พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'เคหะ' ใน พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า: พิจารณาเจตนา,สภาพ,ทำเลที่ตั้ง และการใช้ประโยชน์
ความหมายของคำว่า 'เคหะ'ตามมาตรา 3 ก็คือ'สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย' ส่วนบทบัญญัติต่อไปที่ว่า 'โดยไม่คำนึงว่าจะใช้เป็นที่ที่ประกอบธุรกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมด้วยเป็นส่วนประธานหรืออุปกรณ์' นั้นเป็นแต่ขยายความแห่งบทบัญญัติตอนต้นเท่านั้นแต่ส่วนสำคัญอยู่ที่ว่า 'สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย' และโดยที่พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับเรื่องการเช่าฉะนั้นการที่จะวินิจฉัยสิ่งปลูกสร้างใดที่มีการเช่าจะเข้าอยู่ในความคุ้มครองของพระราชบัญญัติหรือไม่จึงจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่สัญญาด้วยว่าจะใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอยู่อาศัยหรือเพื่อการอื่นใดจึงวางหลักไว้ว่าการที่จะวินิจฉัยว่าสิ่งปลูกสร้างใดเป็น 'เคหะ'ตามความหมายแห่ง พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าหรือไม่นั้น จำต้องคำนึงถึงเจตนาในเวลาเช่า สภาพและทำเลที่ตั้งของสถานที่เช่าและเหตุผลแวดล้อมอย่างที่เป็นข้อประกอบด้วย
มาตรา13นั้นเป็นเรื่องกฎหมายกำหนดเกณฑ์ที่จะขึ้นค่าเช่าสำหรับเคหะที่ใช้อย่างใดเท่านั้น
เมื่อสัญญาใดไม่มีข้อความระบุถึงผู้ใด ผู้นั้นก็ไม่มีทางจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้นได้
เช่าห้องไว้เป็นที่เก็บสัมภาระและเป็นห้องนอนของเด็กที่คอยเติมน้ำมันในร้านขายน้ำมันของผู้เช่า ซึ่งอยู่หน้าห้องเช่าและเปิดเข้าออกถึงกันได้ ดังนี้ถือได้ว่าเช่าห้องไว้ก็เพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับการค้าของผู้เช่าจึงไม่เป็นเคหะ
มาตรา13นั้นเป็นเรื่องกฎหมายกำหนดเกณฑ์ที่จะขึ้นค่าเช่าสำหรับเคหะที่ใช้อย่างใดเท่านั้น
เมื่อสัญญาใดไม่มีข้อความระบุถึงผู้ใด ผู้นั้นก็ไม่มีทางจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้นได้
เช่าห้องไว้เป็นที่เก็บสัมภาระและเป็นห้องนอนของเด็กที่คอยเติมน้ำมันในร้านขายน้ำมันของผู้เช่า ซึ่งอยู่หน้าห้องเช่าและเปิดเข้าออกถึงกันได้ ดังนี้ถือได้ว่าเช่าห้องไว้ก็เพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับการค้าของผู้เช่าจึงไม่เป็นเคหะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'เคหะ' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ พิจารณาจากเจตนา,สภาพ,ทำเลที่ตั้ง และการใช้ประโยชน์
ความหมายของคำว่า "เคหะ" ตามมาตรา 3 ก็คือ "สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย" ส่วนบทบัญญัติต่อไปที่ว่า"โดยไม่คำนึงว่าจะใช้เป็นที่ประกอบธุระกิจการค้าหรืออุตสาหกรรมด้วยเป็นส่วนประธานหรืออุปกรณ์" นั้น เป็นแต่ขยายความแห่งบทบัญญัติตอนต้นเท่านั้น แต่ส่วนสำคัญอยู่ที่ว่า "สิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย" และโดยที่พระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับเรื่องการเช่า ฉะนั้นการที่จะวินิจฉัยสิ่งปลูกสร้างใดที่มีการเช่าจะเข้าอยู่ในความคุ้มครองของพระราชบัญญัติหรือไม่ จึงจำเป็นจะต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่สัญญาด้วย ว่าจะใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าเพื่อการอยู่อาศัยหรือเพื่อการอื่นใดจึงวางหลักไว้ว่า การที่จะวินิจฉัยว่าสิ่งปลูกสร้างใดเป็น "เคหะ" ตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าหรือไม่นั้น จำต้องคำนึงถึงเจตนาในเวลาเช่า สภาพและทำเลที่ตั้งของสถานที่เช่า และเหตุผลแวดล้อมอย่างอื่นเป็นข้อประกอบด้วย
ม.13 นั้น เป็นเรื่องกฎหมายกำหนด เกณฑ์ที่จะขึ้นค่าเช่าสำหรับเคหะที่ใช้อย่างใดเท่านั้น
เมื่อสัญญาใดไม่มีข้อความระบุถึงผู้ใด ผู้นั้นก็ไม่มีทางจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้นได้
ม.13 นั้น เป็นเรื่องกฎหมายกำหนด เกณฑ์ที่จะขึ้นค่าเช่าสำหรับเคหะที่ใช้อย่างใดเท่านั้น
เมื่อสัญญาใดไม่มีข้อความระบุถึงผู้ใด ผู้นั้นก็ไม่มีทางจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญานั้นได้