คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 ม. 40

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5895/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยคดีนอกฟ้องอุทธรณ์ และเอกสารสละมรดกที่ไม่ชอบตามกฎหมาย
เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์เกี่ยวกับที่ดินโฉนดที่2618 และบ้านทรงไทย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่ดินและบ้านทรงไทยดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
การสละมรดกนั้น กระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 1672 แห่ง ป.พ.พ.ไว้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม2481 ข้อ 14, 15 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495มาตรา 40 กำหนดให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจแต่ตามบันทึกถ้อยคำที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำไว้นั้นได้ทำไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งมิใช่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 บันทึกถ้อยคำนั้นจึงมิใช่เอกสารสละมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5895/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย และสิทธิในทรัพย์มรดกที่ต้องแบ่งเท่ากันระหว่างทายาท
เมื่อโจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์เกี่ยวกับที่ดินโฉนดที่ 2618 และบ้านทรงไทย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่ดินและบ้านทรงไทยดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้องอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 การสละมรดกนั้น กระทรวงมหาดไทยได้ออกกฏกระทรวงโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 1672 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไว้เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2481 ข้อ 14,15 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 กำหนดให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจแต่ตามบันทึกถ้อยคำที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำไว้นั้นได้ทำไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งมิใช่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 บันทึกถ้อยคำนั้นจึงมิใช่เอกสารสละมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1250/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกและพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ การจดทะเบียนรับมรดกเป็นโมฆะ
การสละมรดก โดยแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 นั้น ตามกฎกระทรวงมหาดไทยที่ออกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1672 ข้อ 14, 15 ประกอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 กำหนดว่า "พนักงานเจ้าหน้าที่"ดังกล่าว หมายถึงนายอำเภอหรือผู้อำนวยการเขต ดังนั้น การที่โจทก์กับ ศ.ทำหนังสือสละมรดกมอบไว้แก่เจ้าพนักงานที่ดิน จึงไม่ใช่หนังสือสละมรดกตามกฎหมาย
ขณะ ล.เจ้ามรดกทำพินัยกรรทม ล.มีอาการป่วยหนักมีความคิดสับสน ไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมได้ พินัยกรรมดังกล่าวจึงมิได้เกิดจากการแสดงเจตนาของ ล. และเป็นพินัยกรรมปลอม โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนในทรัพย์มรดกจึงฟ้องขอเพิกถอนการจดทะเบียนรับมรดกของจำเลยได้
คดีมีทุนทรัพย์ 2,700,000 บาท เมื่อพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดี ประกอบกับเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนี้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความจำนวน 15,000 บาท จึงชอบด้วยตาราง 6ท้าย ป.วิ.พ.
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ซึ่งค่าขึ้นศาลที่โจทก์ผู้ฟ้องอย่างคนอนาถาได้รับยกเว้นนั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีครอบครองปรปักษ์: การรบกวนการครอบครอง และข้อพิพาทเรื่องสาธารณสมบัติ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาท โดยโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 นำป้ายไปปักในที่ดินของโจทก์ และอ้างว่าเป็นที่สาธารณะตะกาดวังหินของจำเลยที่ 1 ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยการครอบครอง ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องดังนี้ จึงเห็นได้ว่าโจทก์เป็นผู้ยึดถือครอบครองที่พิพาท แต่เมื่อถูกจำเลยรบกวนสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ยึดถือครอบครองอยู่ และจำเลยก็ได้แย้งสิทธิในทรัพย์พิพาทว่าเป็นที่สาธารณะ ถือว่าโจทก์จำเลยมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นในทรัพย์นั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องในที่พิพาทได้ หาใช่เป็เรื่องโจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาท โดยโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องไม่
