คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรุณ ตินทุกะสิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่มิได้จดทะเบียน: โมฆะหรือไม่ และผลของการเป็นโมฆะต่อสัญญาจะซื้อขาย
สัญญาซื้อขายมีใจความชัดแจ้งว่า คู่สัญญามีเจตนามุ่งซื้อขายที่ดินกันเด็ดขาดไม่มีข้อความใดแสดงว่าคู่สัญญามีเจตนาจะไปจดทะเบียนโอนกันในภายหลัง อันจะทำให้เห็นว่าเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย เมื่อมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456
ตามสัญญาซื้อขาย คู่สัญญามีเจตนามุ่งให้สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาซื้อขายเด็ดขาดและไม่มีทางจะแปลได้ว่าเป็นสัญญาจะซื้อขายแล้วเมื่อสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะนิติกรรมนี้จะสมบูรณ์ในฐานะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายโดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 136 ไม่ได้
สัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องจะบังคับคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ได้หรือไม่นั้นเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่มิได้จดทะเบียน: โมฆะและไม่อาจเปลี่ยนเป็นสัญญาจะซื้อขายได้
สัญญาซื้อขายมีใจความชัดแจ้งว่า คู่สัญญามีเจตนามุ่งซื้อขายที่ดินกันเด็ดขาด ไม่มีข้อความใดแสดงว่าคู่สัญญามีเจตนาจะไปจดทะเบียนโอนกันในภายหลัง อันจะทำให้เห็นว่าเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย เมื่อมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456
ตามสัญญาซื้อขาย คู่สัญญามีเจตนามุ่งให้สัญญาซื้อขายเป็นสัญญาซื้อขายเด็ดขาด และไม่มีทางจะแปลได้ว่าเป็นสัญญาจะซื้อขายแล้ว เมื่อสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ นิติกรรมนี้จะสมบูรณ์ในฐานะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายโดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 136 ไม่ได้
สัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องจะบังคับคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ได้หรือไม่นั้น เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างเหมาผลงาน การบอกเลิกสัญญาและการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของ
จำเลยจ้างโจทก์ว่าความ โจทก์ทำฟ้องและคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไปยื่น ศาลนัดไต่สวนและยังไม่ได้รับประทับฟ้อง จำเลยบอกเลิกสัญญากับโจทก์แล้วยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง เป็นผลให้โจทก์ต้องหยุดดำเนินคดีให้จำเลย โจทก์ยังดำเนินคดีไม่เสร็จตามสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 แต่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้แก่โจทก์
ค่าสินไหมทดแทน แม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้ชัดแจ้งว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใด ศาลก็กำหนดให้ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2509).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างว่าความและการบอกเลิกสัญญา: สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการบอกเลิกสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของ
จำเลยจ้างโจทก์ว่าความ โจทก์ทำฟ้องและคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไปยื่น ศาลนัดไต่สวนและยังไม่ได้รับประทับฟ้อง จำเลยบอกเลิกสัญญากับโจทก์แล้วยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง เป็นผลให้โจทก์ต้องหยุดดำเนินคดีให้จำเลย โจทก์ยังดำเนินคดีไม่เสร็จตามสัญญา จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 605 แต่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้แก่โจทก์
ค่าสินไหมทดแทน แม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้ชัดแจ้งว่าเป็นจำนวนเงินเท่าใด ศาลก็กำหนดให้ได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ การโอนที่ดินที่เป็นทางให้เสียเปรียบ และอำนาจศาลในการแก้ไขโฉนด
การที่ศาลเรียกบิดาโจทก์เข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยในคดีเนื่องจากศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ข.แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 58 จะบัญญัติว่า ผู้ที่ศาลเรียกเข้ามาเป็นคู่ความจะมีสิทธิเสมือนว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ที่ถูกเรียกเข้ามาในคดีเท่านั้น การที่บิดาโจทก์ถูกเรียกเข้ามาในคดี ไม่ใช่เป็นการกระทำของโจทก์ เรียกไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องบุพการีของตน จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534
กฎหมายไม่ได้ห้ามในการนำสืบหักล้างพยานเอกสาร ห้ามแต่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข
โจทก์ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทได้โอนที่พิพาทนั้นให้จำเลยด้วยความสมัครใจอันเป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะขอให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนให้นั้นจำเลยมิได้เสียค่าตอบแทนโจทก์จึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลย และขอให้เพิกถอนการโอนที่ทำให้ตนเสียเปรียบได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300
แม้ในคำขอโจทก์จะไม่ได้ขอให้ถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดก็ตาม แต่ที่ขอให้เพิกถอน ทำลายนิติกรรมให้จำเลยนั้นก็เป็นการขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยอยู่ในตัวแล้วการที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนชื่อจำเลยจึงไม่เกินคำขอ
จำเลยร่วมโอนที่พิพาทส่วนของตนและของโจทก์ไปให้จำเลยอื่นโจทก์จะขอให้เพิกถอนการโอนไปถึงส่วนของจำเลยร่วมด้วยไม่ได้ การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนในส่วนของจำเลยร่วมด้วย จึงเป็นการพิพากษาที่ไม่ชอบ
แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างโฉนดพิพาทเป็นพยานก็ตาม แต่โจทก์ได้ระบุมาในฟ้องและนำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดพิพาทเป็นส่วนสัดจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ทั้งจำเลยก็ได้อ้างโฉนดพิพาทเข้ามาในคดีด้วย ดังนี้ ศาลจึงหยิบยกขึ้นพิพากษาให้แก้โฉนดได้
โจทก์ขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นเจ้าของและใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดร่วมกับจำเลยรวม 4 คนนั้น มีความหมายให้แสดงว่าโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของคนละ 1 ใน 4 แม้จะขอมาในลักษณะเป็นเจ้าของร่วมก็ตาม เมื่อได้ความว่าต่างได้ครอบครองเป็นส่วนสัดกันแล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะพิพากษาให้แยกส่วนตามที่ครอบครองเป็นส่วนสัดกันนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ การโอนที่ดินที่เป็นทางให้เสียเปรียบ และการพิพากษาแก้โฉนดตามส่วนที่ครอบครอง
การที่ศาลเรียกบิดาโจทก์เข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยในคดีเนื่องจากศาลเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ข. แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 58 จะบัญญัติว่า ผู้ที่ศาลเรียกเข้ามาเป็นคู่ความจะมีสิทธิเสมือนว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่ผู้ที่ถูกเรียกเข้ามาในคดีเท่านั้น การที่บิดาโจทก์ถูกเรียกเข้ามาในคดี ไม่ใช่เป็นการกระทำของโจทก์ เรียกไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องบุพการีของตน จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534
กฎหมายไม่ได้ห้ามในการนำสืบหักล้างพยานเอกสาร ห้ามแต่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข
โจทก์ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทได้โอนที่พิพาทนั้นให้จำเลยด้วยความสมัครใจอันเป็นทางให้เสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะขอให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนให้นั้นจำเลยมิได้เสียค่าตอบแทน โจทก์จึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลย และขอให้เพิกถอนการโอนที่ทำให้ตนเสียเปรียบได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1300
แม้ในคำขอโจทก์จะไม่ได้ขอให้ถอนชื่อจำเลยออกจากโฉนดก็ตาม แต่ที่ขอให้เพิกถอน ทำลายนิติกรรมให้จำเลยนั้น ก็เป็นการขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยอยู่ในตัวแล้ว การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนชื่อจำเลยจึงไม่เกินคำขอ
จำเลยร่วมโอนที่พิพาทส่วนของตนและของโจทก์ไปให้จำเลยอื่น โจทก์จะขอให้เพิกถอนการโอนไปถึงส่วนของจำเลยร่วมด้วยไม่ได้ การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนในส่วนของจำเลยร่วมด้วย จึงเป็นการพิพากษาที่ไม่ชอบ
แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างโฉนดพิพาทเป็นพยานก็ตามแต่โจทก์ได้ระบุมาในฟ้องและนำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ได้ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดพิพาท เป็นส่วนสัดจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว ทั้งจำเลยก็ได้อ้างโฉนดพิพาทเข้ามาในคดีด้วย ดังนี้ ศาลจึงหยิบยกขึ้นพิพากษาให้แก้โฉนดได้
