พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตถอนตัวจากการเป็นจำเลยร่วมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ผู้ร้องต้องโต้แย้งเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ภายหลังมีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนตัวจากการเป็นจำเลยร่วมนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาหากผู้ร้องไม่เห็นพ้อง ก็มีสิทธิเพียงแต่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อสิทธิอุทธรณ์ในเมื่อได้พิจารณาหรือมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีแล้วเท่านั้น ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226
เมื่อฝ่ายจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาให้เป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้วแต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยแม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เมื่อฝ่ายจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาให้เป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้วแต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยแม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาได้เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตถอนตัวจากจำเลยร่วมเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา อุทธรณ์ต้องรอจนกว่ามีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องถอนตัวจากการเป็นจำเลยร่วมนั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากผู้ร้องไม่เห็นพ้อง ก็มีสิทธิเพียงแต่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ในเมื่อศาลได้พิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีแล้วเท่านั้น ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นก่อนศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226
เมื่อฝ่ายจำเลยได้โต้แย้งว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาให้เป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้ว แต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
เมื่อฝ่ายจำเลยได้โต้แย้งว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาให้เป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์แล้ว แต่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาสร้างและริบเงินมัดจำจากพฤติการณ์ที่ผู้ซื้ออพยพย้ายภูมิลำเนาและเงียบหาย
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้บิดาโจทก์และได้รับเงินมัดจำไปแล้ว โดยตกลงกันว่าจะไปทำสัญญาซื้อขายกันที่อำเภอภายใน 120 วัน ถ้าจำเลยผิดสัญญา จำเลยยอมคืนเงินมัดจำและยอมให้ปรับด้วยนั้น การที่มิได้ปฏิบัติการซื้อขายภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เพราะบิดาโจทก์อพยพย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่อื่นโดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบ ทั้งไม่ได้มาขอปฏิบัติการชำระหนี้ภายในกำหนด ซ้ำยังปล่อยเวลาให้ล่วงพ้นไปเป็นเวลาถึง 6 ปีเศษนั้น ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายโดยไม่ติดใจเรียกร้องอะไรแก่กันแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิที่จะริบเงินมัดจำและไม่ต้องเสียเบี้ยปรับให้โจทก์ด้วย.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2508)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสิทธิเช่าเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต การชำระค่าเช่าหลังการเสียชีวิตไม่ก่อให้เกิดสัญญาเช่าใหม่
สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าเมื่อผู้เช่าตายสิทธิการเช่าย่อมสิ้นสุดจำเลยซึ่งเป็นบุตรผู้เช่าได้อยู่ในตึกพิพาทต่อมาก็ถือว่าอยู่ในฐานะบริวารของผู้เช่าดังนั้นการที่จำเลยชำระค่าเช่าจึงเป็นการชำระในนามของผู้เช่า ไม่ก่อให้เกิดสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และจำเลยอย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 119/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตาย สิทธิสิ้นสุด การชำระค่าเช่าหลังการตายไม่ก่อให้เกิดสัญญาใหม่
สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า เมื่อผู้เช่าตาย สิทธิการเช่าย่อมสิ้นสุด จำเลยซึ่งเป็นบุตรผู้เช่าได้อยู่ในตึกพิพาทต่อมา ก็ถือว่าอยู่ในฐานะบริวารของผู้เช่า ดังนั้น การที่จำเลยชำระค่าเช่าจึงเป็นการชำระในนามของผู้เช่า ไม่ก่อให้เกิดสัญญาเช่าระหว่างโจทก์และจำเลยอย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความรับผิดของจำเลยที่ 3 ในคดีร่วมกันยักยอกทรัพย์: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงและความเชื่อมโยงกับจำเลยอื่น
ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานนำสืบพาดพิงว่าจำเลยที่ 3 ได้เกี่ยวข้องกับการยักยอกตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ฟ้องดังนี้ เท่ากับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้กระทำการตามที่โจทก์ฟ้อง มิได้ฟังว่าจำเลยที่3 กระทำการตามที่โจทก์ฟ้องแล้วแต่เห็นว่าการกระทำนั้นไม่เป็นผิดกฎหมายดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลชั้นต้นก็ได้สั่งว่าคดีมีมูลสำหรับจำเลยที่ 1-2 ฉะนั้นมูลคดีที่โจทก์กล่าวหาในฟ้องเป็นฐานความผิดเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้ง 3 เป็นกรณีเดียวกันซึ่งเข้าข้อกฎหมายเข้าในเหตุลักษณะคดีคดีของโจทก์ต้องมีมูลทั้ง 3 คนนั้น จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ข้อที่ว่าตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ใช่ตั๋วใช้เงินธรรมดาแต่เป็นตั๋วมีเงื่อนไขให้หักเงินค่าจ้างจากผลงานชดใช้เงินตามตั๋วได้ซึ่งจำเลยก็ทราบดี เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ข้อที่ว่า เท่าที่โจทก์นำพยานบุคคลและพยานเอกสารเข้าสืบต่อศาล พอฟังได้ว่าในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่าคดีโจทก์มีมูล ก็เป็นการเถียงข้อเท็จจริง