แม้โจทก์ไม่ได้แจ้งการครอบครองที่พิพาทภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดซึ่งตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 5 บัญญัติให้ถือว่าโจทก์มีเจตนาสละสิทธิครอบครองก็ดี ก็เป็นเรื่องของรัฐที่จะว่ากล่าวกับผู้ยึดถือครอบครองที่ดินนั้นเองแต่คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะเทศบาลตำบลชะอำ และจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัว ที่เข้ามารบกวนสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ยึดถือครอบครองอยู่ โจทก์หาได้พิพาทกับรัฐโดยตรงไม่ และเมื่อข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ถ้าไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจำเลยก็ไม่มีสิทธิเข้าไปเกี่ยวข้อง หรือถ้าเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน ก็อาจอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เป็นผู้ดูแลจัดการคุ้มครองป้องกันก็ได้ หาใช่อำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเทศบาลตำบลไม่ ดังนั้นศาลจะพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีครอบครองปรปักษ์: การรบกวนสิทธิครอบครองและการพิพาทเกี่ยวกับที่สาธารณะ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาทโดยโจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2 นำป้ายไปปักในที่ดินของโจทก์ และอ้างว่าเป็นที่สาธารณะตะกาดวังหินของจำเลยที่ 1 ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยการครอบครอง ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง ดังนี้ จึงเห็นได้ว่าโจทก์เป็นผู้ยึดถือครอบครองที่พิพาท แต่เมื่อถูกจำเลยรบกวนสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ยึดถือครอบครองอยู่ และจำเลยก็ได้แย้งสิทธิในทรัพย์พิพาทว่าเป็นที่สาธารณะ ถือว่าโจทก์จำเลยมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นในทรัพย์นั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องในที่พิพาทได้ หาใช่เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาท โดยโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องไม่
แม้โจทก์ไม่ได้แจ้งการครอบครองที่พิพาทภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดซึ่งตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497 มาตรา 5 บัญญัติให้ถือว่าโจทก์มีเจตนาสละสิทธิครอบครองก็ดี ก็เป็นเรื่องของรัฐที่จะว่ากล่าวกับผู้ยึดถือครอบครองที่ดินนั้นเอง แต่คดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะเทศบาลตำบลชะอำ และจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวที่เข้ามารบกวนสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ยึดถือครอบครองอยู่ โจทก์หาได้พิพาทกับรัฐโดยตรงไม่และเมื่อข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ถ้าไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจำเลยก็ไม่มีสิทธิเข้าไปเกี่ยวข้องหรือถ้าเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันก็อาจอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ เป็นผู้ดูแลจัดการคุ้มครองป้องกันก็ได้ หาใช่อำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเทศบาลตำบลไม่ ดังนั้น ศาลจะพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกทางสาธารณะ แม้ทางสาธารณะนั้นมิได้ขึ้นทะเบียน หรือได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวง
โจทก์เป็นเทศบาลเมือง ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496มาตรา 50(2),53 บัญญัติให้มีหน้าที่จัดให้มีและบำรุงทางบกทางน้ำย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกทางสาธารณะในเขตเทศบาลของตนได้
ทางสาธารณะในเขตเทศบาลซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกนั้น โจทก์จะได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวงหรือไม่และจะได้ขึ้นทะเบียนตามคำสั่งที่กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบไว้หรือไม่ไม่เป็นสารสำคัญ
จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้อื่น ในหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่า ทิศใต้ติดทางสาธารณะการที่โจทก์นำสืบพยาน(บุคคล) ว่า ทางสาธารณะนั้นมีอาณาเขตกว้างยาวเท่าใด แม้จะทำให้เนื้อที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายลดความกว้างไปบ้างโจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้เพราะด้านกว้างและด้านยาวตามหนังสือสัญญาซื้อขายอาจคลาดเคลื่อนหรือคู่สัญญาที่ซื้อขายอาจนำรังวัดรุกล้ำแนวทางสาธารณะก็เป็นได้
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยบุกรุกทางสาธารณะอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินจำเลยต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน
(ข้อกฎหมายตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่8-9/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกทางสาธารณะ แม้ทางสาธารณะนั้นมิได้ขึ้นทะเบียน และคดีนี้ไม่มีอายุความ
โจทก์เป็นเทศบาลเมือง ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (2), 53 บัญญัติให้มีหน้าที่จัดให้มีและบำรุงทางบกทางน้ำ ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกทางสาธารณะในเขตเทศบาลของตนได้
ทางสาธารณะในเขตเทศบาลซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกนั้น โจทก์จะได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวงหรือไม่ และจะได้ขึ้นทะเบียนตามคำสั่งที่กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบไว้หรือไม่ ไม่เป็นสาระสำคัญ
จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้อื่น ในหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่า ทิศใต้ติดทางสาธารณะ การที่โจทก์นำสืบพยาน (บุคคล) ว่า ทางสาธารณะนั้นมีอาณาเขตกว้างยาวเท่าใด แม้จะทำให้เนื้อที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายลดความกว้างไปบ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้ เพราะด้านกว้างและด้านยาวตามหนังสือสัญญาซื้อขายอาจคลาดเคลื่อน หรือคู่สัญญาที่ซื้อขายอาจนำรังวัดรุกล้ำแนวทางสาธารณะก็เป็นได้
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยบุกรุกทางสาธารณะอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน
(ข้อกฎหมายตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8 - 9/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เทศบาลมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกทางสาธารณะ แม้ทางสาธารณะนั้นจะยังไม่ได้รับการมอบหมายหรือขึ้นทะเบียน
โจทก์เป็นเทศบาลเมือง ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50(2),53 บัญญัติให้มีหน้าที่จัดให้มีและบำรุงทางบกทางน้ำ. ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกทางสาธารณะในเขตเทศบาลของตนได้.
ทางสาธารณะในเขตเทศบาลซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกนั้น. โจทก์จะได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวงหรือไม่. และจะได้ขึ้นทะเบียนตามคำสั่งที่กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบไว้หรือไม่. ไม่เป็นสารสำคัญ.
จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้อื่น. ในหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่า ทิศใต้ติดทางสาธารณะ. การที่โจทก์นำสืบพยาน(บุคคล) ว่า ทางสาธารณะนั้นมีอาณาเขตกว้างยาวเท่าใด แม้จะทำให้เนื้อที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายลดความกว้างไปบ้าง.โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้. เพราะด้านกว้างและด้านยาวตามหนังสือสัญญาซื้อขายอาจคลาดเคลื่อน. หรือคู่สัญญาที่ซื้อขายอาจนำรังวัดรุกล้ำแนวทางสาธารณะก็เป็นได้.
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยบุกรุกทางสาธารณะอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินจำเลยต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน. (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่8-9/2512).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบิกจ่ายเงินศาสนสมบัติยักยอกเงินเข้าตนเอง มีความผิดตามมาตรา 147
จำเลยมีตำแหน่งเป็นครูประชาบาลเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นจัตวา นายอำเภอซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยไปปฏิบัติหน้าที่ช่วยราชการแผนกศึกษาธิการ ให้ทำหน้าที่จัดการศาสนสมบัติอันเป็นราชการได้ เมื่อจำเลยเบิกเงินศาสนสมบัติมาแล้วเบียดบังเอาไปเป็นของตนหรือของผู้อื่นโดยทุจริต จึงมีความผิดตามมาตรา 147 แม้เงินศาสนสมบัติที่ยักยอกไปเป็นเงินนอกงบประมาณแผ่นดิน ก็หาใช่ข้อสำคัญแห่งคดีไม่ เพราะฟังได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยเบิกมาตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกเงินศาสนสมบัติที่เบิกมาตามหน้าที่เข้าตัวเอง มีความผิดตามมาตรา 147 แม้เป็นเงินนอกงบประมาณ
จำเลยมีตำแหน่งเป็นครูประชาบาลเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นจัตวา นายอำเภอซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยไปปฏิบัติหน้าที่ช่วยราชการแผนกศึกษาธิการ ให้ทำหน้าที่จัดการศาสนสมบัติอันเป็นราชการได้ เมื่อจำเลยเบิกเงินศาสนสมบัติมาแล้วเบียดบังเอาไปเป็นของตนหรือของผู้อื่นโดยทุจริตจึงมีความผิดตามมาตรา 147 แม้เงินศาสนสมบัติที่ยักยอกไปเป็นเงินนอกงบประมาณแผ่นดิน ก็หาใช่ข้อสำคัญแห่งคดีไม่ เพราะฟังได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยเบิกมาตามหน้าที่
of 2