พบผลลัพธ์ทั้งหมด 974 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากมิได้ระบุข้อเท็จจริง แม้แต่โดยย่อ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยกล่าวว่า จำเลยเกรงว่าฎีกาของจำเลยจะขาดอายุความ จึงรีบจัดทำฎีกามาชั้นหนึ่งก่อน รายละเอียดพิศดารจำเลยจะได้แถลงการณ์ด้วยลายลักษณ์อักษรตามมาภายหลัง นอกจากนี้แล้วไม่ปรากฏว่าฎีกาของจำเลยระบุข้อเท็จจริงประการใด ดังนี้ ฎีกาจำเลยเป็นฎีกาที่มิได้ระบุข้อเท็จจริงแม้แต่โดยย่อ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากมิได้ระบุข้อเท็จจริง แม้แต่โดยย่อ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยกล่าวว่า จำเลยเกรงว่าฎีกาของจำเลยจะขาดอายุความจึงรีบจัดทำฎีกาย่อมาชั้นหนึ่งก่อน รายละเอียดพิศดารจำเลยจะได้แถลงการณ์ด้วยลายลักษณ์อักษรตามมาภายหลัง นอกจากนี้แล้วไม่ปรากฏว่าฎีกาของจำเลยระบุข้อเท็จจริงประการใด ดังนี้ ฎีกาจำเลยเป็นฎีกาที่มิได้ระบุข้อเท็จจริงแม้แต่โดยย่อ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและการกำหนดอัตราค่าเช่าใหม่ สิทธิของเจ้าของห้องในการตั้งราคาเช่า และผลของการไม่ทำสัญญาใหม่
โจทก์จำเลยทำสัญญายอมความว่า โจทก์ยอมให้จำเลยเช่าห้องพิพาทจนสิ้นเดือนตุลาคม ค่าเช่าเดือนละ 100 บาท ครบกำหนดแล้ว ถ้าโจทก์ยังไม่สร้างอาคารในที่พิพาท ยอมให้จำเลยอยู่ในห้องพิพาทได้ต่อไป โดยโจทก์จำเลยจะได้ทำสัญญากันต่างหาก ถ้าจำเลยไม่ยอมทำ ให้ถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะอยู่ในที่พิพาทต่อไป ดังนี้ ในการทำสัญญาเช่าใหม่ แม้โจทก์จะเอาค่าเช่าเป็นวันละ 100 บาท ก็เป็นสิทธิของโจทก์ เมื่อจำเลยเห็นว่าแพงไปและไม่ทำสัญญาเช่า ก็จะหาว่าโจทก์ขัดขวางมิให้จำเลยเข้าทำสัญญากับโจทก์ไม่ได้
อุทธรณ์ของโจทก์ได้ตั้งประเด็นมาแล้วว่าจำเลยผิดสัญญา แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ ถ้าศาลฎีกาเห็นเป็นการสมควร จะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ก็ได้
อุทธรณ์ของโจทก์ได้ตั้งประเด็นมาแล้วว่าจำเลยผิดสัญญา แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ ถ้าศาลฎีกาเห็นเป็นการสมควร จะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและสิทธิในการกำหนดค่าเช่าใหม่ ผู้เช่ามีสิทธิปฏิเสธสัญญาหากอัตราค่าเช่าไม่สมเหตุสมผล
โจทก์จำเลยทำสัญญายอมความว่า โจทก์ยอมให้จำเลยเช่าห้องพิพาทจนสิ้นเดือนตุลาคมค่าเช่าเดือนละ 100 บาท ครบกำหนดแล้วถ้าโจทก์ยังไม่สร้างอาคารในที่พิพาท ยอมให้จำเลยอยู่ในห้องพิพาทได้ต่อไปโดยโจทก์จำเลยจะได้ทำสัญญากันต่างหาก ถ้าจำเลยไม่ยอมทำให้ถือว่าจำเลยไม่ประสงค์จะอยู่ในที่พิพาทต่อไป ดังนี้ ในการทำสัญญาเช่าใหม่ แม้โจทก์จะเอาค่าเช่าเป็นวันละ 100 บาท ก็เป็นสิทธิของโจทก์ เมื่อจำเลยเห็นว่าแพงไปและไม่ทำสัญญาเช่าก็จะหาว่าโจทก์ขัดขวางมิให้จำเลยเข้าทำสัญญากับโจทก์ไม่ได้
อุทธรณ์ของโจทก์ได้ตั้งประเด็นมาแล้วว่าจำเลยผิดสัญญาแต่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้ถ้าศาลฎีกาเห็นเป็นการสมควรจะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ก็ได้
