พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจออกบัตรประชาชน: ปลัดอำเภอไม่ใช่ผู้รักษาราชการแทนหากนายอำเภอยังปฏิบัติหน้าที่
คำว่า 'ผู้รักษาการแทน' ตามกฎกระทรวงมหาดไทยดั่งกล่าวหมายถึงผู้รักษาราชการแทนโดยธรรมดา เช่นไม่มีตัวนายอำเภอหรือนายอำเภอไม่ได้มาปฏิบัติราชการผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนทำงานแทน เรียกว่าเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีตัวนายอำเภอและนายอำเภอมาปฏิบัติราชการอยู่ แม้จะมีงานมากและนายอำเภอได้สั่งให้ปลัดอำเภอช่วยทำแทนให้งานสำเร็จลุล่วงไปโดยรวดเร็วผู้รับคำสั่งจากนายอำเภอคือปลัดอำเภอก็เป็นแต่เพียงผู้ทำงานแทนนายอำเภอไม่ใช่เป็นผู้รักษาราชการแทน
เมื่อปลัดอำเภอไม่ใช่เป็นผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอแต่ปลัดอำเภอได้ลงนามออกบัตรประชาชนให้แก่ผู้อื่นไป การกระทำของปลัดอำเภอก็เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและหน้าที่ปลัดอำเภอไม่มีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา230
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2500)
เมื่อปลัดอำเภอไม่ใช่เป็นผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอแต่ปลัดอำเภอได้ลงนามออกบัตรประชาชนให้แก่ผู้อื่นไป การกระทำของปลัดอำเภอก็เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและหน้าที่ปลัดอำเภอไม่มีความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา230
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจออกคำสั่งของปลัดอำเภอ: ปลัดอำเภอไม่มีอำนาจออกคำสั่งแทนนายอำเภอหากนายอำเภอยังปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ
เมื่อไม่ปรากฏว่านายอำเภอไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามปกติและปลัดอำเภอได้รักษาราชการแทนปลัดอำเภอนั้นย่อมไม่มีอำนาจที่จะออกคำสั่งตาม มาตรา122 พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ได้จำเลยขัดขืนคำสั่งปลัดอำเภอจึงไม่เป็นความผิด กฎหมายอาญามาตรา 334(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการออกคำสั่งของปลัดอำเภอเมื่อนายอำเภอปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ
เมื่อไม่ปรากฏว่านายอำเภอไม่อาจปฏิบัติราชการได้ตามปกติและปลัดอำเภอได้รักษาราชการแทน ปลัดอำเภอนั้นย่อมไม่มีอำนาจที่จะออกคำสั่งตาม ม. 122 พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ได้ จำเลยขัดขืนคำสั่งปลัดอำเภอจึงไม่เป็นความผิดก.ม.อาญา ม. 334(2)