คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรุณ ตินทุกะสิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการปรับโทษในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร การปรับโทษต่อความผิดต่อครั้งและจำเลย
พระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 27 บัญญัติเรื่องโทษไว้ว่า สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และมาตรา 27 ทวิ เป็นบทบัญญัติต่อท้าย และเป็นความผิดต่อเนื่องจากมาตรา 27 แม้ในมาตรา 27 ทวิจะมิได้บัญญัติถึงข้อความเจาะจงลงไปว่าความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ด้วยก็ตาม ก็ย่อมมีความหมายเช่นเดียวกับมาตรา 27 ฉะนั้น ถ้าศาลจะปรับจำเลยเรียงตัวคนละ 4 เท่าราคาของรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ก็จะเป็นการปรับจำเลยสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ เกินกว่า 4 เท่าขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว และมาตรา 120 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า เมื่อบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้แตกต่างกับกฎหมายอื่น ให้ยกเอาบทพระราชบัญญัตินี้ขึ้นบังคับ จึงเอามาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายอาญามาบังคับไม่ได้ จึงต้องปรับจำเลยรวมกันไม่เกิน 4 เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2509).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การช่วยเหลือผู้ต้องหาหลบหนีระหว่างถูกควบคุม เจ้าพนักงานมีอำนาจลงโทษตามบทที่ถูกต้อง แม้ฟ้องผิดฐาน
ขณะที่เจ้าพนักงานควบคุมตัวผู้ต้องหามา จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านที่ผู้ต้องหาเป็นลูกบ้านมาพูดรับรองขอเอาตัวผู้ต้องหาไปพูดจากันประเดี๋ยวเดียวแล้วจะส่งคืน อันเป็นการที่จำเลยมีเจตนาจะช่วยเหลือให้ผู้ต้องหาหลบหนีไปและจำเลยได้ช่วยให้ผู้ต้องหาหลบหนีไปทั้งที่เจ้าพนักงานได้ตามไปนั่งคอยรับตัวผู้ต้องหาอยู่ที่หน้าบ้านของจำเลยที่ 2 ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้ทำการช่วยเหลือผู้ต้องหาซึ่งอยู่ในระหว่างการควบคุมให้หลุดพ้นไป
กรณีที่โจทก์บรรยายฟ้องชัดเจนพอประกอบเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 191 แล้ว และไม่ต้องด้วยมาตรา 189
โจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 189 ซึ่งเป็นการอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลก็มีอำนาจวางบทและวางโทษตามมาตรา 191 อันเป็นบทที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรค 4 ทั้งนี้แม้อัตราโทษตามมาตรา 191 สูงกว่ามาตรา 189 ก็ตาม เพราะบทบัญญัติวรรค 4 เป็นข้อยกเว้นของวรรคแรกจำเลยจะอ้างว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การช่วยเหลือผู้ต้องหาหลบหนีจากเจ้าพนักงาน: ศาลอุทธรณ์ลงโทษตามมาตรา 191 ได้ แม้ฟ้องขอตามมาตรา 189
ขณะที่เจ้าพนักงานควบคุมตัวผู้ต้องหามา จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านที่ผู้ต้องหาเป็นลูกบ้านมาพูดรับรองขอเอาตัวผู้ต้องหาไปพูดจากันประเดี๋ยวเดียวแล้วจะส่งคืน อันเป็นการที่จำเลยมีเจตนาจะช่วยเหลือให้ผู้ต้องหาหลบหนีไปและจำเลยได้ช่วยให้ผู้ต้องหาหลบหนีไปทั้งที่เจ้าพนักงานได้ตามไปนั่งคอยรับตัวผู้ต้องหาอยู่ที่หน้าบ้านของจำเลยที่ 2 ดังนี้ ถือว่าจำเลยได้ทำการช่วยเหลือผู้ต้องหาซึ่งอยู่ในระหว่างการควบคุมให้หลุดพ้นไป
กรณีที่โจทก์บรรยายฟ้องชัดเจนพอประกอบเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 191 แล้ว และไม่ต้องด้วยมาตรา189
โจทก์ขอให้ลงโทษตามมาตรา 189 ซึ่งเป็นการอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลก็มีอำนาจวางบทและวางโทษตามมาตรา 191 อันเป็นบทที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่ ทั้งนี้แม้อัตราโทษตามมาตรา 191 สูงกว่ามาตรา 189 ก็ตาม เพราะบทบัญญัติวรรคสี่ เป็นข้อยกเว้นของวรรคแรก
จำเลยจะอ้างว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งจากการที่สุกรของจำเลยเข้ากัดกินข้าวโพดของโจทก์ และการยิงสุกรตาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าข้าวโพดเป็นเงิน 2,700 บาทแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าข้าวโพดเป็นจำนวนเงิน 180 บาทแก่โจทก์ ให้โจทก์ใช้ค่าสุกรที่โจทก์ยิงตายให้จำเลยที่ 2 เป็นเงิน 180 บาท โจทก์ฎีกาเฉพาะค่าเสียหายว่าโจทก์ควรได้ดังที่ศาลชั้นต้นกำหนด ดังนี้ เป็นแก้ไขมาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดต่อทรัพย์สิน (ข้าวโพด) และค่าเสียหายสุกรที่ถูกยิง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าข้าวโพดเป็นเงิน 2,700 บาท แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าข้าวโพดเป็นจำนวนเงิน 180 บาท แก่โจทก์ ให้โจทก์ใช้ค่าสุกรที่โจทก์ยิงตายให้จำเลยที่ 2 เป็นเงิน 180 บาท โจทก์ฎีกาเฉพาะค่าเสียหายว่าโจทก์ควรได้ดังที่ศาลชั้นต้นกำหนด ดังนี้ เป็นแก้ไขมาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือน: การเก็บสินค้าเพื่อการค้า ถือเป็น 'ที่ไว้สินค้า' แม้ไม่ได้เปิดร้าน
