คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศริ มลิลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 974 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการยกเว้นโทษ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ เฉพาะปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาต ไม่รวมปืนที่มีทะเบียนแล้ว
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 5, 6 ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืนบางชนิดซึ่งยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายหรือยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนฯ มาขอรับอนุญาตเพื่อปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายในกำหนดเวลาโดยไม่ต้องรับโทษนั้นหมายความถึงอาวุธปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ฉะนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยมีอาวุธปืนที่มีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาตก็ไม่มีเหตุจะอ้างว่า จำเลยไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้
(เทียบฎีกาประชุมใหญ่ที่ 295/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการยกเว้นโทษ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2510: ครอบคลุมเฉพาะอาวุธปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 5, 6ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืนบางชนิดซึ่งยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายหรือยังมิได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่อาจอนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนฯ มาขอรับอนุญาตเพื่อปฏิบัติการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายในกำหนดเวลา โดยไม่ต้องรับโทษนั้น หมายความถึงอาวุธปืนที่ยังไม่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นมิได้หมายความรวมถึงอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ แล้ว ฉะนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยมีอาวุธปืนที่มีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาตก็ไม่มีเหตุจะอ้างว่า จำเลยไม่ต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้
(เทียบฎีกาประชุมใหญ่ที่ 295/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีเจ้าหนี้กองมรดก: การฟ้องทายาทคนแรกภายในกำหนดอายุความย่อมสะดุดหยุดอายุความ แม้จะขอเพิ่มทายาทอื่น
เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้เมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้ฟ้องภริยาของเจ้ามรดกซึ่งนับได้ว่าเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง เป็นคดีขอให้ชำระหนี้ภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ย่อมถือได้ว่าเจ้าหนี้กองมรดกใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกภายในอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้ว การฟ้องคดีเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ แม้ต่อมาเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะขอให้เรียกทายาทคนอื่น ๆ เข้ามาเป็นจำเลยร่วมอีกด้วย เมื่อพ้น1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย ก็ไม่เป็นเหตุให้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเจ้าหนี้กองมรดก: การฟ้องทายาทคนแรกภายในกำหนดสะดุดอายุความ แม้เรียกทายาทอื่นร่วมภายหลัง
เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้เมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้ฟ้องภริยาของเจ้ามรดกซึ่งนับได้ว่าเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งเป็นคดีขอให้ชำระหนี้ภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ย่อมถือได้ว่าเจ้าหนี้กองมรดกใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกภายในอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้ว การฟ้องคดีเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ แม้ต่อมาเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะขอให้เรียกทายาทคนอื่น ๆ เข้ามาเป็นจำเลยร่วมอีกด้วย เมื่อพ้น1 ปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย ก็ไม่เป็นเหตุให้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบของฟ้องอาญาคดีเบียดบังยักยอกเงิน การระบุรายละเอียดทรัพย์สินที่ยักยอก
ฟ้องบรรยายว่าจำเลยมีหน้าที่ รับจ่าย ทำบัญชีตลอดทั้งควบคุมเก็บรักษาเงินและมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการนี้ว่าจำเลยมีหน้าที่จะต้องนำยอดเงินสดคงเหลือประจำวันส่วนที่เกินกว่า 3,000 บาท เข้าฝากธนาคารระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม2505 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2507 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันตลอดมา จำเลยได้รับเงินรายได้ 10 ประเภทและจ่ายไปคงเหลืออยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย 109,502.68 บาท จำเลยไม่นำเงินจำนวนดังกล่าวนี้เข้าบัญชีธนาคาร กลับเบียดบังยักยอกเป็นอาณาประโยชน์ส่วนตัวเสียปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5ขอให้ลงโทษ ฯลฯ ดังนี้ เมื่ออ่านฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5 ซึ่งเป็นบัญชีแสดงจำนวนเงินที่ได้รับและจ่ายไปคงเหลือแต่ละเดือนประจำเดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2505 ถึงเดือนธันวาคม 2507เห็นได้ว่า โจทก์ได้กล่าวข้อเท็จจริงถึงจำนวนเงินรายได้ของโจทก์ร่วมที่จำเลยรับไว้และยักยอกไปพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงรายละเอียดเงินรายได้ประเภทไหนเท่าใดอีกจึงเป็นฟ้องที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 818/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบของฟ้องอาญา ยักยอกเงิน - ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดประเภทเงินรายได้ หากฟ้องระบุจำนวนเงินที่ยักยอกชัดเจน
