พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5996/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินการตามขั้นตอนพิจารณาคำร้องขอใบสำคัญคนต่างด้าว มิใช่การปฏิเสธสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
หนังสือกองทะเบียนคนต่างด้าวและภาษีอากรที่ มท 0613.01/2792กำหนดให้นายทะเบียนคนต่างด้าวทุกแห่งทราบและถือปฏิบัติ 3 ข้อ และมีข้อความตอนสุดท้ายว่า "จึงแจ้งมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป" เป็นคำสั่งกำหนดวิธีปฏิบัติอันเป็นขั้นตอนในการพิจารณาคำร้องขอให้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว จำเลยที่ 2ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวนี้มิใช่การปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่โจทก์ทั้งสี่ จำเลยทั้งสองยังมิได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสัญชาติและการออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว กรณีบุคคลเกิดในไทยและถูกถอนสัญชาติ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักร ไทย จึงมีสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) แม้โจทก์จะใช้สัญชาติของบิดาโดยขอบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ แต่โจทก์ก็ยังคงมีสัญชาติไทย เพราะยังมิได้มีการถอนสัญชาติตามมาตรา 17 วรรคท้าย ต่อมาโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2514 เมื่อโจทก์เสียสัญชาติไทยจึงต้องไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากนายทะเบียนท้องที่ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 8 จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนท้องที่จึงมีหน้าที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสัญชาติและการออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลังถูกถอนสัญชาติไทย
โจทก์เกิดในราชอาณาจักร ไทย จึงมีสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) แม้โจทก์จะใช้สัญชาติของบิดาโดยขอบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ แต่โจทก์ก็ยังคงมีสัญชาติไทย เพราะยังมิได้มีการถอนสัญชาติตามมาตรา 17 วรรคท้าย ต่อมาโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2514 เมื่อโจทก์เสียสัญชาติไทยจึงต้องไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากนายทะเบียนท้องที่ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 8 จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนท้องที่จึงมีหน้าที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยและการขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลังถูกถอนสัญชาติ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักรไทยจึงมีสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) แม้โจทก์จะใช้สัญชาติของบิดาโดยขอบัตรประจำตัวคนญวนอพยพ แต่โจทก์ก็ยังคงมีสัญชาติไทย เพราะยังมิได้มีการถอนสัญชาติตามมาตรา 17 วรรคท้าย ต่อมาโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2514 เมื่อโจทก์เสียสัญชาติไทยจึงต้องไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากนายทะเบียนท้องที่ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 8 จำเลยซึ่งเป็นนายทะเบียนท้องที่จึงมีหน้าที่ต้องออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของผู้ถูกถอนสัญชาติไทย และการฟ้องจำเลยในฐานะนายทะเบียน
พันตำรวจตรี ส. ปฏิบัติงานในหน้าที่นายทะเบียนคนต่างด้าวแทนจำเลย ได้ปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ ขณะฟ้องคดีจำเลยยังดำรงตำแหน่งนายทะเบียนคนต่างด้าว มีหน้าที่ออกใบสำคัญประจำตัวให้คนต่างด้าวทั้งโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยในฐานะนายทะเบียนคนต่างด้าว หาได้ฟ้องในฐานะส่วนตัวไม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้ ไม่เป็นการผิดตัว และกรณีนี้ถือว่า นายทะเบียนคนต่างด้าวได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว
โจทก์ฟ้องตั้งรูปคดีเป็นเรื่องโจทก์ขอให้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ เพราะโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เกิดในประเทศไทยได้สัญชาติไทยตามกฎหมาย ต่อมาโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 โจทก์จึงไปยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แต่นายทะเบียนคนต่างด้าวปฏิเสธ แล้วมีคำขอให้บังคับจำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ ซึ่งมีความหมายเป็นการขอเพิกถอนคำสั่งเดิมของนายทะเบียนคนต่างด้าวไปในตัวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องขอให้เพิกถอนคำสั่งกล่าวอีก เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว