คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ม. 42

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3159/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีหลังพ้นกำหนดไม่เป็นอุปสรรคการฟ้องคัดค้านการประเมินภาษี และการตีความ 'ค่าภาษีทั้งสิ้น'
เมื่อพิจารณาถึงความเชื่อมโยงจากมาตรา 38 วรรคหนึ่ง มาตรา 38 ทวิ วรรคหนึ่ง และมาตรา 39 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 แล้ว คำว่า "ค่าภาษีทั้งสิ้น" ตามมาตรา 39 ให้หมายความถึงค่าภาษีซึ่งถึงกำหนดชำระและค่าภาษีที่มีสิทธิผ่อนชำระ นอกจากนี้ พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 บัญญัติเรื่อง "ค่าภาษี" ไว้ในหมวด 2 การเก็บภาษี ซึ่งเป็นเรื่องภาษีตามการประเมิน ส่วนคำว่า "เงินเพิ่ม" ถูกบัญญัติไว้ในหมวด 3 ค่าภาษีค้าง ในมาตรา 42 ถึงมาตรา 44 แยกกันต่างหาก โดยไม่มีบทบัญญัติกำหนดหรือนิยามคำว่า "ค่าภาษีทั้งสิ้น" ตามความหมายบทบัญญัติแห่งมาตรา 39 ให้รวมถึงเงินเพิ่มด้วย จึงไม่อาจตีความว่าก่อนการยื่นฟ้องต่อศาลผู้รับประเมินต้องชำระเงินเพิ่มอันเป็นภาษีอากรค้างด้วย ซึ่งแตกต่างกับกฎหมายอื่น หากต้องการให้เงินเพิ่มถือเป็นเงินค่าภาษีจะต้องมีบทบัญญัติไว้ชัดเจน อีกทั้งเมื่อพิจารณาบทบัญญัติในมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 ซึ่งบัญญัติให้อำนาจผู้บริหารท้องถิ่นออกคำสั่งยึด อายัด หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ซึ่งค้างชำระค่าภาษีเพื่อนำเงินมาชำระเป็นค่าภาษี เงินเพิ่ม ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่าย แสดงว่าวัตถุประสงค์ของกฎหมายต้องการให้แยกคำว่า "ค่าภาษี" ซึ่งเป็นค่าภาษีตามการประเมินในหมวด 2 กับคำว่า "เงินเพิ่ม" ในหมวด 3 ออกจากกัน ดังนั้น ค่าภาษีทั้งสิ้นตามความมุ่งหมายในมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จึงไม่อาจรวมถึงเงินเพิ่มอันเกิดจากการมิได้ชำระค่าภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดด้วย
สิทธิฟ้องร้องคัดค้านการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินคงขึ้นอยู่กับความในมาตรา 31 กับมาตรา 39 เท่านั้น การชำระค่าภาษีตามมาตรา 38 เป็นเพียงหลักปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับผู้รับประเมินจะไปชำระค่าภาษีได้ที่ใดและเมื่อใด เป็นเรื่องของการเก็บภาษีในกรณีธรรมดาทั่วไป ซึ่งหากมิได้ชำระภายในเวลาที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 38 ตามมาตรา 42 บัญญัติให้ถือว่าเป็นค่าภาษีค้างชำระอันจะต้องเสียเงินเพิ่ม รวมทั้งอาจถูกบังคับคดียึดอายัดทรัพย์ขายทอดตลาด เพื่อเอาเงินมาเสียภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 43 และมาตรา 44 ต่อไปด้วย อันเป็นคนละเรื่องกับสิทธิในการฟ้องคดี การไม่ชำระค่าภาษีตามมาตรา 38 จึงไม่ได้เป็นสาระสำคัญหรือเงื่อนไขในการฟ้องคดี เพราะหากเป็นกรณีพ้นกำหนดเวลาชำระค่าภาษีไปแล้ว ขณะฟ้องก็ต้องชำระค่าภาษีเสียก่อนฟ้องเช่นเดียวกัน
โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด.8) ประจำปีภาษี 2560 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 เป็นค่าภาษีจำนวน 1,092,823.25 บาท ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ (ภ.ร.ด.9) ซึ่งจำเลยที่ 2 มีคำชี้ขาดตามการประเมินให้ชำระค่าภาษีจำนวน 1,092,823 บาท โจทก์ทราบคำชี้ขาดดังกล่าวเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 และชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นเงิน 1,092,823 บาท ตามที่ได้ระบุไว้ในใบแจ้งคำชี้ขาดเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2560 ซึ่งเป็นเวลาก่อนโจทก์ฟ้องคดี แม้โจทก์จะไม่ได้ชำระเงินเพิ่มในวันดังกล่าว ก็ย่อมถือว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีครบถ้วนตามคำชี้ขาดอันเป็นค่าภาษีทั้งสิ้นตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน, การประเมินภาษี, สิทธิในการโต้แย้ง, การยื่นคำร้อง
จำเลยได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเก็บภาษีสำหรับค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2535 และ 2536 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2537 จำเลยซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องนำค่าภาษีไปชำระภายใน 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 38 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อจำเลยมิได้ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และมิได้ชำระค่าภาษีตามการประเมินดังกล่าวภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2537 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามการประเมินดังกล่าว จึงเป็นค่าภาษีค้างชำระอันก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยได้ นับแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2537 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547 จึงยังอยู่ภายในระยะเวลา 10 ปี สิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าภาษีโรงเรือนประจำปีภาษี 2535 และ 2536 ยังไม่ขาดอายุความ (ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2538)
