คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1546 (4)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเด็กต้องได้รับอนุญาตจากศาล, อายุความฟ้องแพ่งใช้อายุความอาญาเมื่อไม่มีการฟ้องคดีอาญา
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิดเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง การทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจึงเป็นนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของเด็กผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำสัญญาแทนเด็กจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)(เดิม) เมื่อบิดาโจทก์ทำสัญญาแทนโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาล สัญญาก็ไม่มีผลผูกพันโจทก์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคแรก บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ถ้าไม่มีผู้ใดฟ้องคดีอาญา สิทธิของผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากความผิดนั้นย่อมระงับไปตามกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา จึงต้องนำอายุความฟ้องคดีอาญามาใช้บังคับ หากการกระทำของจำเลยเป็นความผิดก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี อายุความจึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189-1193/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และการทำสัญญาแทนผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ ดังนั้น การตั้งตัวแทนเพื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคสองจึงจะมีผลผูกพันตัวการ
บิดาของผู้เยาว์ถูกทำละเมิดถึงแก่ความตาย ผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรต้องเสียค่าทำศพไป จึงมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำละเมิด ถือว่าผู้เยาว์ได้มาซึ่งทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หากมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยผู้ใช้อำนาจปกครองจะต้องทำสัญญาแทนผู้เยาว์ผู้ใช้อำนาจปกครองก็จะต้องขออนุญาตศาลก่อน เพราะเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของเด็ก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินเด็กต้องได้รับอนุญาตจากศาล หากไม่ได้รับอนุญาต สัญญาเป็นโมฆะ
โจทก์จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ช. ตกลงแบ่งที่ดินอันเป็นมรดกของ ก.ให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และช. โดยโจทก์จำเลยที่ 1 ที่ 2 และช. ไปยื่นคำขอแบ่งแยกต่อเจ้าพนักงานที่ดิน จนกระทั่งเจ้าพนักงานได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินออกเป็นส่วนสัด เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่การที่จำเลยที่ 2 บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 3 ผู้เยาว์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแทนจำเลยที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 (4) ย่อมตกเป็นโมฆะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และในกรณีนี้จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งย่อมเป็นสิ่งเกี่ยวพันกันไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ ข้อตกลงแบ่งที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และช. ดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่อ้างข้อตกลงแบ่งมรดกดังกล่าวมาฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินเด็กต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
โจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ช. ตกลงแบ่งที่ดินอันเป็นมรดกของ ก.ให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ช.โดยโจทก์จำเลยที่1ที่2และช. ไปยื่นคำขอแบ่งแยกต่อเจ้าพนักงานที่ดิน จนกระทั่งเจ้าพนักงานได้รังวัดแบ่งแยกที่ดินออกเป็นส่วนสัด เป็นการระงับข้อพิพาทแห่งกองมรดกที่จะมีขึ้น จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่การที่จำเลยที่ 2 บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 3 ผู้เยาว์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแทนจำเลยที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4) ย่อมตกเป็นโมฆะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาและศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และในกรณีนี้จำนวนทายาทหรือจำนวนทรัพย์มรดกที่จะได้รับส่วนแบ่งย่อมเป็นสิ่งเกี่ยวพันกันไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้ ข้อตกลงแบ่งที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 และ ช. ดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น โจทก์ไม่มีสิทธิที่อ้างข้อตกลงแบ่งมรดกดังกล่าวมาฟ้องขอแบ่งที่ดินจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอมต่อผู้เยาว์โดยมีผู้แทนเฉพาะคดี ศาลอนุญาตให้ทำสัญญาประนีประนอมได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนที่ดินและเรือนให้โจทก์กับให้ขับไล่จำเลยออกไปแล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยยอมออกจากทรัพย์พิพาทและยอมโอนให้โจทก์ ศาลได้พิพากษาตามยอมแล้วแม้จำเลยบางคนจะเป็นผู้เยาว์ แต่คำพิพากษาตามยอมนั้นก็มีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 จำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์เป็นคู่ความในคดีอยู่แล้วโดยมี ก. เป็นผู้แทนเฉพาะคดี และไม่มีอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมจนคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมได้ ศาลจะปฏิเสธการบังคับคดีแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์โดยอ้างว่า ก.