คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อรุณ ตินทุกะสิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 671/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฎีกา: เริ่มนับเมื่อโจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยฟังก่อน
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2508 แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เซ็นทราบการฟังคำพิพากษาในวันนั้นด้วย จนถึงวันที่ 28 ธันวาคม 2508 ความจึงปรากฏว่าจำเลยได้ลงชื่อในการฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ฝ่ายเดียวศาลชั้นต้นจึงสั่งให้เรียกโจทก์มาทราบคำพิพากษา และได้มีบันทึกว่า โจทก์ได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 28 ธันวาคม 2508 ดังนี้จึงต้องนับอายุฎีกาตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2508 อันเป็นวันที่โจทก์ได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โจทก์ยื่นฎีกาวันที่ 7 มกราคม 2509 ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ได้ทราบคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ เช่นนี้ ฎีกาของโจทก์ย่อมไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอ้างพยานนอกกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด: เหตุสมควร & ความเที่ยงธรรมในการพิจารณาคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม นั้น
ถ้าคู่ความที่มิได้ระบุอ้างพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ขออนุญาตระบุพยานก่อนศาลพิพากษาคดีศาลอาจอนุญาตตามคำขอได้เมื่อมีเหตุอันสมควรและศาลเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานเช่นว่านั้น
โจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานโจทก์ 3 วันอ้างว่าโจทก์ไปเที่ยวหาซื้อสินค้ามาใส่ร้านจำเลยมิได้คัดค้านเหตุที่โจทก์อ้างว่าไปหาซื้อสินค้าว่าไม่เป็นความจริงขณะนั้นคดียังมิได้มีการสืบพยานอย่างใดจะถือว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 88 วรรคหนึ่งที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันหรือประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดียังไม่ได้โจทก์ก็ได้ยื่นบัญชีระบุพยานช้าไปเพียงวันเดียว พฤติการณ์แห่งคดีจึงมีเหตุสมควรอนุญาตให้โจทก์อ้างพยานหลักฐานได้เพื่อให้วินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมตามมาตรา 88 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีรายชื่อพยานล่าช้า: ศาลอาจอนุญาตได้หากมีเหตุสมควรและจำเป็นต่อการวินิจฉัย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรค 3 นั้น ถ้าคู่ความที่มิได้ระบุอ้างพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ขออนุญาตระบุพยานก่อนศาลพิพากษาคดี ศาลอาจอนุญาตตามคำขอได้ เมื่อมีเหตุอันสมควรและศาลเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานเช่นว่านั้น
โจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานโจทก์ 3 วัน อ้างว่าโจทก์ไปเที่ยวหาซื้อสินค้ามาใส่ร้าน จำเลยมิได้คัดค้านเหตุที่โจทก์อ้างว่าไปหาซื้อสินค้าว่าไม่เป็นความจริง ขณะนั้นคดียังมิได้มีการสืบพยานอย่างใด จะถือว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 88 วรรค 1 ที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันหรือประสงค์จะเอาเปรียบในทางคดียังไม่ได้ โจทก์ก็ได้ยื่นบัญชีระบุพยานช้าไปเพียงวันเดียว พฤติการณ์แห่งคดีจึงมีเหตุสมควรอนุญาตให้โจทก์อ้างพยานหลักฐานได้เพื่อให้วินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมตามมาตรา 88 วรรค 3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องคืนดอกเบี้ยเกินอัตรา แม้ชำระหนี้ตามคำพิพากษา
จำเลยเคยฟ้องโจทก์ขอให้ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญาจำนอง โจทก์ต่อสู้ว่าจำเลยนำดอกเบี้ยที่เกินอัตราตามกฎหมายมารวมกับต้นเงินด้วย ศาลพิพากษาให้โจทก์ใช้เงินเต็มตามสัญญาจำนอง โจทก์อุทธรณ์ และขอทุเลาการบังคับคดี แต่ก่อนศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเรื่องทุเลาการบังคับคดี จำเลยได้ขอให้ยึดทรัพย์ของโจทก์ขายทอดตลาดเพื่อชำระต้นเงินที่โจทก์มิได้โต้แย้ง โจทก์จึงได้ไถ่ถอนการจำนอง (รวมทั้งดอกเบี้ยที่อ้างว่าเกินอัตราตามกฎหมายด้วย) ต่อมาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีและให้ยกคำพิพากษาศาลแพ่งให้สืบพยานต่อไป จำเลยจึงขอถอนฟ้อง ศาลอนุญาต คำสั่งนั้นถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเรียกดอกเบี้ยที่เกินอัตราคืน ดังนี้ จะถือว่าโจทก์กระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือทำการชำระดอกเบี้ยนั้นไปตามอำเภอใจดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 และ 407 บัญญัติไว้มิได้ เพราะโจทก์ต้องชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไปเพราะผลบังคับของคำพิพากษาศาลชั้นต้น และการบังคับคดีของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย แม้ถูกบังคับด้วยคำพิพากษา ก็มีสิทธิเรียกคืนได้
