พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6708/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ผู้รับประเมินต้องใช้สิทธิคัดค้านตามขั้นตอนกฎหมายก่อนจึงจะโต้แย้งความถูกต้องได้
พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครโจทก์แจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยชอบที่ จะยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านการประเมินหรือขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 มาตรา 25 ได้ และหากจำเลยยังไม่พอใจในคำชี้ขาดก็นำคดีไปสู่ศาลได้ตามมาตรา 31 แต่จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระเสียก่อนตามมาตรา 39 เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านการประเมินหรือขอให้พิจารณาการประเมินใหม่และมิได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นแก่โจทก์ตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดผลการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นอันยุติห้ามมิให้จำเลยนำคดีไปสู่ศาลซึ่งหมายความรวมถึงว่าจำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าการประเมินไม่ถูกต้อง ไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลย ดังนั้น จำเลยจะต่อสู้ว่าการประเมินไม่ถูกต้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การดำเนินการตามขั้นตอนและอำนาจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1เกี่ยวกับคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดและขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระไว้เกินแก่กรุงเทพมหานคร แม้โจทก์จะไม่ได้ระบุให้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย แต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจกระทำการต่าง ๆแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล เมื่อโจทก์ไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ต่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 เท่านั้นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำคำชี้ขาด หากโจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลได้ การที่ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย จึงถูกต้องตามหนังสือมอบอำนาจแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4893/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ผู้รับมอบอำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้
โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องกรุงเทพมหานครจำเลยที่1เกี่ยวกับคดีภาษีโรงเรือนและที่ดินขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดและขอคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินส่วนที่โจทก์ชำระไว้เกินแก่กรุงเทพมหานครแม้โจทก์จะไม่ได้ระบุให้ฟ้องจำเลยที่2ด้วยแต่จำเลยที่2เป็นผู้มีอำนาจกระทำการต่างๆแทนจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลเมื่อโจทก์ไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1จะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ต่อจำเลยที่2และจำเลยที่2เท่านั้นที่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะทำคำชี้ขาดหากโจทก์ไม่พอใจคำชี้ขาดของจำเลยที่2โจทก์จึงจะมีสิทธินำคดีมาสู่ศาลได้การที่ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่2ด้วยจึงถูกต้องตามหนังสือมอบอำนาจแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7336/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีโรงเรือนฯ ต้องชำระภาษีนำก่อนจึงจะรับฟ้องได้ ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ตาม พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ผู้รับการประเมินจะนำคดีมาฟ้องว่า การประเมินไม่ถูกต้องตามมาตรา 31 ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 39 ก่อนนำคดีมาฟ้องต่อศาล โจทก์ผู้รับการประเมินจะต้องชำระค่าภาษีก่อนมิฉะนั้นจะเป็นฟ้องที่รับไว้พิจารณาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7336/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน ต้องชำระภาษีประเมินก่อน จึงจะสามารถนำคดีไปสู่ศาลได้
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ผู้รับการประเมินจะนำคดีมาฟ้องว่า การประเมินไม่ถูกต้องตามมาตรา 31ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 39 ก่อนนำคดีมาฟ้องต่อศาล โจทก์ผู้รับการประเมินจะต้องชำระค่าภาษีก่อนมิฉะนั้นจะเป็นฟ้องที่รับไว้พิจารณาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5536/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีภาษีอากร: นับจากวันรับแจ้งคำชี้ขาดของผู้รับประเมิน แม้ผู้มีส่วนได้เสียต้องปฏิบัติตาม
คำว่า "นับแต่วันรับแจ้งความ" ตาม มาตรา 31 วรรคแรกแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มีความหมายว่านับแต่วันส่งคำชี้ขาดไปถึงผู้รับประเมิน หรือ นับแต่วันผู้รับประเมินรับคำชี้ขาด ส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่า "ให้ทราบคำชี้ขาด" นั้น เป็นเพียงถ้อยคำขยายความให้ชัดเท่านั้นมิได้หมายความเลยไปถึงว่านับแต่วันที่ได้ทราบข้อความในคำชี้ขาด แม้ตาม มาตรา 31 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 จะใช้คำว่า ผู้รับการประเมินก็ตามแต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดแล้วโจทก์จึงต้องนำคดีมาฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากิจการโรงงานสุราได้รับคำชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5536/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดอายุความฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: นับจากวันรับแจ้งคำชี้ขาดถึงผู้รับประเมิน
