คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรุณ ตินทุกะสิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย่งครอบครองที่ดิน: โจทก์ต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของตามที่ฟ้อง หากพิสูจน์ไม่ได้ต้องยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลแสดงว่ามีสิทธิครอบครอง และขอให้ขับไล่ ทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเป็นแต่เพียงได้รับมอบที่พิพาทจากเจ้าของเพื่อให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ดังนี้ ศาลต้องยกฟ้องเพราะโจทก์สืบไม่สมฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีผิดประเด็น การสืบพยานไม่สอดคล้องกับข้ออ้าง ทำให้ขาดฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้ศาลแสดงว่ามีสิทธิครอบครอง และขอให้ขับไล่ ทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของเป็นแต่เพียงได้รับมอบที่พิพาทจากเจ้าของเพื่อให้ทำกินต่างดอกเบี้ยดังนี้ ศาลต้องยกฟ้องเพราะโจทก์สืบไม่สมฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความหลังการตายของคู่สัญญาเดิม
เดิมสามีจำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ยังไม่ทันจดทะเบียนโอนกันสามีจำเลยก็ตายต่อมาโจทก์จำเลยจะพิพาทกันจึงพากันไปอำเภอและทำสัญญาต่อกันไว้ว่าจำเลยจะให้เงินโจทก์ 4,000 บาท โจทก์จะคืนที่สวนแปลงหนึ่งและต่อไปก็จะคืนที่พิพาทให้บุตรจำเลยอีกด้วยสัญญานี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาสงเคราะห์ระงับสิทธิเดิม: สัญญา ล.๑ แทนที่สัญญาจะซื้อจะขายเดิมได้
เดิมสามีจำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ ยังไม่ทันจดทะเบียนโอนกัน สามีจำเลยก็ตาย ต่อมาโจทก์จำเลยจะพิพาทกัน จึงพากันไปอำเภอและทำสัญญาต่อกันไว้ว่า จำเลยจะให้เงินโจทก์ 4,000 บาท โจทก์จะคืนที่สวนแปลงหนึ่งและต่อไปก็จะคืนที่พิพาทให้บุตรจำเลยอีกด้วย สัญญานี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์เกิน 10 ปี แม้มีชื่อเจ้าของเดิม
ที่พิพาทเป็นที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 จำเลยครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปีย่อมได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน ที่ดินพิพาทถูกทิ้งร้างและจำเลยครอบครองเกิน 10 ปี
ที่พิพาทเป็นที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 จำเลยครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของมาเกิน 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751-752/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลตัดพยาน, การรับฟังพยานเพิ่มเติม, และผลของใบมอบอำนาจที่มิได้กรอกรายละเอียด
ศาลมีอำนาจตัดหรืองดสืบพยานตามที่เห็นสมควรเพื่อให้คดีดำเนินไปโดยไม่ชักช้าในกรณีที่ศาลสอบทนายโจทก์ว่าจะสืบพยานต่อไปในข้อใดและทนายโจทก์แถลงว่ายังแถลงไม่ได้ขอสงวนไว้ก่อนแม้ทนายอีกฝ่ายแถลงว่าพยานที่จะสืบข้อใดหากรับข้อเท็จจริงได้ก็จะรับเพื่อไม่ให้คดีล่าช้าทนายโจทก์ก็ยังยืนยันเช่นเดิมดังนี้ การที่ทนายโจทก์ไม่แถลงให้ศาลทราบการประวิงคดีให้ชักช้า ศาลจึงชอบจะงดสืบพยานโจทก์ต่อไปได้
คำสั่งให้งดสืบพยานไม่ใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี
ผู้พิพากษานายเดียวมีอำนาจสั่งได้ตามมาตรา 21 แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรม
การที่ศาลอนุญาตให้อ้างพยานเพิ่มเติมโดยมิได้สอบถามคู่ความอีกฝ่ายนั้น แม้จะเป็นการผิดระเบียบวิธีพิจารณาอยู่บ้างแต่ถ้าไม่เสียความเป็นธรรมแก่คู่ความอีกฝ่ายแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ลงชื่อในใบมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความเพื่อให้ผู้อื่นทำการแทนถือว่าเป็นการกระทำที่ทำให้บุคคลภายนอกหลงเชื่อจำต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822,821
โจทก์ฟ้อง จำเลยต่อสู้ว่าได้ทำนิติกรรมขายฝากโดยมิได้รับอนุญาตจากสามีและสามีได้บอกล้างแล้วดังนี้ คดีมีประเด็นที่จะต้องนำสืบว่าสามีจำเลยได้อนุญาตหรือไม่ทั้งสองฝ่ายมีสิทธินำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นข้อนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23: ศาลมีอำนาจขยายเวลาเองได้ แม้ไม่ใช่ภัยธรรมชาติ
"เหตุสุดวิสัย" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งได้ มิได้หมายถึงว่า "พฤติการณ์พิเศษที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่อาจกระทำได้ภายในกำหนดนั้นต้องเป็นเหตุสุดวิสัย เหตุสุดวิสัยตามมาตรา 23 จึงไม่จำต้องเป็นเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งไม่มีใครอาจป้องกันได้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินกระบวนพิจารณา ย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การสั่งขยายเวลาศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่ต้องร้องขอ
ระยะเวลา 14 วันที่กำหนดให้ลูกหนี้ของบุคคลล้มละลายปฏิเสธหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 นั้น ศาลอาจสั่งขยายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 และการที่เจ้าหนี้ปฏิเสธหนี้ส่งทางไปรษณีย์ถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ช้าไป 1 วันนั้น ก็ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ศาลมีอำนาจขยายเวลาได้ แม้ไม่มีคำร้อง
'เหตุสุดวิสัย' ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา23 หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งได้มิได้หมายถึงว่า'พฤติการณ์พิเศษที่ทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่อาจกระทำได้ภายในกำหนดนั้นต้องเป็นเหตุสุดวิสัยเหตุสุดวิสัยตามมาตรา 23 จึงไม่จำต้องเป็นเหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งไม่มีใครอาจป้องกันได้ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8 หากมีพฤติการณ์นอกเหนือที่ศาลไม่อาจมีคำสั่งขยายเวลาให้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาย่อมนับได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยการสั่งขยายเวลาศาลมีอำนาจสั่งเองได้ โดยคู่ความไม่ต้องร้องขอ
ระยะเวลา 14 วันที่กำหนดให้ลูกหนี้ของบุคคลผู้ล้มละลายปฏิเสธหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 นั้นศาลอาจสั่งขยายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 และการที่เจ้าหนี้ปฏิเสธหนี้ส่งทางไปรษณีย์ถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ช้าไป 1 วันนั้น ก็ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ศาลจะสั่งขยายเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฎีกา: เริ่มนับเมื่อโจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยฟังก่อน
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2508 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เซ็นทราบการฟังคำพิพากษาในวันนั้นด้วย จนถึงวันที่ 28 ธันวาคม 2508 ความจึงปรากฏว่าจำเลยได้ลงชื่อในการฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ฝ่ายเดียวศาลชั้นต้นจึงสั่งให้เรียกโจทก์มาทราบคำพิพากษา และได้มีบันทึกว่า โจทก์ได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 28 ธันวาคม 2508 ดังนี้จึงต้องนับอายุฎีกาตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2508 อันเป็นวันที่โจทก์ได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โจทก์ยื่นฎีกาวันที่ 7 มกราคม 2509 ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ได้ทราบคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ เช่นนี้ ฎีกาของโจทก์ย่อมไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
of 21