พบผลลัพธ์ทั้งหมด 974 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานและพยายามฆ่า: การกระทำความผิดร่วมกัน การใช้ดุลยพินิจศาล
คืนเกิดเหตุ ตำรวจกับพวกตามหาเรือของเจ้าทรัพย์ที่ถูกคนร้ายชิงไปพบจำเลยทั้งสองอยู่ในเรือลำหนึ่ง ตำรวจซึ่งอยู่ในเครื่องแบบแสดงตัวและบอกให้จำเลยเข้ามาหา จำเลยทั้งสองรู้ว่าเป็นตำรวจแต่ขัดขืน และได้ยิงปืนมาที่เรือตำรวจ 1 นัดกระสุนปืนถูกผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานที่ขาแล้วจำเลยทั้งสองโดดน้ำหนีพร้อมกัน ดังนี้จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดฐานต่อสู้ขัดขวางและพยายามฆ่าเจ้าพนักงานกับผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานที่กระทำตามหน้าที่
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2514)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826-827/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทหุ้นส่วนเลี้ยงไก่: ศาลตัดสินเรื่องหนี้ซื้อเชื่อและแจ้งความเท็จ ไม่พบละเมิด
โจทก์ฟ้องจำเลยด้วยเรื่องหุ้นส่วนเลี้ยงและขายไก่แบ่งปันกำไรกันขอให้พิพากษาบังคับจำเลยใช้ทุนคืนและจ่ายผลกำไร ทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังได้ไม่ใช่เรื่องเข้าหุ้นส่วน เป็นเรื่องจำเลยซื้อสินค้าเชื่อค้างชำระกันอยู่ พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อให้โจทก์ย่อมเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
เมื่อพฤติการณ์ที่จำเลยไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ จำเลยได้กระทำไปโดยเชื่อว่าตนมีสิทธิและใช้สิทธิของตนโดยชอบด้วยกฎหมาย และยังไม่ได้ความว่าจำเลยจงใจแกล้งให้โจทก์เสียหาย กรณียังไม่เป็นละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
เมื่อพฤติการณ์ที่จำเลยไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ จำเลยได้กระทำไปโดยเชื่อว่าตนมีสิทธิและใช้สิทธิของตนโดยชอบด้วยกฎหมาย และยังไม่ได้ความว่าจำเลยจงใจแกล้งให้โจทก์เสียหาย กรณียังไม่เป็นละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826-827/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทหุ้นส่วนเลี้ยงไก่ - การแจ้งความเท็จ - ความรับผิดทางละเมิด - สินเชื่อค้า
โจทก์ฟ้องจำเลยด้วยเรื่องหุ้นส่วนเลี้ยงและขายไก่แบ่งปันกำไรกันขอให้พิพากษาบังคับจำเลยใช้ทุนคืนและจ่ายผลกำไร ทางพิจารณาข้อเท็จจริงฟังได้ไม่ใช่เรื่องเข้าหุ้นส่วน เป็นเรื่องจำเลยซื้อสินค้าเชื่อค้างชำระกันอยู่ พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อให้โจทก์ ย่อมเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
เมื่อพฤติการณ์ที่จำเลยไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ จำเลยได้กระทำไปโดยเชื่อว่าตนมีสิทธิและใช้สิทธิของตนโดยชอบด้วยกฎหมาย และยังไม่ได้ความว่าจำเลยจงใจแกล้งให้โจทก์เสียหาย กรณียังไม่เป็นละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
เมื่อพฤติการณ์ที่จำเลยไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ จำเลยได้กระทำไปโดยเชื่อว่าตนมีสิทธิและใช้สิทธิของตนโดยชอบด้วยกฎหมาย และยังไม่ได้ความว่าจำเลยจงใจแกล้งให้โจทก์เสียหาย กรณียังไม่เป็นละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดลงจากการสลักหลังเช็คและการนับอายุความใหม่เมื่อเช็คสั่งจ่าย
เรื่องอายุความนั้นหาใช่สภาพแห่งข้อหาไม่ โจทก์ไม่จำเป็นต้องกล่าวมาในฟ้องว่า คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด
การที่จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เพื่อชำระเงินค่าซื้อเชื่อนั้นถือได้ว่าเป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์
จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2505 แต่เช็คนั้นเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้า สั่งจ่ายในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 ดังนี้ หมายความว่าจำเลยได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ในวันที่ 23 เมษายน 2505 ว่าจะชำระเงินเป็นเช็คให้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 นั่นเอง
เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสำหรับคดีนี้สิ้นสุดลงในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 คือ วันที่สั่งจ่ายเงินในเช็ค จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2505 เพราะวันนั้นเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามเช็คได้เป็นต้นไป ดังนั้น อายุความ2 ปีครบในวันที่ 26 พฤษภาคม 2507 ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 27 พฤษภาคม 2507คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
