คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 ม. 40 วรรคสาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378-379/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานในการรักษาความปลอดภัยทางบกและการขัดคำสั่งโดยเจตนา
นายอำเภอมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 118 ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรค 3ที่จะต้องตรวจตราและจัดการรักษาทางบกทางน้ำให้ไปมาโดยสะดวกตามที่จะเป็นไปได้ตามฤดูกาล ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ทางจังหวัดจึงประกาศห้ามรถยนต์รับส่งผู้โดยสารวิ่งในทางหลวงชนบทสายที่เป็นมูลเหตุ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตทั้งนี้ เพื่อตรวจตราและจัดการรักษาทางบกสายนี้ให้ไปมาได้ทุกฤดูกาลแม้จะยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายอันจะเกิดแก่ผู้โดยสาร อำนวยความสะดวกในการก่อสร้างให้เสร็จโดยเร็ว และเป็นการชั่วคราวจนกว่ากรมการขนส่งทางบกจะประกาศเป็นเส้นทางเพื่อดำเนินการตามกฎหมายขนส่งต่อไปเท่านั้น จำเลยที่ 1 และบริษัท น. ขออนุญาตคณะกรรมการที่จังหวัดแต่งตั้งขึ้นอนุญาตให้บริษัท น. เดินรับส่งคนโดยสารได้แต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ก็ไม่เชื่อฟัง นายอำเภอจึงมีคำสั่งห้ามรถจำเลย จำเลยก็ยังฝ่าฝืน จึงเป็นการจงใจขัดคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลแสดงเจตนาออกโดย ส. จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการ และ ท. กับ ด. จำเลย ซึ่งเป็นคนขับผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของ ส. จำเลย ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันกระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องนายอำเภอในการรื้อถอนสิ่งรุกล้ำคลองสาธารณะ: สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
จำเลยปลูกสร้างอาคารและเขื่อนถมดินรุกล้ำเขตคลองบางโพงพางซึ่งเป็นที่อันเป็นสาธารณประโยชน์ นายอำเภอเจ้าของท้องที่คลองบางโพงพางย่อมมีอำนาจฟ้องขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนอาคารและเขื่อนถมดินที่รุกล้ำนั้นออกไปได้ โดยอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรค 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1313-1319/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นอำนาจของนายอำเภอ ไม่ใช่เทศบาล
อำนาจที่จะดูแลรักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันหรือนัยหนึ่งที่สาธารณประโยชน์ เป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสาม อำนาจฟ้องคดีจึงตกอยู่แก่นายอำเภอ
ความในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 หมายถึง ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดินโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งถ้าไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้เป็นอำนาจของอธิบดีที่จะดูแลรักษา และดำเนินการคุ้มครองป้องกัน และให้รัฐมนตรีมีอำนาจมอบหมายให้ทบวงการใดเป็นผู้ใช้อำนาจดังกล่าวนั้นได้แต่ในเรื่องที่สาธารณประโยชน์อันเป็นของกลางสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันเช่น ที่ชายตลิ่งซึ่งราษฎรทั่วไปใช้จอดเรือขึ้นสู่ถนนได้มีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นแล้วคือให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอ และต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสาม จึงเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายที่ดินมิได้ยกเลิกเพิกถอนอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอซึ่งมีอยู่ตามมาตรา 122 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยที่มอบหมายให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินทั้งหลาย อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดิน ภายในเขตเทศบาลจึงหาได้ครอบคลุมไปถึงที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามที่เป็นอำนาจหน้าที่ดูแลจัดการของนายอำเภออยู่แล้วไม่
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวแก่ความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะไม่ให้การต่อสู้ไว้แต่แรก ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) (อ้างฎีกาที่ 153/2498, 1277/2503, 227-229/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227-229/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายอำเภอในการดูแลหนองสาธารณะ: ความชอบธรรมตามกฎหมายปกครองท้องที่ และความสัมพันธ์กับประมวลกฎหมายที่ดิน
หนองสาธารณะที่ทางราชการหวงห้ามไว้เพื่อสาธารณประโยชน์สำหรับคนและสัตว์ใช้อาบกินร่วมกัน นั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะดูแลรักษาตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พ.ศ.2457 มาตรา 122 ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2495 มาตรา 40 วรรคสาม นายอำเภอจึงมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้บุกรุกหนองสาธารณประโยชน์ออกไปจากหนองนั้นได้ผู้ใดขัดขืนย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 122 มิได้ถูกยกเลิกหรือขัดแย้งกับประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 และไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายอำเภอในการดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ แม้มีกฎหมายให้อำนาจผู้ว่าฯ สูงกว่า
ที่สาธารณะประโยชน์เดิมเป็นอำนาจและหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะตรวจตรารักษาตาม พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา122 ต่อมาอำนาจหน้าที่นี้ได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอโดย พระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 วรรคสามและไม่มีข้อความแห่งใดใน พระราชบัญญัตินี้เพิกถอนอำนาจนายอำเภอที่มีอยู่ตาม พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ดังกล่าว(พ.ศ.2457)ดังนี้เมื่อนายอำเภอสั่งให้จำเลยออกไปจากที่สาธารณะประโยชน์จำเลยขัดขืนก็มีความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา มาตรา334(2)(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/98)
of 2