พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา และสิทธิในการเพิกถอนนิติกรรมหลังการเสียชีวิต
ขณะโจทก์ที่ 3 ยื่นฟ้องคดีสำนวนหลังปรากฏว่าผู้จัดการมรดกตายไปแล้ว 2 คน คงเหลือผู้จัดการมรดก 3 คน คือจำเลยที่ 1 ก.และ ส.สำหรับก.และส. มิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสามและไม่ได้ปฏิเสธว่าจะไม่จัดการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ทั้งสามคงมีจำเลยที่ 1 ที่ไม่ยอมแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ทั้งสามถือได้ว่าจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิโจทก์ทั้งสาม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์ทั้งสามชอบที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 เพียงคนเดียวได้ อายุความตามมาตรา 1754 นั้น จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่โดยบุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบจะใช้สิทธิของทายาทหรือโดยผู้จัดการมรดกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1755 โจทก์ทั้งสามเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ท. จำเลยที่ 1 มิใช่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ท. เป็นแต่เพียงผู้จัดการมรดกซึ่งมีหน้าที่จัดการมรดกโดยทั่วไปเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก ทั้งยังต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 ในลักษณะตัวแทน การที่จำเลยที่ 1 ใส่ชื่อของตนในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. ลงในสารบัญจดทะเบียนที่ดินทรัพย์มรดกก็เพื่อประโยชน์ในการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทนั่นเอง จึงเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของ ท. แทนทายาทด้วยกันทุกคน จำเลยที่ 1หามีสิทธิยกอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ท. ไม่ แม้จะถือว่าสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ท. มีหลักฐานเป็นหนังสือและมีลายมือชื่อทายาทบางคน ก็คงมีผลสมบูรณ์และใช้บังคับได้เฉพาะคู่สัญญาที่ลงชื่อไว้ โจทก์ทั้งสามมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าว จึงไม่ต้องถูกผูกพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1750 วรรคสอง ท.กับช. เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ขณะสมรสกัน ช. มีสินเดิมอยู่ด้วย ซ. จึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากสินสมรส 1 ใน 3 ส่วนตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 ขณะ ท.ได้จำเลยที่2เป็นภริยาคนที่2ท.มีซ. เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายและมีบุตรด้วยกันหลายคนแล้ว ทั้งขณะนั้นท.มีฐานะร่ำรวยมากขึ้นเมื่อจำเลยที่2เป็นภริยาท.ก็ช่วยเหลือทำงานในฐานะแม่บ้าน ไม่ใช่ผู้อยู่ในฐานะเป็นหุ้นส่วนร่วมในการประกอบการค้ากับ ท. ประกอบกับเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าทรัพย์พิพาททั้งหมดมิได้เกิดจากการที่จำเลยที่ 2 ทำมาหาได้ร่วมกับท. จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงมิได้ฎีกาโต้แย้งในข้อนี้ จึงต้องถูกผูกพันตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 2จึงไม่มีส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาท ท. โอนที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีหนี้ต่อกันเมื่อปรากฏว่าที่ดินแปลงพิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ท.กับซ.อันถือได้ว่าเป็นสินบริคณห์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2477 มาตรา 1462 แม้ตามปกติสามีจะมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ได้ก็ตาม แต่หากเป็นการให้โดยเสน่หาก็ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาก่อน เว้นแต่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม ตามมาตรา 1473(3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2477 โดยเฉพาะกรณีนี้เป็นการให้สินบริคณห์ที่เป็นที่ดินมีโฉนดซึ่งตามกฎหมายให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจาก ซ. ภริยาด้วย ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 1476 การที่ท. โอนที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมทั้งที่ดินแปลงพิพาทมีราคาสูงอันเกินกว่าจะให้ในทางสมาคม ท.จึงไม่มีอำนาจโอนที่ดินแปลงพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 และสิทธิของ ซ.ในการขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินแปลงพิพาทดังกล่าวเป็นสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สิน มิใช่การเฉพาะตัว โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ซ. มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินแปลงพิพาทดังกล่าวทั้งหมดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความจากการอยู่กินฉันสามีภริยา ไม่ขัดต่อศีลธรรม ไม่ต้องรับความยินยอมจากภริยา
จำเลยมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ได้มาอยู่กินกับโจทก์ฉันสามีภริยา ต่อมาโจทก์จำเลยได้ตกลงเลิกอยู่ด้วยกันโดยจำเลยจะให้เงินโจทก์ 40,000 บาท และได้ขอให้พนักงานสอบสวนจดบันทึกข้อตกลงนั้นไว้ในรายงานประจำวันแล้วโจทก์จำเลยลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย มีผลสมบูรณ์ให้จำเลยต้องปฏิบัติตามไม่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ
ตามบันทึกข้อตกลงของโจทก์จำเลยมีความว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส อยู่กินด้วยกันมาประมาณ 7 ปี ต่อมาไม่เข้าใจกันทั้งสองฝ่าย จึงประสงค์ขอเลิกจากการเป็นสามีภริยา โดยจำเลยได้ขอเงินโจทก์ 40,000 บาท เป็นค่าที่ได้อยู่กินกันมา บันทึกดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นเนื่องจากความไม่เข้าใจกัน โจทก์จำเลยจึงตกลงเลิกจากการอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยจำเลยตกลงให้เงินเป็นการตอบแทนที่โจทก์อยู่กินด้วยกันมากับจำเลย ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 มิใช่สัญญาให้โดยเสน่หา จำเลยจึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 (3)
ตามบันทึกข้อตกลงของโจทก์จำเลยมีความว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส อยู่กินด้วยกันมาประมาณ 7 ปี ต่อมาไม่เข้าใจกันทั้งสองฝ่าย จึงประสงค์ขอเลิกจากการเป็นสามีภริยา โดยจำเลยได้ขอเงินโจทก์ 40,000 บาท เป็นค่าที่ได้อยู่กินกันมา บันทึกดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นเนื่องจากความไม่เข้าใจกัน โจทก์จำเลยจึงตกลงเลิกจากการอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยจำเลยตกลงให้เงินเป็นการตอบแทนที่โจทก์อยู่กินด้วยกันมากับจำเลย ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 มิใช่สัญญาให้โดยเสน่หา จำเลยจึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับคู่สามีภริยาโดยไม่จดทะเบียนสมรส: ชอบด้วยกฎหมายและมีผลผูกพัน
จำเลยมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ได้มาอยู่กินกับโจทก์ฉันสามีภริยาต่อมาโจทก์จำเลยได้ตกลงเลิกอยู่กินด้วยกันโดยจำเลยจะให้เงินโจทก์ 40,000 บาท และได้ขอให้พนักงานสอบสวนจดบันทึกข้อตกลงนั้นไว้ในรายงานประจำวันแล้วโจทก์จำเลยลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย มีผลสมบูรณ์ให้จำเลยต้องปฏิบัติตามไม่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เป็นโมฆะ
ตามบันทึกข้อตกลงของโจทก์จำเลยมีความว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส อยู่กินด้วยกันมาประมาณ 7 ปีต่อมาไม่เข้าใจกันทั้งสองฝ่ายจึงประสงค์ขอเลิกจากการเป็นสามีภริยา โดยจำเลยขอให้เงินโจทก์ 40,000 บาท เป็นค่าที่ได้อยู่กินกันมา บันทึกดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นเนื่องจากความไม่เข้าใจกันโจทก์จำเลยจึงตกลงเลิกจากการอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยจำเลยตกลงให้เงินเป็นการตอบแทนที่โจทก์อยู่กินด้วยกันมากับจำเลย ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850มิใช่สัญญาให้โดยเสน่หา จำเลยจึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3)
ตามบันทึกข้อตกลงของโจทก์จำเลยมีความว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส อยู่กินด้วยกันมาประมาณ 7 ปีต่อมาไม่เข้าใจกันทั้งสองฝ่ายจึงประสงค์ขอเลิกจากการเป็นสามีภริยา โดยจำเลยขอให้เงินโจทก์ 40,000 บาท เป็นค่าที่ได้อยู่กินกันมา บันทึกดังกล่าวเป็นการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นเนื่องจากความไม่เข้าใจกันโจทก์จำเลยจึงตกลงเลิกจากการอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยจำเลยตกลงให้เงินเป็นการตอบแทนที่โจทก์อยู่กินด้วยกันมากับจำเลย ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850มิใช่สัญญาให้โดยเสน่หา จำเลยจึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยาก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-845/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินให้บุตรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส: ศาลพิจารณาความสมเหตุสมผลและการกระทบต่อฐานะของคู่สมรส