คำสั่งเดิมที่ปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์เพราะเหตุอะไร และสั่งไว้อย่างไร เป็นรายละเอียดที่จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้คดีเอง คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คนต่างด้าวจะขอมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวได้ 2 กรณีตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 7 และมาตรา 8 สำหรับกรณีตามมาตรา 7 เป็นเรื่องให้คนต่างด้าวที่มีอายุ 12 ปีบริบูรณ์หรือคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เป็นคนเข้าเมืองตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวได้ ภายใน 7 วัน ฯลฯ ซึ่งไม่รวมถึงบุคคลที่เคยมีสัญชาติไทยมาก่อนแล้วเสียสัญชาติไทยไปในตอนหลังด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวจะต้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตามมาตรา 8 และการเสียสัญชาติไทยตามมาตรา 8 นี้ มิได้หมายความถึงเฉพาะการเสียสัญชาติไทย ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 เท่านั้น ต้องรวมถึงการเสียสัญชาติไทยในทุกกรณี โจทก์เสียสัญชาติไทยไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 เพราะโจทก์เกิดในประเทศไทยในขณะที่บิดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวและได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง จึงอยู่ในข่ายจะต้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตามมาตรา 5 เช่นกัน
โจทก์ทำหนังสือขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวยื่นมาโดยมิได้ส่งรูปถ่ายและยื่นเรื่องราวตามแบบ ท.ต. ของทางราชการ นายทะเบียนคนต่างด้าวปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ทันทีโดยมิได้บอกกล่าวให้ทราบว่าโจทก์ทำไม่ถูกต้องอย่างไร และไม่ได้ความว่าโจทก์ขัดขืนไม่ยอมยื่นเรื่องราวตามแบบ ท.ต. 1 ของทางราชการ จึงไม่ถูกต้อง เมื่อโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน มาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ย่อมมีสิทธิจะได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตาม มาตรา 9 นายทะเบียนคนต่างด้าวจะใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ ศาลสั่งให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์เมื่อมีการยื่นคำขอใหม่ตามแบบ ท.ต. 1 แล้วได้ และไม่ถือว่าเกินคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์ฟ้องตั้งรูปคดีเป็นเรื่องโจทก์ขอให้ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ เพราะโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์เกิดในประเทศไทยได้สัญชาติไทยตามกฎหมาย ต่อมาโจทก์ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 โจทก์จึงไปยื่นคำร้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แต่นายทะเบียนคนต่างด้าวปฏิเสธ แล้วมีคำขอให้บังคับจำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ ซึ่งมีความหมายเป็นการขอเพิกถอนคำสั่งเดิมของนายทะเบียนคนต่างด้าวไปในตัวอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องขอให้เพิกถอนคำสั่งกล่าวอีก เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว คำสั่งเดิมที่ปฏิเสธไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์เพราะเหตุอะไร และสั่งไว้อย่างไร เป็นรายละเอียดที่จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้คดีเอง คำฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คนต่างด้าวจะขอมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวได้ 2 กรณีตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 7 และมาตรา 8 สำหรับกรณีตามมาตรา 7 เป็นเรื่องให้คนต่างด้าวที่มีอายุ 12 ปีบริบูรณ์หรือคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เป็นคนเข้าเมืองตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองไปขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวได้ ภายใน 7 วัน ฯลฯ ซึ่งไม่รวมถึงบุคคลที่เคยมีสัญชาติไทยมาก่อนแล้วเสียสัญชาติไทยไปในตอนหลังด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวจะต้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตามมาตรา 8 และการเสียสัญชาติไทยตามมาตรา 8 นี้ มิได้หมายความถึงเฉพาะการเสียสัญชาติไทย ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 เท่านั้น ต้องรวมถึงการเสียสัญชาติไทยในทุกกรณี โจทก์เสียสัญชาติไทยไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 เพราะโจทก์เกิดในประเทศไทยในขณะที่บิดาโจทก์เป็นคนต่างด้าวและได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง จึงอยู่ในข่ายจะต้องขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตามมาตรา 5 เช่นกัน
