คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 49

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยปิดหมายที่ภูมิลำเนาเฉพาะการ และการนับระยะเวลาคำร้องขอพิจารณาใหม่หลังยึดทรัพย์
จำเลยทั้งห้าร่วมกันเป็นหุ้นส่วนมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้ชื่อทางการค้าว่าสหพรลิ้มการช่าง ได้ร่วมกันก่อสร้างตึกแถวให้เช่า และใช้ตึกแถวมีป้ายชื่อว่าสหพรลิ้มการช่าง เป็นสำนักงานติดต่อกับโจทก์และบุคคลทั่วไป ดังนี้ ตึกแถวชื่อสหพรลิ้มการช่างเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการก่อสร้างตึกให้เช่าของจำเลยทั้งห้า เมื่อ ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ได้เพราะจำเลยทั้งห้าไป ต่างจังหวัด การที่เจ้าพนักงานศาลปิดหมายไว้ตามคำสั่งศาล จึงเป็นการส่งโดยชอบ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ที่จำเลยเป็นหุ้นส่วนอยู่เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2525 จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่วันที่8 ธันวาคม 2526 อันเป็นเวลาพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์แล้ว จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา208 ทั้งกรณีมิใช่เป็นการบังคับตามคำพิพากษาโดยวิธีอื่น แต่ เป็นการบังคับตามคำพิพากษาโดยวิธียึดทรัพย์ และการขายทอดตลาด ก็เป็นวิธีการที่สืบเนื่องมาจากการยึดทรัพย์นั่นเอง ระยะเวลาหกเดือนต้องนับตั้งแต่วันที่ยึดทรัพย์ มิใช่นับจากวันขายทอดตลาดทรัพย์ ที่ ยึด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหนังสือแจ้งประเมินภาษี การยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ และการย้ายภูมิลำเนา มีผลต่อสิทธิในการโต้แย้งการประเมินภาษี
โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบเรื่องการย้ายภูมิลำเนาของโจทก์เพื่อให้จำเลยจัดส่งหนังสือแจ้งความแก่โจทก์ตามภูมิลำเนาใหม่ ตรงกันข้ามในการยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษี โจทก์ระบุภูมิลำเนาเดิม แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ใช้ภูมิลำเนาเดิมเป็นภูมิลำเนาของโจทก์อีกแห่งหนึ่งโดยเฉพาะในการติดต่อกับจำเลยดังนี้การที่จำเลยส่งหนังสือแจ้งการประเมินแก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาเดิมจึงเป็นการส่งโดยชอบแล้ว
การส่งหนังสือแจ้งความและหมายเรียกตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 36 วรรคแรก หมายความว่าหากมีการส่งโดยทางจดหมายไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ถือว่าเป็นการส่งที่ชอบแล้ว ส่วนผู้รับหนังสือไว้แทนกฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องมีอายุเกินยี่สิบปี ซึ่งเป็นกรณีบังคับใช้เฉพาะในกรณีให้คนนำไปส่งเท่านั้น ดังนี้เมื่อได้ความว่าบุรุษไปรษณีย์นำส่งหนังสือแจ้งรายการประเมินให้แก่เด็กหญิงส.อายุ 14 ปีเศษซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ การส่งหนังสือดังกล่าวจึงชอบแล้ว
การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินมาตรา 26 นั้น จะต้องยื่นภายในเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความ หมายความถึงวันที่โจทก์หรือตัวแทนของโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งรายการประเมินนั่นเอง มิใช่ให้นับแต่วันที่โจทก์ทราบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหนังสือแจ้งประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย และผลของการได้รับแจ้งความเพื่อยื่นคำร้องคัดค้าน
โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบเรื่องการย้ายภูมิลำเนาของโจทก์เพื่อให้จำเลยจัดส่งหนังสือแจ้งความแก่โจทก์ตามภูมิลำเนาใหม่ตรงกันข้ามในการยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษี โจทก์ระบุภูมิลำเนาเดิม แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ใช้ภูมิลำเนาเดิมเป็นภูมิลำเนาของโจทก์อีกแห่งหนึ่งโดยเฉพาะในการติดต่อกับจำเลยดังนี้การที่จำเลยส่งหนังสือแจ้งการประเมินแก่โจทก์ ณภูมิลำเนาเดิมจึงเป็นการส่งโดยชอบแล้ว
