คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2495 ม. 4

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสัญชาติไทยของผู้เกิดในไทย ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และความผิดตาม พ.ร.ก.ทะเบียนคนต่างด้าว
จำเลยเป็นคนเชื้อชาติจีนเกิดในราชอาณาจักรไทย แต่ได้ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยมิได้ประสงค์จะถือสัญชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ.2491 ตลอดมาจนพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ใช้บังคับซึ่งมาตรา 21 บัญญัติให้ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าว ถ้าได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้วให้เสียสัญชาติไทยดังนี้บทบัญญัติแห่งมาตรา 21 ดังกล่าวจึงมีผลถึงจำเลยซึ่งถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ แม้มาตรา 21 ดังกล่าวจะมิได้บัญญัติความว่าให้ขาดจากสัญชาติไทยไม่ว่าจะได้รับใบสำคัญประจำตัวก่อนหรือหลังวันพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับก็ตามก็ไม่เป็นผลให้แตกต่างกันอย่างไรเมื่อจำเลยไม่ต่อใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจำเลยย่อมมีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสัญชาติไทยเนื่องจากถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และความผิดฐานไม่ต่ออายุใบสำคัญ
จำเลยเป็นคนเชื้อชาติจีนเกิดในราชอาณาจักรไทย แต่ได้ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวโดยมิได้ประสงค์จะถือสัญชาติไทยตั้งแต่ พ.ศ.2491 ตลอดมาจนพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508ใช้บังคับซึ่งมาตรา 21 บัญญัติให้ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าวถ้าได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้ว ให้เสียสัญชาติไทย ดังนี้ บทบัญญัติแห่งมาตรา 21 ดังกล่าวจึงมีผลถึงจำเลยซึ่งถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ แม้มาตรา 21 ดังกล่าวจะมิได้บัญญัติความว่า ให้ขาดจากสัญชาติไทย ไม่ว่าจะได้รับใบสำคัญประจำตัวก่อนหรือหลังวันพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับก็ตามก็ไม่เป็นผลให้แตกต่างกันอย่างไร เมื่อจำเลยไม่ต่อใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว จำเลยย่อมมีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดไม่ต่ออายุใบสำคัญคนต่างด้าว: ความผิดสำเร็จรายปี
การไม่ต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกำหนดในปีใดก็เป็นความผิดสำเร็จสำหรับปีนั้น คดีโจทก์สำหรับปีที่ จำเลยขาดต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวซึ่งอยู่ในระยะเกินกว่า 1 ปี ก่อนโจทก์ฟ้อง ย่อมขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(5) (อ้างฎีกาประชุมใหญ่ที่ 942/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คนเกิดในไทยถือใบสำคัญคนต่างด้าวขาดอายุ ไม่ผิดกฎหมายคนต่างด้าว
คำว่าผู้ใดในพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493มาตรา 20 และพระราชบัญญัติชื่อเดียวกัน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2495 มาตรา 4 หมายความถึงคนต่างด้าวเท่านั้นคนที่เกิดในประเทศไทย แต่ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวเมื่อขาดต่ออายุใบสำคัญนี้ จึงไม่มีความผิดตามมาตราทั้งสองข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 422/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คนเกิดในไทยถือใบสำคัญคนต่างด้าวขาดต่ออายุ ไม่ผิด พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว
คำว่าผู้ใดในพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 20 และพระราชบัญญัติชื่อเดียวกัน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2495 มาตรา 4 หมายความถึงคนต่างด้าวเท่านั้น คนที่เกิดในประเทศไทย แต่ถือใบสำคัญประจำคนต่างด้าว เมื่อขาดต่ออายุใบสำคัญนี้จึงไม่มีความผิดตามมาตราทั้งสองข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 61/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องร้องความผิดฐานไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ความผิดสำเร็จเป็นรายปี
การไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวปีใดถือว่าเป็นความผิดสำหรับปีที่ไม่มีนั้น
จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหลายปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 กำหนดให้ฟ้องภายใน 1 ปีจึงลงโทษจำเลยสำหรับการที่จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวก่อนวันฟ้องเกิน 1 ปีนั้นไม่ได้ คงลงโทษได้แต่เฉพาะในระยะที่ไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง
(อ้างฎีกาที่ 942/2498)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487-1489/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญชาติไทยโดยการเกิดในประเทศไทย แม้บิดามารดาเป็นต่างด้าว และจดทะเบียนชื่อกับสถานทูตอังกฤษ
จำเลยเกิดในประเทศไทยในขณะที่ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456 ใช้บังคับ บิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่มารดาเกิดในประเทศไทย แม้เมื่อจำเลยเป็นผู้เยาว์ บิดาได้นำชื่อจำเลยไปจดทะเบียนไว้ต่อสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยเป็นคนมีสัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456มาตรา 3 ข้อ 3 การที่บิดานำเอาชื่อจำเลยไปจดทะเบียนไว้ต่อสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ หาทำให้จำเลยเสียสัญชาติไทยไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 723-737/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสัญชาติจากการสมรสกับชาวต่างชาติและสถานะคนต่างด้าว: การพิสูจน์สัญชาติของคู่สมรสและการแจ้งสถานะ
การที่จำเลยแต่งงานกับคนต่างด้าว (จีน) อันจะทำให้จำเลยศูนย์เสียสัญชาติตาม ม.4 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2456 นั้น โจทก์จะต้องสืบให้แน่ชัดว่า ข้อเท็จจริงที่ว่า ในขณะที่แต่งงานกฎหมายสัญชาติของคู่แต่งงานของจำเลยบัญญัติ ให้จำเลยมีสัญชาติของสามี มิฉะนั้นศาลไม่ถือว่าจำเลยศูนย์เสียสัญชาติเพราะการแต่งงาน
แม้เมื่อจำเลยแต่งงานกับคนต่างด้าวแล้วเข้าใจผิดว่าตนศูนย์เสียสัญชาติและไปรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวมา ก็ไม่ทำให้จำเลยกลายเป็นคนต่างด้าว อันจะต้องต่อใบสำคัญเมื่อหมดอายุ
การที่จำเลยไปรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หากจะเป็นกรณีเข้า ม.5 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2496 ซึ่งบัญญัติ ให้จำเลยกลายเป็นคนต่างด้าว ก็เป็นเรื่องต้องถือว่าจำเลยเพิ่งเป็นคนต่างด้าวเมื่อใช้ พ.ร.บ.สัญชาติ พงศ. 2496 ซึ่ง จำเลยจะต้องไปแจ้งความเพื่อขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวจากเจ้าพนักงานใน 30 วัน จำเลยไม่ไปจัดการดังกล่าวก็ย่อมมีผิด แต่ข้อนี้โจทก์ไม่ได้ฟ้องมา จึงลงโทษจำเลยยังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสัญชาติไทยต้องเกิดจากเจตนาสมัครใจ การรับใบสำคัญคนต่างด้าวเพราะความกลัวผิดกฎหมาย ไม่ถือเป็นการสละสัญชาติ
ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวนั้นเมื่อจำเลยรับมาเพราะกลัวความผิดตามประกาศของอำเภอจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับมาด้วยความสมัครใจ จำเลยจึงไม่มีเจตนาจะสละสัญชาติไทย
เมื่อจำเลยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามีคนต่างด้าว ตาม ก.ม. จำเลยจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียนรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามประกาศของอำเภอจำเลยยังคงเป็นคนมีสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ พ.ศ. 2456 ดังนี้ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่จำเลยได้รับตามพฤติการณ์ดังกล่าวจะใช้บังคับแก่จำเลยให้ขาดจากสัญชาติไทยไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วจำเลยก็ไม่มีหน้าที่จะต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่จำเลยได้รับมานั้น
อนึ่งการที่จะขาดจากสัญชาติไทยตาม พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) ม.5 พ.ศ. 2496 จะต้องเป็นไปด้วยใจสมัครจึงจะถูกต้องตามความประสงค์ของมาตรานี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสัญชาติไทยต้องเกิดจากเจตนาสมัครใจ การได้รับใบสำคัญคนต่างด้าวภายใต้ความกลัวผิดกฎหมาย ไม่ถือเป็นการสละสัญชาติ
ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวนั้นเมื่อจำเลยรับมาเพราะกลัวความผิดตามประกาศของอำเภอจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับมาด้วยความสมัครใจ จำเลยจึงไม่มีเจตนาจะสละสัญชาติไทย
เมื่อจำเลยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามีคนต่างด้าว ตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียนรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามประกาศของอำเภอ จำเลยยังคงเป็นคนมีสัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456 ดังนี้ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่จำเลยได้รับตามพฤติการณ์ดังกล่าวจะใช้บังคับแก่จำเลยให้ขาดจากสัญชาติไทยไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวแล้วจำเลยก็ไม่มีหน้าที่จะต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวที่จำเลยได้รับมานั้น
อนึ่งการที่จะขาดจากสัญชาติไทยตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2496 มาตรา 5 จะต้องเป็นไปด้วยใจสมัครจึงจะถูกต้องตามความประสงค์ของมาตรานี้
of 4