โจทก์เป็นภรรยาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 เกิดกับภริยาคนก่อนซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสและเลิกร้างกันไปแล้ว ส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินให้บุตรเหล่านี้ทุกคนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นหนังสือ ที่ดินมีโฉนดอันเป็น สินสมรสที่จำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 2 นั้นมีเนื้อที่เพียง 65 ตารางวา จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 ผู้ให้เอง และได้สมรสแยกครอบครัวไปอยู่ต่างหากแล้วและไม่ปรากฏว่าขณะที่ยกให้นั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์อันมีค่าอย่างอื่นอีกถือได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิให้ได้ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 524/2506)
ที่ดินตาม น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งเป็นที่ดินที่มารดายกให้จำเลยที่ 1 โดยระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนไว้ก็ไม่สำคัญเพราะขณะที่ยกให้นั้นยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 134/2513) จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกให้จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยที่ 1 ยกที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 เอง ที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่เพียง 2 งานเศษ และเมื่อให้แล้วโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์ร่วมกันอีกมาก ถือได้ว่าเป็นการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยังให้ที่ดินสินสมรสแก่จำเลยที่ 3 อีกแปลงหนึ่งแม้จะมีราคาเพียง 70,000 บาท แต่มีเนื้อที่ถึง 7 ไร่เศษ และไม่จำเป็นต้องให้อีก เพราะได้ให้ไปแปลงหนึ่งแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี และอาจทำให้ฐานะของโจทก์ตกต่ำลงได้จึงสมควรเพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินแปลงนี้
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 7 โดยที่ได้ยกให้ไปสองแปลงแล้ว ถือว่าไม่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ จึงต้องเพิกถอนเช่นกัน
ที่ดินตาม น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งเป็นที่ดินที่มารดายกให้จำเลยที่ 1 โดยระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนไว้ก็ไม่สำคัญเพราะขณะที่ยกให้นั้นยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 134/2513) จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกให้จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยที่ 1 ยกที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 เอง ที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่เพียง 2 งานเศษ และเมื่อให้แล้วโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์ร่วมกันอีกมาก ถือได้ว่าเป็นการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยังให้ที่ดินสินสมรสแก่จำเลยที่ 3 อีกแปลงหนึ่งแม้จะมีราคาเพียง 70,000 บาท แต่มีเนื้อที่ถึง 7 ไร่เศษ และไม่จำเป็นต้องให้อีก เพราะได้ให้ไปแปลงหนึ่งแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี และอาจทำให้ฐานะของโจทก์ตกต่ำลงได้จึงสมควรเพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินแปลงนี้
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 7 โดยที่ได้ยกให้ไปสองแปลงแล้ว ถือว่าไม่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ จึงต้องเพิกถอนเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 842-845/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินให้บุตรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส ศาลพิจารณาความสมเหตุสมผลและผลกระทบต่อฐานะของคู่สมรส
โจทก์เป็นภรรยาของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 เกิดกับภริยาคนก่อนซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสและเลิกร้างกันไปแล้วส่วนจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมยกที่ดินให้บุตรเหล่านี้ทุกคนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์เป็นหนังสือ ที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสที่จำเลยที่ 1 ยกให้จำเลยที่ 2 นั้นมีเนื้อที่เพียง 65 ตารางวาจำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 ผู้ให้เอง และได้สมรสแยกครอบครัวไปอยู่ต่างหากแล้ว และไม่ปรากฏว่าขณะที่ยกให้นั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีหลักทรัพย์อันมีค่าอย่างอื่นอีก ถือได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3) จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิให้ได้ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 524/2506)
