พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881-882/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์โคที่ถูกลัก การซื้อขายโดยสุจริต และหน้าที่จดทะเบียนสัตว์พาหนะ
จำเลยซื้อโคของกลางจากตลาดซื้อขายโคกระบือ โดยไม่มีตั๋วพิมพ์รูปพรรณแต่ปรากฏว่าโคนั้นมีอายุ 10 กว่าปีใช้งานได้ และมีตั๋วพิมพ์รูปพรรณแล้ว ทั้งพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ.2482 มาตรา 8 ก็บังคับไว้ว่าโคที่ใช้งานได้แล้วให้นำไปจดทะเบียนทำตั๋วพิมพ์รูปพรรณเป็นการแสดงว่าจำเลยย่อมจะรู้ว่าโคนั้นมีตั๋วพิมพ์รูปพรรณแล้ว การที่จำเลยซื้อไว้โดยอ้างว่าไม่มีตั๋วพิมพ์รูปพรรณจึงเป็นพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต จะยกขึ้นโต้แย้งกรรมสิทธิ์ของเจ้าของโคหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881-882/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อโคที่ถูกลักและมีตั๋วรูปพรรณแล้วโดยอ้างว่าไม่มีตั๋วรูปพรรณไม่ถือเป็นสุจริต
จำเลยซื้อโคของกลางจากตลาดซื้อขายโคกระบือโดยไม่มีตั๋วพิมพ์รูปพรรณ แต่ปรากฏว่าโคนั้นมีอายุ 10 กว่าปีใช้งานได้ และมีตั๋วพิมพ์รูปพรรณแล้ว ทั้งพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ. 2482 มาตรา 8 ก็บังคับไว้ว่าโคที่ใช้งานได้แล้วให้นำไปจดทะเบียนทำตั๋วพิมพ์รูปพรรณ เป็นการแสดงว่าจำเลยย่อมจะรู้ว่าโคนั้นมีตั๋วพิมพ์รูปพรรณแล้ว การที่จำเลยซื้อไว้โดยอ้างว่าไม่มีตั๋วพิมพ์รูปพรรณจึงเป็นพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่สุจริต จะยกขึ้นโต้แย้งกรรมสิทธิ์ของเจ้าของโคหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเมื่ออ้างคำอุทธรณ์แทนฎีกาชัดเจน และสัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย
ฎีกาของจำเลยที่กล่าวเพียงว่า "จำเลยขอถือคำอุทธรณ์ของจำเลยเป็นส่วนหนึ่งของฎีกา" ไม่เป็นฎีกาที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 แม้ต่อมาจำเลยจะได้ยื่นคำแถลงการณ์บรรยายโต้แย้งคำพยานโจทก์ว่าเบิกความแตกต่างกันก็ไม่ทำให้ฎีกาโดยย่อนั้นกลายเป็นฎีกาโดยชัดแจ้งขึ้นมา
บันทึกที่มีใจความว่า "1 โจทก์ยืนยันว่าถ้าจำเลยนำหลักฐานการซื้อขายมาแสดงได้ ก็จะไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทต่อไป 2. จำเลยยืนยันว่าได้ซื้อขายมีหลักฐานเป็นหนังสือทำที่บ้านกำนันกาศ จะนำหลักฐานมาแสดง ถ้าไม่สามารถนำมาแสดงได้ยอมคืนที่ดินให้โจทก์โดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น" เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
บันทึกที่มีใจความว่า "1 โจทก์ยืนยันว่าถ้าจำเลยนำหลักฐานการซื้อขายมาแสดงได้ ก็จะไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทต่อไป 2. จำเลยยืนยันว่าได้ซื้อขายมีหลักฐานเป็นหนังสือทำที่บ้านกำนันกาศ จะนำหลักฐานมาแสดง ถ้าไม่สามารถนำมาแสดงได้ยอมคืนที่ดินให้โจทก์โดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น" เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเมื่ออ้างคำอุทธรณ์เป็นฎีกา สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน
ฎีกาของจำเลยที่กล่าวเพียงว่า "จำเลยขอถือคำอุทธรณ์ของจำเลยเป็นส่วนหนึ่งของฎีกา" ไม่เป็นฎีกาที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 แม้ต่อมาจำเลยจะได้ยื่นคำแถลงการณ์บรรยายโต้แย้งคำพยานโจทก์ว่าเบิกความแตกต่างกัน ก็ไม่ทำให้ฎีกาโดยย่อนั้นกลายเป็นฎีกาโดยชัดแจ้งขึ้นมา
บันทึกที่มีใจความว่า "1. โจทก์ยืนยันว่าถ้าจำเลยนำหลักฐานการซื้อขายมาแสดงได้ ก็จะไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทต่อไป 2. จำเลยยืนยันว่าได้ซื้อขายมีหลักฐานเป็นหนังสือทำที่บ้านกำนันกาศจะนำหลักฐานมาแสดง ถ้าไม่สามารถนำมาแสดงได้ยอมคืนที่ดินให้โจทก์โดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น" เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850.