ข้อที่ว่าตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ใช่ตั๋วใช้เงินธรรมดาแต่เป็นตั๋วมีเงื่อนไขให้หักเงินค่าจ้างจากผลงานชดใช้เงินตามตั๋วได้ซึ่งจำเลยก็ทราบดี เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ข้อที่ว่า เท่าที่โจทก์นำพยานบุคคลและพยานเอกสารเข้าสืบต่อศาล พอฟังได้ว่าในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่าคดีโจทก์มีมูล ก็เป็นการเถียงข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญา: ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นหลัก การพิจารณาว่ามีมูลคดีหรือไม่เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานนำสืบพาดพิงว่าจำเลยที่ 3 ได้เกี่ยวข้องกับการยักยอกตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ เท่ากับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 ไม่ได้กระทำการตามที่โจทก์ฟ้อง มิได้ฟังว่าจำเลยที่ 3 กระทำการตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว แต่เห็นว่าการกระทำนั้นไม่เป็นผิดกฎหมาย ดังนั้น อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าศาลชั้นต้นก็ได้สั่งว่าคดีมีมูลสำหรับจำเลยที่ 1 - 2 ฉะนั้นมูลคดีที่โจทก์กล่าวหาในฟ้องเป็นฐานความผิดเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้ง 3 เป็นกรณีเดียวกันซึ่งเข้าข้อกฎหมายเข้าในเหตุลักษณะคดี คดีของโจทก์ต้องมีมูลทั้ง 3 คนนั้น จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ข้อที่ว่าตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ใช่ตั๋วใช้เงินธรรมดาแต่เป็นตั๋วมีเงื่อนไขให้หักเงินค่าจ้างจากผลงานชดใช้เงินตามตั๋วได้ ซึ่งจำเลยก็ทราบดี เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ข้อที่ว่า เท่าที่โจทก์นำพยานบุคคลและพยานเอกสารเข้าสืบต่อศาล พอฟังได้ว่าในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่าคดีโจทก์มีมูล ก็เป็นการเถียงข้อเท็จจริง
ข้อที่ว่าตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ใช่ตั๋วใช้เงินธรรมดาแต่เป็นตั๋วมีเงื่อนไขให้หักเงินค่าจ้างจากผลงานชดใช้เงินตามตั๋วได้ ซึ่งจำเลยก็ทราบดี เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ข้อที่ว่า เท่าที่โจทก์นำพยานบุคคลและพยานเอกสารเข้าสืบต่อศาล พอฟังได้ว่าในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่าคดีโจทก์มีมูล ก็เป็นการเถียงข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'ผ่าน' ใน พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ จำเลยเพียงนำไม้เข้าเขตด่านป่าไม้ ไม่ถือว่า 'ผ่าน' ด่าน
พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 41 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดนำไม้หรือของป่าผ่านด่านป่าไม้ในระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ฯลฯ แต่พระราชบัญญัติป่าไม้ไม่มีวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ผ่าน" ก็ต้องตีความหมายธรรมดา (ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน) หมายถึงกิริยาที่ล่วงพ้นไป ตัดไป ลัดไป หรือข้ามไป ฉะนั้น เมื่อคดีได้ความว่าจำเลยเพียงแต่นำไม้เข้ามาในเขตด่านป่าไม้จะแปลว่าจำเลยได้นำไม้ผ่านด่านป่าไม้ไม่ได้ จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 41.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำว่า 'ผ่าน' ในความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ มาตรา 41 ต้องพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม
พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 41 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดนำไม้หรือของป่าผ่านด่านป่าไม้ในระหว่างเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นเว้นแต่จะได้รับอนุญาตฯลฯแต่พระราชบัญญัติป่าไม้ไม่มีวิเคราะห์ศัพท์คำว่า 'ผ่าน' ก็ต้องตีความหมายธรรมดา (ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน) หมายถึงกิริยาที่ล่วงพ้นไป ตัดไปลัดไป หรือข้ามไปฉะนั้นเมื่อคดีได้ความว่าจำเลยเพียงแต่นำไม้เข้ามาในเขตด่านป่าไม้ จะแปลว่าจำเลยได้นำไม้ผ่านด่านป่าไม้ไม่ได้จำเลยไม่มีความผิดตามมาตรา 41
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้แทนของนิติบุคคลในความผิดอาญา: กรรมการผู้จัดการต้องรับผิดเมื่อบริษัทกระทำผิด
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด เป็นนิติบุคคล จึงเป็นเพียงบุคคลสมมุติโดยอำนาจของกฎหมาย ดำเนินหรือปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทด้วยตนเองไม่ได้ ต้องดำเนินหรือปฏิบัติงานโดยผู้แทน จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการ จึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินหรือปฏิบัติงานของบริษัทจำเลยที่ 1 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 1 กระทำผิด ก็ได้ชื่อว่าเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ด้วย