โจทก์ทำหนังสือขอใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวยื่นมาโดยมิได้ส่งรูปถ่ายและยื่นเรื่องราวตามแบบ ท.ต. ของทางราชการ นายทะเบียนคนต่างด้าวปฏิเสธไม่ยอมออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์ทันทีโดยมิได้บอกกล่าวให้ทราบว่าโจทก์ทำไม่ถูกต้องอย่างไร และไม่ได้ความว่าโจทก์ขัดขืนไม่ยอมยื่นเรื่องราวตามแบบ ท.ต. 1 ของทางราชการ จึงไม่ถูกต้อง เมื่อโจทก์มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน มาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ย่อมมีสิทธิจะได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ตาม มาตรา 9 นายทะเบียนคนต่างด้าวจะใช้ดุลพินิจเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ ศาลสั่งให้จำเลยออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้โจทก์เมื่อมีการยื่นคำขอใหม่ตามแบบ ท.ต. 1 แล้วได้ และไม่ถือว่าเกินคำขอท้ายฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1741/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสัญชาติกรณีสมรสกับคนต่างด้าวและการขอใบสำคัญคนต่างด้าว
หญิงเกิดในราชอาณาจักรไทยแต่บิดาเป็นคนต่างด้าว ได้ทำการสมรสกับคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏว่า กฎหมาย ของประเทศสามียอมให้หญิงนั้นเข้าถือเอาสัญชาติของสามีได้ หญิงนั้นย่อมยังเป็นคนสัญชาติไทยอยู่ แม้ว่าจะได้ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมาแล้วก็เป็นการได้ใบสำคัญมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีหน้าที่ต้องไปต่ออายุใบสำคัญนั้นอีก และแม้ถ้าจะถือว่าหญิงนั้นได้ขาดสัญชาติไทยไปตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มาตรา 16ทวิ แล้วก็ตาม หากหญิงนั้นจะมีผิดก็ย่อมจะเป็นผิดฐานไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตาม พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 มาตรา 8 ไม่มีผิดฐานไม่ต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1741/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยไม่สิ้นสุดเมื่อสมรสกับชาวต่างชาติและไม่ได้สัญชาติสามี
หญิงเกิดในราชอาณาจักรไทยแต่บิดาเป็นคนต่างด้าว ได้ทำการสมรสกับคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฎว่า ก.ม.ของประเทศสามียอมให้หญิงนั้นเข้าถือเอาสัญชาติของสามีได้ หญิงนั้นย่อมยังเป็นคนสัญชาติไทยอยู่ แม้ว่าจะได้ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมาแล้ว ก็เป็นการได้ใบสำคัญมาโดยมิชอบด้วย ก.ม.ไม่มีหน้าที่ต้องไปต่ออายุใบสำคัญนั้นอีก และแม้ถ้าจะถือว่าหญิงนั้นได้ขาดสัญชาติไทยไปตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2495 ม.16 ทวิ แล้วก็ตามหากหญิงนั้นจะมีผิดก็ย่อมจะเป็นผิดฐานไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตาม พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 ม.8 ไม่มีผิด ฐานไม่ต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1741/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสัญชาติหลังสมรสกับคนต่างด้าว และการถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยมิชอบ
หญิงเกิดในราชอาณาจักรไทยแต่บิดาเป็นคนต่างด้าว ได้ทำการสมรสกับคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏว่า กฎหมาย ของประเทศสามียอมให้หญิงนั้นเข้าถือเอาสัญชาติของสามีได้ หญิงนั้นย่อมยังเป็นคนสัญชาติไทยอยู่ แม้ว่าจะได้ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมาแล้วก็เป็นการได้ใบสำคัญมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีหน้าที่ต้องไปต่ออายุใบสำคัญนั้นอีก และแม้ถ้าจะถือว่าหญิงนั้นได้ขาดสัญชาติไทยไปตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2495 มาตรา 16ทวิ แล้วก็ตาม หากหญิงนั้นจะมีผิดก็ย่อมจะเป็นผิดฐานไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตาม พระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 มาตรา 8 ไม่มีผิดฐานไม่ต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดอายุความในการฟ้องคดีคนไทยที่ไม่ได้ขอใบสำคัญประจำตัวหลังสูญเสียสัญชาติ
คนสัญชาติไทยผู้เสียไปซึ่งสัญชาติได้ละเลยไม่ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวจากนายทะเบียนภายในกำหนด 30 วันจนพ้นกำหนดนี้แล้วกว่า 1 ปี สิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องร้องขอให้ลงโทษบุคคลผู้นั้นย่อมหมดไปเพราะคดีขาดอายุความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญชาติ: คนไทยสูญเสียสัญชาติจากละเลยไม่ขอรับใบสำคัญประจำตัว
คนสัญชาติไทยผู้เสียไปซึ่งสัญชาติได้ละเลยไม่ไปขอรับใบสำคัญประจำตัวจากนายทะเบียนภายในกำหนด 30 วัน จนพ้นกำหนดนี้แล้วกว่า 1 ปี สิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องร้องขอให้ลงโทษบุคคลนั้นย่อมหมดไปเพราะคดีขาดอายุความแล้ว