บันทึกที่มีใจความว่า "1. โจทก์ยืนยันว่าถ้าจำเลยนำหลักฐานการซื้อขายมาแสดงได้ ก็จะไม่เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทต่อไป 2. จำเลยยืนยันว่าได้ซื้อขายมีหลักฐานเป็นหนังสือทำที่บ้านกำนันกาศจะนำหลักฐานมาแสดง ถ้าไม่สามารถนำมาแสดงได้ยอมคืนที่ดินให้โจทก์โดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น" เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการส่งสำเนาอุทธรณ์แก่คู่ความที่เกี่ยวข้องกับสินบริคณห์
โจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นสินบริคณห์ระหว่างจำเลยกับภริยา ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของภริยาจำเลยอีกคดีหนึ่งร้องขอให้แยกสินบริคณห์ที่ยึดออกเป็นส่วนของภริยาจำเลย ศาลอนุญาต โจทก์จึงขอให้ศาลยึดทรัพย์สินส่วนของภริยานี้อีก อ้างว่าหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นหนี้ร่วม เมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว หากโจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาล ศาลต้องสั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 235 ด้วย หากศาลชั้นต้นมิได้สั่งเช่นนั้น และเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีไป ศาลฎีกาก็สั่งให้ยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้ร้องเสียใหม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งสำเนาอุทธรณ์ให้คู่ความที่เกี่ยวข้องในคดีบังคับคดี การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 235 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นสินบริคณห์ระหว่างจำเลยกับภริยา ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของภริยาจำเลยอีกคดีหนึ่งร้องขอให้แยกสินบริคณห์ที่ยึดออกเป็นส่วนของภริยาจำเลย ศาลอนุญาต โจทก์จึงขอให้ศาลยึดทรัพย์สินส่วนของภริยานี้อีก อ้างว่าหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นหนี้ร่วม เมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว หากโจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลศาลต้องสั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 235 ด้วย หากศาลชั้นต้นมิได้สั่งเช่นนั้น และเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีไป ศาลฎีกาก็สั่งให้ยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้ร้องเสียใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลพิจารณาเหตุผลและความเข้าใจผิดของจำเลย เพื่อให้โอกาสต่อสู้คดี
พฤติการณ์ที่ไม่ถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลพิจารณาเหตุผลความเข้าใจผิดของผู้ถูกฟ้อง และให้โอกาสพิจารณาคดีใหม่
พฤติการณ์ที่ไม่ถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีซื้อขายสินค้า แม้ภายหลังมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2502 และ 2504 ยังต้องเสียเงินเพิ่มตามอัตราเดิม
โจทก์เป็นผู้ค้าโภคภัณฑ์ได้รับใบสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรว่า โจทก์ไม่ชำระภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ จึงให้เสียภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ ภาษีบำรุงเทศบาล กับเงินเพิ่มอีก 5 เท่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ซื้อโภคภัณฑ์มา 2 จำนวนเพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยยังมิได้เสียภาษีโภคภัณฑ์ ต่อมาปรากฏว่าโภคภัณฑ์นี้ไม่มีอยู่ที่โจทก์ และไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคไป ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะถือได้ว่าโจทก์เอาโภคภัณฑ์นั้นไปใช้อันมิใช่เพื่อกิจการค้าโภคภัณฑ์ซึ่งโจทก์ต้องเสียภาษีตามมาตรา 168 และนอกจากนี้โภคภัณฑ์จำนวนหลังโจทก์รับว่าซื้อแล้วมิได้ลงบัญชีรับจ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา 185 จึงถือว่าเป็นโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อแล้วตามมาตรา 190, 191 อีกด้วย จึงต้องเสียภาษีการซื้อโภคภัณฑ์และเงินเพิ่ม แม้จะปรากฏต่อมาว่าความจริงโจทก์ได้จำหน่ายโภคภัณฑ์ให้แก่ผู้บริโภคไปและยังมิได้เสียภาษีการซื้อ โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามใบสั่งอยู่เช่นเดิม พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องออกใบสั่งใหม่เพื่อเรียกเก็บภาษีสำหรับการจำหน่ายโภคภัณฑ์แก่ผู้บริโภคที่ปรากฏข้อเท็จจริงขึ้นในภายหลัง
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียเงินเพิ่มห้าเท่า แม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ให้เรียกเก็บเพียงสองเท่า และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 ให้ยกเลิกการเก็บภาษีประเภทนี้ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ยังมีบทเฉพาะกาลให้บทบัญญัติที่ถูกแก้ไขหรือยกเลิกนั้นบังคับในการจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ใช้บังคับ และพึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติเฉพาะกาลดังกล่าวรวมถึงการเรียกเก็บเงินเพิ่มด้วย โจทก์จึงต้องเสียเงินเพิ่มห้าเท่าของภาษีอยู่ตามเดิม.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2509)
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียเงินเพิ่มห้าเท่า แม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ให้เรียกเก็บเพียงสองเท่า และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2504 ให้ยกเลิกการเก็บภาษีประเภทนี้ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ยังมีบทเฉพาะกาลให้บทบัญญัติที่ถูกแก้ไขหรือยกเลิกนั้นบังคับในการจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ใช้บังคับ และพึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติเฉพาะกาลดังกล่าวรวมถึงการเรียกเก็บเงินเพิ่มด้วย โจทก์จึงต้องเสียเงินเพิ่มห้าเท่าของภาษีอยู่ตามเดิม.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีซื้อโภคภัณฑ์กรณีมิได้ลงบัญชี และการบังคับใช้บทบัญญัติเดิมตามบทเฉพาะกาล
โจทก์เป็นผู้ค้าโภคภัณฑ์ได้รับใบสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรว่า โจทก์ไม่ชำระภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ จึงให้เสียภาษีการซื้อโภคภัณฑ์ ภาษีบำรุงเทศบาล กับเงินเพิ่มอีกห้าเท่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์ซื้อโภคภัณฑ์มา 2 จำนวนเพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยยังมิได้เสียภาษีโภคภัณฑ์ ต่อมาปรากฏว่าโภคภัณฑ์นี้ไม่มีอยู่ที่โจทก์และไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคไปย่อมเป็นพฤติการณ์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะถือได้ว่าโจทก์เอาโภคภัณฑ์นั้นไปใช้อันมิใช่เพื่อกิจการค้าโภคภัณฑ์ซึ่งโจทก์ต้องเสียภาษีตามมาตรา 168 และนอกจากนี้โภคภัณฑ์จำนวนหลัง โจทก์รับว่าซื้อแล้วมิได้ลงบัญชีรับจ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 185 จึงถือว่าเป็นโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อแล้วตามมาตรา 190,191 อีกด้วย จึงต้องเสียภาษีการซื้อโภคภัณฑ์และเงินเพิ่ม แม้จะปรากฏต่อมาว่าความจริงโจทก์ได้จำหน่ายโภคภัณฑ์ให้แก่ผู้บริโภคไปและยังมิได้เสียภาษีการซื้อ โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามใบสั่งอยู่เช่นเดิม พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ต้องออกใบสั่งใหม่เพื่อเรียกเก็บภาษีสำหรับการจำหน่ายโภคภัณฑ์แก่ผู้บริโภคที่ปรากฏข้อเท็จจริงขึ้นในภายหลัง
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียเงินเพิ่มห้าเท่า แม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 ให้เรียกเก็บเพียงสองเท่า และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 ให้ยกเลิกการเก็บภาษีประเภทนี้ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ยังมีบทเฉพาะกาลให้บทบัญญัติที่ถูกแก้ไขหรือยกเลิกนั้นบังคับในการจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ใช้บังคับและพึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติเฉพาะกาลดังกล่าวรวมทั้งการเรียกเก็บเงินเพิ่มด้วย โจทก์จึงต้องเสียเงินเพิ่มห้าเท่าของภาษีอยู่ตามเดิม
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์เสียเงินเพิ่มห้าเท่า แม้ต่อมาจะมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2502 ให้เรียกเก็บเพียงสองเท่า และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2504 ให้ยกเลิกการเก็บภาษีประเภทนี้ก็ตาม แต่พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ยังมีบทเฉพาะกาลให้บทบัญญัติที่ถูกแก้ไขหรือยกเลิกนั้นบังคับในการจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับนี้ใช้บังคับและพึงเห็นได้ว่าบทบัญญัติเฉพาะกาลดังกล่าวรวมทั้งการเรียกเก็บเงินเพิ่มด้วย โจทก์จึงต้องเสียเงินเพิ่มห้าเท่าของภาษีอยู่ตามเดิม