(ปัญหาตามวรรคสอง, สี่ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8, 9/2514)
การที่จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เพื่อชำระเงินค่าซื้อเชื่อนั้นถือได้ว่าเป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์
จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2505 แต่เช็คนั้นเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้า สั่งจ่ายในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 ดังนี้ หมายความว่าจำเลยได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ในวันที่ 23 เมษายน 2505 ว่าจะชำระเงินเป็นเช็คให้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 นั่นเอง
เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสำหรับคดีนี้สิ้นสุดลงในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 คือ วันที่สั่งจ่ายเงินในเช็ค จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2505 เพราะวันนั้นเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามเช็คได้เป็นต้นไป ดังนั้น อายุความ2 ปีครบในวันที่ 26 พฤษภาคม 2507 ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ โจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 27 พฤษภาคม 2507คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
(ปัญหาตามวรรคสอง, สี่ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8, 9/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดลงจากการสลักหลังเช็ค การนับอายุความเริ่มจากวันที่เช็คสั่งจ่าย
เรื่องอายุความนั้นหาใช่สภาพแห่งข้อหาไม่ โจทก์ไม่จำเป็นต้องกล่าวมาในฟ้องว่า คดีของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใด
การที่จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เพื่อชำระเงินค่าซื้อเชื่อนั้นถือได้ว่าเป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์
จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2505แต่เช็คนั้นเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้า สั่งจ่ายในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505ดังนี้ หมายความว่าจำเลยได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ในวันที่ 23 เมษายน2505 ว่าจะชำระเงินเป็นเช็คให้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 นั่นเอง
เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสำหรับคดีนี้สิ้นสุดลงในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 คือ วันที่สั่งจ่ายเงินในเช็ค จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2505 เพราะวันนั้นเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามเช็คได้เป็นต้นไป ดังนั้น อายุความ2 ปีครบในวันที่ 26 พฤษภาคม 2507 ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา เป็นวันหยุดราชการ โจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 27 พฤษภาคม 2507 คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
(ปัญหาตามวรรคสอง, สี่ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8,9/2514)
การที่จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เพื่อชำระเงินค่าซื้อเชื่อนั้นถือได้ว่าเป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์
จำเลยสลักหลังเช็คให้โจทก์เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2505แต่เช็คนั้นเป็นเช็คลงวันที่ล่วงหน้า สั่งจ่ายในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505ดังนี้ หมายความว่าจำเลยได้รับสภาพหนี้ต่อโจทก์ในวันที่ 23 เมษายน2505 ว่าจะชำระเงินเป็นเช็คให้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 นั่นเอง
เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสำหรับคดีนี้สิ้นสุดลงในวันที่ 26 พฤษภาคม 2505 คือ วันที่สั่งจ่ายเงินในเช็ค จึงเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2505 เพราะวันนั้นเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องตามเช็คได้เป็นต้นไป ดังนั้น อายุความ2 ปีครบในวันที่ 26 พฤษภาคม 2507 ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา เป็นวันหยุดราชการ โจทก์ยื่นฟ้องในวันที่ 27 พฤษภาคม 2507 คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
(ปัญหาตามวรรคสอง, สี่ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8,9/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และผลของการยอมให้ใช้สิทธิโดยปริยาย
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า ให้โจทก์มีสิทธิเก็บกินในที่ดินของจำเลย ย่อมเป็นการทำนิติกรรมที่ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินให้เป็นทรัพย์สิทธิอันบริบูรณ์ตามกฎหมายได้ตราบเท่าที่จำเลยยังมิได้โอนที่ดินให้แก่บุคคลอื่น และสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยประนีประนอมยอมความเช่นนี้ มีกำหนดอายุความ 10 ปี