โจทก์ขอให้แสดงว่าโจทก์เป็นเจ้าของและใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดร่วมกับจำเลยรวม 4 คนนั้น มีความหมายให้แสดงว่าโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของคนละ 1 ใน 4 แม้จะขอมาในลักษณะเป็นเจ้าของร่วมก็ตาม เมื่อได้ความว่าต่างได้ครอบครองเป็นส่วนสัดกันแล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะพิพากษาให้แยกส่วนตามที่ครอบครองเป็นส่วนสัดกันนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (2)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากข้อตกลงในคดีก่อน การเพิกถอนการโอนทรัพย์สิน และการรับมรดก
นาพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 มีชื่อในโฉนดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เอง มิใช่มีชื่อในฐานะเป็นผู้ซื้อแทนโจทก์ โจทก์หามีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการโอนและการขายฝากนาพิพาทที่จำเลยกระทำต่อกันได้ไม่
ในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504 โจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้ถือเอาผลแห่งคำพิพากษาคดีนี้เป็นข้อแพ้ชนะกัน คือ ถ้าโจทก์ในคดีนี้(จำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504)แพ้จะไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท และยินยอมใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ในคดีนี้ (โจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504) เป็นรายปีๆ ละ900 บาทนับแต่ พ.ศ.2504 เป็นต้นไป จนกว่าโจทก์จะออกจากที่ดิน แต่ถ้าจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายแพ้คดี ก็ไม่ติดใจเอาค่าเสียหายดังกล่าวและไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินอีกต่อไป ผลที่สุดจำเลยที่ 1 ถอนฟ้องคดีนั้นแล้วมาฟ้องแย้งในคดีนี้ว่าโจทก์บุกรุกที่พิพาทซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ผู้รับซื้อฝากจากจำเลยที่ 1 เรียกค่าเสียหายจากโจทก์ปีละ 900 บาทตั้งแต่ พ.ศ.2504 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 มีมูลที่จะฟ้องแย้งได้ จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์มาในฟ้องแย้งได้ โดยไม่ต้องอาศัยข้อตกลงในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504 และเป็นที่เห็นได้ว่าการที่จำเลยที่ 2 อ้างถึงข้อตกลงนั้น ก็เพื่อแสดงว่าโจทก์ได้เคยรับรองว่าจำเลยที่ 2 จะคิดค่าเสียหายได้ตามจำนวนที่ปรากฏในข้อตกลงนั้น ศาลจะได้ถือเป็นหลักวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายในคดีนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องนำสืบกันอีกชั้นหนึ่ง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ขอให้บังคับตามข้อตกลงนั้นโดยตรง โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งเรียกร้องค่าเสียหายในคดีนี้ เพราะเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ในคดีก่อนยังไม่สำเร็จ
โจทก์เพิ่งมากล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาว่านาพิพาทเป็นมรดกของนายอินบิดาโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง เป็นคนละประเด็นกันกับที่กล่าวในฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
โจทก์เพิ่งจะยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีนี้ขัดกับคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505 ทั้งอ้างข้อเท็จจริงมาไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505 นั้นปรากฏว่า จำเลยที่ 3 กับพวกซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้ได้ถอนฟ้องข้อหาเกี่ยวกับนาพิพาทเสีย โจทก์ (จำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505) ชนะในประเด็นอื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับนาพิพาท ฎีกาโจทก์ข้อนี้หาเป็นสาระแก่คดีไม่(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5-6/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามข้อตกลงในคดีก่อน แม้ยังไม่ถึงกำหนดฟ้องบังคับได้ และประเด็นการรับมรดกที่ยกขึ้นใหม่
นาพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 มีชื่อในโฉนดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เองมิใช่มีชื่อในฐานะเป็นผู้ซื้อแทนโจทก์ โจทก์หามีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการโอน และการขายฝากนาพิพาทที่จำเลยกระทำต่อกันได้ไม่
ในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504 โจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้ถือเอาผลแห่งคำพิพากษาคดีนี้เป็นข้อแพ้ชนะกัน คือ ถ้าโจทก์ในคดีนี้ (จำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504) แพ้ จะไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท และยินยอมใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ในคดีนี้ (โจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504) เป็นรายปี ๆ ละ 900 บาทนับแต่ พ.ศ. 2504 เป็นต้นไป จนกว่าโจทก์จะออกจากที่ดิน แต่ถ้าจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายแพ้คดี ก็ไม่ติดใจเอาค่าเสียหายดังกล่าวและไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินอีกต่อไป ผลที่สุดจำเลยที่ 1 ถอนฟ้องคดีนั้นแล้วมาฟ้องแย้งในคดีนี้ว่าโจทก์บุกรุกที่พิพาทซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ผู้รับซื้อฝากจากจำเลยที่ 1 เรียกค่าเสียหายจากโจทก์ปีละ 900 บาท ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 มีมูลที่จะฟ้องแย้งได้ จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์มาในฟ้องแย้งได้โดยไม่ต้องอาศัยข้อตกลงในคดีหมายเลขแดงที่ 202/2504 และเป็นที่เห็นได้ว่า การที่จำเลยที่ 2 อ้างถึงข้อตกลงนั้น ก็เพื่อแสดงว่าโจทก์ได้เคยรับรองว่าจำเลยที่ 2 จะคิดค่าเสียหายได้ตามจำนวนที่ปรากฏในข้อตกลงนั้น ศาลจะได้ถือเป็นหลักวินิจฉัยกำหนดค่าเสียหายในคดีนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องนำสืบกันอีกชั้นหนึ่ง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ขอให้บังคับตามข้อตกลงนั้นโดยตรง โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งเรียกร้องค่าเสียหายในคดีนี้เพราะเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ในคดีก่อนยังไม่สำเร็จ
โจทก์เพิ่งมากล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาว่านาพิพาทเป็นมรดกของนายอินบิดาโจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง เป็นคนละประเด็นกันกับที่กล่าวในฟ้อง ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้
โจทก์เพิ่งจะยกขึ้นกล่าวในชั้นฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีนี้ขัดกับคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505 ทั้งอ้างข้อเท็จจริงมาไม่ตรงกับความเป็นจริงเพราะในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505 นั้นปรากฏว่า จำเลยที่ 3 กับพวกซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ได้ถอนฟ้องข้อหาเกี่ยวกับนาพิพาทเสีย โจทก์(จำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 233/2505) ชนะในประเด็นอื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับนาพิพาท ฎีกาโจทก์ข้อนี้หาเป็นสาระแก่คดีไม่
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5-6/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันผู้กระทำผิดซ้ำฐานลักทรัพย์: เกณฑ์การพิจารณาตามประวัติโทษและการกระทำความผิดต่อเนื่อง
จำเลยเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกฐานรับของโจร ครั้งที่สองฐานลักทรัพย์ เมื่อจำเลยพ้นโทษครั้งที่ 2 ไปแล้วภายในเวลา 10 ปี จำเลยกลับมากระทำผิดฐานลักทรัพย์ จนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือนอีก ความผิดของจำเลยเหล่านี้ ก็เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งอยู่ในประเภทเดียวกันกับที่ระบุไว้ในมาตรา 41(8) ทั้งสิ้น จึงเข้าเกณฑ์ที่ศาลจะให้กักกันได้
จำเลยทำการลักทรัพย์ 2 ราย ในเวลาห่างกันราว 1 เดือน ทั้งเป็นความผิดที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราของมาตรา 335 ตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป คือ (1)(7)(11) ดังนี้ จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย สมควรที่ให้กักกันจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักกันผู้กระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับทรัพย์สิน โดยพิจารณาจากประวัติการกระทำผิดและการกระทำความผิดซ้ำในระยะเวลาที่กำหนด
จำเลยเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกฐานรับของโจรครั้งที่สองฐานลักทรัพย์ เมื่อจำเลยพ้นโทษครั้งที่ 2 ไปแล้วภายในเวลา 10 ปี จำเลยกลับมากระทำผิดฐานลักทรัพย์ จนศาลพิพากษาลงโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือนอีก ความผิดของจำเลยเหล่านี้ ก็เป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ซึ่งอยู่ในประเภทเดียวกันกับที่ระบุไว้ในมาตรา 41 (8) ทั้งสิ้น จึงเข้าเกณฑ์ที่ศาลจะให้กักกันได้
จำเลยทำการลักทรัพย์ 2 ราย ในเวลาห่างกันราว 1 เดือน ทั้งเป็นความผิดที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราของมาตรา 335 ตั้งแต่ 2 อนุมาตราขึ้นไป คือ (1) (7) (11) ดังนี้ จึงเห็นได้ชัดว่าเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย สมควรที่ให้กักกันจำเลย
of 21