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4) ดังนี้ หาชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1173/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอมต่อผู้เยาว์โดยผู้แทนเฉพาะคดี การบังคับคดีตามคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยโอนที่ดินและเรือนให้โจทก์ กับให้ขับไล่จำเลยออกไปแล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมออกจากทรัพย์พิพาทและยอมโอนให้โจทก์ ศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว แม้จำเลยบางคนจะเป็นผู้เยาว์ แต่คำพิพากษาตามยอมนั้นก็มีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 จำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์เป็นคู่ความในคดีอยู่แล้ว โดยมี ก. เป็นผู้แทนเฉพาะคดี และไม่มีอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมจนคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมได้ ศาลจะปฏิเสธการบังคับคดีแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์โดยอ้างว่า ก.ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4) ดังนี้ หาชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบุตรโดยผู้แทนตามกฎหมาย และผลผูกพันของสัญญาระงับข้อพิพาทที่ทำโดยผู้แทนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล
มารดาโจทก์ผู้เยาว์ได้เสียเป็นสามีภรรยากับจำเลยผู้เป็นบิดาโจทก์โดยมิได้จดทะเบียนสมรส และมารดาโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่าได้รับเงินจากจำเลยแล้ว จะไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยและจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ต่อจำเลยอีก ดังนี้ เมื่อมารดาโจทก์ทำสัญญานั้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล สัญญานั้นย่อมไม่มีผลผูกพันถึงโจทก์ด้วยโจทก์โดยมารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรของจำเลย และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาได้ และการฟ้องเช่นนี้เป็นเรื่องมารดาของโจทก์ฟ้องแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ตามนัยมาตรา 1529 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงมีอำนาจฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบุตรผู้เยาว์ที่มารดาทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทน คดีบุตรไม่ผูกพันสัญญา
มารดาโจทก์ผู้เยาว์ได้เสียเป็นสามีภรรยากับจำเลยผู้เป็นบิดาโจทก์โดยมิได้จดทะเบียนสมรส และมารดาโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยว่าได้รับเงินจากจำเลยแล้ว จะไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยและจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ต่อจำเลยอีก ดังนี้ เมื่อมารดาโจทก์ทำสัญญานั้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล สัญญานั้นย่อมไม่มีผลผูกพันถึงโจทก์ด้วยโจทก์โดยมารดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นบุตรของจำเลย และให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูกับค่าใช้จ่ายในการศึกษาได้ และการฟ้องเช่นนี้เป็นเรื่องมารดาของโจทก์ฟ้องแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ตามนัยมาตรา 1529 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงมีอำนาจฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 1534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการยอมให้เข้าครอบครองดุจเจ้าของ แม้สัญญายอมความไม่ผูกพันผู้เยาว์ ก็อาจเกิดกรรมสิทธิ์ได้หากเข้าเงื่อนไขครบถ้วน
สัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลที่มารดาของบุตรผู้เยาว์ทำขึ้นโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ย่อมไม่ผูกพันบุตรผู้เยาว์
การเข้าครอบครองทรัพย์ตามสัญญาซึ่งจะต้องชำระเงินตอบแทนต่อไป ในบางกรณีอาจถือเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของยังมิได้ เพราะเป็นแต่เข้าครอบครองโดยอาศัยความยินยอมของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งภายใต้ข้อผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามสัญญาก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กัน
ในกรณีที่มีการฟ้องคดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลย และมารดาโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลกับจำเลย โดยจำเลยให้เงินมารดาโจทก์ และมารดาโจทก์ยอมให้จำเลยเข้าครอบครองทรัพย์พิพาทได้ ดังนี้ ถือว่าเป็นการยอมให้เข้าครอบครองดุจเจ้าของโดยเด็ดขาด แม้มารดาโจทก์จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้เยาว์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(4) ก็ตาม แต่เมื่อไม่ได้ความว่ามารดาโจทก์กับจำเลยได้คบคิดกันกระทำการเพื่อให้โจทก์เสียหาย เมื่อจำเลยครอบครองทรัพย์พิพาท (ที่ดิน) มาครบ 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์สินโดยอาศัยสัญญานอกศาล และการได้กรรมสิทธิ์ตามอายุความ แม้สัญญานั้นไม่ผูกพันผู้เยาว์
สัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลที่มารดาของบุตรผู้เยาว์ทำขึ้นโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลนั้น ย่อมไม่ผูกพันบุตรผู้เยาว์
การเข้าครอบครองทรัพย์ตามสัญญาซึ่งจะต้องชำระเงินตอบแทนต่อไป ในบางกรณีอาจถือเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของยังมิได้ เพราะเป็นแต่เข้าครอบครองโดยอาศัยความยินยอมของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งภายใต้ข้อผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามสัญญาก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กัน
ในกรณีที่มีการฟ้องคดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลย และมารดาโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลกับจำเลยโดยจำเลยให้เงินมารดาโจทก์ และมารดาโจทก์ยอมให้จำเลยเข้าครอบครองทรัพย์พิพาทได้ ดังนี้ ถือว่าเป็นการยอมให้เข้าครอบครองดุจเจ้าของโดยเด็ดขาด แม้มารดาโจทก์จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้เยาว์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 (4) ก็ตาม แต่เมื่อไม่ได้ความว่ามารดาโจทก์กับจำเลยได้คบคิดกันกระทำการเพื่อให้โจทก์เสียหายเมื่อจำเลยครอบครองทรัพย์พิพาท(ที่ดิน) มาครบ 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2509)
of 2