พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191-3192/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งเลิกบริษัท เหตุประกอบกิจการขาดทุนต่อเนื่อง และแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี
บริษัทจำกัดถูกจัดการโดยกรรมการของบริษัท มีผู้ถือหุ้นของบริษัทครอบงำการจัดการ ส่วนเจ้าหนี้ของบริษัทจะใช้สิทธิเรียกร้องได้เฉพาะกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่กรณีการเลิกบริษัทจำกัดหากมีเหตุให้เลิกบริษัทจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1236 หรือมาตรา 1237 ไม่มีบทมาตราใดในหมวด 4 บริษัทจำกัด ให้เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เลิกบริษัทได้ คงมีแต่กรณีที่ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลเนื่องจากบริษัทถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนให้กลับคืนสู่ทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1273/4 แม้ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 26 ถูกผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 หลอกลวงให้ลงทุนและเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้วก็ตาม แต่ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 26 ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ย่อมไม่อาจจะยื่นคำร้องขอให้เลิกบริษัทผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ได้ ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 26 จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เลิกบริษัทผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบมาตรา 247 (ที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้องคดีนี้) ส่วนผู้ร้องที่ 27 และที่ 28 มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 โดยผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่าผู้ร้องที่ 27 และที่ 28 เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ผู้ร้องที่ 27 และที่ 28 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเลิกบริษัทผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ได้
พยานหลักฐานของผู้ร้องที่ 27 และที่ 28 ฟังได้ว่า บริษัทผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ประกอบกิจการไปมีแต่จะขาดทุนอย่างเดียวและหยุดกิจการเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ตามที่ผู้ร้องที่ 27 และที่ 28 กล่าวอ้าง อันเป็นเหตุในการที่ศาลจะสั่งเลิกบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1237 (2) ที่บัญญัติว่า ถ้าบริษัทไม่เริ่มทำการภายในปีหนึ่งนับแต่วันจดทะเบียน หรือหยุดทำการถึงปีหนึ่งเต็ม และ (3) ที่บัญญัติว่า ถ้าการค้าของบริษัททำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว และไม่มีทางหวังว่าจะกลับฟื้นตัวได้ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เลิกบริษัทผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จึงชอบแล้ว
ส่วนการตั้งผู้ชำระบัญชีนั้น ส่วนหนึ่งที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ต้องหยุดประกอบกิจการเกิดจากความขัดแย้งระหว่างผู้ร้องทั้งยี่สิบแปดกับผู้คัดค้านทั้งสาม หากตั้งกรรมการของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีย่อมจะเกิดปัญหาและอุปสรรคแก่การชำระบัญชี ประกอบกับ ส. หนึ่งในกรรมการผู้มีอำนาจของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ก็ถูกดำเนินคดีอาญาและถูกออกหมายจับ การที่จะตั้งกรรมการของผู้คัดค้านที่ 1 และ ที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีอาจจะเกิดความไม่โปร่งใสและไม่เป็นกลางได้ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นคนกลางในการเข้าบริหารจัดการทรัพย์สินของบริษัทผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ชอบแล้ว
พยานหลักฐานของผู้ร้องที่ 27 และที่ 28 ฟังได้ว่า บริษัทผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ประกอบกิจการไปมีแต่จะขาดทุนอย่างเดียวและหยุดกิจการเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ตามที่ผู้ร้องที่ 27 และที่ 28 กล่าวอ้าง อันเป็นเหตุในการที่ศาลจะสั่งเลิกบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1237 (2) ที่บัญญัติว่า ถ้าบริษัทไม่เริ่มทำการภายในปีหนึ่งนับแต่วันจดทะเบียน หรือหยุดทำการถึงปีหนึ่งเต็ม และ (3) ที่บัญญัติว่า ถ้าการค้าของบริษัททำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียว และไม่มีทางหวังว่าจะกลับฟื้นตัวได้ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เลิกบริษัทผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 จึงชอบแล้ว
