คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 ม. 40

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเข้าข่ายค้าหากำไร ต้องพิจารณาพฤติการณ์รายกิจการ การมีสถานการค้าทำให้ต้องเสียภาษี
การขายที่ดินในกรณีใดจะถือว่าเป็นทางค้าหากำไร ต้องพิจารณาจากกิจการเป็นรายๆไปว่ามีพฤติการณ์เช่นนั้นหรือไม่
พฤติการณ์ที่แสดงว่าได้ดำเนินกิจการในลักษณะเป็น "การค้า"ตามประมวลรัษฎากร
บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการค้าที่มีสถานการค้า ฯลฯ มีหน้าที่เสียภาษีการค้านั้น ไม่ได้หมายความว่าผู้ประกอบการค้าจะต้องเป็นเจ้าของสถานการค้าเอง เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบการค้าได้ใช้สถานการค้าใดดำเนินการค้าของตนได้ ประมวลรัษฎากรก็ถือว่าผู้ประกอบการค้านั้นมีสถานการค้า และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อหากำไรถือเป็นการค้าต้องเสียภาษี หากมีพฤติการณ์เป็นการจัดสรรขายและใช้สถานที่ของบริษัทในการดำเนินการ
การขายที่ดินในกรณีใดจะถือว่าเป็นทางค้าหากำไร ต้องพิจารณาจากกิจการเป็นราย ๆ ไปว่ามีพฤติการณ์เช่นนั้นหรือไม่
พฤติการณ์ที่แสดงว่าได้ดำเนินกิจการในลักษณะเป็น "การค้า" ตามประมวลรัษฎากร
บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการค้าที่มีสถานการค้า ฯลฯ มีหน้าที่เสียภาษีการค้านั้น ไม่ได้หมายความว่าผู้ประกอบการค้าจะต้องเป็นเจ้าของสถานการค้าเอง เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบการค้าได้ใช้สถานการค้าใดดำเนินการค้าของ+ได้ ประมวลรัษฎากรก็ถือว่าผู้ประกอบการค้านั้นมีสถานการค้า และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินมรดก ไม่ถือเป็นการค้าหากำไร จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์รับมรดกที่ดิน 16 ไร่เศษ ราคาไม่เกินไร่ละ 800 บาทจากสามีผู้วายชนม์ตั้งแต่ พ.ศ.2488 ต่อมาระหว่าง พ.ศ.2499-2501 โจทก์จัดทำถนนผ่ากลางที่ดินแล้วแบ่งเป็นแปลงเล็กๆ 27 แปลง ขายได้ราคาไร่ละ80,000 บาท ถึง 100,000 บาท นั้น เห็นได้ว่าโจทก์ขายที่ดินโดยมุ่งให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่านั้น มิใช่ขายเป็นทางค้าหากำไร โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้ประกอบการค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการขายอสังหาริมทรัพย์แต่อย่างใด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์แก้อุทธรณ์เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้จึงให้ค่าทนายความเป็นพับไปนั้นโจทก์จะฎีกาว่าโจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่เกินระยะเวลาจึงควรได้รับค่าทนายตามกฎหมายไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินมรดกไม่ถือเป็นการค้าหากำไร ไม่ต้องเสียภาษีการค้า
โจทก์รับมรดกที่ดิน 12 ไร่เศษ ราคาไม่เกินไร่ละ 800 บาท จากสามีผู้วายชนม์ตั้งแต่ พ.ศ.2488 ต่อมาระหว่าง พ.ศ.2499 -2501 โจทก์จัดทำถนนผ่ากลางที่ดินแล้วแบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ 27 แปลง ขายได้ราคาไร่ละ 80,000 บาท ถึง 100,000 บาทนั้น เห็นได้ว่าโจทก์ขายที่ดินโดยมุ่งให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่านั้น มิใช่ขายเป็นทางค้าหากำไร โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้ประกอบการค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าประเภทการขายอสังหาริมทรัพย์แต่อย่างใด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์แก้อุทธรณ์เกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงให้ค่าทนายความเป็นพับไปนั้น โจทก์จะฎีกาว่า โจทก์ยื่นคำแก้อุทธรณ์ไม่เกินระยะเวลาจึงควรได้รับค่าทนายตามกฎหมายไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าจากเงินทดรองจ่ายค่าภาษีส่งออก: เงินชดใช้คืนไม่ใช่รายรับจากการค้า
เงินค่าภาษีอากรขายข้าวส่งไปขายต่างประเทศเป็นหน้าที่ของผู้ส่งออกจะต้องเสียเงินค่าภาษีอากร
โจทก์ขายข้าวให้สำนักงานข้าวเพื่อส่งออกไปขายต่างประเทศการที่โจทก์ได้ออกเงินค่าภาษีทดรองให้สำนักงานข้าวไปก่อน และได้รับชดใช้คืนในภายหลังนั้น เงินจำนวนนี้ไม่ถือว่า เป็นรายรับที่ได้รับจากการค้า อันจะต้องคำนวณเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความและหน้าที่ทำบัญชี: ศาลยกฟ้องฐานสมรู้ร่วมคิดหากไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะ
จำเลยผู้ทำการโรงสีไม่ได้ทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 201 อันมีโทษตาม มาตรา 208แต่ขณะพิจารณาคดีได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 บังคับแล้ว พระราชบัญญัตินี้ได้ยกเลิกและบัญญัติเรื่องการทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกใหม่ตาม มาตรา 40 โดยแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร มาตรา 87ทวิขึ้นใหม่และมีบทลงโทษตาม มาตรา 93 ซึ่งมีโทษเบากว่า การกระทำของจำเลยจึงต้องนำ มาตรา 87ทวิและ มาตรา 93 มาใช้บังคับและต้องนำอายุความสำหรับบทลงโทษ ตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิจารณาคดีซึ่งมีโทษเบากว่ามาใช้บังคับแก่คดีด้วย
หน้าที่ทำบัญชีตาม พระราชบัญญัติบัญชีนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะบุคคลตามที่ระบุไว้ใน พระราชบัญญัติการบัญชี มาตรา 7บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ทำบัญชีจะเรียกว่าเป็นผู้ละเว้นกระทำไม่ได้ และจะช่วยสมรู้หรือสมคบในการไม่กระทำตามหน้าที่ของคนอื่นก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้เดียว โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานสมรู้กระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดีแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีภาษี และความผิดฐานสมรู้ร่วมคิดในคดีบัญชี การยกฟ้องจำเลยที่ 2
จำเลยผู้ทำการโรงสีไม่ได้ทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 201 อันมีโทษตาม มาตรา 208แต่ขณะพิจารณาคดีได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 บังคับแล้ว พระราชบัญญัตินี้ได้ยกเลิกและบัญญัติเรื่องการทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกใหม่ตาม มาตรา 40 โดยแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร มาตรา 87ทวิขึ้นใหม่และมีบทลงโทษตาม มาตรา 93 ซึ่งมีโทษเบากว่า การกระทำของจำเลยจึงต้องนำ มาตรา 87ทวิและ มาตรา 93 มาใช้บังคับและต้องนำอายุความสำหรับบทลงโทษ ตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิจารณาคดีซึ่งมีโทษเบากว่ามาใช้บังคับแก่คดีด้วย
หน้าที่ทำบัญชีตาม พระราชบัญญัติบัญชีนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะบุคคลตามที่ระบุไว้ใน พระราชบัญญัติการบัญชี มาตรา 7บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ทำบัญชีจะเรียกว่าเป็นผู้ละเว้นกระทำไม่ได้ และจะช่วยสมรู้หรือสมคบในการไม่กระทำตามหน้าที่ของคนอื่นก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้เดียว โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานสมรู้กระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดีแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีภาษีและการสมรู้ร่วมคิดในความผิดฐานไม่ทำบัญชีตามกฎหมาย
จำเลยผู้ทำการโรงสีไม่ได้ทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร ม.201 อันมีโทษตาม ม.208 แต่ขณะพิจารณาคดีได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 บังคับ พ.ร.บ.นี้ได้ยกเลิกและบัญญัติเรื่องการทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกใหม่ตาม ม.40 โดยแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ม.87 ทวิขึ้นใหม่และมีบทลงโทษตาม ม.93 ซึ่งมีโทษเบากว่า การกระทำของจำเลยจึงต้องนำ ม.87 ทวิ และ ม.93 มาใช้บังคับและต้องนำอายุความสำหรับบทลงโทษตาม ก.ม. ที่ใช้อยู่ในขณะพิจารณาคดีซึ่งมีโทษเบากว่ามาใช้บังคับแก่คดีด้วย
หน้าที่ทำบัญชีตาม พ.ร.บ.บัญชีนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะบุคคลตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. การบัญชี ม.7 บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ทำบัญชีจะเรียกว่าเป็นผู้ละเว้นกระทำไม่ได้ และจะช่วยสมรู้หรือสมคบในการไม่กระทำตามหน้าที่คนอื่นไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้เดียว โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วยศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานสมรู้กระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกา ถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดีแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1ได้