ที่ดินตาม น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งเป็นที่ดินที่มารดายกให้จำเลยที่ 1 โดยระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนไว้ก็ไม่สำคัญเพราะขณะที่ยกให้นั้นยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่134/2513) จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกให้จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยที่ 1 ยกที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 เองที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่เพียง 2 งานศษและเมื่อให้แล้วโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์ร่วมกันอีกมากถือได้ว่าเป็นการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1473(3) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน ส่วนจำเลยที่1 ยังให้ที่ดินสินสมรสแก่จำเลยที่ 3 อีกแปลงหนึ่งแม้จะมีราคาเพียง 70,000 บาท แต่มีเนื้อที่ถึง 7 ไร่เศษและไม่จำเป็นต้องให้อีก เพราะได้ให้ไปแปลงหนึ่งแล้วถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมดี และอาจทำให้ฐานะของโจทก์ตกต่ำลงได้ จึงสมควรเพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินแปลงนี้
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 7 โดยที่ได้ยกให้ไปสองแปลงแล้ว ถือว่าไม่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ จึงต้องเพิกถอนเช่นกัน
ที่ดินตาม น.ส.3 อีกแปลงหนึ่งเป็นที่ดินที่มารดายกให้จำเลยที่ 1 โดยระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนไว้ก็ไม่สำคัญเพราะขณะที่ยกให้นั้นยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญ (อ้างนัยคำพิพากษาฎีกาที่134/2513) จำเลยที่ 1 มีสิทธิยกให้จำเลยที่ 2 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์
จำเลยที่ 1 ยกที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์กับจำเลยที่ 1 เองที่ดินแปลงนี้มีเนื้อที่เพียง 2 งานศษและเมื่อให้แล้วโจทก์กับจำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์ร่วมกันอีกมากถือได้ว่าเป็นการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1473(3) โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน ส่วนจำเลยที่1 ยังให้ที่ดินสินสมรสแก่จำเลยที่ 3 อีกแปลงหนึ่งแม้จะมีราคาเพียง 70,000 บาท แต่มีเนื้อที่ถึง 7 ไร่เศษและไม่จำเป็นต้องให้อีก เพราะได้ให้ไปแปลงหนึ่งแล้วถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมดี และอาจทำให้ฐานะของโจทก์ตกต่ำลงได้ จึงสมควรเพิกถอนนิติกรรมการยกให้ที่ดินแปลงนี้
ส่วนที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินสินสมรสแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 7 โดยที่ได้ยกให้ไปสองแปลงแล้ว ถือว่าไม่เป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีฯ จึงต้องเพิกถอนเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินสินสมรสให้บุตร/หลานโดยเสน่หา การให้ตามสมควรทางศีลธรรม และอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์
ในคำฟ้องโจทก์บรรยายไว้ว่า การที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินให้จำเลยที่ 2 โจทก์ไม่รู้เห็นยินยอม และได้เน้นอีกว่า. เป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทน ไม่ใช่เป็นการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ เป็นการโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์ เป็นปู่ย่าของจำเลยที่ 2 มีที่ดินนอกจากที่พิพาทอีกหลายแปลง มีราคานับล้านบาท ที่พิพาทส่วนที่ยกให้เป็นเพียงส่วนน้อย มีราคาไม่มาก การยกให้ โจทก์ก็ทราบดีและยินยอม อันเป็นการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ไม่จำเป็นต้องให้ความยินยอมเป็นหลักฐานเห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ที่ว่า ไม่ได้ให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ทั้งได้อธิบายเกี่ยวกับการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีไว้ชัดแจ้ง จึงเป็นประเด็นแห่งคดี
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 นอกจากจะเป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทนแล้ว ในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นหลานของโจทก์และจำเลยที่ 1 เคยอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูแต่เล็กมาจนโต ทั้งจำเลยที่1 กับโจทก์ยังมีที่ดินอีกหลายแปลงมีราคานับล้านบาทการยกให้ดังกล่าวจึงเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี และไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นภริยา