คำว่า "นับแต่วันรับแจ้งความ" ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 31 วรรคแรกมีความหมายว่านับแต่วันส่งคำชี้ขาดไปถึงผู้รับประเมินหรือนับแต่วันผู้รับประเมินรับคำชี้ขาด ส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่า "ให้ทราบคำชี้ขาด" นั้น เป็นเพียงถ้อยคำขยายความให้ชัดเท่านั้น ไม่ได้หมายความเลยไปถึงว่านับแต่วันที่ได้ทราบ ข้อความในคำชี้ขาด แม้ตามพิพากษาภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475มาตรา 31 วรรคแรกจะใช้คำว่า ผู้รับประเมินก็ตามแต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสีย ต้องเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า ซึ่งมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินคำชี้ขาดแล้ว โจทก์จึงต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในมาตรา 31 ด้วย กล่าวคือจะต้องนำคดีมาฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับคำชี้ขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5536/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาฟ้องคดีภาษีโรงเรือน: เริ่มนับจากวันรับแจ้งคำชี้ขาด ไม่ใช่วันที่ทราบข้อความ
คำว่า "นับแต่วันรับแจ้งความ" ตาม มาตรา 31 วรรคแรกแห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มีความหมายว่า นับแต่วันส่งคำชี้ขาดไปถึงผู้รับประเมิน หรือ นับแต่วันผู้รับประเมินรับคำชี้ขาด ส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่า "ให้ทราบคำชี้ขาด" นั้น เป็นเพียงถ้อยคำขยายความให้ชัดเท่านั้นมิได้หมายความเลยไปถึงว่านับแต่วันที่ได้ทราบข้อความในคำชี้ขาด
แม้ตาม มาตรา 31 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จะใช้คำว่า ผู้รับการประเมินก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดแล้ว โจทก์จึงต้องนำคดีมาฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากิจการโรงงานสุราได้รับคำชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย
แม้ตาม มาตรา 31 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จะใช้คำว่า ผู้รับการประเมินก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำชี้ขาดแล้ว โจทก์จึงต้องนำคดีมาฟ้องภายใน 30 วัน นับแต่วันที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่ากิจการโรงงานสุราได้รับคำชี้ขาดตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5458/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: คดีภาษีอากรอยู่ในอำนาจศาลภาษีอากร ไม่ใช่ศาลแพ่ง
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าฝ่ายจำเลยแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายจำเลยตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 โดยจำเลยเห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของโรงเรือนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามกฎหมาย โจทก์โต้แย้งว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โรงเรือนนั้น ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามที่จำเลยแจ้งแก่โจทก์ดังนี้ กรณีจึงเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 7(2) ประกอบด้วยมาตรา 3 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาล คดีโจทก์มิใช่เป็นคดีแพ่งลักษณะละเมิดศาลแพ่งจึงไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีโจทก์ ตามมาตรา 10วรรคแรก การที่ศาลแพ่งสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์เพราะสิทธิของโจทก์ถูกกำจัดห้ามโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายเรื่องเขตอำนาจศาลจึงเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ผู้พิพากษานายเดียวย่อมมีอำนาจสั่งได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 21(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกคืนภาษีที่ชำระเกินสำหรับผู้เช่าที่ชำระภาษีแทนผู้ให้เช่า แม้มิใช่ผู้รับประเมิน
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า เมื่อจำเลยเรียกเก็บภาษีเกินไป จำเลยก็หามีสิทธิที่จะยึดเงินส่วนที่เกินไว้โดยไม่ต้องคืนให้แก่ผู้มีสิทธิในเงินนั้นไม่เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นผู้ชำระเงินส่วนที่เกินนั้นไป แม้โจทก์จะมิใช่ผู้รับการประเมินและมิได้เป็นผู้ขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกเงินส่วนที่เกินนั้นคืนได้
ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฉบับ พ.ศ. 2523-2537 ระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ต้องสร้างโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า ฉะนั้นมูลค่าของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์ก่อสร้างตามสัญญาแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับจากการที่ให้โจทก์เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย ดังนั้น เมื่อค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นหลักในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นค่ารายปีที่คำนวณเทียบเคียงได้กับค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่าได้รับในการให้เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2การประเมินของเจ้าพนักงานที่แจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามสัญญาเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันฉบับ พ.ศ. 2523-2537 ระหว่างโจทก์กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โจทก์มีหน้าที่ต้องสร้างโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่า ฉะนั้นมูลค่าของโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ที่โจทก์ก่อสร้างตามสัญญาแล้วยกกรรมสิทธิ์ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับจากการที่ให้โจทก์เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2 ด้วย ดังนั้น เมื่อค่ารายปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นหลักในการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นค่ารายปีที่คำนวณเทียบเคียงได้กับค่าเช่าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมผู้ให้เช่าได้รับในการให้เช่าโรงงานสุราบางยี่ขันแห่งที่ 2การประเมินของเจ้าพนักงานที่แจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินจึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย