พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากราคาประเมินเมื่อราคาขายต่ำกว่าราคาตลาด และการปกปิดราคาเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี
ป. รัษฎากร มาตรา 78 (เดิม) บัญญัติให้ผู้ประกอบการค้า ประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับที่ได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร โดยกำหนดความหมายของคำว่า "รายรับ" ไว้ในมาตรา 79 ว่า หมายความว่า เงินทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับ หรือพึงได้รับไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร เนื่องจากการประกอบการค้า ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดที่โจทก์ทำกับลูกค้าบางห้อง มีราคาสูงกว่าราคาตามสัญญาซื้อขายที่จดทะเบียนต่อสำนักงานที่ดิน แสดงว่าโจทก์มีเจตนาปกปิดราคาอันแท้จริงที่โจทก์ขายให้แก่ลูกค้า และราคาซื้อขายห้องชุดดังกล่าวที่จดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินมิใช่ราคาขายอันแท้จริง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินรายรับของโจทก์ตามมูลค่าที่โจทก์พึงได้รับ โดยใช้ราคาประเมินของกรมที่ดินที่ใช้เก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้ และมีอำนาจประเมินภาษีการค้าเพิ่มขึ้น พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ ตามมาตรา 87 (1) (2) และ 87 ทวิ
ผู้ประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องนำรายรับจากการประกอบกิจการคือ รายรับก่อนหักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/5 (6) มาเป็นฐานในการคิดคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่รายรับดังกล่าวต้องเป็นรายรับที่เป็นจริงและควรได้รับตามปกติจากการขายอสังหาริมทรัพย์ในวันที่มีการจดทะเบียนโอน เมื่อโจทก์มิได้ยื่นรายการและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนภาษีเมษายน 2535 และปรากฏว่าในขณะจดทะเบียนโอนขายอาคารชุดนั้น สำนักงานทะเบียนที่ดินเก็บค่าธรรมเนียมและอากรแสตมป์โดยคิดคำนวณจากราคาประเมินของกรมที่ดินที่ใช้จัดเก็บค่าธรรมเนียมสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินที่ใช้อยู่ในขณะนั้นโดยโจทก์ไม่โต้แย้งว่าไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีภาษีธุรกิจเฉพาะ เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวโดยกำหนดรายรับของโจทก์จากการขายอาคารชุดที่โจทก์ควรจะได้รับ หรือควรจะขายได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/15 และ 91/16
ผู้ประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องนำรายรับจากการประกอบกิจการคือ รายรับก่อนหักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/5 (6) มาเป็นฐานในการคิดคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่รายรับดังกล่าวต้องเป็นรายรับที่เป็นจริงและควรได้รับตามปกติจากการขายอสังหาริมทรัพย์ในวันที่มีการจดทะเบียนโอน เมื่อโจทก์มิได้ยื่นรายการและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับเดือนภาษีเมษายน 2535 และปรากฏว่าในขณะจดทะเบียนโอนขายอาคารชุดนั้น สำนักงานทะเบียนที่ดินเก็บค่าธรรมเนียมและอากรแสตมป์โดยคิดคำนวณจากราคาประเมินของกรมที่ดินที่ใช้จัดเก็บค่าธรรมเนียมสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินที่ใช้อยู่ในขณะนั้นโดยโจทก์ไม่โต้แย้งว่าไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีภาษีธุรกิจเฉพาะ เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มสำหรับเดือนภาษีดังกล่าวโดยกำหนดรายรับของโจทก์จากการขายอาคารชุดที่โจทก์ควรจะได้รับ หรือควรจะขายได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 91/15 และ 91/16
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อนำเข้าสินค้า แม้ยังมิได้ยื่นแบบแสดงรายการ กรมสรรพากรมีสิทธิรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้บุริมสิทธิ
89ตรี จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507-2508. โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า. ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี. ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร. จำเลยย่อมมีรายรับตามมูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร. และมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป. มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ.
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง. เนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า. แล้วมีหนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด. แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว. กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้.
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตามประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย.
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี.
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ. เพราะค่าภาษีอากรเป็นหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว.
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง. เนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า. แล้วมีหนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด. แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว. กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้.
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตามประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย.
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี.