อุทธรณ์ของโจทก์ได้ตั้งประเด็นมาแล้วว่าจำเลยผิดสัญญาแต่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยให้ถ้าศาลฎีกาเห็นเป็นการสมควรจะวินิจฉัยไปเสียทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเหมา การโอนกรรมสิทธิ์เมื่อทำสัญญา และอายุความของสิทธิเรียกร้อง
การซื้อขายตามเอกสารหมาย ล.1 เป็นการซื้อเหมาจำนวนทรัพย์ที่จะซื้อขายมีจำนวนแน่นอน ไม่จำเป็นต้องมีการตรวจนับอย่างใดอีก ฉะนั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะทำสัญญาซื้อขายกัน ส่วนเรื่องการส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายกันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์
การที่รถยนต์ที่ซื้อขายถูกยึดและเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างการยึด โดยผู้รับรักษาปล่อยให้ตากแดดฝนและไม่ดูแลรักษาให้ดี และรถกลายสภาพเป็นเศษเหล็กไปนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับรักษาทรัพย์ จะปรับว่าเป็นความผิดของผู้ขายไม่ได้
ตามสัญญาซื้อขาย ผู้ขายจะต้องจัดการโอนทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยเสร็จสิ้นก่อน จึงจะมีสิทธิรับเงินงวดที่ 2 แต่ปรากฏว่าเมื่อผู้ซื้อทราบว่าผู้ขายเป็นหนี้ ก. กลัว ก. จะยึดเอารถไป ผู้ซื้อจึงได้จัดการขายไปอย่างรถไม่มีทะเบียน ส่วนรถที่เหลือก็มีสภาพเป็นเศษเหล็ก ไม่สามารถทำการโอนทะเบียนกันอย่างรถยนต์ธรรมดาได้ จึงไม่มีความจำเป็นต้องทำการโอนทะเบียนต่อไป และไม่ใช่ความผิดของผู้ขาย ผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องชำระราคาที่ยังค้างอยู่ให้แก่ผู้ขาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรค 2 ประกอบด้วยอนุมาตรา (1) เป็นเรื่องของอายุความที่จะใช้บังคับแก่บุคคลที่เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าขายสินค้าพ่อค้าตามความหมายของมาตรา 165 หมายถึง บุคคลที่ประกอบกิจการค้าโดยซื้อสินค้ามาและขายไปเป็นปกติธุระ โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าโดยค้าไม่แปรรูปและน้ำตาล ทรัพย์ที่ทำการซื้อขายกันในคดีนี้ไม่ได้เป็นสินค้าที่โจทก์ทำการค้าและไม่ใช่วัตถุประสงค์ในกิจการค้าของโจทก์ด้วย จะถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้ารถยนต์และอุปกรณ์ไม่ได้ การที่โจทก์ขายรถยนต์ให้แก่จำเลย ต้องถือว่าโจทก์ได้ขายไปในฐานะอย่างเจ้าของทรัพย์ธรรมดา ไม่ใช่ในฐานะเป็นพ่อค้าขายสินค้านั้น ๆ จะนำเอาอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 165 วรรค 2 มาใช้บังคับไม่ได้ ต้องนำเอาอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปีมาใช้บังคับ
การที่รถยนต์ที่ซื้อขายถูกยึดและเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างการยึด โดยผู้รับรักษาปล่อยให้ตากแดดฝนและไม่ดูแลรักษาให้ดี และรถกลายสภาพเป็นเศษเหล็กไปนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับรักษาทรัพย์ จะปรับว่าเป็นความผิดของผู้ขายไม่ได้