เมื่อจำเลยได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากจำเลยไม่พอใจ กฎหมายกำหนดให้จำเลยต้องยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ จำเลยย่อมไม่อาจโต้แย้งหรือยกข้อต่อสู้ในประเด็นเกี่ยวกับการประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินในชั้นศาลได้ เพราะปัญหาดังกล่าวยุติไปในชั้นการประเมิน (ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2530, 705/2531)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีโรงเรือนและที่ดิน: สิทธิเรียกร้องเกิดเมื่อแจ้งประเมิน, การไม่อุทธรณ์ทำให้สิ้นสิทธิโต้แย้ง
จำเลยได้รับการแจ้งการประเมินจากพนักงานเก็บภาษีสำหรับค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2535 และ 2536 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2537 จำเลยซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องนำค่าภาษีไปชำระต่อพนักงานเก็บภาษีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับการแจ้งประเมิน พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ มาตรา 38 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อจำเลยมิได้ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 และมิได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2535 และ 2536 ภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2537 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระแล้ว ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2535 และ 2536 จึงเป็นค่าภาษีค้างชำระอันก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยได้นับแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2537 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547 จึงยังอยุ่ภายในระยะเวลา 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้ภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2535 และ 2536 ยังไม่ขาดอายุความ
จำเลยได้รับแจ้งการประเมินแล้ว หากจำเลยไม่พอใจกฎหมายกำหนดวิธีการให้จำเลยต้องยื่นคำร้องต่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาล ขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเสียก่อน หากจำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามมาตรา 25 จำเลยย่อมไม่อาจโต้แย้งหรือยกข้อต่อสู้ในประเด็นเกี่ยวกับการประเมินค่ารายปีและค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินในชั้นศาลได้ เพราะปัญหาดังกล่าวย่อมยุติไปในชั้นการประเมินแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมรับผิดในหนี้ภาษีค้างชำระเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2479 มาตรา 45กำหนดว่าถ้าค่าภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชำระขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นของเจ้าของใหม่โดยเหตุใด ๆ ก็ตามเจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน จึงเห็นได้ว่าความในมาตรา 45 มิได้หมายความถึง มีเงินค่าภาษีค้างชำระตามมาตรา 42 เพราะหากหมายความถึงมีเงินค่าภาษีค้างชำระก็คงไม่ต้องบัญญัติว่า "และยังมิได้ชำระ"ซ้ำลงไปเพียงแต่บัญญัติว่า ถ้าค่าภาษีค้างอยู่ก็ได้ความเพียงพอแล้วเพราะค้างอยู่ก็ย่อมหมายความถึงยังมิได้ชำระนั่นเองแต่การที่มาตรา 45 บัญญัติเช่นนี้ย่อมหมายความว่า หากเจ้าของคนเก่านั้นยังมีหนี้ค่าภาษีอยู่ขณะเมื่อมีการโอนทรัพย์สินนั้นไปยังเจ้าของคนใหม่ เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีร่วมกัน คดีนี้จำเลยที่ 1 มีหนี้ค่าภาษีอยู่ตั้งแต่เมื่อได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว มิใช่เพิ่งมีหนี้เกิดขึ้นเมื่อระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามมาตรา 38ล่วงพ้นไปแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นเมื่อยังมิได้มีการชำระหนี้ค่าภาษีในขณะที่โอนกรรมสิทธิ์โรงเรือนและที่ดินไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ในหนี้ค่าภาษีดังกล่าวรวมทั้งเงินเพิ่มด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 230/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันในหนี้ภาษีเมื่อมีการโอนทรัพย์สิน โดยหนี้ภาษียังไม่ถูกชำระ
ความในมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475 มิได้หมายความถึงมีเงินค่าภาษีค้างชำระตามมาตรา 42 เพราะหากหมายความถึงมีเงินค่าภาษีค้างชำระก็คงไม่ต้องบัญญัติคำว่า "และยังมิได้ชำระ"ซ้ำลงไป บัญญัติเพียงว่าถ้าค่าภาษีค้างอยู่ก็ได้ความเพียงพอแล้ว เพราะค้างอยู่ก็ย่อมหมายความถึงยังมิได้ชำระนั่นเอง แต่การที่มาตรา 45 บัญญัติเช่นนี้ย่อมหมายความว่า หากเจ้าของคนเก่านั้นยังมีหนี้ค่าภาษีอยู่ขณะเมื่อมีการโอนทรัพย์สินนั้นไปยังเจ้าของคนใหม่ เจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกันเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้ค่าภาษีอยู่ตั้งแต่เมื่อได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว มิใช่เพิ่งมีหนี้เกิดขึ้นเมื่อระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามมาตรา 38 ล่วงพ้นไป เพราะฉะนั้นเมื่อยังมิได้มีการชำระหนี้ค่าภาษีในขณะที่โอนกรรมสิทธิ์โรงเรือนและที่ดินไปยังจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในหนี้ค่าภาษีดังกล่าวรวมทั้งเงินเพิ่มดังโจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในค่าภาษีของเจ้าของใหม่ หลังการบอกเลิกสัญญาเช่า และการตกเป็นกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สิน
ผู้มีชื่อเช่าที่ดินปลูกโกดังและโอนกันต่อ ๆ มา เจ้าของโกดังคนสุดท้ายถูกฟ้องล้มละลาย ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จึงเป็นผลให้สัญญาเช่านั้นต้องระงับไป โกดังจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยทันทีตามข้อตกลงในสัญญาเช่า เพราะโกดังเป็นส่วนควบของที่ดิน ไม่ต้องไปทำการโอนจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าของคนใหม่
มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 เป็นบทบัญญัติที่รัฐจะติดตามเอาค่าภาษีให้ได้ไม่ว่ากรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปเป็นของเจ้าของใหม่โดยเหตุใด ๆ ก็ตาม บรรดาเจ้าของคนเก่าและคนใหม่ต้องเป็นลูกหนี้ค่าภาษีร่วมกัน
การที่เจ้าหนี้บุริมสิทธิไม่ไปขอรับชำระหนี้ของผู้ล้มละลายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะถือว่าเป็นการปลดหนี้ไม่ได้ เพราะเจ้าหนี้มิได้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้จึงยังไม่ระงับ
ค่าภาษีที่มิได้ชำระภาษีในเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นเงินภาษีค้างชำระซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เพิ่มจำนวนขึ้น เงินค่าภาษีที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นค่าภาษีที่ค้างชำระซึ่งเจ้าของโรงเรือนและที่ดินคนใหม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าภาษีที่ค้างรวมทั้งเงินเพิ่มภาษี โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากหนี้เงินในระหว่างเวลาผิดนัดได้ ไม่เป็นการเรียกดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
การที่โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้น้อยกว่าจำนวนที่แท้จริง ไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนที่แท้จริง
การชำระค่าภาษีเป็นภาระของผู้รับประเมินจะพึงนำไปชำระ จะถือว่าเทศบาลประมาทเลินเล่อไม่เรียกเก็บมิได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องนำภาษีไปชำระโจทก์แต่กลับเพิกเฉยเสีย จนโจทก์ต้องฟ้อง จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเมื่อแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของที่ดินรับผิดภาษีค้างชำระหลังรับโอนโกดังจากผู้ล้มละลาย สัญญาเช่าระงับ
ผู้มีชื่อเช่าที่ดินปลูกโกดังและโอนกันต่อๆ มา เจ้าของโกดังคนสุดท้ายถูกฟ้องล้มละลาย ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วจึงเป็นผลให้สัญญาเช่านั้นต้องระงับไป โกดังจึงตกเป็นกรรมสิทธิแก่จำเลยทันทีตามข้อตกลงในสัญญาเช่า เพราะโกดังเป็นส่วนควบของที่ดิน ไม่ต้องไปทำการโอนจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าของคนใหม่
มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 เป็นบทบัญญัติที่รัฐจะติดตามเอาค่าภาษีให้ได้ไม่ว่ากรรมสิทธิแห่งทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปเป็นของเจ้าของใหม่โดยเหตุใดๆ ก็ตาม บรรดาเจ้าของคนเก่าและคนใหม่ต้องเป็นลูกหนี้ค่าภาษีร่วมกัน
การที่เจ้าหนี้บุริมสิทธิไม่ไปขอรับชำระหนี้ของผู้ล้มละลายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะถือว่าเป็นการปลดหนี้ไม่ได้เพราะเจ้าหนี้มิได้แสดงเจตนาต่อลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้จึงยังไม่ระงับ
ค่าภาษีที่มิได้ชำระภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นเงินภาษีค้างชำระซึ่งกฎหมายบัญญัติให้เพิ่มจำนวนขึ้น เงินค่าภาษีที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นค่าภาษีที่ค้างชำระซึ่งเจ้าของโรงเรือนและที่ดินคนใหม่ต้องรับผิด
เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าภาษีที่ค้างรวมทั้งเงินเพิ่มภาษี โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากหนี้เงินในระหว่างเวลาผิดนัดได้ ไม่เป็นการเรียกดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย
การที่โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้น้อยกว่าจำนวนที่แท้จริง ไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามจำนวนที่แท้จริง
การชำระค่าภาษีเป็นภาระของผู้รับประเมินจะพึงนำไปชำระจะถือว่าเทศบาลประมาทเลินเล่อไม่เรียกเก็บมิได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องนำภาษีไปชำระโจทก์ แต่กลับเพิกเฉยเสีย จนโจทก์ต้องฟ้อง จำเลยจึงต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเมื่อแพ้คดี