ตั้งแต่วันทำสัญญาดังกล่าว จำเลยยอมให้โจทก์เข้าใช้สิทธิเก็บกินตลอดมา ดังนี้ย่อมถือว่าจำเลยได้ทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ อายุความฟ้องร้องของโจทก์จึงยังไม่เริ่มนับ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2514)
ตั้งแต่วันทำสัญญาดังกล่าว จำเลยยอมให้โจทก์เข้าใช้สิทธิเก็บกินตลอดมา ดังนี้ย่อมถือว่าจำเลยได้ทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ อายุความฟ้องร้องของโจทก์จึงยังไม่เริ่มนับ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความและการยอมรับสภาพหนี้
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า ให้โจทก์มีสิทธิเก็บกินในที่ดินของจำเลย ย่อมเป็นการทำนิติกรรมที่ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินให้เป็นทรัพย์สิทธิอันบริบูรณ์ตามกฎหมายได้ตราบเท่าที่จำเลยยังมิได้โอนที่ดินให้แก่บุคคลอื่น และสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยประนีประนอมยอมความเช่นนี้ มีกำหนดอายุความ 10 ปี
ตั้งแต่วันทำสัญญาดังกล่าว จำเลยยอมให้โจทก์เข้าใช้สิทธิเก็บกินตลอดมา ดังนี้ย่อมถือว่าจำเลยได้ทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ อายุความฟ้องร้องของโจทก์จึงยังไม่เริ่มนับ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2514)
ตั้งแต่วันทำสัญญาดังกล่าว จำเลยยอมให้โจทก์เข้าใช้สิทธิเก็บกินตลอดมา ดังนี้ย่อมถือว่าจำเลยได้ทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ อายุความฟ้องร้องของโจทก์จึงยังไม่เริ่มนับ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจรับเงินแทนกับการโอนสิทธิเรียกร้อง: เจตนาของคู่กรณีสำคัญกว่าข้อความในสัญญา
บันทึกข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่ผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้างทำขึ้นเป็นหนังสือ แม้จะมีข้อความว่าผู้รับจ้างได้ตกลงยินยอมและมอบให้ธนาคาร... แต่ผู้เดียวเป็นผู้รับเงินเกี่ยวกับค่าจ้างเหมาทั้งสิ้น และผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ธนาคาร... โดยธนาคารผู้รับมอบลงชื่อไว้ร่วมกับผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างในบันทึกเป็นหนังสือนี้ก็ตาม เมื่อเจตนาของคู่กรณีที่ประพฤติปฏิบัติต่อกันมาเห็นได้ว่า เป็นการชำระเงินโดยผ่านธนาคารเพื่อที่ธนาคารเอาไปหักกับหนี้สินที่ผู้รับจ้างมีอยู่ต่อธนาคารก่อน ส่วนที่เหลือยังเป็นของจำเลยอยู่เช่นนี้ ก็แปลไม่ได้ว่าบันทึกนี้เป็นหนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง คงเป็นเพียงหนังสือมอบให้รับเงินแทน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2514)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง vs. การมอบอำนาจรับเงินแทน: การพิจารณาเจตนาของคู่สัญญาเป็นสำคัญ
บันทึกข้อตกลงแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างที่ผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้างทำขึ้นเป็นหนังสือ แม้จะมีข้อความว่าผู้รับจ้างได้ตกลงยินยอมและมอบให้ธนาคาร... แต่ผู้เดียวเป็นผู้รับเงินเกี่ยวกับค่าจ้างเหมาทั้งสิ้น และผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ธนาคาร... โดยธนาคารผู้รับมอบลงชื่อไว้ร่วมกับผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างในบันทึกเป็นหนังสือนี้ก็ตาม เมื่อเจตนาของคู่กรณีที่ประพฤติปฏิบัติต่อกันมาเห็นได้ว่า เป็นการชำระเงินโดยผ่านธนาคารเพื่อที่ธนาคารเอาไปหักกับหนี้สินที่ผู้รับจ้างมีอยู่ต่อธนาคารก่อน ส่วนที่เหลือยังเป็นของจำเลยอยู่เช่นนี้ ก็แปลไม่ได้ว่าบันทึกนี้เป็นหนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง คงเป็นเพียงหนังสือมอบให้รับเงินแทน (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2514)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดสิทธิเรียกร้องเงินจากกรมทางหลวงไม่ใช่การยึดทรัพย์ ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอเฉลี่ย
เงินค่าก่อสร้างที่จำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิเบิกตามงวดจากกรมทางหลวงแผ่นดิน เป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะขอให้อายัดไว้ ฉะนั้น เจ้าหนี้ผู้ขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องยื่นคำขอภายในบังคับตามมาตรา 290 วรรคสี่ มิใช่กรณียึดเงินซึ่งเจ้าหนี้จะอ้างว่ายังอยู่ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 290 วรรคห้า โดยนับแต่วันที่กรมทางหลวงส่งเงินมาให้กองบังคับคดีแพ่งดังที่อ้าง