ตามสัญญาซื้อขาย ผู้ขายจะต้องจัดการโอนทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยเสร็จสิ้นก่อน จึงจะมีสิทธิรับเงินงวดที่ 2 แต่ปรากฏว่าเมื่อผู้ซื้อทราบว่าผู้ขายเป็นหนี้ ก. กลัว ก. จะยึดเอารถไป ผู้ซื้อจึงได้จัดการขายไปอย่างรถไม่มีทะเบียน ส่วนรถที่เหลือก็มีสภาพเป็นเศษเหล็ก ไม่สามารถทำการโอนทะเบียนกันอย่างรถยนต์ธรรมดาได้ จึงไม่มีความจำเป็นต้องทำการโอนทะเบียนต่อไป และไม่ใช่ความผิดของผู้ขาย ผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องชำระราคาที่ยังค้างอยู่ให้แก่ผู้ขาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรค 2 ประกอบด้วยอนุมาตรา (1) เป็นเรื่องของอายุความที่จะใช้บังคับแก่บุคคลที่เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าขายสินค้าพ่อค้าตามความหมายของมาตรา 165 หมายถึง บุคคลที่ประกอบกิจการค้าโดยซื้อสินค้ามาและขายไปเป็นปกติธุระ โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าโดยค้าไม่แปรรูปและน้ำตาล ทรัพย์ที่ทำการซื้อขายกันในคดีนี้ไม่ได้เป็นสินค้าที่โจทก์ทำการค้าและไม่ใช่วัตถุประสงค์ในกิจการค้าของโจทก์ด้วย จะถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้ารถยนต์และอุปกรณ์ไม่ได้ การที่โจทก์ขายรถยนต์ให้แก่จำเลย ต้องถือว่าโจทก์ได้ขายไปในฐานะอย่างเจ้าของทรัพย์ธรรมดา ไม่ใช่ในฐานะเป็นพ่อค้าขายสินค้านั้น ๆ จะนำเอาอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 165 วรรค 2 มาใช้บังคับไม่ได้ ต้องนำเอาอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปีมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเหมา การโอนกรรมสิทธิ์ และอายุความของสิทธิเรียกร้องค่าซื้อขาย
การซื้อขายตามเอกสารหมาย ล.1 เป็นการซื้อเหมาจำนวนทรัพย์ที่จะซื้อขายมีจำนวนแน่นอนไม่จำเป็นต้องมีการตรวจนับอย่างใดอีกฉะนั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะทำสัญญาซื้อขายกัน ส่วนเรื่องการส่งมอบทรัพย์ที่ซื้อขายกันเป็นอีกเรื่องหนึ่งไม่เกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์
การที่รถยนต์ที่ซื้อขายถูกยึดและเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างการยึด โดยผู้รับรักษาปล่อยให้ตากแดดฝนและไม่ดูแลรักษาให้ดีและรถกลายสภาพเป็นเศษเหล็กไปนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับรักษาทรัพย์ จะปรับว่าเป็นความผิดของผู้ขายไม่ได้
ตามสัญญาซื้อขาย ผู้ขายจะต้องจัดการโอนทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยเสร็จสิ้นก่อน จึงจะมีสิทธิรับเงินงวดที่ 2 แต่ปรากฏว่าเมื่อผู้ซื้อทราบว่าผู้ขายเป็นหนี้ ก. กลัว ก. จะยึดเอารถไป ผู้ซื้อจึงได้จัดการขายไปอย่างรถไม่มีทะเบียน ส่วนรถที่เหลือก็มีสภาพเป็นเศษเหล็ก ไม่สามารถทำการโอนทะเบียนกันอย่างรถยนต์ธรรมดาได้ จึงไม่มีความจำเป็นต้องทำการโอนทะเบียนต่อไป และไม่ใช่ความผิดของผู้ขายผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องชำระราคาที่ยังค้างอยู่ให้แก่ผู้ขาย
ตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคสองประกอบด้วยอนุมาตรา (1) เป็นเรื่องของอายุความที่จะใช้บังคับแก่บุคคลที่เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าขายสินค้าพ่อค้าตามความหมายของมาตรา 165 หมายถึงบุคคลที่ประกอบกิจการค้าโดยซื้อสินค้ามาและขายไปเป็นปกติธุระโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าโดยค้าไม้แปรรูปและน้ำตาล ทรัพย์ที่ทำการซื้อขายกันในคดีนี้ ไม่ได้เป็นสินค้าที่โจทก์ทำการค้าและไม่ใช่วัตถุประสงค์ในกิจการค้าของโจทก์ด้วย จะถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้ารถยนต์และอุปกรณ์ไม่ได้การที่โจทก์ขายรถยนต์ให้แก่จำเลย ต้องถือว่าโจทก์ได้ขายไปในฐานะอย่างเจ้าของทรัพย์ธรรมดา ไม่ใช่ในฐานะเป็นพ่อค้าขายสินค้านั้น ๆจะนำเอาอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 165 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ต้องนำเอาอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปีมาใช้บังคับ
การที่รถยนต์ที่ซื้อขายถูกยึดและเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างการยึด โดยผู้รับรักษาปล่อยให้ตากแดดฝนและไม่ดูแลรักษาให้ดีและรถกลายสภาพเป็นเศษเหล็กไปนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับรักษาทรัพย์ จะปรับว่าเป็นความผิดของผู้ขายไม่ได้
ตามสัญญาซื้อขาย ผู้ขายจะต้องจัดการโอนทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยเสร็จสิ้นก่อน จึงจะมีสิทธิรับเงินงวดที่ 2 แต่ปรากฏว่าเมื่อผู้ซื้อทราบว่าผู้ขายเป็นหนี้ ก. กลัว ก. จะยึดเอารถไป ผู้ซื้อจึงได้จัดการขายไปอย่างรถไม่มีทะเบียน ส่วนรถที่เหลือก็มีสภาพเป็นเศษเหล็ก ไม่สามารถทำการโอนทะเบียนกันอย่างรถยนต์ธรรมดาได้ จึงไม่มีความจำเป็นต้องทำการโอนทะเบียนต่อไป และไม่ใช่ความผิดของผู้ขายผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องชำระราคาที่ยังค้างอยู่ให้แก่ผู้ขาย
ตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคสองประกอบด้วยอนุมาตรา (1) เป็นเรื่องของอายุความที่จะใช้บังคับแก่บุคคลที่เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าขายสินค้าพ่อค้าตามความหมายของมาตรา 165 หมายถึงบุคคลที่ประกอบกิจการค้าโดยซื้อสินค้ามาและขายไปเป็นปกติธุระโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าโดยค้าไม้แปรรูปและน้ำตาล ทรัพย์ที่ทำการซื้อขายกันในคดีนี้ ไม่ได้เป็นสินค้าที่โจทก์ทำการค้าและไม่ใช่วัตถุประสงค์ในกิจการค้าของโจทก์ด้วย จะถือว่าโจทก์เป็นพ่อค้ารถยนต์และอุปกรณ์ไม่ได้การที่โจทก์ขายรถยนต์ให้แก่จำเลย ต้องถือว่าโจทก์ได้ขายไปในฐานะอย่างเจ้าของทรัพย์ธรรมดา ไม่ใช่ในฐานะเป็นพ่อค้าขายสินค้านั้น ๆจะนำเอาอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 165 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ต้องนำเอาอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 ซึ่งมีกำหนด 10 ปีมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบการขนส่งประจำทาง: รถยนต์ที่ได้รับอนุญาตแล้วไม่ถือเป็นรถยนต์อื่นตาม พ.ร.บ.รถยนต์
พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2473 มาตรา 24 ตามที่เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2479 วรรคสามที่ว่า'ห้ามมิให้ใช้รถยนต์อื่นรับจ้างหาผลประโยชน์โดยรับคนโดยสารซึ่งเสียค่าโดยสารเป็นรายตัวตามรายทางในเขตถนนที่ได้รับอนุญาตให้มีรถประจำทางขึ้น ฯลฯ' นั้น หมายความว่าห้ามรถยนต์อื่นที่มิใช่รถยนต์ประจำทางที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ก่อนได้รับใบอนุญาต และต่อมาได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งได้ย้อนหลังไปการประกอบการขนส่งก่อนได้รับใบอนุญาตแต่อยู่ในระหว่างเวลาที่ระบุไว้ในใบอนุญาตย่อมไม่เป็นความผิด
ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ก่อนได้รับใบอนุญาต และต่อมาได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งได้ย้อนหลังไปการประกอบการขนส่งก่อนได้รับใบอนุญาตแต่อยู่ในระหว่างเวลาที่ระบุไว้ในใบอนุญาตย่อมไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการห้ามรถยนต์อื่นรับจ้าง - รถประจำทางที่ได้รับอนุญาตย้อนหลัง
พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2473 มาตรา 24 ตามที่เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2479 วรรค 3 ที่ว่า "ห้ามิให้ใช้รถยนต์อื่นรับจ้างหาผลประโยชน์โดยรับคนโดยสารซึ่งเสียค่าโดยสารเป็นรายตัวรายทางในเขตถนนที่ได้รับอนุญาตให้มีรถประจำทางขึ้น ฯลฯ" นั้น หมายความว่าห้ามรถยนต์อื่นที่มิใช่รถยนต์ประจำทางที่ได้รับอนุญาตแล้ว
ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ก่อนได้รับใบอนุญาต และต่อมาได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งได้ย้อนหลังไป การประกอบการขนส่งก่อนได้รับใบอนุญาตแต่อยู่ในระหว่างเวลาที่ระบุไว้ในใบอนุญาตย่อมไม่เป็นความผิด
ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์ก่อนได้รับใบอนุญาต และต่อมาได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งได้ย้อนหลังไป การประกอบการขนส่งก่อนได้รับใบอนุญาตแต่อยู่ในระหว่างเวลาที่ระบุไว้ในใบอนุญาตย่อมไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกฐานหลบหนีระหว่างถูกกักขังแทนค่าปรับ แม้ยังไม่เริ่มรับโทษจำคุกในคดีอื่น
จำเลยต้องคำพิพากษาของศาล คดีถึงที่สุดแล้ว 2 คดี คดีแรกฐานมีอาวุธปืนไม่รับอนุญาตต้องโทษปรับ คดีหลังฐานรับของโจรต้องโทษจำคุกนับโทษติดต่อจากคดีแรกแม้จำเลยกระทำความผิดในคดีนี้หลบหนีที่คุมขังไปในระหว่างถูกกักขังแทนค่าปรับในคดีแรก ยังไม่เริ่มรับโทษจำคุกในคดีหลังก็ดี ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดอีกในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ เข้าเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เพิ่มโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1275/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำเลยในคดีหลบหนีระหว่างต้องรับโทษคดีอื่น แม้ยังไม่เริ่มรับโทษจำคุก
จำเลยต้องคำพิพากษาของศาล คดีถึงที่สุดแล้ว 2 คดี คดีแรกฐานมีอาวุธปืนไม่รับอนุญาตต้องโทษปรับ คดีหลังฐานรับของโจรต้องโทษจำคุกนับโทษติดต่อจากคดีแรก แม้จำเลยกระทำความผิดในคดีนี้หลบหนีที่คุมขังไปในระหว่างถูกกักขังแทนค่าปรับในคดีแรก ยังไม่เริ่มรับโทษจำคุกในคดีหลังก็ดี ถือได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดอีกในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ เข้าเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เพิ่มโทษจำเลยได้