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 นอกจากจะเป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทนแล้ว ในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นหลานของโจทก์และจำเลยที่ 1 เคยอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูแต่เล็กมาจนโต ทั้งจำเลยที่1 กับโจทก์ยังมีที่ดินอีกหลายแปลงมีราคานับล้านบาทการยกให้ดังกล่าวจึงเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี และไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้หลานเป็นสินสมรสตามสมควรทางศีลธรรม ไม่ต้องมียินยอมจากภริยา
ในคำฟ้องโจทก์บรรยายไว้ว่าการที่จำเลยที่ 1 ยกที่ดินให้จำเลยที่ 2 โจทก์ไม่รู้เห็นยินยอม และได้เน้นอีกว่าเป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทน ไม่ใช่เป็นการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ เป็นการโต้แย้งว่าจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นปู่ย่าของจำเลยที่ 2 มีที่ดินนอกจากที่พิพาทอีกหลายแปลง มีราคานับล้านบาทที่พิพาทส่วนที่ยกให้เป็นเพียงส่วนน้อย มีราคาไม่มากการยกให้โจทก์ก็ทราบดีและยินยอมอันเป็นการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ไม่จำเป็นให้ความยินยอมเป็นหลักฐาน เห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ที่ว่าไม่ได้ให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ทั้งได้อธิบายเกี่ยวกับการยกให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีไว้ชัดแจ้ง จึงเป็นประเด็นแห่งคดี
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 นอกจากจะเป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทนแล้ว ในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นหลานของโจทก์และจำเลยที่ 1 เคยอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูแต่เล็กมาจนโต ทั้งจำเลยที่ 1 กับโจทก์ยังมีที่ดินอีกหลายแปลงมีราคานับล้านบาท การยกให้ดังกล่าวจึงเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีและไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่ง เป็นภริยา
การที่จำเลยที่ 1 ยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 นอกจากจะเป็นการยกให้โดยเสน่หาปราศจากสิ่งตอบแทนแล้ว ในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นหลานของโจทก์และจำเลยที่ 1 เคยอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูแต่เล็กมาจนโต ทั้งจำเลยที่ 1 กับโจทก์ยังมีที่ดินอีกหลายแปลงมีราคานับล้านบาท การยกให้ดังกล่าวจึงเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีและไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่ง เป็นภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391-2393/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินอันเป็นสินสมรสให้บุตรโดยชอบธรรม: การให้ตามสมควรทางศีลธรรมอันดี
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภรรยากัน มีที่ดินอันเป็นสินสมรสด้วยกันหลายแปลง การที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามียกที่ดินดังกล่าวให้แก่บุตร 3 คน ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์และจำเลยที่ 1 เอง คนละ 1 แปลง ถือว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี จำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีมีอำนาจทำได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภรรยาก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391-2393/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินอันเป็นสินสมรสให้บุตร ถือเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดี ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภรรยา
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภรรยากัน มีที่ดินอันเป็นสินสมรสด้วยกันหลายแปลง การที่จำเลยที่ 1 ผู้เป็น สามียกที่ดินดังกล่าวให้แก่บุตร 3 คน ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์และจำเลยที่ 1 เองคนละ 1 แปลง ถือว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีจำเลยที่ 1 ผู้เป็นสามีมีอำนาจทำได้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภรรยาก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1473(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1089/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินมรดกให้ผู้อื่นโดยเสน่หา ต้องไม่เกินฐานะและส่วนแบ่งสินสมรส จึงไม่จำต้องมีหนังสือยินยอมจากคู่สมรส
สามีได้รับมรดกที่ดินมาในระหว่างสมรส แล้วทำนิติกรรมยกที่ดินนั้นครึ่งหนึ่งให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หา เมื่อปรากฏว่าการให้นั้นเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1473 (3) แล้ว ก็ไม่จำต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภริยา ภริยาไม่มีสิทธิจะฟ้องขอให้เพิกถอน