จำเลยเคยฟ้องโจทก์ขอให้ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองโจทก์ต่อสู้ว่าจำเลยนำดอกเบี้ยที่เกินอัตราตามกฎหมายมารวมกับต้นเงินด้วยศาลพิพากษาให้โจทก์ใช้เงินเต็มตามสัญญาจำนอง โจทก์อุทธรณ์ และขอทุเลาการบังคับคดีแต่ก่อนศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเรื่องการทุเลาการบังคับคดี จำเลยได้ขอให้ยึดทรัพย์ของโจทก์ขายทอดตลาดเพื่อชำระต้นเงินที่โจทก์มิได้โต้แย้งโจทก์จึงได้ไถ่ถอนการจำนอง (รวมทั้งดอกเบี้ยที่อ้างว่าเกินอัตราตามกฎหมายด้วย) ต่อมาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีและให้ยกคำพิพากษาศาลแพ่งให้สืบพยานต่อไปจำเลยจึงขอถอนฟ้อศาลอนุญาต คำสั่งนั้นถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเรียกดอกเบี้ยที่เกินอัตราคืนดังนี้ จะถือว่าโจทก์กระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือทำการชำระดอกเบี้ยนั้นไปตามอำเภอใจดังที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 และ 407 บัญญัติไว้มิได้เพราะโจทก์ต้องชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไป เพราะผลบังคับของคำพิพากษาศาลชั้นต้น และการบังคับของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบทรัพย์สินแทนการชำระหนี้สิ้นสุดสิทธิการครอบครองเดิม และไม่ต้องบอกกล่าวการเปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครอง
โจทก์ได้มอบนาให้จำเลยครอบครองแทนการชำระหนี้เงินกู้ดังนี้ การครอบครองของโจทก์ย่อมสิ้นสุดลงตามมาตรา 1377 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จำเลยจึงไม่จำต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือครอบครองต่อโจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ามีกำหนดเวลา สิ้นสุดเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกเลิก
ทำสัญญาเช่าที่ดินมีกำหนด 10 ปี ถือว่าเป็นสัญญาที่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดแน่นอน และเมื่อครบกำหนดเวลาสิ้นสุดตามสัญญาเช่า เช่นนี้ สัญญาเช่านั้นย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 542/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ามีกำหนดเวลา สิ้นสุดเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกเลิก
ทำสัญญาเช่าที่ดินมีกำหนด 10 ปี ถือว่าเป็นสัญญาที่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดแน่นอนและเมื่อครบกำหนดเวลาสิ้นสุดตามสัญญาเช่าเช่นนี้ สัญญาเช่านั้นย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564 โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินของภริยาโดยไม่ผูกพันสินบริคณห์ และสิทธิยึดทรัพย์สินสมรสเพื่อชำระหนี้
การที่ภริยาไปกู้ยืมเงินบุคคลภายนอกมิได้เป็นนิติกรรมที่ภริยาทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ แต่เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงินจึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 38 และ 138 แม้สามีจะบอกล้างแล้ว ภริยาก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และ 1479
เมื่อปรากฏว่าทรัพย์รายพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย และจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา โจทก์ก็มีสิทธิยึดได้ ผู้ร้องจะมาร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้ ถ้าหากผู้ร้องถือว่าคนเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้กันส่วนได้ของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส-การบอกล้างนิติกรรมกู้ยืม-สิทธิยึดทรัพย์-การกันส่วนของสินสมรส
การที่ภริยาไปกู้ยืมเงินบุคคลภายนอกมิได้เป็นนิติกรรมที่ภริยาทำขึ้นผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะเพราะไม่ได้เป็นนิติกรรมในการจัดการหรือจำหน่ายสินบริคณห์ แต่เป็นนิติกรรมเกี่ยวกับหนี้เงิน จึงไม่ต้องด้วยลักษณะที่จะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 และ 138 แม้สามีจะบอกล้างแล้ว ภริยาก็ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวตามมาตรา 37 และ 1479
เมื่อปรากฏว่า ทรัพย์รายพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลย และจำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาโจทก์ก็มีสิทธิยึดได้ ผู้ร้องจะมาร้องขัดทรัพย์เพื่อให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้ ถ้าหากผู้ร้องถือว่าตนเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาท ก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้กันส่วนได้ของตนออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287
of 21