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ. เพราะค่าภาษีอากรเป็นหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มูลหนี้ภาษีการค้าเกิดขึ้นเมื่อใด: การประเมินภาษีและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507- 2508 โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี ถือว่า ผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขาย สินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จำเลยย่อมมีรายรับตาม มูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร และมีหน้าที่ต้อง ชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของ เดือนถัดไป มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่ เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจาก จำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมี หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้ มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่ง พิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่น คำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตาม ประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะ เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็น หนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว
การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจาก จำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมี หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้ มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่ง พิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่น คำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตาม ประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย
สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี
คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะ เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็น หนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและหน้าที่ทำบัญชี: ศาลยกฟ้องฐานสมรู้ร่วมคิดหากไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะ
จำเลยผู้ทำการโรงสีไม่ได้ทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 201 อันมีโทษตาม มาตรา 208แต่ขณะพิจารณาคดีได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 บังคับแล้ว พระราชบัญญัตินี้ได้ยกเลิกและบัญญัติเรื่องการทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกใหม่ตาม มาตรา 40 โดยแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร มาตรา 87ทวิขึ้นใหม่และมีบทลงโทษตาม มาตรา 93 ซึ่งมีโทษเบากว่า การกระทำของจำเลยจึงต้องนำ มาตรา 87ทวิและ มาตรา 93 มาใช้บังคับและต้องนำอายุความสำหรับบทลงโทษ ตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิจารณาคดีซึ่งมีโทษเบากว่ามาใช้บังคับแก่คดีด้วย
หน้าที่ทำบัญชีตาม พระราชบัญญัติบัญชีนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะบุคคลตามที่ระบุไว้ใน พระราชบัญญัติการบัญชี มาตรา 7บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ทำบัญชีจะเรียกว่าเป็นผู้ละเว้นกระทำไม่ได้ และจะช่วยสมรู้หรือสมคบในการไม่กระทำตามหน้าที่ของคนอื่นก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้เดียว โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานสมรู้กระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดีแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
หน้าที่ทำบัญชีตาม พระราชบัญญัติบัญชีนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะบุคคลตามที่ระบุไว้ใน พระราชบัญญัติการบัญชี มาตรา 7บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ทำบัญชีจะเรียกว่าเป็นผู้ละเว้นกระทำไม่ได้ และจะช่วยสมรู้หรือสมคบในการไม่กระทำตามหน้าที่ของคนอื่นก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้เดียว โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานสมรู้กระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดีแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีภาษี และความผิดฐานสมรู้ร่วมคิดในคดีบัญชี การยกฟ้องจำเลยที่ 2
จำเลยผู้ทำการโรงสีไม่ได้ทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 201 อันมีโทษตาม มาตรา 208แต่ขณะพิจารณาคดีได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 บังคับแล้ว พระราชบัญญัตินี้ได้ยกเลิกและบัญญัติเรื่องการทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกใหม่ตาม มาตรา 40 โดยแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร มาตรา 87ทวิขึ้นใหม่และมีบทลงโทษตาม มาตรา 93 ซึ่งมีโทษเบากว่า การกระทำของจำเลยจึงต้องนำ มาตรา 87ทวิและ มาตรา 93 มาใช้บังคับและต้องนำอายุความสำหรับบทลงโทษ ตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิจารณาคดีซึ่งมีโทษเบากว่ามาใช้บังคับแก่คดีด้วย
หน้าที่ทำบัญชีตาม พระราชบัญญัติบัญชีนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะบุคคลตามที่ระบุไว้ใน พระราชบัญญัติการบัญชี มาตรา 7บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ทำบัญชีจะเรียกว่าเป็นผู้ละเว้นกระทำไม่ได้ และจะช่วยสมรู้หรือสมคบในการไม่กระทำตามหน้าที่ของคนอื่นก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้เดียว โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานสมรู้กระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดีแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
หน้าที่ทำบัญชีตาม พระราชบัญญัติบัญชีนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะบุคคลตามที่ระบุไว้ใน พระราชบัญญัติการบัญชี มาตรา 7บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ทำบัญชีจะเรียกว่าเป็นผู้ละเว้นกระทำไม่ได้ และจะช่วยสมรู้หรือสมคบในการไม่กระทำตามหน้าที่ของคนอื่นก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้เดียว โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานสมรู้กระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดีแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีภาษีและการสมรู้ร่วมคิดในความผิดฐานไม่ทำบัญชีตามกฎหมาย
จำเลยผู้ทำการโรงสีไม่ได้ทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร ม.201 อันมีโทษตาม ม.208 แต่ขณะพิจารณาคดีได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 บังคับ พ.ร.บ.นี้ได้ยกเลิกและบัญญัติเรื่องการทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกใหม่ตาม ม.40 โดยแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ม.87 ทวิขึ้นใหม่และมีบทลงโทษตาม ม.93 ซึ่งมีโทษเบากว่า การกระทำของจำเลยจึงต้องนำ ม.87 ทวิ และ ม.93 มาใช้บังคับและต้องนำอายุความสำหรับบทลงโทษตาม ก.ม. ที่ใช้อยู่ในขณะพิจารณาคดีซึ่งมีโทษเบากว่ามาใช้บังคับแก่คดีด้วย
หน้าที่ทำบัญชีตาม พ.ร.บ.บัญชีนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะบุคคลตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. การบัญชี ม.7 บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ทำบัญชีจะเรียกว่าเป็นผู้ละเว้นกระทำไม่ได้ และจะช่วยสมรู้หรือสมคบในการไม่กระทำตามหน้าที่คนอื่นไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้เดียว โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วยศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานสมรู้กระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกา ถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดีแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1ได้
หน้าที่ทำบัญชีตาม พ.ร.บ.บัญชีนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะบุคคลตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. การบัญชี ม.7 บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ทำบัญชีจะเรียกว่าเป็นผู้ละเว้นกระทำไม่ได้ และจะช่วยสมรู้หรือสมคบในการไม่กระทำตามหน้าที่คนอื่นไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้เดียว โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วยศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานสมรู้กระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกา ถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดีแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1ได้