณ 1 แขนหรือ 1 เมตร. ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายขับรถอยู่ในอัตราความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง. เมื่อถูกจำเลยเอาท้ายรถปาดหน้ารถผู้เสียหายๆก็แตะเบรครถหยุดทันที และเครื่องดับเอง. ล้อรถด้านซ้ายยังห่างขอบถนนอีกราว 1ศอก. ผู้เสียหายไม่ได้รับบาดเจ็บอันใด. จึงถือว่าจำเลยมีเจตนาพยายามฆ่าผู้เสียหายให้ถึงตายยังไม่ได้.เพราะถึงหากรถยนต์ผู้เสียหายจะตกลงไปโดยผู้เสียหายนั่งอยู่ภายในตัวรถก็ไม่แน่ว่าจะถึงตาย. แต่ก็พอคาดหมายได้ว่าอย่างน้อยผู้เสียหายย่อมได้รับการกระทบกระแทกเป็นอันตรายถึงบาดเจ็บ. ซึ่งจำเลยก็น่าจะเล็งเห็นผลอันจะเกิดแก่ผู้เสียหายได้ดังนี้. จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามทำร้ายผู้เสียหายเป็นอันตรายถึงบาดเจ็บตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295,80.
จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ประกอบด้วยมาตรา 80 และมาตรา 358. การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว แต่ผิดกฎหมายหลายบท. ตามมาตรา 90 ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษจำเลย. แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ได้ใช้บทมาตรา 358 ฐานทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งมีโทษหนักที่สุดลงโทษมาแล้ว.และฎีกาของโจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นอีก. จึงแก้โทษจำเลยไม่ได้.
of 72