คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 230

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4838-4839/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการชำระหนี้แทนลูกหนี้จำนอง ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ และต้องพิจารณาภาระจำนองที่ดินแปลงใหญ่
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับบริษัท ป. และเป็นผู้ครองที่ดินพิพาทอยู่ แต่การจะใช้สิทธิชำระหนี้แทนบริษัท ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 230 ได้นั้นจะต้องเป็นการชำระหนี้แทนโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ด้วย เมื่อขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลย บริษัท ป. เป็นหนี้จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมอยู่เป็นเงินประมาณ 18,852,600 บาท ทั้งเป็นการจำนองที่ดินแปลงใหญ่เพียงแปลงเดียวภายหลังที่ดินแปลงดังกล่าวได้แบ่งแยกเป็นแปลงย่อย ๆ โดยถือว่าที่ดินแปลงย่อยที่แบ่งแยกออกไปยังคงจำนองด้วยตามสัญญาเดิม ดังนั้น การจำนองที่ดินของบริษัท ป. เป็นการจำนองที่ดินเพียงแปลงเดียว มิใช่การจำนองที่ดินหลายแปลงอันจะแบ่งภาระการจำนองได้ โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวบังคับจำเลยให้ยอมรับการชำระหนี้บางส่วนแทนบริษัท ป. แล้วให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนสิทธิจำนองให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์สวมสิทธิเจ้าหนี้จำนองแทนจำเลยเพราะอาจเป็นการเสียหายแก่จำเลยได้
คดีที่มีข้อพิพาทเพียงว่าจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ชำระหนี้แทนลูกหนี้จำนองในจำนวนเงิน 700,000 บาท ได้หรือไม่ ไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์ เพราะแม้หากจำเลยจะต้องยอมให้โจทก์ชำระหนี้แทนลูกหนี้ตามที่ขอ ที่ดินพิพาทก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ป. อยู่ ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์และจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิเรียกร้องจากสัญญาจำนอง: ทายาทผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยได้
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มีส่วนได้เสียในที่ดิน กับเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ม. เจ้ามรดกจำต้องชดใช้หนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินแทนจำเลยซึ่งเป็นผู้จำนอง เพื่อปัดป้องมิให้สิทธิของโจทก์ในที่ดินต้องถูกกระทบกระเทือน จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินเพราะอาจถูกผู้รับจำนองบังคับยึดออกขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงใช้หนี้ตามสัญญาจำนองแทนจำเลยจนเป็นที่พอใจของผู้รับจำนอง โดยได้มีการไถ่ถอนจำนองแล้วย่อมเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้บังคับเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 230 หาใช่เรื่องจัดการงานนอกสั่งหรือลาภมิควรได้ไม่ แม้เป็นการขืนใจลูกหนี้ แต่เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้นั้นอันเนื่องจากจำเลยไม่ยอมไถ่ถอนจำนองและหากไม่มีการไถ่ถอนจำนองโจทก์ก็ย่อมเสียสิทธิในที่ดินไปโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากผู้รับจำนองมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยผู้จำนอง ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ได้ในนามของตนเอง เมื่อหนี้เดิมผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 เดิม ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเรียกร้องช่วง เมื่อทายาทชำระหนี้จำนองเพื่อรักษาสิทธิในทรัพย์มรดก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ม.ระหว่างโจทก์เป็นทายาทของ ม. โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทจำต้องไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแทนจำเลยทั้งสอง จึงขอให้จำเลยทั้งสองชำระเงินคืนโจทก์ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของการรับช่วงสิทธิ คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว โดยโจทก์ไม่ต้องบรรยายว่าเงินที่นำไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทเป็นเงินของใคร เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับธนาคาร ก.ไม่มีการเพิกถอน คงเพิกถอนเฉพาะการยกให้และการซื้อขายที่ดินพิพาทเท่านั้นและตามสัญญาจำนองมีความว่า ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวข้างต้นทั้งแปลงแก่ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันหนี้การกู้เบิกเงินเกินบัญชีและหรือหนี้สินอื่น ๆทุกประเภทของจำเลยที่ 2 และหรือของผู้จำนองทั้งที่มีอยู่แล้วในขณะนี้หรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าอันจะพึงมีต่อธนาคาร ก.เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท จากข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นลักษณะที่จำเลยที่ 1 จำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 2 ด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 709