เมื่อสิ่งของที่เก็บไว้ในโรงเรือนของจำเลยเป็นสินค้าทั้งจำเลยทำการค้าเปิดร้านอีกแห่งหนึ่งและปรากฏว่าบางทีจำเลยเอาสินค้านี้ไปใส่ร้านค้าของจำเลยนั้น ดังนี้ถือได้ว่าโรงเรือนจำเลยเป็นที่ไว้สินค้าตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 10 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ไม่จำเป็นว่าจำเลยจะต้องเปิดทำการค้าที่โรงเรือนนี้หรือถึงกับจะต้องใช้โรงเรือนนี้เป็นที่รับทำการเก็บสินค้าเพื่อบำเหน็จจึงจะเป็นที่ไว้สินค้า และเมื่อจำเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการแห่งทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมมีความผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โรงเรือนเก็บสินค้า ถือเป็นที่ไว้สินค้าตามกฎหมายภาษีโรงเรือนฯ แม้ไม่ได้ใช้ทำการค้าโดยตรง
เมื่อสิ่งของที่เก็บไว้ในโรงเรือนของจำเลยเป็นสินค้า ทั้งจำเลยทำการค้าเปิดร้านอีกแห่งหนึ่งและปรากฏว่าบางทีจำเลยเอาสินค้านี้ไปใส่ร้านค้าของจำเลยนั้นดังนี้ ถือได้ว่าโรงเรือนของจำเลยเป็นที่ไว้สินค้าตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 10 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2475 มาตรา 3 ไม่จำเป็นว่าจำเลยจะต้องเปิดทำการค้าที่โรงเรือนนี้หรือถึงกับจะต้องใช้โรงเรือนนี้เป็นที่รับทำการเก็บสินค้าเพื่อบำเหน็จจึงจะเป็นที่ไว้สินค้า และเมื่อจำเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการแห่งทรัพย์สินเพื่อเสียภาษีต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมมีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาที่ไม่มีข้อความกรอกชัดเจน ศาลพิจารณาจากเจตนาในการลงชื่อและหนี้ซื้อเชื่อ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงิน 4,000 บาท จำเลยว่าเป็นเรื่องซื้อของเชื่อเพียง 400 บาท โจทก์ให้จำเลยเซ็นชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้โดยมิได้กรอกข้อความไว้ จำเลยยังมิได้ชำระค่าซื้อขอเชื้อจริง ขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์กรอกสัญญากู้ภายหลังจึงให้จำเลยชำระค่าซื้อของเชื่อ 400 บาท ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาฟังว่าจำเลยมิได้เป็นหนี้เงินกู้ตามสัญญาที่โจทก์ฟ้อง แต่ฟังได้ว่าจำเลยได้ลงชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้ที่ยังมิได้กรอกข้อความให้โจทก์ไว้เนื่องจากจำเลยเป็นหนี้ค่าซื้อของเชื่อจากโจทก์ ก็พิพากษาให้จำเลยใช้เงิน 400 บาทให้โจทก์ได้
(ความจริงศาลฎีกาพิพากษาให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีผลเท่ากับให้จำเลยใช้เงิน 400 บาทนั้นเอง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความต่างของเครื่องหมายการค้า เพื่อวินิจฉัยการละเมิดสิทธิ
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะประกอบกัน 3 ประการ คือ ลิง ควายและกวาง เฉพาะลิงนั้นถือธงด้วย ซึ่งมองไปก็เห็นลักษณะอันเด่นชัดของภาพทั้ง 3 ได้ทันที ตลอดถึงธงที่ถือก็เห็นได้ชัดเจน ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะคนขี่ควายอย่างเดียว ไม่เหมือนกัน รูปร่างและลักษณะท่าทางของลิงก็แตกต่างกับรูปร่างลักษณะท่าทางของคน เห็นได้ชัด ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะไม่เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันจะทำให้สาธารณชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า เพื่อตัดสินว่าเป็นการละเมิดหรือไม่
เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะประกอบกัน 3 ประการคือ ลิงควายและกวางเฉพาะลิงนั้นถือธงด้วย ซึ่งมองไปก็เห็นลักษณะอันเด่นชัดของภาพทั้ง 3 ได้ทันทีตลอดถึงธงที่ถือก็เห็นได้ชัดเจนส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะคนขี่ควายอย่างเดียวไม่เหมือนกันรูปร่างและลักษณะท่าทางของลิงก็แตกต่างกับรูปร่างลักษณะท่าทางของคน เห็นได้ชัดดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีลักษณะไม่เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันจะทำให้สาธารณชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์
of 21