ฟ้องบรรยายว่าจำเลยมีหน้าที่ รับจ่าย ทำบัญชีตลอดทั้งควบคุมเก็บรักษาเงินและมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการนี้ว่าจำเลยมีหน้าที่จะต้องนำยอดเงินสดคงเหลือประจำวันส่วนที่เกินกว่า 3,000 บาท เข้าฝากธนาคารระหว่างตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม2505 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2507 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันตลอดมา จำเลยได้รับเงินรายได้ 10 ประเภทและจ่ายไปคงเหลืออยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย 109,502.68 บาท จำเลยไม่นำเงินจำนวนดังกล่าวนี้เข้าบัญชีธนาคารกลับเบียดบังยักยอกเป็นอาณาประโยชน์ส่วนตัวเสียปรากฏตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5ขอให้ลงโทษ ฯลฯ ดังนี้ เมื่ออ่านฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 5 ซึ่งเป็นบัญชีแสดงจำนวนเงินที่ได้รับและจ่ายไปคงเหลือแต่ละเดือนประจำเดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2505 ถึงเดือนธันวาคม 2507เห็นได้ว่า โจทก์ได้กล่าวข้อเท็จจริงถึงจำนวนเงินรายได้ของโจทก์ร่วมที่จำเลยรับไว้และยักยอกไปพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงรายละเอียดเงินรายได้ประเภทไหนเท่าใดอีกจึงเป็นฟ้องที่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: เริ่มนับเมื่อรู้ถูกหลอกลวง ไม่ใช่นับจากวันที่กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือ
ผู้ซื้อฝากที่ดินเพิ่งรู้ว่าถูกผู้ขายฝากฉ้อโกง (โดยนำที่ดินของผู้อื่นมาขายฝาก)เมื่อพ้นกำหนดไถ่แล้ว ดังนี้ อายุความ (3 เดือน) ขอให้ดำเนินคดีเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ซื้อฝากรู้เรื่องว่าตนถูกฉ้อโกง มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ขายฝากตกเป็นของผู้ซื้อฝาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 798/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฉ้อโกง: เริ่มนับเมื่อรู้ถูกหลอก ไม่ใช่นับจากวันที่กรรมสิทธิ์โอน
ผู้ซื้อฝากที่ดินเพิ่งรู้ว่าถูกผู้ขายฝากฉ้อโกง (โดยนำที่ดินของผู้อื่นมาขายฝาก)เมื่อพ้นกำหนดไถ่แล้ว ดังนี้ อายุความ (3 เดือน) ขอให้ดำเนินคดีเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้ซื้อฝากรู้เรื่องว่าตนถูกฉ้อโกง มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ขายฝากตกเป็นของผู้ซื้อฝาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับในสัญญา, ความเสียหายจากการผิดสัญญา, เหตุสุดวิสัย, และการซื้อของทดแทน
เหตุสุดวิสัยที่จำเลยอ้างมานั้นเกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยผิดสัญญาส่งเหล็กให้แก่โจทก์แล้วประมาณ 7 เดือน จำเลยอ้างเหตุนี้ขึ้นเป็นข้อแก้ตัวเพื่อจะไม่ต้องรับผิดตามสัญญาหาได้ไม่
การให้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในกรณีผิดสัญญานั้นก็เพื่อที่จะชดใช้และให้ความพอใจแก่ฝ่ายที่ไม่ผิดสัญญาสำหรับความเสียหายที่ฝ่ายนั้นได้รับจริง ๆ กฎหมายไม่ประสงค์ให้มีการค้ากำไรในการผิดสัญญา
เบี้ยปรับนั้นก็คือค่าเสียหายที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ล่วงหน้านั่นเองเบี้ยปรับจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย โดยเหตุนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 จึงบัญญัติไว้ว่า ถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงก็ได้และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง ก็บัญญัติไว้ว่า ให้เจ้าหนี้เรียกค่าเสียหายได้เต็มจำนวนที่เสียไป โดยให้คิดเบี้ยปรับรวมอยู่ในนั้นด้วย คือให้ถือว่าเบี้ยปรับเป็นจำนวนน้อยที่สุดของค่าเสียหาย
เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเต็มจำนวนที่โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยเสียเบี้ยปรับให้โจทก์อีกไม่ได้เพราะเป็นการเรียกร้องที่นอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งของให้โจทก์ตามกำหนด แต่ของที่บริษัท ท.เสนอราคามานั้น มีคุณสมบัติไม่ตรงกับที่โจทก์กำหนดไว้ ส่วนของ ฮ.มีคุณสมบัติตรงกับที่โจทก์กำหนดไว้ ฉะนั้น การที่โจทก์รับซื้อจาก ฮ. จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบปฏิบัติของทางการรถไฟแต่อย่างใดหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย ศาลไม่ให้เรียกเก็บซ้ำซ้อน เหตุสุดวิสัยต้องเกิดขึ้นก่อนผิดสัญญา
เหตุสุดวิสัยที่จำเลยอ้างมานั้นเกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยผิดสัญญาส่งเหล็กให้แก่โจทก์แล้วประมาณ 7 เดือน จำเลยอ้างเหตุนี้ขึ้นเป็นข้อแก้ตัวเพื่อจะไม่ต้องรับผิดตามสัญญาหาได้ไม่
การให้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในกรณีผิดสัญญานั้น ก็เพื่อที่จะชดใช้และให้ความพอใจแก่ฝ่ายที่ไม่ผิดสัญญาสำหรับความเสียหายที่ฝ่ายนั้นได้รับจริง ๆ กฎหมายไม่ประสงค์ให้มีการค้ากำไรในการผิดสัญญา
เบี้ยปรับนั้นก็คือค่าเสียหายที่คู่สัญญาตกลงกันไว้ล่วงหน้านั่นเองเบี้ยปรับจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย โดยเหตุนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 จึงบัญญัติไว้ว่า ถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงก็ได้และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง ก็บัญญัติไว้ว่าให้เจ้าหนี้เรียกค่าเสียหายได้เต็มจำนวนที่เสียไป โดยให้คิดเบี้ยปรับรวมอยู่ในนั้นด้วย คือให้ถือว่าเบี้ยปรับเป็นจำนวนน้อยที่สุดของค่าเสียหาย
เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเต็มจำนวนที่โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยเสียเบี้ยปรับให้โจทก์อีกไม่ได้เพราะเป็นการเรียกร้องที่นอกเหนือไปจากความเสียหายที่โจทก์ได้รับขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสอง
จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งของให้โจทก์ตามกำหนด แต่ของที่บริษัท ท.เสนอราคามานั้น มีคุณสมบัติไม่ตรงกับที่โจทก์กำหนดไว้ ส่วนของ ฮ.มีคุณสมบัติตรงกับที่โจทก์กำหนดไว้ ฉะนั้น การที่โจทก์รับซื้อจาก ฮ.จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบปฏิบัติของทางการรถไฟแต่อย่างใดหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
of 98