ส่วนการตั้งผู้ชำระบัญชีนั้น ส่วนหนึ่งที่ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ต้องหยุดประกอบกิจการเกิดจากความขัดแย้งระหว่างผู้ร้องทั้งยี่สิบแปดกับผู้คัดค้านทั้งสาม หากตั้งกรรมการของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีย่อมจะเกิดปัญหาและอุปสรรคแก่การชำระบัญชี ประกอบกับ ส. หนึ่งในกรรมการผู้มีอำนาจของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ก็ถูกดำเนินคดีอาญาและถูกออกหมายจับ การที่จะตั้งกรรมการของผู้คัดค้านที่ 1 และ ที่ 2 เป็นผู้ชำระบัญชีอาจจะเกิดความไม่โปร่งใสและไม่เป็นกลางได้ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นคนกลางในการเข้าบริหารจัดการทรัพย์สินของบริษัทผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 2 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9471/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทต้องแก้ไขปัญหากรรมการไม่ครบองค์ประชุมก่อนเรียกประชุมผู้ถือหุ้นอื่น
ผู้คัดค้านจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทโดยมีกรรมการ 2 คน เมื่อกรรมการคนหนึ่งถึงแก่กรรม จึงเป็นกรณีที่จำนวนกรรมการลดน้อยลงกว่าจำนวนอันจำเป็นที่จะเป็นองค์ประชุมได้ตลอดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1159 กรรมการที่เหลือเพียงคนเดียวต้องเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องจำนวนกรรมการที่ไม่ครบองค์ประชุมเสียก่อน มิใช่ว่าจะนัดเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาเรื่องอื่น ๆ โดยมิได้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาเรื่องอื่นตามคำร้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้แทนเฉพาะคดีบริษัทจำกัดเมื่อกรรมการลาออก: ศาลยืนตามมาตรา 1159 พ.ร.บ.แพ่งและพาณิชย์
การที่ผู้ร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็น ผู้แทนเฉพาะคดีของนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดโดยอ้างเหตุว่ากรรมการผู้มีอำนาจฝ่ายหนึ่งได้ลาออกเป็นเหตุให้กรรมการที่เหลือไม่สามารถทำกิจการของบริษัทได้ตามข้อบังคับนั้นเป็นกรณีที่จำนวนกรรมการลดน้อยลงกว่าจำนวนอันจำเป็นที่จะเป็นองค์ประชุมได้จึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1159กรรมการที่มีตัวอยู่คือผู้ร้องย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะเพิ่มกรรมการขึ้นให้ครบจำนวนหรือนัดเรียกประชุมใหญ่ของบริษัทเท่านั้นจะทำกิจการอย่างอื่นไม่ได้บทบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดวิธีการแก้ข้อขัดข้องที่เป็นเหตุตามคำร้องของผู้ร้องไว้แล้วซึ่งผู้ร้องชอบที่จะปฏิบัติตามได้หาใช่กรณีที่ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายที่จะยกมาปรับแก่คดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการบริษัทเมื่อกรรมการลาออก – องค์ประชุม – การเพิ่มกรรมการ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด โดยอ้างเหตุว่ากรรมการผู้มีอำนาจฝ่ายหนึ่งได้ลาออกเป็นเหตุให้กรรมการที่เหลือไม่สามารถทำกิจการของบริษัทได้ตามข้อบังคับ เหตุที่ผู้ร้องอ้างดังกล่าวเป็นกรณีที่จำนวนกรรมการลดน้อยลงกว่าจำนวนอันจำเป็นที่จะเป็นองค์ประชุมได้ จึงต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1159 กรรมการที่มีตัวอยู่คือผู้ร้องย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะเพิ่มกรรมการขึ้นให้ครบจำนวนหรือนัดเรียกประชุมใหญ่ของบริษัทเท่านั้น จะทำกิจการอย่างอื่นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการบริษัทจำกัดเมื่อจำนวนกรรมการไม่ครบตามข้อบังคับ และการทำกิจการบริษัท
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดโดยอ้างเหตุว่ากรรมการผู้มีอำนาจฝ่ายหนึ่งได้ลาออกเป็นเหตุให้กรรมการที่เหลือไม่สามารถทำกิจการของบริษัทได้ตามข้อบังคับเหตุที่ผู้ร้องอ้างดังกล่าวเป็นกรณีที่จำนวนกรรมการลดน้อยลงกว่าจำนวนอันจำเป็นที่จะเป็นองค์ประชุมได้จึงต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1159กรรมการที่มีตัวอยู่คือผู้ร้องย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะเพิ่มกรรมการขึ้นให้ครบจำนวนหรือนัดเรียกประชุมใหญ่ของบริษัทเท่านั้นจะทำกิจการอย่างอื่นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการบริษัทและการลงนามในเอกสารตามข้อบังคับบริษัท
ข้อบังคับของบริสัทชข้อ 42 ไห้อำนาดกัมการตั้งกัมการคนเดียวเปนผู้จัดการได้ แม้ข้อ 44 จะมีความว่าเอกสารที่ทำไนนามของบริสัทต้องลงชื่อกัมการสองคนก็ตาม ผู้จัดการก็ลงชื่อไนเอกสารคนเดียวได้ตาม ข้อ 42 ส่วนข้อ 44 ไช้ได้ฉเพาะกรนีที่กัมการเปนผู้ทำ
การตั้งผู้จัดการจะเปนการถูกต้องหรือไม่นั้น ถ้าคู่ความไม่โต้เถียงสาลก็ไม่ต้องวินิฉัย เพราะนอกประเด็น.
การตั้งผู้จัดการจะเปนการถูกต้องหรือไม่นั้น ถ้าคู่ความไม่โต้เถียงสาลก็ไม่ต้องวินิฉัย เพราะนอกประเด็น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการและข้อยกเว้นลายมือชื่อกรรมการในเอกสารบริษัท
ข้อบังคับของบริษัท ข้อ 42 ให้อำนาจกรรมการตั้งกรรมการคนเดียวเป็นผู้จัดการได้ แม้ข้อ 44 จะมีความว่าเอกสารที่ทำในนามของบริษัทต้องลงชื่อกรรมการสองคนก็ตาม ผู้จัดการก็ลงชื่อในเอกสารคนเดียวได้ตามข้อ 42 ส่วนข้อ44 ใช้ได้เฉพาะกรณีที่กรรมการเป็นผู้ทำ การตั้งผู้จัดการจะเป็นการถูกต้องหรือไม่นั้น ถ้าคู่ความไม่โต้เถียงศาลก็ไม่ต้องวินิจฉัย เพราะนอกประเด็น