การส่งหนังสือแจ้งความและหมายเรียกตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 36 วรรคแรก หมายความว่าหากมีการส่งโดยทางจดหมายไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ถือว่าเป็นการส่งที่ชอบแล้ว ส่วนผู้รับหนังสือไว้แทนกฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องมีอายุเกินยี่สิบปี ซึ่งเป็นกรณีบังคับใช้เฉพาะในกรณีให้คนนำไปส่งเท่านั้น ดังนี้เมื่อได้ความว่าบุรุษไปรษณีย์นำส่งหนังสือแจ้งรายการประเมินให้แก่เด็กหญิงส.อายุ 14 ปีเศษซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ การส่งหนังสือดังกล่าวจึงชอบแล้ว
การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินมาตรา 26 นั้น จะต้องยื่นภายในเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความ หมายความถึงวันที่โจทก์หรือตัวแทนของโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งรายการประเมินนั่นเอง มิใช่ให้นับแต่วันที่โจทก์ทราบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 913/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหนังสือแจ้งประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายและการนับระยะเวลายื่นคำร้องพิจารณาประเมินใหม่
โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบเรื่องการย้ายภูมิลำเนาของโจทก์ พื่อให้จำเลยจัดส่งหนังสือแจ้งความแก่โจทก์ตามภูมิลำเนาใหม่ตรงกันข้ามในการยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษี โจทก์ระบุภูมิลำเนาเดิม แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ใช้ภูมิลำเนาเดิมเป็นภูมิลำเนาของโจทก์อีกแห่งหนึ่งโดยเฉพาะในการติดต่อกับจำเลยดังนี้การที่จำเลยส่งหนังสือแจ้งการประเมินแก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาเดิมจึงเป็นการส่งโดยชอบแล้ว การส่งหนังสือแจ้งความและหมายเรียกตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 มาตรา 36 วรรคแรก หมายความว่าหากมีการส่งโดยทางจดหมายไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ถือว่าเป็นการส่งที่ชอบแล้ว ส่วนผู้รับหนังสือไว้แทนกฎหมายมิได้บัญญัติว่าต้องมีอายุเกินยี่สิบปีซึ่งเป็นกรณีบังคับใช้เฉพาะในกรณีให้คนนำไปส่งเท่านั้น ดังนี้ เมื่อได้ความว่าบุรุษไปรษณีย์นำส่งหนังสือแจ้งรายการประเมินให้แก่เด็กหญิง ส. อายุ 14 ปีเศษซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ การส่งหนังสือดังกล่าวจึงชอบแล้ว การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาประเมินใหม่ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน มาตรา 26 นั้น จะต้องยื่นภายในเวลาสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งความ หมายความถึงวันที่โจทก์หรือตัวแทนของโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งรายการประเมินนั่นเอง มิใช่ให้นับแต่วันที่โจทก์ทราบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: การเลือกภูมิลำเนาเฉพาะการของตัวแทน และข้อโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ขอให้ห้ามจำเลยขัดขวางการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ ดังนั้นเอกสารที่จำเลยมอบอำนาจให้ตัวแทนในประเทศไทยมีสิทธิเด็ดขาดในการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงมิใช่เอกสารตามที่กฎหมายต้องการให้แนบมาท้ายฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง หากแต่เป็นเรื่องที่จะต้องใช้ในการนำสืบเมื่อจำเลยปฏิเสธ แต่ในคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธในเรื่องดังกล่าวจึงต้องฟังดัง ที่โจทก์ฟ้อง จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศได้ตั้งให้ ป. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยเป็นตัวแทนมีอำนาจทำการแทนจำเลยในเหตุแห่งคดีนี้ โดยระบุสถานที่ส่งบัตรหมายถึงจำเลยในประเทศไทยไว้ในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยว่าให้ส่งที่ตัวแทนตามพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 10 จึงถือได้ว่าจำเลยได้เลือกเอาภูมิลำเนาของ ป. ตัวแทนจำเลยเป็นภูมิลำเนาเฉพาะ การเพื่อกระทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 49 ดังนั้นโจทก์สามารถส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่ ป. ตัวแทนของจำเลย ณ ภูมิลำเนาของ ป.ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) หาใช่กรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(3)ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย การที่ นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่ดำเนินการจดทะเบียนให้โจทก์ก็เนื่องจากนายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้มีการยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ กรณีจึงถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของตน โจทก์จึงมีอำนาจที่จะเสนอคดีของตน ต่อศาลได้ตามพ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 17 วรรคแรกประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: การเลือกภูมิลำเนาเฉพาะการของตัวแทน และข้อโต้แย้งสิทธิในการจดทะเบียน
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยขัดขวางการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์ เอกสารที่จำเลยมอบอำนาจให้ตัวแทนในประเทศไทยดำเนินการในเรื่องคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมิใช่เอกสารตามที่กฎหมายต้องการดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 หากแต่เป็นเรื่องที่จะต้องใช้ในการนำสืบเมื่อจำเลยปฏิเสธ แต่เมื่อคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธคำฟ้องที่ว่าจำเลยตั้ง ป.เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจในเรื่องนี้ จึงต้องฟังดังที่โจทก์ฟ้อง
จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศได้ตั้งให้ ป.ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยเป็นตัวแทนมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยโดยระบุสถานที่ส่งบัตรหมายถึงจำเลยในประเทศไทยไว้ในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยว่าให้ส่งที่ตัวแทน ตามที่พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 มาตรา 10 กำหนดไว้ ถือได้ว่าจำเลยได้เลือกเอาภูมิลำเนาของ ป.ตัวแทนของจำเลยเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเพื่อกระทำการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 49 ดังนั้น โจทก์ส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่ ป.ตัวแทนของจำเลยชอบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
กรณีที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่ดำเนินการจดทะเบียนให้โจทก์เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้มีการยื่นคำขอจดทะเบียนไว้เช่นเดียวกันถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์แล้วว่า โจทก์หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของตน โจทก์จึงมีอำนาจที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 17 วรรคแรก ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันกับหน้าที่ตามหมายศาล: การส่งหมายชอบด้วยกฎหมายแม้จำเลยไม่อยู่ และการผิดสัญญาประกันจากการไม่ปฏิบัติตามนัด
ตามสัญญาประกันข้อ 5 มีข้อความว่า หากนายประกันย้าย ที่อยู่โดยมิได้แจ้งให้ศาลทราบ. นายประกันยินยอมให้ถือ ว่าที่อยู่ของนายประกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันนั้นเป็น ภูมิลำเนาเฉพาะการตามกฎหมาย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏ ว่านายประกันมิได้แจ้งให้ศาลทราบว่าย้ายที่อยู่ การที่ พนักงานเดินหมายปิดหมายนัด ณ ที่อยู่ของนายประกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน ย่อมถือได้ว่าปิดหมายยังภูมิลำเนาของนายประกันแล้ว การปิดหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79มิได้กำหนดให้ตำรวจท้องที่เป็นพยานในการปิดหมาย ดังนั้นเมื่อพนักงานเดินหมายปิดหมายตามคำสั่งศาลโดยไม่มีพยานยืนยัน ว่าได้ทำการปิดหมายที่บ้านนายประกันจริง ก็ถือว่าเป็น การส่งหมายที่ชอบด้วยกฎหมาย ในสัญญาประกันข้อ 2 กำหนดว่า ในระหว่างประกันนี้นายประกันหรือจำเลยจะปฏิบัติตามหมายนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล มิฉะนั้นนายประกันยอมรับผิดชอบใช้เงินให้แก่ศาลจนครบ เมื่อนายประกันไม่ปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล คือไม่ส่งตัวจำเลยไปศาลเพื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามนัด นายประกันจึงผิดสัญญาประกันแม้ศาลจะไม่ได้ส่งหมายนัดแจ้งวันเวลานัดให้จำเลยหรือทนายจำเลยไปฟังคำพิพากษาก่อนก็ตาม เพราะสัญญาประกันเป็นสัญญาที่นายประกันกระทำไว้ต่อศาล จำเลยหรือทนายจำเลยหาได้เป็นผู้กระทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันและการส่งหมายนัด การปฏิบัติตามสัญญาประกัน และการถือที่อยู่ตามสัญญาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการ
ตามสัญญาประกันข้อ 5 มีข้อความว่า หากนายประกันย้าย ที่อยู่โดยมิได้แจ้งให้ศาลทราบ. นายประกันยินยอมให้ถือ ว่าที่อยู่ของนายประกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันนั้นเป็น ภูมิลำเนาเฉพาะการตามกฎหมาย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏ ว่านายประกันมิได้แจ้งให้ศาลทราบว่าย้ายที่อยู่ การที่ พนักงานเดินหมายปิดหมายนัด ณ ที่อยู่ของนายประกันตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกัน ย่อมถือได้ว่าปิดหมายยังภูมิลำเนาของนายประกันแล้ว
การปิดหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79มิได้กำหนดให้ตำรวจท้องที่เป็นพยานในการปิดหมาย ดังนั้นเมื่อพนักงานเดินหมายปิดหมายตามคำสั่งศาลโดยไม่มีพยานยืนยัน ว่าได้ทำการปิดหมายที่บ้านนายประกันจริง ก็ถือว่าเป็น การส่งหมายที่ชอบด้วยกฎหมาย
ในสัญญาประกันข้อ 2 กำหนดว่า ในระหว่างประกันนี้ นายประกันหรือจำเลยจะปฏิบัติตามหมายนัดหรือหมายเรียกของเจ้าพนักงานหรือศาล มิฉะนั้นนายประกันยอมรับผิดชอบใช้เงินให้แก่ศาลจนครบ เมื่อนายประกันไม่ปฏิบัติตามนัดหรือหมายเรียกของศาล คือไม่ส่งตัวจำเลยไปศาลเพื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามนัด นายประกันจึงผิดสัญญาประกัน แม้ศาลจะไม่ได้ส่งหมายนัดแจ้งวันเวลานัดให้จำเลยหรือทนายจำเลยไปฟังคำพิพากษาก่อนก็ตาม เพราะสัญญาประกันเป็นสัญญาที่นายประกันกระทำไว้ต่อศาล จำเลยหรือทนายจำเลยหาได้เป็นผู้กระทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนา, เช็ค, ความรับผิดตามเช็ค: ฟ้องร้องได้ ณ ที่ภูมิลำเนาจำเลย แม้ทำธุรกรรมต่างจังหวัด
จำเลยมีภูมิลำเนาเดิมอยู่จังหวัดศรีสะเกษ จำเลยย้ายไปรับราชการจังหวัดร้อยเอ็ด แต่ยังออกเช็คที่ศรีสะเกษ ถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาที่ศรีสะเกษด้วย โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คที่ศาลศรีสะเกษได้
จำเลยลงลายมือชื่อในเช็คให้ภริยากรอกข้อความไปกู้เงินโจทก์ จำเลยต้องรับผิดตามเช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลฟ้องหย่า: ภูมิลำเนาจำเลยสำคัญกว่าสถานที่เกิดเหตุ
โจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยา มีภูมิลำเนาอยู่อำเภอมีนบุรี จังหวัดพระนคร แต่ไปติดต่อค้าขายซื้อสินค้าจาก ผ. ที่จังหวัดแพร่ ในการไปซื้อสินค้านี้โจทก์พักอยู่ที่บ้าน ผ. บางครั้งจำเลยที่ 1ไปพักด้วย ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 มีชู้และแยกกันอยู่ โดยจำเลยที่ 1 กลับไปอยู่ที่บ้านเดิมที่อำเภอมีนบุรี จังหวัดพระนคร แต่คงไปมาเกี่ยวกับการค้าที่จังหวัดแพร่ โดยพักค้างที่จังหวัดแพร่ โดยพักค้างที่บ้านญาติของโจทก์บ้าง ที่บ้าน ว. บ้าง ดังนี้แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 หาได้มีเจตนาที่จะถือเอาบ้านที่พักอยู่ที่จังหวัดแพร่เป็นถิ่นที่อยู่ไม่
โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยซึ่งมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลที่พิจารณาคดีโดยมิได้ขออนุญาตฟ้องต่อศาลนั้นไม่ได้
โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยโดยระบุตามคำฟ้องว่าจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลที่พิจารณาคดี เมื่อจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลวินิจฉัยเรื่องเขตอำนาจศาล โดยอ้างว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตศาล ดังนี้ การที่ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนเสร็จสำนวน โดยมีคำสั่งคำร้องขอให้ชี้ขาดเบื้องต้นว่าจะได้ชี้ขาดในปัญหาดังกล่าวในคำพิพากษาจึงไม่ใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีแต่ประการใดหากแต่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่แห่งใดซึ่งจะต้องฟังพยานหลักฐานให้เสร็จสิ้นกระแสความก่อนมีคำสั่ง
of 3