เมื่อสัญญาจำนองที่ดินพิพาทไม่มีการเพิกถอนก็ต้องถือว่าเป็นสัญญาจำนองที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ม.จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ม.เพราะอาจถูกธนาคาร ก.ผู้รับจำนองบังคับยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงใช้หนี้ตามสัญญาจำนองแทนจำเลยทั้งสองจนเป็นที่พอใจของธนาคาร ก.เจ้าหนี้โดยได้มีการไถ่ถอนจำนองแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้บังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 230 หาใช่เรื่องจัดการงานนอกสั่งหรือลาภมิควรได้ไม่ แม้จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าที่โจทก์ชำระหนี้แก่ธนาคารดังกล่าวไปนั้นเป็นการขืนใจลูกหนี้ก็ตาม ในเมื่อโจทก์เป็นบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้นั้นอันเนื่องจากจำเลยทั้งสองไม่ยอมไถ่ถอนจำนอง และหากไม่มีการไถ่ถอนจำนองโจทก์ก็ย่อมเสียสิทธิในที่ดินพิพาทไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากธนาคาร ก.ผู้รับจำนองมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยทั้งสอง ซึ่งโจทก์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ได้ในนามของตนเองเมื่อหนี้เดิมธนาคาร ก.ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 189 เดิม(193/27 ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามลำดับคำพิพากษา และสิทธิการเข้าใช้หนี้แทนจำเลยเมื่อมีการจำนองทรัพย์
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยปราศจากภาระผูกพันโดยให้โจทก์ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือและให้หักค่าธรรมเนียม ค่าภาษีในการโอนกับค่าเสียหายด้วย หากจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยปราศจากภาระผูกพันไม่ได้ จำเลยต้องคืนเงินมัดจำและชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ การบังคับคดีจึงต้องเป็นไปตามลำดับที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาไว้ แต่ปรากฏว่าจำเลยได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ที่จำเลยมีต่อธนาคาร ซึ่งธนาคารได้ฟ้องและนำยึดที่ดินพิพาทไว้ในคดีแพ่งอื่น โจทก์ซึ่งต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิตามคำพิพากษาในคดีนี้ จึงมีสิทธิเข้าใช้หนี้ของจำเลยแทนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 230 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยไปครบถ้วนแล้ว หนี้ที่จำเลยจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันจึงระงับสิ้นไป แม้ก่อนหน้านั้นศาลชั้นต้นจะเคยมีคำสั่งให้โอนที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยติดจำนองก็ตาม แต่คำสั่งดังกล่าวก็มีผลเป็นคำสั่งให้โอนที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยปลอดจำนองหรือปราศจากภาระผูกพัน อันเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลในลำดับแรกนั้นเอง หาใช่เป็นการบังคับคดีในลำดับหลังอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามลำดับในการบังคับคดีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีจำนอง: การชำระหนี้แทนลูกหนี้โดยโจทก์ ทำให้ที่ดินหลุดพ้นจากภาระจำนอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยปราศจากภาระผูกพันโดยให้โจทก์ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลืออีก 3,500,000 บาทแก่จำเลยและให้หักค่าธรรมเนียมค่าภาษีในการโอนกับค่าเสียหายจำนวน 500,000บาท ที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์จากเงินจำนวน 3,500,000 บาท นั้น หากจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยปราศจากภาระผูกพันไม่ได้ จำเลยต้องคืนเงินมัดจำ 500,000 บาท และชำระค่าเสียหาย 1,000,000 บาท รวมเป็นเงินจำนวน1,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ การบังคับคดีในคดีนี้จึงต้องเป็นไปตามลำดับที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาไว้ แต่ปรากฏว่าจำเลยได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ธนาคารเพื่อเป็นประกันหนี้ที่จำเลยมีต่อธนาคาร ซึ่งธนาคารได้ฟ้องจำเลยและนำยึดที่ดินพิพาทไว้ในคดีแพ่งอื่น โจทก์ซึ่งต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิตามคำพิพากษาในคดีนี้ จึงมีสิทธิเข้าใช้หนี้ของจำเลยแทนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 230 วรรคหนึ่งเมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยไปครบถ้วนแล้ว หนี้ที่จำเลยจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันจึงระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744(1) ที่ดินพิพาทจึงไม่ติดจำนองและปราศจากภาระผูกพันแล้ว แม้ก่อนหน้านั้นศาลชั้นต้นจะเคยมีคำสั่งให้โอนที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยติดจำนองก็ตาม แต่คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นก็มีผลเป็นคำสั่งให้โอนที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยปลอดจำนองหรือปราศจากภาระผูกพัน อันเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาลในลำดับแรกนั้นเองหาใช่เป็นการบังคับคดีในลำดับหลังอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามลำดับในการบังคับคดีแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการชำระหนี้จำนองแทนลูกหนี้ในคดีล้มละลาย: การเสนอเงื่อนไขต่อที่ประชุมเจ้าหนี้และการพิจารณาของศาล
ผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยให้บริษัท ร.ลูกหนี้ของผู้ล้มละลายถือกรรมสิทธิ์แทน และบริษัท ร.ได้นำไปจดทะเบียนจำนองแก่ผู้ล้มละลายเพื่อประกันหนี้เงินกู้ของบริษัท ร.ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความทวงหนี้ให้บริษัท ร.ชำระหนี้ ผู้ร้องจึงขอเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้จำนองต่อที่ประชุมเจ้าหนี้โดยขอผ่อนชำระหนี้จำนองนั้น เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมีส่วนได้เสียที่จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินของผู้ร้องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลจังหวัดตราดยึดไว้เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้จำนองแก่ผู้ล้มละลาย เมื่อการเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าจะขัดกับเจตนาของบริษัท ร.และผู้ล้มละลายแล้ว ผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้เสียแทนบริษัท ร.ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 230 และมาตรา 314 กรณีไม่ใช่เรื่องการขอประนอมหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งเป็นสิทธิของผู้ล้มละลายโดยเฉพาะ เพราะผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่จะทำความตกลงในเรื่องหนี้สินตามมาตรา 45 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 และไม่ใช่เรื่องที่ผู้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์หรือขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ เพราะตามคำร้องของผู้ร้องไม่ได้ประสงค์ขอให้ปล่อยทรัพย์หรือเพิกถอนการยึดทรัพย์ และหากผู้ร้องชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนบริษัท ร.ครบถ้วนแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องต้องไปว่ากล่าวเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวจากบริษัท ร.ต่อไป ซึ่งหาใช่ข้อพิพาทในชั้นนี้ไม่
เมื่อข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องแทนบริษัท ร.ดังกล่าวแก่กองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายมีผลทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องถอนการยึดที่ดินอันเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลาย เช่นนี้ศาลก็ชอบที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 32

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการชำระหนี้แทนลูกหนี้ในคดีล้มละลาย: การเสนอเงื่อนไขชำระหนี้จำนองโดยบุคคลภายนอก
ผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินโดยให้บริษัทร. ลูกหนี้ของผู้ล้มละลายถือกรรมสิทธิ์แทน และบริษัทร. ได้นำไปจดทะเบียนจำนองแก่ผู้ล้มละลายเพื่อประกันหนี้เงินกู้ของบริษัทร. ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความทวงหนี้ให้บริษัทร. ชำระหนี้ผู้ร้องจึงขอเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้จำนองต่อที่ประชุมเจ้าหนี้โดยขอผ่อนชำระหนี้จำนองนั้นเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมีส่วนได้เสียที่จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินของผู้ร้องที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อื่นยึดไว้เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้จำนองแก่ผู้ล้มละลาย เมื่อการเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าจะขัดกับเจตนาของบริษัทร. และผู้ล้มละลายแล้วผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้แทนบริษัทร. ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 230 และมาตรา 314 กรณีไม่ใช่เรื่องการขอประนอมหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นสิทธิของผู้ล้มละลายโดยเฉพาะ เพราะผู้ร้องไม่ใช่ลูกหนี้ซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดที่จะทำความตกลงในเรื่องหนี้สินตามมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องแทนบริษัทร. แก่กองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายมีผลทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องถอนการยึดที่ดินอันเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลาย ชอบที่ศาลจะสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 32 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการชำระหนี้แทนลูกหนี้ในคดีล้มละลาย: การเสนอเงื่อนไขชำระหนี้โดยบุคคลภายนอก
การที่ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง14แปลงแทนลูกหนี้ของผู้ล้มละลายเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้จำนองต่อที่ประชุมเจ้าหนี้เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมีส่วนได้เสียที่จะเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินของผู้ร้องผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้เสียแทนลูกหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา230,314 เมื่อข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องแทนลูกหนี้มีผลทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องถอนการยึดที่ดินทั้ง14โฉนดอันเป็นทรัพย์ในคดีล้มละลายศาลชอบที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอชำระหนี้ของผู้ร้องตามมาตรา32แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเข้าใช้หนี้ไถ่ถอนจำนอง: การชำระหนี้ทั้งหมดเพื่อไถ่ถอนทรัพย์
จำเลยในคดีนี้ได้เป็นโจทก์ฟ้องบังคับยึดทรัพย์จำนองรวมถึงทรัพย์พิพาทในคดีนี้ให้บริษัท ส.ชำระหนี้จำนองโดยการขายทอดตลาดรวมทั้งทรัพย์พิพาทตามที่บริษัท ส.เป็นลูกหนี้อยู่ ดังนั้น เมื่อโจทก์อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทที่อาจจะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในการที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาท หากปล่อยให้จำเลยบังคับคดีโดยการขายทอดตลาด โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้ให้จำเลยแทนบริษัท ส.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 230
หนี้จำนองที่บริษัท ส.มีต่อจำเลยในคดีนี้ยังมีเหลืออยู่อีกจำนวน5,396,629.37 บาท แต่มีทรัพย์จำนองเป็นประกันในการชำระหนี้คือที่ดินพิพาทแปลงนี้เหลืออยู่เพียงแปลงเดียว การที่จะบังคับให้จำเลยรับชำระหนี้ไถ่ถอนจำนอง จึงต้องเป็นการชำระหนี้ทั้งหมดที่บริษัท ส.เป็นหนี้จำเลยอยู่ คือจำนวน 5,396,629.37 บาทโจทก์จะบังคับให้จำเลยรับชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองเพียงจำนวน 386,784.60 บาทหาได้ไม่ ทั้งนี้ตามนัย ป.พ.พ.มาตรา 716 และ 717 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับไถ่ถอนจำนองจากโจทก์ต่ำกว่าหนี้ที่จำเลยเป็นเจ้าหนี้อยู่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนจำนองต้องชำระหนี้ทั้งหมด ห้ามชำระบางส่วน ศาลฎีกาพิพากษากลับ
จำเลยในคดีนี้ได้เป็นโจทก์ฟ้องบังคับยึดทรัพย์จำนองรวมถึงทรัพย์พิพาทในคดีนี้ให้บริษัทส.ชำระหนี้จำนองโดยการขายทอดตลาดรวมทั้งทรัพย์พิพาทตามที่บริษัทส.เป็นลูกหนี้อยู่ดังนั้นเมื่อโจทก์อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทที่อาจจะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในการที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทหากปล่อยให้จำเลยบังคับคดีโดยการขายทอดตลาดโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเข้าใช้หนี้ให้จำเลยแทนบริษัทส.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา230 หนี้จำนองที่บริษัทส.มีต่อจำเลยในคดีนี้ยังมีเหลืออยู่อีกจำนวน5,396,629.37บาทแต่มีทรัพย์จำนองเป็นประกันในการชำระหนี้ที่ดินพิพาทแปลงนี้เหลืออยู่เพียงแปลงเดียวการที่จะบังคับให้จำเลยรับชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองจึงต้องเป็นการชำระหนี้ทั้งหมดที่บริษัทส. เป็นหนี้จำเลยอยู่คือจำนวน5,396,629.37บาทโจทก์จะบังคับให้จำเลยรับชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองเพียงจำนวน386,784.60บาทหาได้ไม่ทั้งนี้ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา716และ717วรรคหนึ่งโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับไถ่ถอนจำนองจากโจทก์ต่ำกว่าหนี้ที่จำเลยเป็นเจ้าหนี้อยู่ได้
of 2